ธปท.เผยผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดแรงกดดันจากต้นทุนเพิ่มขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า แต่ยังคงตรึงราคาสินค้าไปจนถึงสิ้นปีนี้ เหตุการแข่งขันยังสูง คาดครึ่งหลังอุปสงค์ในประเทศยังชะลอกว่าครึ่งแรกของปี จึงจำเป็นต้องหันมาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางการจำหน่ายในตลาดทั้งในและต่างประเทศ
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุว่า สายนโยบายการเงิน ธปท.ได้สำรวจเรื่องกลไกการส่งผ่านต้นทุนการผลิตและการส่งผ่านสู่ราคา เพื่อสะท้อนการคาดการณ์และแรงกดดันเงินเฟ้อที่มาจากด้านต้นทุน ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการจำนวน 341 ราย รอบล่าสุดเมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า แม้ในระยะเวลาสั้นผู้ประกอบการยังยอมแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนที่ต้องใช้วัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูป พลังงาน และค่าแรง แม้แรงกดดันจากต้นทุนทางการเงินมีเล็กน้อย แต่ผู้ประกอบการคาดว่าแรงกดดันจากต้นทุนในระยะ 12 เดือนข้างหน้ายังคงมีอยู่ต่อเนื่องเป็นแรงกดดันที่สำคัญต่อการคาดการณ์เงินเฟ้อในช่วงต่อไป
“งานที่เกี่ยวกับการประมูล การทำสัญญาล่วงหน้า และการรอการอนุมัติการปรับขึ้นราคาจากกรมการค้าภายใน รวมทั้งจากภาวะการแข่งขันที่สูงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการยังชะลอการปรับขึ้นราคาอยู่ แต่แรงกดดันต้นทุนให้มีการปรับขึ้นราคาในอีก 12 เดือนข้างหน้ายังมีอยู่”
นอกจากนี้ ธปท.ยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจกับนักธุรกิจไทยทั่วประเทศจำนวน 87 รายในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 พบว่า ยอดขายของภาคธุรกิจ การใช้จ่ายภาคเอกชน และการลงทุนชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและกำไรของธุรกิจ(Profit Margin) ลดลง ถือเป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ
“ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ผู้ประกอบการยังเชื่อว่าอุปสงค์ในประเทศยังชะลอกว่าครึ่งแรกของปี ทำให้ผู้ประกอบการเน้นให้ความสำคัญการปรับตัวโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หาช่องทางการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจมากขึ้นด้วย”
ทั้งนี้ การใช้จ่ายภาคเอกชนมีการชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน สะท้อนจากยอดจำหน่ายของธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นรวมทั้งความกังวลต่อปัญหาเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาเน้นซื้อสินค้าคุณภาพและมีความคุ้มค่ามากขึ้น และในช่วงที่เหลือของปีนี้ทางผู้ประกอบการยังคาดว่าการใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงชะลอตัวกว่าครึ่งแรกของปี ทำให้ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่พยายามจะตรึงราคาสินค้าให้ได้จนสิ้นปี ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปีคาดว่าอุปทานใหม่จะชะลอตัวลง เนื่องจากต้นทุนวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องและการแข่งขันที่สูงขึ้น
ขณะเดียวกันภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจยังมีแนวโน้มที่ต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และธนาคารพาณิชย์เห็นสัญญาณการเร่งตัวบ้างของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร(Fixed Asset Investment) นอกเหนือจากการเร่งตัวของสินเชื่อประเภทเงินทุนหมุนเวียน อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดกับมาตรฐานให้สินเชื่อจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มคุณภาพของสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุว่า สายนโยบายการเงิน ธปท.ได้สำรวจเรื่องกลไกการส่งผ่านต้นทุนการผลิตและการส่งผ่านสู่ราคา เพื่อสะท้อนการคาดการณ์และแรงกดดันเงินเฟ้อที่มาจากด้านต้นทุน ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการจำนวน 341 ราย รอบล่าสุดเมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า แม้ในระยะเวลาสั้นผู้ประกอบการยังยอมแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนที่ต้องใช้วัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูป พลังงาน และค่าแรง แม้แรงกดดันจากต้นทุนทางการเงินมีเล็กน้อย แต่ผู้ประกอบการคาดว่าแรงกดดันจากต้นทุนในระยะ 12 เดือนข้างหน้ายังคงมีอยู่ต่อเนื่องเป็นแรงกดดันที่สำคัญต่อการคาดการณ์เงินเฟ้อในช่วงต่อไป
“งานที่เกี่ยวกับการประมูล การทำสัญญาล่วงหน้า และการรอการอนุมัติการปรับขึ้นราคาจากกรมการค้าภายใน รวมทั้งจากภาวะการแข่งขันที่สูงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการยังชะลอการปรับขึ้นราคาอยู่ แต่แรงกดดันต้นทุนให้มีการปรับขึ้นราคาในอีก 12 เดือนข้างหน้ายังมีอยู่”
นอกจากนี้ ธปท.ยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจและธุรกิจกับนักธุรกิจไทยทั่วประเทศจำนวน 87 รายในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 พบว่า ยอดขายของภาคธุรกิจ การใช้จ่ายภาคเอกชน และการลงทุนชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองส่งผลให้ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและกำไรของธุรกิจ(Profit Margin) ลดลง ถือเป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ
“ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ผู้ประกอบการยังเชื่อว่าอุปสงค์ในประเทศยังชะลอกว่าครึ่งแรกของปี ทำให้ผู้ประกอบการเน้นให้ความสำคัญการปรับตัวโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หาช่องทางการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น รวมถึงการเพิ่มความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจมากขึ้นด้วย”
ทั้งนี้ การใช้จ่ายภาคเอกชนมีการชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน สะท้อนจากยอดจำหน่ายของธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นรวมทั้งความกังวลต่อปัญหาเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาเน้นซื้อสินค้าคุณภาพและมีความคุ้มค่ามากขึ้น และในช่วงที่เหลือของปีนี้ทางผู้ประกอบการยังคาดว่าการใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงชะลอตัวกว่าครึ่งแรกของปี ทำให้ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่พยายามจะตรึงราคาสินค้าให้ได้จนสิ้นปี ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปีคาดว่าอุปทานใหม่จะชะลอตัวลง เนื่องจากต้นทุนวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องและการแข่งขันที่สูงขึ้น
ขณะเดียวกันภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจยังมีแนวโน้มที่ต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และธนาคารพาณิชย์เห็นสัญญาณการเร่งตัวบ้างของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร(Fixed Asset Investment) นอกเหนือจากการเร่งตัวของสินเชื่อประเภทเงินทุนหมุนเวียน อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดกับมาตรฐานให้สินเชื่อจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มคุณภาพของสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย