เอเอฟพี - นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาด วันอังคาร(5)นี้ เฟดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย "เฟดฟันด์เรต" ไว้ที่ 2.0% เท่าเดิม ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่อาจเดาทิศทางได้
นักวิเคราะห์กล่าวว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) แห่งธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ตกอยู่ในภาวะหนีเสือปะจระเข้ เนื่องจากหากลดดอกเบี้ยจะเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้ความกดดันด้านเงินเฟ้อพุ่งขึ้น ขณะที่การขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นอันตรายต่อสมดุลเศรษฐกิจที่กำลังเปราะบาง
สกอตต์ แอนเดอร์สัน นักเศรษฐศาสตร์ของเวลส์ ฟาร์โก มองว่าเบน เบอร์นันกี ประธานเฟด และนายธนาคารกลางคนอื่นๆ จะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.0% เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะนี้เต็มไปด้วยความสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก
ข้อมูลล่าสุดของทางการระบุว่า เศรษฐกิจแดนอินทรีขยายตัวในอัตรา 1.9% ในไตรมาสสอง ซึ่งถือว่าดีกว่าไตรมาสแรกของปี แต่ที่ดีขึ้นอาจเป็นเพราะได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฉุกเฉิน มูลค่าถึง 168,000 ล้านดอลลาร์
ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง อัตราว่างงานในช่วงเดือนกรกฎาคมก็ขยับขึ้นเป็น 5.7% นักเศรษฐศาสตร์ชี้ว่า การปลดพนักงานในปีนี้ไม่ได้เลวร้ายเหมือนช่วงเศรษฐกิจถดถอยคราวที่แล้ว กระนั้น อัตราว่างงานล่าสุดก็ถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบสี่ปี
นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่า ประเทศเจ้าของเศรษฐกิจมูลค่า 14 ล้านล้านดอลลาร์แห่งนี้ เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว โดยชี้ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ทางการอเมริกันได้ทบทวนปรับอัตราการเติบโตไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วเป็นติดลบ 0.2% แต่นักวิเคราะห์คนอื่นๆ กลับเห็นว่าเศรษฐกิจไม่ได้ย่ำแย่นัก และสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้
หากการคาดการณ์ของตลาดถูกต้อง เฟดจะยืนอัตราดอกเบี้ยเฟดฟันด์เรต ให้คงเดิมเป็นครั้งที่สองติดต่อกันในวันพรุ่งนี้ (5) หลังจากลดดอกเบี้ยตัวนี้ลงมาแรงๆ รวมแล้ว 3.25% ระหว่างเดือนกันยายนปีที่แล้ว ถึงปลายเดือนเมษายนปีนี้
ระลอกการลดดอกเบี้ยเฟดฟันด์เรต ซึ่งเป็นเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยที่เฟดประสงค์จะให้บรรดาธนาคารคิดเมื่อปล่อยกู้ระหว่างแบงก์ด้วยกันในชั่วระยะเวลาข้ามคืน ดังกล่าวนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ถูกคุกคามจากภาวะตลาดที่อยู่อาศัยตกต่ำ สินเชื่อตึงตัวในอุตสาหกรรมการธนาคาร และภาวะน้ำมันแพง
ระหว่างการแถลงต่อรัฐสภาเมื่อเดือนที่แล้ว เบอร์นันกีกล่าวว่า ตลาดที่อยู่อาศัยถือเป็นแกนกลางของวิกฤตปัจจุบัน สะท้อนว่า ถ้ามีการฟื้นตัวในตลาดที่อยู่อาศัย ก็น่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเช่นกัน
