แบงก์ชาติเผยผลสำรวจความคิดเห็นธุรกิจ ชี้ภาคเอกชนส่วนใหญ่เริ่มชะลอการตัดสินใจลงทุนใหม่ รอดูผลมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ระบุของขายได้มากขึ้นก็จริง แต่เป็นสินค้าจำเป็นที่ราคาถูก จากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น
รายงานผลการสำรวจข้อมูลทางเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ซึ่งจัดทำภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจระหว่าง ธปท.และผู้ประกอบการทั่วประเทศจำนวน 110 รายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 ที่ผ่านมา พบว่า ภาคเอกชนมีความเห็นว่าสามารถขายของได้ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เห็นได้จากยอดจำหน่ายสินค้าและบริการที่ขยายตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคโดยเปลี่ยนไปซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็น และเลือกชนิดราคาถูกมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่าย โดยธุรกิจที่ยังขยายตัวได้ดีในไตรมาสแรกของปีนี้ คือธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ ประเภทโมเดิร์นเทรด และตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ จากการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือก E-20
นอกจากนี้ ภาคเอกชนส่วนใหญ่จึงตัดสินใจที่จะชะลอการลงทุนไว้ก่อน เพื่อรอผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และความชัดเจนเกี่ยวกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล เช่น การลงทุนด้านขนส่งปละสาธารณูปโภค ซึ่งจะมีผลต่อการลงทุนในช่วงต่อไปของภาคเอกชน นอกจากนั้น การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นวงกว้าง เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ภาคเอกชนติดตามก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนจริง แม้ในขณะนี้จะมีความพร้อมในการลงทุนแล้วก็ตาม สอดคล้องกับความต้องการสินเชื่อเพื่อลงทุนของธนาคารพาณิชย์ที่ยังขยายตัวไม่มาก สินเชื่อภาคครัวเรือนยังขยายตัวได้ดี
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อปัญหาราคาน้ำมัน และราคาวัตถุดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตให้เพิ่มขึ้น แต่กำไรจากการประกอบการลดลง เพราะในช่วงที่ผ่านมา การควบคุมราคาสินค้า และกำลังซื้อของประชาชนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการขึ้นราคาสินค้าได้ค่อนข้างจำกัด ทำให้ผู้ประกอบการใช้วิธีสต็อกวัตถุดิบที่ลดต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็พยายามเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจที่ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และการสะสมสต็อกของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเป็นเหตุผลให้สินเชื่อไตรมาสแรกขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
ด้านภาคการส่งออก ในไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวได้ดีมากกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก เนื่องจากความต้องการซื้อจากตลาดในยุโรป เอเชีย และตะวันออกกลางขยายตัวต่อเนื่อง ทดแทนตลาดสหรัฐที่ลดลงได้ นอกจากนั้น จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง ทำให้พฤติกรรมของผู้ส่งออกเปลี่ยนไป โดยมีการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า และการทำประกันความเสี่ยงกับสถาบันการเงินมากขึ้น รวมทั้ง มีการกำหนดราคาสินค้าเป็นเงินสกุลอื่นแทนดอลลาร์สหรัฐ เช่น การกำหนดราคาเป็นเงินยูโร และเงินเยนมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
รายงานผลการสำรวจข้อมูลทางเศรษฐกิจของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ซึ่งจัดทำภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจระหว่าง ธปท.และผู้ประกอบการทั่วประเทศจำนวน 110 รายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 ที่ผ่านมา พบว่า ภาคเอกชนมีความเห็นว่าสามารถขายของได้ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เห็นได้จากยอดจำหน่ายสินค้าและบริการที่ขยายตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคโดยเปลี่ยนไปซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็น และเลือกชนิดราคาถูกมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่าย โดยธุรกิจที่ยังขยายตัวได้ดีในไตรมาสแรกของปีนี้ คือธุรกิจค้าส่งค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ ประเภทโมเดิร์นเทรด และตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ จากการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือก E-20
นอกจากนี้ ภาคเอกชนส่วนใหญ่จึงตัดสินใจที่จะชะลอการลงทุนไว้ก่อน เพื่อรอผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และความชัดเจนเกี่ยวกับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล เช่น การลงทุนด้านขนส่งปละสาธารณูปโภค ซึ่งจะมีผลต่อการลงทุนในช่วงต่อไปของภาคเอกชน นอกจากนั้น การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นวงกว้าง เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ภาคเอกชนติดตามก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนจริง แม้ในขณะนี้จะมีความพร้อมในการลงทุนแล้วก็ตาม สอดคล้องกับความต้องการสินเชื่อเพื่อลงทุนของธนาคารพาณิชย์ที่ยังขยายตัวไม่มาก สินเชื่อภาคครัวเรือนยังขยายตัวได้ดี
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อปัญหาราคาน้ำมัน และราคาวัตถุดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตให้เพิ่มขึ้น แต่กำไรจากการประกอบการลดลง เพราะในช่วงที่ผ่านมา การควบคุมราคาสินค้า และกำลังซื้อของประชาชนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการขึ้นราคาสินค้าได้ค่อนข้างจำกัด ทำให้ผู้ประกอบการใช้วิธีสต็อกวัตถุดิบที่ลดต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็พยายามเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจที่ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และการสะสมสต็อกของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเป็นเหตุผลให้สินเชื่อไตรมาสแรกขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
ด้านภาคการส่งออก ในไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวได้ดีมากกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก เนื่องจากความต้องการซื้อจากตลาดในยุโรป เอเชีย และตะวันออกกลางขยายตัวต่อเนื่อง ทดแทนตลาดสหรัฐที่ลดลงได้ นอกจากนั้น จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง ทำให้พฤติกรรมของผู้ส่งออกเปลี่ยนไป โดยมีการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า และการทำประกันความเสี่ยงกับสถาบันการเงินมากขึ้น รวมทั้ง มีการกำหนดราคาสินค้าเป็นเงินสกุลอื่นแทนดอลลาร์สหรัฐ เช่น การกำหนดราคาเป็นเงินยูโร และเงินเยนมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