ไฟแนนเชียลไทมส์ - อินเดียกำลังพิจารณาที่จะห้ามการซื้อขายตราสารล่วงหน้าสินค้าอาหาร ซึ่งเป็นการตอกย้ำความกังวลที่กำลังเพิ่มขึ้นของบรรดาชาติเอเชีย ต่อบทบาทของพวกกองทุนเฮดจ์ฟันด์และเทรดเดอร์ในตลาดการเงิน ในสถานการณ์ที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทะยานขึ้นลิ่วในช่วงหลังๆ มานี้
ความเคลื่อนไหวอย่างกะทันหันของอินเดียที่อาจจะปิดตลาดค้าตราสารล่วงหน้าของสินค้าอาหารต่าง ๆ คราวนี้ ปรากฏเป็นข่าวขึ้นมาจากคำแถลงของรัฐมนตรีคลัง พี ชีดามบาราม เมื่อวันจันทร์ (5) และทำให้หลายฝ่ายมองว่าข้อเสนอนี้อาจจะทำให้แนวทางพัฒนาอินเดียให้เป็นศูนย์กลางทางการเงิน ที่เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อห้าปีก่อนต้องมีอันสะดุดหยุดลงไป
ชีดามบารามยังกล่าวในระหว่างเข้าร่วมการประชุมประจำปีธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) ที่กรุงมาดริด ประเทศสเปนด้วยว่า การนำเอาพืชผลการเกษตรมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โลกต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตอาหารอยู่ในเวลานี้ คำกล่าวของเขานับเป็นการตอบโต้กับข้อกล่าวหาของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐฯ ที่บอกว่าอินเดียมีส่วนในการทำให้ราคาอาหารโลกพุ่งขึ้นด้วย
"กล่าวอย่างนุ่มนวลก็คือ (การนำธัญพืชไปผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ) เป็นเรื่องโง่เขลา หรือถ้าจะพูดให้แรงขึ้นอีกก็คือ มันเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเลยทีเดียว" ชีดามบารามกล่าว
สหรัฐฯ เป็นผู้นำในการผลิตเอทานอลจากข้าวโพด แต่ชีดามบารามก็ไม่ได้วิพากษ์สหรัฐฯ รายเดียวเท่านั้น เขายังพูดถึงการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันปาล์มในประเทศผู้ผลิตสำคัญในเอเชียอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซียอีกด้วย
ก่อนหน้านี้อินเดียได้จำกัดการค้าตราสารล่วงหน้าสำหรับพืชผลบางชนิดไปแล้ว รวมทั้งยังประกาศใช้ระเบียบจำกัดส่งอาหารออกนอกประเทศอย่างเข้มงวดคล้ายๆ กับอีกหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้ทำให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงในเอดีบีซึ่งเป็นชาวอินเดีย 2 คนแสดงความไม่พอใจ โดยบุคคลเหล่านี้มีทัศนะสอดคล้องกับสถาบันระหว่างประเทศอื่นๆ ที่รู้สึกเป็นห่วงว่า ราคาอาหารที่แพงขึ้นกำลังทำให้ความคิดแบบลัทธิกีดกันการค้ารุนแรงมากขึ้น รวมทั้งมีการบิดเบือนตลาดเพิ่มขึ้นด้วย
ราจัต นัก ผู้อำนวยการบริหารของเอดีบี กล่าวว่า มาตรการเช่นนี้จะส่งสัญญาณที่ผิดออกมาและไม่เกิดผลดีอะไรขึ้นเลย
ส่วน อีฟซาล อาลี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอดีบีก็บอกว่า การห้ามซื้อขายสินค้าล่วงหน้าเป็นเพียง "กลเม็ดทางการเมือง" เพื่อเรียกเสียงสนับสนุนจากผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเท่านั้นเอง
ทางด้าน ฌอง โคลด ทริเชต์ ประธานาธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) แม้ไม่ได้เข้าร่วมประชุมที่มาดริดคราวนี้ แต่คำพูดที่เขากล่าวภายหลังการประชุมของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ในเมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก็เสมือนเข้ามาร่วมวงอภิปรายด้วย โดยเขาบอกว่าการเก็งกำไรไม่ได้ทำให้ราคาอาหารพุ่งขึ้น และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของความต้องการกับปริมาณสินค้าที่ไม่สมดุลกัน
ไม่เฉพาะแต่เรื่องอาหาร รัฐบาลของบางชาติเอเชียยังกล่าวประณามว่า ราคาน้ำมันซึ่งแพงระยับในเวลานี้ก็มาจากการค้าตราสารเก็งกำไรกันในตลาดการเงินเช่นกัน อาทิ อิชชัก ดาร์ รัฐมนตรีคลังคนใหม่ของปากีสถานกล่าวว่า "เป็นฝีมือของพวกเก็งกำไรรายใหญ่ที่ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นไปสู่ระดับที่ยอมรับไม่ได้ พวกเขาคิดแต่จะทำลายประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น"
ความเคลื่อนไหวอย่างกะทันหันของอินเดียที่อาจจะปิดตลาดค้าตราสารล่วงหน้าของสินค้าอาหารต่าง ๆ คราวนี้ ปรากฏเป็นข่าวขึ้นมาจากคำแถลงของรัฐมนตรีคลัง พี ชีดามบาราม เมื่อวันจันทร์ (5) และทำให้หลายฝ่ายมองว่าข้อเสนอนี้อาจจะทำให้แนวทางพัฒนาอินเดียให้เป็นศูนย์กลางทางการเงิน ที่เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อห้าปีก่อนต้องมีอันสะดุดหยุดลงไป
ชีดามบารามยังกล่าวในระหว่างเข้าร่วมการประชุมประจำปีธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) ที่กรุงมาดริด ประเทศสเปนด้วยว่า การนำเอาพืชผลการเกษตรมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โลกต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตอาหารอยู่ในเวลานี้ คำกล่าวของเขานับเป็นการตอบโต้กับข้อกล่าวหาของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐฯ ที่บอกว่าอินเดียมีส่วนในการทำให้ราคาอาหารโลกพุ่งขึ้นด้วย
"กล่าวอย่างนุ่มนวลก็คือ (การนำธัญพืชไปผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ) เป็นเรื่องโง่เขลา หรือถ้าจะพูดให้แรงขึ้นอีกก็คือ มันเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเลยทีเดียว" ชีดามบารามกล่าว
สหรัฐฯ เป็นผู้นำในการผลิตเอทานอลจากข้าวโพด แต่ชีดามบารามก็ไม่ได้วิพากษ์สหรัฐฯ รายเดียวเท่านั้น เขายังพูดถึงการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันปาล์มในประเทศผู้ผลิตสำคัญในเอเชียอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซียอีกด้วย
ก่อนหน้านี้อินเดียได้จำกัดการค้าตราสารล่วงหน้าสำหรับพืชผลบางชนิดไปแล้ว รวมทั้งยังประกาศใช้ระเบียบจำกัดส่งอาหารออกนอกประเทศอย่างเข้มงวดคล้ายๆ กับอีกหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม มาตรการเหล่านี้ทำให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงในเอดีบีซึ่งเป็นชาวอินเดีย 2 คนแสดงความไม่พอใจ โดยบุคคลเหล่านี้มีทัศนะสอดคล้องกับสถาบันระหว่างประเทศอื่นๆ ที่รู้สึกเป็นห่วงว่า ราคาอาหารที่แพงขึ้นกำลังทำให้ความคิดแบบลัทธิกีดกันการค้ารุนแรงมากขึ้น รวมทั้งมีการบิดเบือนตลาดเพิ่มขึ้นด้วย
ราจัต นัก ผู้อำนวยการบริหารของเอดีบี กล่าวว่า มาตรการเช่นนี้จะส่งสัญญาณที่ผิดออกมาและไม่เกิดผลดีอะไรขึ้นเลย
ส่วน อีฟซาล อาลี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอดีบีก็บอกว่า การห้ามซื้อขายสินค้าล่วงหน้าเป็นเพียง "กลเม็ดทางการเมือง" เพื่อเรียกเสียงสนับสนุนจากผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเท่านั้นเอง
ทางด้าน ฌอง โคลด ทริเชต์ ประธานาธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) แม้ไม่ได้เข้าร่วมประชุมที่มาดริดคราวนี้ แต่คำพูดที่เขากล่าวภายหลังการประชุมของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (บีไอเอส) ในเมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก็เสมือนเข้ามาร่วมวงอภิปรายด้วย โดยเขาบอกว่าการเก็งกำไรไม่ได้ทำให้ราคาอาหารพุ่งขึ้น และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของความต้องการกับปริมาณสินค้าที่ไม่สมดุลกัน
ไม่เฉพาะแต่เรื่องอาหาร รัฐบาลของบางชาติเอเชียยังกล่าวประณามว่า ราคาน้ำมันซึ่งแพงระยับในเวลานี้ก็มาจากการค้าตราสารเก็งกำไรกันในตลาดการเงินเช่นกัน อาทิ อิชชัก ดาร์ รัฐมนตรีคลังคนใหม่ของปากีสถานกล่าวว่า "เป็นฝีมือของพวกเก็งกำไรรายใหญ่ที่ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นไปสู่ระดับที่ยอมรับไม่ได้ พวกเขาคิดแต่จะทำลายประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น"