xs
xsm
sm
md
lg

Q&A Corner : ภาษีของตราสารหนี้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ตอนนี้การลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น ดูจะได้รับความนิยมของประชาชนทั่วไป ทางทีมงานจึงขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับภาษีของตราสารหนี้นะครับ โดยบทความดังกล่าวมากจาก หนังสือ 360 องศากับตราสารหนี้ ซึ่งเป็นหนังสือของตลาดตราสารหนี้ ใครสนใจก็ลองสอบถามไปที่ตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทยได้นะครับ อย่างไรก็ดีครับต้องขอบคุณตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทยด้วยครับ

เรื่องของภาษีตราสารหนี้ นั้นจะเกี่ยวข้องในเรื่องงของผลตอบเเทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ โดยสามารถเเบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ รายได้จากส่วนลด รายได้จากดอกเบี้ยรับ เเละรายได้ในส่วนกไรจากการขาย โดยรายได้จากส่วนลดเเละรายได้จากดอกเบี้ยรับ มักจะไม่เกิดพร้อมกัน เป็นเพราะรายได้จากส่วนลด จะเกิดขึ้นในตราสารหนี้ที่ไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยระหว่างทาง เเละเป็นการขายเนิ่มต้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าหน้าตั๋วหรือเรียกอีกอย่างว่า Discount Bond

ยกตัวอย่างเช่น ตั๋วเงินคลังที่รัฐบาลมีการประมูลกันทุกสัปดาห์ เมือมีผู้ซื้อคนเเรกตั้งเเต่ออกขาย ผู้ซื้อซึ่งจะกลายเป็นผู้ถือตราสารในเวลาต่อไป ซื้อขายตราสารหนี้ชนิดนี้ด้วยราคาที่ถูกกว่าราคาหน้าตั๋ว ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ซื้อที่ราคา 970 บาท จากราคาหน้าตั๋ว 1,000 บาท เป็นต้น เเละหากถือตราสารหนี้ นี้ไปจนครบกำหนดอายุ ผู้ถือนั้นก็จะได้รับเงินคืนที่จำนวน 1,000 บาท ดังนั้นกำไรส่วนต่าง 30 บาท ถือเป็นรายได้จากการลงทุนในตราสารหนี้

รายได้จากส่วนลด บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ถือหรือผู้ซื้อเมื่อตอนเริ่มเเรกนั้นจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในวันนั้น 15% ของส่วรนต่างที่ได้รับ (ส่วนต่างที่ 30 บาท) ซึ่งผู้ถือหรือผู้ซื้อตอนเริ่มเเรกที่เสนอขายนั้นสำหรับตราสารหนี้เเบบมีส่วนลด เฉพาะผู้ถือคนเเรกเท่านั้นที่จะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายเเต่หากนาย ก ได้ขายให้กับ นาย ข ที่ราคา 985 บาท กำไรส่วนต่าง 15 บาทที่ นาย ก ได้รับ ไม่มีการหักภาษีส่วนนี้เเต่อย่างใด ในขณะเดียวกันกับนาย ข ก็ไม่ต้องเสียภาษีในส่วนรายได้จากส่วนลดเช่นกัน

รายได้ส่วนถัดมาเรื่องของ รายได้จากดอกเบี้ยรับ สำหรับตราสารหนี้ปกติทั่วไปที่เราคุ้นเคย ดอกเบี้ยรับส่วนนี้ถือว่าเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ดังนั้นทุกงวดที่ได้รับดอกเบี้ยผู้ถือ(บุคคลธรรมดา)ก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15 ของจำนวนดอกเบี้ยที่รับนั้น

รายได้ส่วนสุดท้าย คือ กำไรจากการขาย กรณีถือตราสารหนี้ (ไม่นับรวมตราสารหนี้เเบบมีส่วนลด) ไว้อยู่เเล้ว หากไม่ได้ถือจนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอนเเต่ขายให้กับผู้อื่นต่อไป ราคาที่ขายไปหากสูงกว่าราคาที่ซื้อมา เช่น นาย ก ซื้อมา 1,000 บาท ขายให้นาย ข ไปที่ราคา 1,010 บาท (ราคาในที่นี้เป็นราคาที่รวมดอกเบี้ยค้างรับหรือ Gross price) กำไรส่วนของ 10 บาทนี้ นาย ก จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15 ทั้งนี้หากขายขาดทุน ไม่มีการหักภาษีเเต่อย่างใด

ภาษีในส่วนกำไรจากการขาย หรือ (Capital Gain Tax) นี้สำหรับการลงทุนในตราสารทุน ที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เวลาขายเเล้วได้กำไร นักลงทุนจะได้รับเงินกำไรเต็มจำนวนจากส่วนนั้นเลย (เเต่ยังต้องเสียตค่าคอมมิชชั่นอยู่) ไม่ได้ถูกคิดภาษีกำไรนั้น เพื่อเป็นการพัฒนาตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์ จึงขอความร่วมมือจากกรมสรรพากร ในเรื่องนี้ ตลาดตราสารหนี้หรือ BEX ก็มีดำริเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการอยู่ เพื่อเป็นการลดข้อติดขัดในการทำธุรกรรม หรือการซื้อขายของผู้ลงทุนทั่ใไปนั่นเอง

สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยในเรื่องเกี่ยวกับกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์ไว้ที่ www.manager.co.th หน้ากองทุนรวม ครับ ทางทีมงานจะหาคำตอบมาให้ท่านอย่างเเน่นอน
กำลังโหลดความคิดเห็น