เอเจนซี - องค์การที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังก์ถัด) ออกรายงานวันพุธ (24) ชี้ว่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ของทั้งโลก น่าจะลดลงราว 10% ในปีนี้ เมื่อเทียบกับระดับของปี 2007 เนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่พากันตัดลดแผนการใช้จ่ายต่างๆ ลงไป
รายงานของอังก์ถัด ระบุว่า เมื่อปี 2007 นั้น เงินลงทุนโดยตรงของต่างประเทศ (foreign direct investment - FDI) เพิ่มขึ้น 30% เป็น 1.83 ล้านล้านดอลลาร์ แม้ว่าเมื่อปีที่แล้ววิกฤตจะเริ่มต้นขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง
แต่ในปีนี้การลงทุนจะมีมูลค่าลดลง สาเหตุหลักมาจากการควบรวมกิจการที่มีน้อยลง โดยที่การควบรวมนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะกระตุ้นเงินทุนไหลเข้า
"เอฟดีไอที่ไหลไปสู่ประเทศกำลังพัฒนาโดยรวม ยังมีแนวโน้มว่าจะยังคงอยู่ในระดับเดิม ทว่าจุดหลักๆ ที่จะลดต่ำนั้นก็คือการโอนเม็ดเงินที่เกี่ยวเนื่องกับการควบรวมกิจการ" นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการของอังก์ถัดกล่าวในระหว่างการแถลงถึงเนื้อหาของรายงาน
รายงานของอังก์ถัด บอกว่า ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ การควบรวมกิจการในระดับข้ามประเทศ ได้ลดลง 29% เมื่อเทียบกับครึ่งหลังของปีที่แล้ว ในขณะที่ทั้งปี 2007 มูลค่าการควบรวมกิจการคิดเป็นเงิน 1.64 ล้านล้านดอลลาร์
อังก์ถัด กล่าวในรายงานว่า จากการสอบถามความคิดเห็นของบรรษัทข้ามชาติ 226 แห่งระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนปีนี้ อันเป็นช่วงก่อนที่วิกฤตจะลุกลามรุนแรง แสดงให้เห็นว่าบริษัทราว 21% คาดว่ามูลค่าเงินเอฟดีไอจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 3 ปีข้างหน้า เทียบกับที่เคยมีผู้ตอบเช่นนี้ 32% ในการสำรวจแบบเดียวกันที่จัดทำในปีก่อนหน้า
การสำรวจครั้งล่าสุดนี้ ซึ่งมุ่งไปที่ปี 2007 แต่ก็สะท้อนกระแสแนวโน้มของปี 2008 ด้วย แสดงให้เห็นว่าบริษัทราว 68% มีความตั้งใจจะเพิ่มการลงทุนของตนเองในช่วง 3 ปีข้างหน้า แต่จำนวนบริษัทที่กล่าวว่าจะเพิ่มการลงทุนแค่พอประมาณนั้น มีราว 48% เทียบกับ 38% ของปีก่อนหน้า
อังก์ถัด ชี้ว่า บริษัทต่างๆ กำลังรู้สึกอ่อนไหวต่อความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะทรุดตัวลงไปอีก ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนครึ่งหนึ่งเห็นว่า ความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจโลกจะซวนเซลงไปนั้น เป็นสิ่งที่มีผลต่อแผนการลงทุนของพวกเขาอย่างมาก และ 39% เห็นว่า ความไม่มั่นคงทางการเงินมีผลทางลบต่อความตั้งใจที่จะเพิ่มการลงทุนใน 3 ปีข้างหน้าของพวกเขา
ในรายงานของอังก์ถัดยังได้ระบุว่า บริษัทข้ามชาติเหล่านี้ยังเห็นจีน อินเดีย สหรัฐฯ รัสเซียและบราซิลเป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุด
เมื่อพิจารณาถึงเอฟดีไอในปีที่แล้ว อังก์ถัด กล่าวว่า เงินลงทุนยังคงไหลเข้าอย่างเข้มแข็งไปสู่ทุกๆ ภูมิภาคของโลก และรัฐบาลต่างๆ ก็เดินหน้าปรับบรรยากาศในประเทศเพื่อดึงดูดเงินลงทุนและบรรษัทข้ามชาติให้เข้ามามากขึ้น แม้ว่าจะมีความกังวลเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในเรื่องลัทธิกีดกันการค้ากำลังทำท่าจะเติบโตขึ้นมา
อังก์ถัด บอกว่า มูลค่าเอฟดีไอรวมกันทั่วโลกนั้นทะลุระดับ 15 ล้านล้านดอลลาร์ จากการดำเนินงานของบรรษัทข้ามชาติ 79,000 แห่งซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทลูกในต่างประเทศราว 790,000 แห่ง
บริษัทลูกเหล่านี้ว่าจ้างพนักงาน 82 ล้านคนสร้างผลผลิตราว 11% ของผลผลิตมวลรวมของโลกในปี 2007 และมียอดขายเพิ่มขึ้น 21% หรือเท่ากับ 3 ล้านล้านดอลลาร์
ประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงดึงดูดเอฟดีไอมากที่สุด โดยมีเงินไหลเข้าไปราว 1.25 ล้านล้านดอลลาร์ แหล่งลงทุนที่สำคัญที่สุดยังคงเป็นสหรัฐฯ ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลงก็มีส่วนกระตุ้นเงินไหลเข้าไม่น้อย รองลงมาก็คือ อังกฤษ,ฝรั่งเศส,แคนาดา และเนเธอร์แลนด์
ส่วนเงินลงทุนโดยตรงที่ไหลไปยังประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้น 21% มาแตะระดับ 5 แสนล้านดอลลาร์ ในจำนวนนี้ไหลเข้าไปในทวีปอัฟริกามากกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งนับว่าสูงเป็นประวัติการณ์
ในขณะเดียวกันอังก์ถัดก็คาดว่า เงินลงทุนไหลออกนั้นมีสูงกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ จำนวนที่แตกต่างกันนี้อังก์ถัดอธิบายว่าเป็นเพราะประเทศต่างๆ วัดเงินทุนไหลเข้าและไหลออกแตกต่างกันไปตามคำนิยามที่ให้ในประเภทต่างๆ
ประเทศกำลังพัฒนาเป็นแหล่งเงินทุนหลัก โดยมีเงินลงทุนไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของโลกราว 1.69 พันล้านดอลลาร์ในปี 2007 ขณะที่สหรัฐฯ ยังคงเป็นประเทศที่เป็นแหล่งเงินทุนสูงสุดถึง 3.14 แสนล้านดอลลาร์
ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาก็พัฒนาความสามารถการเป็นแหล่งลงทุนโดยตรงของเองให้มากขึ้นโดยมีเงินทุนไหลออกไปถึง 2.53 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งแหล่งเงินลงทุนใหญ่ ได้แก่ จีน ฮ่องกง รัสเซีย
รายงานของอังก์ถัด ระบุว่า เมื่อปี 2007 นั้น เงินลงทุนโดยตรงของต่างประเทศ (foreign direct investment - FDI) เพิ่มขึ้น 30% เป็น 1.83 ล้านล้านดอลลาร์ แม้ว่าเมื่อปีที่แล้ววิกฤตจะเริ่มต้นขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง
แต่ในปีนี้การลงทุนจะมีมูลค่าลดลง สาเหตุหลักมาจากการควบรวมกิจการที่มีน้อยลง โดยที่การควบรวมนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะกระตุ้นเงินทุนไหลเข้า
"เอฟดีไอที่ไหลไปสู่ประเทศกำลังพัฒนาโดยรวม ยังมีแนวโน้มว่าจะยังคงอยู่ในระดับเดิม ทว่าจุดหลักๆ ที่จะลดต่ำนั้นก็คือการโอนเม็ดเงินที่เกี่ยวเนื่องกับการควบรวมกิจการ" นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการของอังก์ถัดกล่าวในระหว่างการแถลงถึงเนื้อหาของรายงาน
รายงานของอังก์ถัด บอกว่า ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ การควบรวมกิจการในระดับข้ามประเทศ ได้ลดลง 29% เมื่อเทียบกับครึ่งหลังของปีที่แล้ว ในขณะที่ทั้งปี 2007 มูลค่าการควบรวมกิจการคิดเป็นเงิน 1.64 ล้านล้านดอลลาร์
อังก์ถัด กล่าวในรายงานว่า จากการสอบถามความคิดเห็นของบรรษัทข้ามชาติ 226 แห่งระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนปีนี้ อันเป็นช่วงก่อนที่วิกฤตจะลุกลามรุนแรง แสดงให้เห็นว่าบริษัทราว 21% คาดว่ามูลค่าเงินเอฟดีไอจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 3 ปีข้างหน้า เทียบกับที่เคยมีผู้ตอบเช่นนี้ 32% ในการสำรวจแบบเดียวกันที่จัดทำในปีก่อนหน้า
