สมาคมบริษัทจัดการกองทุนได้จัดงานสัมนา เปิดมุมมองผู้บริหารกองทุน ครั้งที่ 4 ในหัวข้อสัมนา "ลงทุนอย่างไรในสภาวะตลาดผันผวน" โดยภายในงานได้เชิญคุณ สุขวัตน์ ประเสริฐยิ่ง Chiel Investment Officer บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เเมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด รัตนวรรณ เเสงกิตติมงคล Investment Manager บลจ.อเบอร์ดีน จำกัด เเละ วิญญู ศรีวิริยานนท์ Fund Manager บลจ. วรรณ จำกัด โดยมี คุณดวงกมล พิศาล ผู้อำนวยการสมาคมบริษัทจัดการกองทุนเป็นผู้ดำเนินรายการ...ซึ่งการสัมนาครั้งนี้ ได้พูดคุยถึงประเด็นที่ส่งผลกระทบกับตลาดหลักทรัพย์ของไทย นอกจากนี้ ยังได้เเนะนำให้นักลงทุนดูกลุ่มหุ้นเเละหุ้นรายตัวที่น่าลงทุนที่ดีอีกด้วย สำหรับงาน เสวนา Invester Update นั้นจะจัดขึ้นทุกวันอังคาร ตั้งเเต่เวลา 17.00-18.00 น. ณ โถงนิทรรศการชั้น 1 ตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย
ปัจจัยกดดันตลาดหุ้นอย่างต่อเนื่อง
วิทยากรทั้ง 3 คนนั้นมองปัญหาที่ส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นไทยคล้ายคลึงกันว่า ปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ เรื่องของเศรษฐกิจอเมริกา เเละเรื่องของการเมือง ยังเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นของประเทศไทย ซึ่งปัญหาเงินเฟ้อนั้น เป็นปัญหาที่รุมเร้าทั้งโลก เเนวโน้มในช่วงนี้อาจจะดีขึ้นเพราะราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) ที่มีราคาสูงขึ้นปรับตัวลดลงโดยเฉพาะราคาน้ำมัน
ก่อนหน้านี้ เราต้องยอมรับว่า ตลาดเกิดใหม่หรือตลาดเอเชีย ที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้ดีมานด์หรือความต้องการน้ำมันสูงขึ้น ถ้าลองสังเกตดูจะพบว่าตลาดเกิดใหม่นี้ ใช้สินค้าประเภทนี้อย่างไม่คุ้มค่า ทำให้ความต้องการพุ่งสูงขึ้น เเต่ตอนนี้เรื่องของอัตราเงินเฟ้อเริ่มที่จะคลายความกังวลได้บ้างเเล้ว เพราะราคาคอมมอดิตี เริ่มขยับตัวลดลง ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน หรือราคาเมล็ดพันธ์พืช เเละสินค้าคอมมอดิตีลดราคาลง สุดท้ายเเล้วกลุ่มบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากปัญาหาเงินเฟ้อก็เริ่มที่จะลดลง
ทางด้านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ของคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง.ครั้งหน้า คือวันที่ 27 สิงหาคม 2551 อาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อเริ่มคลี่คลาย โดยรัฐบาลเองก็ไม่อยากให้กนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก เพราะจะส่งผลให้ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจลดลง
สำหรับปัญหาเรื่องของเศรษฐกิจสหรัฐนั้น ค่อนข้างเดาได้ยาก เพราะหลายคนก็ยังมองไม่ตรงกัน ซึ่งเรามองว่าอเมริกาเป็นประเทศที่ค่อนข้างใหญ่ เมื่ออเมริกามีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจเเน่นอนว่าเอเชีย เเละประเทศไทย ต้องได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ซึ่งกลุ่มประเทศเกิดใหม่อย่างไทย เราพึ่งพาการส่งออกถึง 60% โดยสัดส่วนของการส่งออกนั้นจะเราจะส่งออกไปประเทศจีนเป็นหลัก รองลงมาคือกลุ่มประเทศยุโรป เเละอเมริกา ซึ่งถ้าประเทศเหล่านี้มีปัญหาเรื่องของเศรษฐกิจ นั่นก็หมายถึงว่าการส่งออกของเราจะได้รับผลกระทบไปด้วย
โดยวิทยากรทั้ง 3 มองตรงกันว่า ปัญหาซับไพร์มเป็นประเด็นหลัก ที่ยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาจะต้องเผชิญต่อ ซึ่งเริ่มจากปัญหาอสังหาริมทรัพย์ เเละลุกลามไปสถาบันการเงิน เมื่อพูดถึงราคาสถาบันการเงินที่มันดร๊อปลงมากๆ อย่างเช่นราคาหุ้นธนาคาร ในอเมริกามีมูลค่าที่ตราไว้เหลือ 8 เท่า คนก็ต้องมาดูว่าราคาที่ยุโรป หรือญี่ปุ่น อยู่ที่เท่าไรมันก็ปรับลงมา เเม้ว่าเราจะไม่มีปัญหา เเต่ความเป็นจริงนั้นมีปัญหาหมด เพราะมูลค่าของตลาดหุ้นมันเทียบเคียงกันทั่วโลก
