ตลาดหลักทรัพย์ฯ รับหน่วยลงทุนประเภท ก. กองทุนรวมออมสินมูลค่า 1,875 ล้านบาท เข้าซื้อขายวันแรก 10 กรกฎาคมนี้ โดยใช้ชื่อย่อว่า "M-GSB" หลังสามารถระดมทุนจากประชาชนทั่วไปเต็มโครงการ
รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแจ้งว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ได้สั่งให้รับหน่วยลงทุนประเภท ก. ของกองทุนรวมออมสิน เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้หน่วยลงทุนประเภท ก. ของกองทุนรวมออมสินจำนวน 187,500,000 หน่วย มูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ 10 บาท มูลค่ารวม 1,875 ล้านบาทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2551 โดยจัดอยู่ในหมวด หน่วยลงทุนและใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า "M-GSB"
สำหรับกองทุนรวมออมสิน มีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เป็นบริษัทจัดการ โดยกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนรวมผสมที่ไม่กำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุน ที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Specific Fund) ประเภทโครงการปิด โดยกองทุนได้รับอนุมัติการจัดตั้งและจัดการจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ตามหนังสือ เลขที่ กลต.น.527/2551 ลงวันที่ 3 เมษายน 2551 บริษัทจัดการได้เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนให้แก่นักลงทุน ระหว่าง วันที่ 4-10 เมษายน 2551 ณ ราคาเสนอขายหน่วยลงทุนหน่วยละ 10 บาท และได้รับอนุมัติการจดทะเบียนกองทรัพย์สิน เป็นกองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทะเบียนเลขที่ 136/2551 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2551
โดยกองทุนรวมออมสิน มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารแห่งทุนที่ธนาคารออมสินถือครองเป็นหลักในช่วงแรกในส่วนที่เหลืออาจลงทุน ตราสารแห่งทุน ตราสารแห่งหนี้ และหรือเงินฝาก ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตลอดจนหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โดยสัดส่วนการลงทุนตามนโยบายดังกล่าวบริษัทจัดการจะพิจารณาปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับสภาวะการณ์ตลาดเงินและตลาดทุนตลอดจนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนทั้ง ปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ในแต่ละขณะ เพื่อผลตอบแทนการลงทุนที่ดีและเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivative) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือลงทุนตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง(Structured Note) รวมถึง Credit Linked Note ที่ออกโดยสถาบันการเงินที่เสนอขายทั้งในและต่างประเทศ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีการลงทุนในต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 30 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน สำหรับกองทุนรวมออมสินมีอายุโครงการ 5 ปี โดยบริษัทขอสงวนสิทธิที่จะขยายอายุโครงการได้ อีก 2 ปี หากดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงการจัดตั้งสูงกว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงการเลิกกองทุน
โดยกองทุนรวมออมสิน สามารถแบ่งประเภทของผู้ถือหน่วยลงทุนออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. หมายถึงผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับการคุ้มครองทั้งเงินลงทุนตามราคามูลค่าที่ตราไว้และอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำ โดยจะได้รับการคุ้มครองผลตอบแทนในอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำเฉลี่ยตลอดอายุโครงการร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. มีสิทธิที่จะได้รับเงินลงทุนคืนเมื่อเลิกกองทุน ก่อนผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข.โดยผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. จะได้รับการคืนเงินลงทุนไม่น้อยกว่ามูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนพร้อมกับเงินปันผลค้างรับ (ถ้ามี) จนครบก่อน จึงจะจ่ายให้ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข.
