เมื่อเร็ว ๆ นี้ กบข. ได้ร่วมมือกับวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการวิจัยเรื่อง “ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรต่อวิถีชิวิตของประชากรกับทิศทางในอนาคต” โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1.เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินวิถีชีวิต พฤติกรรมทัศนคติ ด้านการใช้จ่าย การเก็บออม การวางแผนเกษียณอายุ 2.ความคาดหวังที่จะได้รับการเกื้อหนุนเมื่อเกษียณอายุ 3.ต้องการประเมินความรู้ความเข้าใจของสมาชิกที่ตกเป็นตัวอย่างในเรื่องการบริหารจัดการ หรือวางแผนเกี่ยวกับเงินออม และการลงทุนในรูปแบบต่างๆ สำหรับการสร้างหลักประกันในอนาคตให้แก่ตนเองและครอบครัวภายหลังการเกษียณอายุ
สำหรับกลุ่มตัวอย่างคือ “ข้าราชการสมาชิก กบข.” ซึ่งผลของการรวบรวมข้อมูลแบบสอบกลับคืนรวมจำนวน 2,691 ราย และทั้งเพศชายและหญิง โดยงานวิจัยมีสมมุติฐานสำคัญว่า “กลุ่มประชากรตัวอย่างต่างรุ่นเกิด 3 รุ่น” คือ 1. ช่วงอายุ 25-34 ปี 2.ช่วงอายุ 25-49 ปี และ 3. ช่วงอายุ 50-59 ปี และในต่างรุ่นเกิดนี้ต่างมี “ภาวะแวดล้อมด้านโครงสร้างประชากร เศรษฐกิจ และสังคมที่ต่างกัน”
ผลการศึกษาที่น่าสนใจคือ สมาชิก กบข. โดยภาพรวมจะมีการศึกษาในระดับปานกลางคือปริญญาตรี โดยข้าราชการชายในสัดส่วนค่อนข้างมากมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและส่งผลให้ไม่มีเงินออมพอเพียงและส่วนใหญ่ตกอยู่ในกลุ่มผู้มีหนี้สินซึ่งมีวงเงินค่อนข้างสูง
ทั้งนี้หากพิจารณาผลจาก “เพศ” และ “3 กลุ่มอายุ” พบว่า ข้าราชการหญิงและผู้สูงวัยมีเงินออมในปัจจุบันมากกว่ามีการวางแผนเรื่องการจัดสรรเงินออมเพื่อการเกษียณอายุ มากกว่ากลุ่มข้าราชการชายและผู้มีอายุน้อย โดยกลุ่มหลังนี้อาจเห็นว่าการเกษียณอายุเป็นเรื่องไกลตัวเนื่องจากรายได้น้อย และต้องจัดสรรเงินไปใช้สำหรับเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญกว่า ส่งผลให้มีเงินออมน้อยหรือยังไม่มีเลย
สำหรับฉบับนี้ เกริ่นได้เพียงเริ่มต้นเท่านั้น แต่ว่าผลงานวิชาการ กบข. ชิ้นนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจในแง่มุมต่าง ๆ อีกมาก อยากให้ผู้อ่านติดตามต่อเนื่อง เพื่อจะได้ร่วมกันเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน
พบกันในครั้งต่อไปนะคะ
สำหรับกลุ่มตัวอย่างคือ “ข้าราชการสมาชิก กบข.” ซึ่งผลของการรวบรวมข้อมูลแบบสอบกลับคืนรวมจำนวน 2,691 ราย และทั้งเพศชายและหญิง โดยงานวิจัยมีสมมุติฐานสำคัญว่า “กลุ่มประชากรตัวอย่างต่างรุ่นเกิด 3 รุ่น” คือ 1. ช่วงอายุ 25-34 ปี 2.ช่วงอายุ 25-49 ปี และ 3. ช่วงอายุ 50-59 ปี และในต่างรุ่นเกิดนี้ต่างมี “ภาวะแวดล้อมด้านโครงสร้างประชากร เศรษฐกิจ และสังคมที่ต่างกัน”
ผลการศึกษาที่น่าสนใจคือ สมาชิก กบข. โดยภาพรวมจะมีการศึกษาในระดับปานกลางคือปริญญาตรี โดยข้าราชการชายในสัดส่วนค่อนข้างมากมีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและส่งผลให้ไม่มีเงินออมพอเพียงและส่วนใหญ่ตกอยู่ในกลุ่มผู้มีหนี้สินซึ่งมีวงเงินค่อนข้างสูง
ทั้งนี้หากพิจารณาผลจาก “เพศ” และ “3 กลุ่มอายุ” พบว่า ข้าราชการหญิงและผู้สูงวัยมีเงินออมในปัจจุบันมากกว่ามีการวางแผนเรื่องการจัดสรรเงินออมเพื่อการเกษียณอายุ มากกว่ากลุ่มข้าราชการชายและผู้มีอายุน้อย โดยกลุ่มหลังนี้อาจเห็นว่าการเกษียณอายุเป็นเรื่องไกลตัวเนื่องจากรายได้น้อย และต้องจัดสรรเงินไปใช้สำหรับเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญกว่า ส่งผลให้มีเงินออมน้อยหรือยังไม่มีเลย
สำหรับฉบับนี้ เกริ่นได้เพียงเริ่มต้นเท่านั้น แต่ว่าผลงานวิชาการ กบข. ชิ้นนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจในแง่มุมต่าง ๆ อีกมาก อยากให้ผู้อ่านติดตามต่อเนื่อง เพื่อจะได้ร่วมกันเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน
พบกันในครั้งต่อไปนะคะ