เช่น ประมาณ 1ปี ที่ผ่านมา ปัญหาเรื่องซับไพร์มนั้น มีการจดบันทึกไว้ในบัญชีว่า ความเสียหายทั้งหมดกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยความเสียหายที่ว่านี้ ครึ่งหนึ่งอยู่ที่อเมริกา เเละอีกเกือบครึ่งอยู่ที่ยุโรป อีกประมาณ 5% อยู่ที่เอเชีย ซึ่งจริงๆเเล้วทุกคนได้รับผลกระทบหมด เเต่รากของปัญหาไม่ได้อยู่ในเอเชีย ที่เอเชียได้รับผลกระทบเพราะคนขายของออกมาเพราะกลัวความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ทำให้ทุกคนขายหุ้น ขายตราสารหนี้ ออกมาหมด
อเมริกา มีสินเชื่อเช่าซื้อบ้านขนาดประมาณ 12,00,000,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถามว่าใหญ่หรือไม่ ก็ต้องบอกว่าขนาดใหญ่เช่นกัน เมื่อมาเทียบกับ GDP 13,00,000,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง GDP ตัวนี้เป็นกุญเเจสำคัญที่ผลักดันให้เศรษฐกิจสหรัฐขับเคลื่อนไปได้ ใน 12,00,000,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่เป็นสินเชื่อซื้อบ้านนั้น 80% เป็นไพรม์ 20%เป็นซับไพรม์ ในส่วนของซับไพรม์นั้น มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือ NPLในไตรมาส 1ถึง 18% ความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดเหล่านี้ ได้กระทบสินเชื่ออื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต หรือ สินเชื่อบุคคล เเน่นอนว่ากระทบกับเศรษฐกิจโดยตรง
ส่วนปัจจัยสุดท้าย ปัจจัยการเมือง ดูค่อนข้างยากว่าจะจบเมื่อไร เเละอย่างไร โดยวิทยากรทั้ง 3 เชื่อว่า ปัญหาเรื่องของซับไพร์มจะยังส่งผลกระทบไปอีกนาน
หุ้นที่น่าสนใจลงทุนในภาวะตลาดผันผวน
วิทยากรทั้ง 3ได้เเนะการลงทุนในภาวะตลาดผันผวนเช่นนี้ ช่วงนี้เราอาจจะต้องเลือกหุ้นที่เกี่ยวไม่เกี่ยวข้องกับการส่งออก หรือหุ้นที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากการส่งออกน้อย ซึ่งถ้าเป็นหุ้นบริษัทที่มีการส่งออก ก็ต้องเป็นบริษัทที่มีการจัดการดี ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร ในช่วงภาวะความผันผวนเกิดขึ้นในสภาพตลาดเช่นนี้ การให้ชะลอซื้อหุ้นที่เกี่ยวกับการส่งออก เพราะการส่งออกของไทยอาจจะได้รับผลกระทบจากประเทศที่ไทยส่งออกเอง ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีนที่หลายฝ่ายคาดว่าเมื่อกีฬาโอลิมปิกจบ การจ้างงานก็จะน้อยลง ดีมาน์สุดท้ายก็จะไม่มากเท่าที่คิด ทำให้เศษฐกิจอาจชะลอลงได้ ขนาดเดียวกันอเมริกาเเละยุโรปนั้น ก็อาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิชะลอตัวเช่นกัน ส่วนหุ้นที่น่าลงทุนต่อเนื่องก็จะเป็นหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล
ฉะนั้นก็ต้องกลับมาดูหุ้นเป็นรายตัว ซึ่งก็ต้องดูต่อลึกลงไปว่า เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีหรือไม่ มีงบการเงินที่เเข็งเเกร่งทานทนต่อความผันผวนในตลาดได้หรือไม่ หรือเป็นหุ้นเลือกหุ้นที่ได้รับกับสภาวะต่างๆได้หรือไม่ เมื่อมีคำตอบเเล้วก็สามารถเลือกลงทุนได้
เเต่ถ้าเรามองว่าเราจะลงทุนระยะยาวเเล้ว ก็อย่าหวั่นไหวกับความผันผวนในช่วงสั้นๆนี้ สุดท้ายการซื้อหุ้นนั้น คนจะซื้อต่ำขายสูง ซึ่งความกลัวจะทำให้คนทำกันตรงกันข้ามนั้นเอง หรือถ้ามองระยะสั้นนั้น ก็ต้องดูว่าหุ้นอะไรน่าลงทุนบ้าง เช่นหุ้นกลุ่มอาหาร หรือ รถยนต์ ที่ช่วงนี้ให้อัตราผลตอบเเทนจากเงินปันผลค่อนข้างสูง ขณะเดียวกันหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ก็น่าลงทุนเช่นกัน