การสำรวจครั้งล่าสุดนี้ ซึ่งมุ่งไปที่ปี 2007 แต่ก็สะท้อนกระแสแนวโน้มของปี 2008 ด้วย แสดงให้เห็นว่าบริษัทราว 68% มีความตั้งใจจะเพิ่มการลงทุนของตนเองในช่วง 3 ปีข้างหน้า แต่จำนวนบริษัทที่กล่าวว่าจะเพิ่มการลงทุนแค่พอประมาณนั้น มีราว 48% เทียบกับ 38% ของปีก่อนหน้า
อังก์ถัด ชี้ว่า บริษัทต่างๆ กำลังรู้สึกอ่อนไหวต่อความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะทรุดตัวลงไปอีก ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนครึ่งหนึ่งเห็นว่า ความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจโลกจะซวนเซลงไปนั้น เป็นสิ่งที่มีผลต่อแผนการลงทุนของพวกเขาอย่างมาก และ 39% เห็นว่า ความไม่มั่นคงทางการเงินมีผลทางลบต่อความตั้งใจที่จะเพิ่มการลงทุนใน 3 ปีข้างหน้าของพวกเขา
ในรายงานของอังก์ถัดยังได้ระบุว่า บริษัทข้ามชาติเหล่านี้ยังเห็นจีน อินเดีย สหรัฐฯ รัสเซียและบราซิลเป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุด
เมื่อพิจารณาถึงเอฟดีไอในปีที่แล้ว อังก์ถัด กล่าวว่า เงินลงทุนยังคงไหลเข้าอย่างเข้มแข็งไปสู่ทุกๆ ภูมิภาคของโลก และรัฐบาลต่างๆ ก็เดินหน้าปรับบรรยากาศในประเทศเพื่อดึงดูดเงินลงทุนและบรรษัทข้ามชาติให้เข้ามามากขึ้น แม้ว่าจะมีความกังวลเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในเรื่องลัทธิกีดกันการค้ากำลังทำท่าจะเติบโตขึ้นมา
อังก์ถัด บอกว่า มูลค่าเอฟดีไอรวมกันทั่วโลกนั้นทะลุระดับ 15 ล้านล้านดอลลาร์ จากการดำเนินงานของบรรษัทข้ามชาติ 79,000 แห่งซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทลูกในต่างประเทศราว 790,000 แห่ง
บริษัทลูกเหล่านี้ว่าจ้างพนักงาน 82 ล้านคนสร้างผลผลิตราว 11% ของผลผลิตมวลรวมของโลกในปี 2007 และมียอดขายเพิ่มขึ้น 21% หรือเท่ากับ 3 ล้านล้านดอลลาร์
ประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงดึงดูดเอฟดีไอมากที่สุด โดยมีเงินไหลเข้าไปราว 1.25 ล้านล้านดอลลาร์ แหล่งลงทุนที่สำคัญที่สุดยังคงเป็นสหรัฐฯ ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลงก็มีส่วนกระตุ้นเงินไหลเข้าไม่น้อย รองลงมาก็คือ อังกฤษ,ฝรั่งเศส,แคนาดา และเนเธอร์แลนด์
ส่วนเงินลงทุนโดยตรงที่ไหลไปยังประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้น 21% มาแตะระดับ 5 แสนล้านดอลลาร์ ในจำนวนนี้ไหลเข้าไปในทวีปอัฟริกามากกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งนับว่าสูงเป็นประวัติการณ์
ในขณะเดียวกันอังก์ถัดก็คาดว่า เงินลงทุนไหลออกนั้นมีสูงกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ จำนวนที่แตกต่างกันนี้อังก์ถัดอธิบายว่าเป็นเพราะประเทศต่างๆ วัดเงินทุนไหลเข้าและไหลออกแตกต่างกันไปตามคำนิยามที่ให้ในประเภทต่างๆ
ประเทศกำลังพัฒนาเป็นแหล่งเงินทุนหลัก โดยมีเงินลงทุนไปยังภูมิภาคอื่นๆ ของโลกราว 1.69 พันล้านดอลลาร์ในปี 2007 ขณะที่สหรัฐฯ ยังคงเป็นประเทศที่เป็นแหล่งเงินทุนสูงสุดถึง 3.14 แสนล้านดอลลาร์
ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาก็พัฒนาความสามารถการเป็นแหล่งลงทุนโดยตรงของเองให้มากขึ้นโดยมีเงินทุนไหลออกไปถึง 2.53 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งแหล่งเงินลงทุนใหญ่ ได้แก่ จีน ฮ่องกง รัสเซีย