ทั้งนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้แก่ นักลงทุนทั่วไป ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งถือหน่วยลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 25 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด หรือ 187,500,000 หน่วย
ส่วนผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. หมายถึง ผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์จากเงินปันผลหลังจากที่จ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. นอกจากนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. จะได้รับเงินคืนจากการเลิกกองทุนหลังจากที่ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับไปแล้ว โดยผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. ได้แก่ ธนาคารออมสิน ซึ่งถือหน่วยลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 75 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด หรือ 562,500,000 หน่วย
"กองทุนรวมออมสินมีวัตถุประสงค์ที่จะตอบสนองผู้ลงทุนทั่วไป ที่ต้องการผลตอบแทนที่ดี และกระจายความเสี่ยงในการลงทุน โดยนำเงินลงทุนที่ระดมได้ไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นทุน ที่ธนาคารออมสินถือครองอยู่เป็นหลักในช่วงแรก รวมทั้งตราสารแห่งทุน ตราสารแห่งหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน และหรือเงินฝาก ตลอดจนหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะปรับอัตราส่วนให้เหมาะสมกับแนวโน้มของตลาดทุนและตลาดเงิน โดยมุ่งประโยชน์และผลตอบแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสำคัญ" รายงานข่าวกล่าว
รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแจ้งว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ได้สั่งให้รับหน่วยลงทุนประเภท ก. ของกองทุนรวมออมสิน เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้หน่วยลงทุนประเภท ก. ของกองทุนรวมออมสินจำนวน 187,500,000 หน่วย มูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ 10 บาท มูลค่ารวม 1,875 ล้านบาทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2551 โดยจัดอยู่ในหมวด หน่วยลงทุนและใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า "M-GSB"
สำหรับกองทุนรวมออมสิน มีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เป็นบริษัทจัดการ โดยกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนรวมผสมที่ไม่กำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารทุน ที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (Specific Fund) ประเภทโครงการปิด โดยกองทุนได้รับอนุมัติการจัดตั้งและจัดการจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ตามหนังสือ เลขที่ กลต.น.527/2551 ลงวันที่ 3 เมษายน 2551 บริษัทจัดการได้เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนให้แก่นักลงทุน ระหว่าง วันที่ 4-10 เมษายน 2551 ณ ราคาเสนอขายหน่วยลงทุนหน่วยละ 10 บาท และได้รับอนุมัติการจดทะเบียนกองทรัพย์สิน เป็นกองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ทะเบียนเลขที่ 136/2551 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2551
โดยกองทุนรวมออมสิน มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารแห่งทุนที่ธนาคารออมสินถือครองเป็นหลักในช่วงแรกในส่วนที่เหลืออาจลงทุน ตราสารแห่งทุน ตราสารแห่งหนี้ และหรือเงินฝาก ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตลอดจนหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โดยสัดส่วนการลงทุนตามนโยบายดังกล่าวบริษัทจัดการจะพิจารณาปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับสภาวะการณ์ตลาดเงินและตลาดทุนตลอดจนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนทั้ง ปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ในแต่ละขณะ เพื่อผลตอบแทนการลงทุนที่ดีและเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
ทั้งนี้ บริษัทจัดการอาจพิจารณาลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivative) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือลงทุนตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง(Structured Note) รวมถึง Credit Linked Note ที่ออกโดยสถาบันการเงินที่เสนอขายทั้งในและต่างประเทศ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีการลงทุนในต่างประเทศไม่เกินร้อยละ 30 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน สำหรับกองทุนรวมออมสินมีอายุโครงการ 5 ปี โดยบริษัทขอสงวนสิทธิที่จะขยายอายุโครงการได้ อีก 2 ปี หากดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงการจัดตั้งสูงกว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงการเลิกกองทุน
โดยกองทุนรวมออมสิน สามารถแบ่งประเภทของผู้ถือหน่วยลงทุนออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. หมายถึงผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับการคุ้มครองทั้งเงินลงทุนตามราคามูลค่าที่ตราไว้และอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำ โดยจะได้รับการคุ้มครองผลตอบแทนในอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำเฉลี่ยตลอดอายุโครงการร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. มีสิทธิที่จะได้รับเงินลงทุนคืนเมื่อเลิกกองทุน ก่อนผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข.โดยผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. จะได้รับการคืนเงินลงทุนไม่น้อยกว่ามูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนพร้อมกับเงินปันผลค้างรับ (ถ้ามี) จนครบก่อน จึงจะจ่ายให้ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข.
ทั้งนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้แก่ นักลงทุนทั่วไป ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งถือหน่วยลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 25 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด หรือ 187,500,000 หน่วย
ส่วนผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. หมายถึง ผู้ถือหน่วยลงทุนที่จะได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์จากเงินปันผลหลังจากที่จ่ายผลตอบแทนขั้นต่ำให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. นอกจากนี้ ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. จะได้รับเงินคืนจากการเลิกกองทุนหลังจากที่ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. ได้รับไปแล้ว โดยผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข. ได้แก่ ธนาคารออมสิน ซึ่งถือหน่วยลงทุนในสัดส่วนร้อยละ 75 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด หรือ 562,500,000 หน่วย
"กองทุนรวมออมสินมีวัตถุประสงค์ที่จะตอบสนองผู้ลงทุนทั่วไป ที่ต้องการผลตอบแทนที่ดี และกระจายความเสี่ยงในการลงทุน โดยนำเงินลงทุนที่ระดมได้ไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นทุน ที่ธนาคารออมสินถือครองอยู่เป็นหลักในช่วงแรก รวมทั้งตราสารแห่งทุน ตราสารแห่งหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน และหรือเงินฝาก ตลอดจนหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะปรับอัตราส่วนให้เหมาะสมกับแนวโน้มของตลาดทุนและตลาดเงิน โดยมุ่งประโยชน์และผลตอบแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสำคัญ" รายงานข่าวกล่าว