"วิสิฐ" ชี้ราคาน้ำมันแพงช่วง 2 ปี กระทบเศรษฐกิจทุกแขนง โดยเฉพาะเงินเฟ้อที่อาจจะขยับขึ้นถึง 9-10% ซึ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี ย้ำหากยังเป็นเช่นนี้ ไม่เป็นผลดีต่อตลาดเงินตลาดทุนแน่ ระบุ กบข. เน้นลงทุนอย่างระมัดระวังมากขึ้น พร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อปรับเปลี่ยนการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้เหมาะสม โชว์ผลงานตั้งเเต่จัดตั้ง กบข. ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8.2% ต่อปี
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมานานกว่า 2 ปี ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทุกแขนงในวงกว้างทั่วโลก ทำให้อัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้นตามอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในปีนี้อัตราเงินเฟ้อจะสูงถึงร้อยละ 9-10 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบ 10 ปี จะเห็นได้ว่าเงินเฟ้อไม่ได้มีผลกระทบต่อสภาวะทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุนด้วย
ทั้งนี้ หากภาวะราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง จะยิ่งส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ และไม่เป็นผลดีต่อตลาดเงินตลาดทุน เพราะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตทุกภาคส่วน และเมื่อต้นทุนการผลิตสูง ราคาสินค้าหรือบริการต่างๆ ก็จะยิ่งปรับตัวสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนหรือผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ จึงมีการปรับราคาสินค้าขึ้นตามต้นทุนที่เปลี่ยนไป ดังจะเห็นได้จากการปรับขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญหลายรายการ ที่เป็นการส่งผ่านภาระของราคาสินค้าไปให้กับผู้บริโภค ทำให้กำลังซื้อลดลง
โดยปัจจัยดังกล่าวข้างต้นส่งผลกระทบต่อตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก ทำให้มีการเคลื่อนย้ายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น กบข.จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่กองทุนจะต้องเพิ่มความระมัดระวังการลงทุนมากขึ้น พร้อมๆ กับคอยติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับเปลี่ยนหรือกระจายการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องผลตอบแทนของการลงทุนนั้น เนื่องจาก กบข.เป็นกองทุนเงินออมระยะยาว จึงให้ความสำคัญกับผลตอบแทนการลงทุนระยะยาวมากกว่าผลตอบแทนระยะสั้น และพิจารณาเป็นค่าเฉลี่ย เช่น ค่าเฉลี่ย 3 ปี 5 ปี 10 ปี เพราะเงินของสมาชิก กบข. จะเป็นเงินออมระยะยาวอยู่กับกองทุนเฉลี่ยเวลาประมาณ 12 ปี และนับตั้งแต่จัดตั้ง กบข. ในปี 2540 เป็นต้นมาได้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 8.2 ต่อปี
ก่อนหน้านี้ นายวิสิฐกล่าวถึงกลยุทธิ์การลงทุนในช่วงที่ผ่านมาว่า การลงทุนในตลาดหุ้นไทยของ กบข. ยังไม่ได้มีการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างมีนัยยะสำคัญหลังดัชนีผันผวนอย่างหนัก โดยยังคงให้น้ำหนักการลงทุนเท่าเดิมประมาณ 10-11% ซึ่งมีบางส่วนบ้างที่ถือเป็นเงินสดเอาไว้ อย่างไรก็ตาม มองว่าตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาคก็ไม่ถือว่าถูก เพราะในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นอื่นก็ปรับตัวลงมามากเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ไทยเองยังมีปัญหาการเมืองในประเทศอยู่ด้วย ดังนั้น ในมุมมองของนักลงทุนต่างประเทศคงจะมองเปรียบเทียบตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นอื่นเช่นกัน
สำหรับการลงทุนในต่างประเทศว่า กบข.มีแผนที่จะลงทุนในหุ้นต่างประเทศเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว โดยจะเน้นการลงทุนในนิติบุคคลต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศด้วย แต่ในขณะนี้ กบข.ยังไม่รีบร้อนที่จะนำเงินออกไปลงทุน จนกว่าทุกอย่างจะชัดเจน โดยเฉพาะเศรษฐกิจของโลกต้องมีเสถียรภาพเพียงพอ เพราะตราบใดที่ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) สหรัฐยังไม่จบ โอกาสที่ตลาดหุ้นทั่วโลกจะผันผวนก็ยังมีอยู่ เพราะธนาคารกลางสหรัฐเองก็ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพราะกลัวกระทบกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ในขณะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวลงมาแล้ว 15-20% ก็ยังไม่รู้ว่าจะปรับตัวลงไปอีกหรือไม่