ทั้งนี้ เชื่อกันว่าเฟดไม่มีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าตลาดที่อยู่อาศัยจะกลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง โดยเฉพาะในขณะที่ผู้บริโภคยังคงตัดลดงบประมาณสำหรับสินค้ารายการใหญ่ เช่น รถยนต์
จอห์น ลอนสกี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส เป็นคนหนึ่งที่เชื่อในทิศทางนี้ เขาชี้ว่าสัปดาห์นี้เฟดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากยังกังวลกับภัยคุกคามด้านเงินเฟ้อระยะยาวจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์
นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่าเฟดอาจคิดที่จะขึ้นดอกเบี้ยอยู่เหมือนกัน ส่วนหนึ่งเพื่อสกัดความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อจากภาวะน้ำมันแพง กระนั้น ตลาดที่อยู่อาศัยที่ซบเซาอาจต้อนผู้วางนโยบายเหล่านี้ให้จนมุม
"ในบันทึกการประชุมเดือนมิถุนายน เอฟโอเอ็มซีบรรยายว่าแนวโน้มเศรษฐกิจ 'ไม่แน่นอนอย่างยิ่ง' และแนวทางที่เหมาะสมสำหรับอัตราดอกเบี้ยก็ 'ไร้ความชัดเจนอย่างสิ้นเชิง' มีเหตุผลที่สามารถหยิบยกขึ้นมาชี้โต้แย้งได้ว่า ภาวะแวดล้อมด้านนโยบายที่อึมครึมเช่นนี้มีแต่เลวร้ายลงอีกด้วยซ้ำในช่วงเวลาหกสัปดาห์ก่อนจะถึงการประชุมครั้งต่อไป (ในวันอังคารที่5นี้)" ทีมนักวิเคราะห์จากเลห์แมน บราเธอร์สตั้งข้อสังเกตไว้ในรายงานส่งถึงลูกค้า
คาดกันว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน หรือต้นปีหน้าเมื่อตลาดที่อยู่อาศัยฟื้น ความกดดันด้านเงินเฟ้อสงบลง และเศรษฐกิจเริ่มขยายตัวอีกครั้ง
อย่างไรก็ดี อย่างที่พวกนักเศรษฐศาสตร์ที่คร่ำหวอดมักจะเตือนว่า ไม่มีใครสามารถอ่านอนาคตได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงอาจตรงกันข้ามกับสิ่งที่คาดไว้
นักวิเคราะห์กล่าวว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงิน (เอฟโอเอ็มซี) แห่งธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ตกอยู่ในภาวะหนีเสือปะจระเข้ เนื่องจากหากลดดอกเบี้ยจะเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้ความกดดันด้านเงินเฟ้อพุ่งขึ้น ขณะที่การขึ้นดอกเบี้ยจะเป็นอันตรายต่อสมดุลเศรษฐกิจที่กำลังเปราะบาง
สกอตต์ แอนเดอร์สัน นักเศรษฐศาสตร์ของเวลส์ ฟาร์โก มองว่าเบน เบอร์นันกี ประธานเฟด และนายธนาคารกลางคนอื่นๆ จะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.0% เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะนี้เต็มไปด้วยความสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก
ข้อมูลล่าสุดของทางการระบุว่า เศรษฐกิจแดนอินทรีขยายตัวในอัตรา 1.9% ในไตรมาสสอง ซึ่งถือว่าดีกว่าไตรมาสแรกของปี แต่ที่ดีขึ้นอาจเป็นเพราะได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฉุกเฉิน มูลค่าถึง 168,000 ล้านดอลลาร์
ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง อัตราว่างงานในช่วงเดือนกรกฎาคมก็ขยับขึ้นเป็น 5.7% นักเศรษฐศาสตร์ชี้ว่า การปลดพนักงานในปีนี้ไม่ได้เลวร้ายเหมือนช่วงเศรษฐกิจถดถอยคราวที่แล้ว กระนั้น อัตราว่างงานล่าสุดก็ถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบสี่ปี
นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่า ประเทศเจ้าของเศรษฐกิจมูลค่า 14 ล้านล้านดอลลาร์แห่งนี้ เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว โดยชี้ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ทางการอเมริกันได้ทบทวนปรับอัตราการเติบโตไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วเป็นติดลบ 0.2% แต่นักวิเคราะห์คนอื่นๆ กลับเห็นว่าเศรษฐกิจไม่ได้ย่ำแย่นัก และสามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้
หากการคาดการณ์ของตลาดถูกต้อง เฟดจะยืนอัตราดอกเบี้ยเฟดฟันด์เรต ให้คงเดิมเป็นครั้งที่สองติดต่อกันในวันพรุ่งนี้ (5) หลังจากลดดอกเบี้ยตัวนี้ลงมาแรงๆ รวมแล้ว 3.25% ระหว่างเดือนกันยายนปีที่แล้ว ถึงปลายเดือนเมษายนปีนี้
ระลอกการลดดอกเบี้ยเฟดฟันด์เรต ซึ่งเป็นเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยที่เฟดประสงค์จะให้บรรดาธนาคารคิดเมื่อปล่อยกู้ระหว่างแบงก์ด้วยกันในชั่วระยะเวลาข้ามคืน ดังกล่าวนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ถูกคุกคามจากภาวะตลาดที่อยู่อาศัยตกต่ำ สินเชื่อตึงตัวในอุตสาหกรรมการธนาคาร และภาวะน้ำมันแพง
ระหว่างการแถลงต่อรัฐสภาเมื่อเดือนที่แล้ว เบอร์นันกีกล่าวว่า ตลาดที่อยู่อาศัยถือเป็นแกนกลางของวิกฤตปัจจุบัน สะท้อนว่า ถ้ามีการฟื้นตัวในตลาดที่อยู่อาศัย ก็น่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเช่นกัน
ทั้งนี้ เชื่อกันว่าเฟดไม่มีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าตลาดที่อยู่อาศัยจะกลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง โดยเฉพาะในขณะที่ผู้บริโภคยังคงตัดลดงบประมาณสำหรับสินค้ารายการใหญ่ เช่น รถยนต์
จอห์น ลอนสกี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส เป็นคนหนึ่งที่เชื่อในทิศทางนี้ เขาชี้ว่าสัปดาห์นี้เฟดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากยังกังวลกับภัยคุกคามด้านเงินเฟ้อระยะยาวจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์
นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่าเฟดอาจคิดที่จะขึ้นดอกเบี้ยอยู่เหมือนกัน ส่วนหนึ่งเพื่อสกัดความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อจากภาวะน้ำมันแพง กระนั้น ตลาดที่อยู่อาศัยที่ซบเซาอาจต้อนผู้วางนโยบายเหล่านี้ให้จนมุม
"ในบันทึกการประชุมเดือนมิถุนายน เอฟโอเอ็มซีบรรยายว่าแนวโน้มเศรษฐกิจ 'ไม่แน่นอนอย่างยิ่ง' และแนวทางที่เหมาะสมสำหรับอัตราดอกเบี้ยก็ 'ไร้ความชัดเจนอย่างสิ้นเชิง' มีเหตุผลที่สามารถหยิบยกขึ้นมาชี้โต้แย้งได้ว่า ภาวะแวดล้อมด้านนโยบายที่อึมครึมเช่นนี้มีแต่เลวร้ายลงอีกด้วยซ้ำในช่วงเวลาหกสัปดาห์ก่อนจะถึงการประชุมครั้งต่อไป (ในวันอังคารที่5นี้)" ทีมนักวิเคราะห์จากเลห์แมน บราเธอร์สตั้งข้อสังเกตไว้ในรายงานส่งถึงลูกค้า
คาดกันว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน หรือต้นปีหน้าเมื่อตลาดที่อยู่อาศัยฟื้น ความกดดันด้านเงินเฟ้อสงบลง และเศรษฐกิจเริ่มขยายตัวอีกครั้ง
อย่างไรก็ดี อย่างที่พวกนักเศรษฐศาสตร์ที่คร่ำหวอดมักจะเตือนว่า ไม่มีใครสามารถอ่านอนาคตได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงอาจตรงกันข้ามกับสิ่งที่คาดไว้