ทั้งนี้ เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐยังมีปัญหา ก็จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าตามไปด้วย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้คนโยกเงินออกจากสินทรัพย์ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ไปสู่น้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยการเก็งกำไรด้วย
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมานานกว่า 2 ปี ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทุกแขนงในวงกว้างทั่วโลก ทำให้อัตราเงินเฟ้อและค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้นตามอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในปีนี้อัตราเงินเฟ้อจะสูงถึงร้อยละ 9-10 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบ 10 ปี จะเห็นได้ว่าเงินเฟ้อไม่ได้มีผลกระทบต่อสภาวะทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการลงทุนด้วย
ทั้งนี้ หากภาวะราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง จะยิ่งส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ และไม่เป็นผลดีต่อตลาดเงินตลาดทุน เพราะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตทุกภาคส่วน และเมื่อต้นทุนการผลิตสูง ราคาสินค้าหรือบริการต่างๆ ก็จะยิ่งปรับตัวสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนหรือผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนี้ได้ จึงมีการปรับราคาสินค้าขึ้นตามต้นทุนที่เปลี่ยนไป ดังจะเห็นได้จากการปรับขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญหลายรายการ ที่เป็นการส่งผ่านภาระของราคาสินค้าไปให้กับผู้บริโภค ทำให้กำลังซื้อลดลง
โดยปัจจัยดังกล่าวข้างต้นส่งผลกระทบต่อตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก ทำให้มีการเคลื่อนย้ายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น กบข.จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่กองทุนจะต้องเพิ่มความระมัดระวังการลงทุนมากขึ้น พร้อมๆ กับคอยติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับเปลี่ยนหรือกระจายการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องผลตอบแทนของการลงทุนนั้น เนื่องจาก กบข.เป็นกองทุนเงินออมระยะยาว จึงให้ความสำคัญกับผลตอบแทนการลงทุนระยะยาวมากกว่าผลตอบแทนระยะสั้น และพิจารณาเป็นค่าเฉลี่ย เช่น ค่าเฉลี่ย 3 ปี 5 ปี 10 ปี เพราะเงินของสมาชิก กบข. จะเป็นเงินออมระยะยาวอยู่กับกองทุนเฉลี่ยเวลาประมาณ 12 ปี และนับตั้งแต่จัดตั้ง กบข. ในปี 2540 เป็นต้นมาได้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 8.2 ต่อปี
ก่อนหน้านี้ นายวิสิฐกล่าวถึงกลยุทธิ์การลงทุนในช่วงที่ผ่านมาว่า การลงทุนในตลาดหุ้นไทยของ กบข. ยังไม่ได้มีการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างมีนัยยะสำคัญหลังดัชนีผันผวนอย่างหนัก โดยยังคงให้น้ำหนักการลงทุนเท่าเดิมประมาณ 10-11% ซึ่งมีบางส่วนบ้างที่ถือเป็นเงินสดเอาไว้ อย่างไรก็ตาม มองว่าตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาคก็ไม่ถือว่าถูก เพราะในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นอื่นก็ปรับตัวลงมามากเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ไทยเองยังมีปัญหาการเมืองในประเทศอยู่ด้วย ดังนั้น ในมุมมองของนักลงทุนต่างประเทศคงจะมองเปรียบเทียบตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นอื่นเช่นกัน
สำหรับการลงทุนในต่างประเทศว่า กบข.มีแผนที่จะลงทุนในหุ้นต่างประเทศเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว โดยจะเน้นการลงทุนในนิติบุคคลต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศด้วย แต่ในขณะนี้ กบข.ยังไม่รีบร้อนที่จะนำเงินออกไปลงทุน จนกว่าทุกอย่างจะชัดเจน โดยเฉพาะเศรษฐกิจของโลกต้องมีเสถียรภาพเพียงพอ เพราะตราบใดที่ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) สหรัฐยังไม่จบ โอกาสที่ตลาดหุ้นทั่วโลกจะผันผวนก็ยังมีอยู่ เพราะธนาคารกลางสหรัฐเองก็ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพราะกลัวกระทบกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ในขณะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวลงมาแล้ว 15-20% ก็ยังไม่รู้ว่าจะปรับตัวลงไปอีกหรือไม่
ทั้งนี้ เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐยังมีปัญหา ก็จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าตามไปด้วย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้คนโยกเงินออกจากสินทรัพย์ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ไปสู่น้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยการเก็งกำไรด้วย