ตลท. จับมือ มูลนิธิเพื่อสนับสนุนการพัฒนาวิชาการทางนิติศาสตร์ เปิดเวทีระดมความคิดเห็น เรื่อง มาตรการภาษีส่งเสริมบริษัทเข้าจดทะเบียน เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาตลาดทุนไทย โดยมีตัวแทนจากสถาบันการลงทุนต่างๆ ร่วมสัมนาให้ความรู้
รายงานข่าวจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ทางตลท. ได้ร่วมมือกับ มูลนิธิเพื่อสนับสนุนการพัฒนาวิชาการทางนิติศาสตร์ จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง "มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมตลาดทุน กรณีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์" ในวันที่ 16 มิถุนายน 2551 โดยในงานมีผู้แทนจากสภาธุรกิจตลาดทุนไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่จากกรมสรรพากร รวมถึง คณะทำงานด้านภาษีเพื่อพัฒนาตลาดทุน ร่วมแสดงความเห็น
นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ขณะนี้ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ระหว่างจัดทำโครงการศึกษามาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมตลาดทุน โดยศึกษากรณีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการศึกษาและพัฒนาประมวลรัษฎากรจัดตั้งเพื่อศึกษาและปรับปรุงประมวลรัษฎากร ของศูนย์วิจัยกฎหมายและพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งในครงการดังกล่าว ทำให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินมาตรการด้านภาษีเพื่อการพัฒนาตลาดทุนต่อไป
ด้าน นายอัครพงษ์ ไทยานนท์ ผู้แทนจากสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า ภาครัฐถือว่ามีบทบาทสำคัญที่จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่ง มาตรการภาษีที่ภาครัฐได้ดำเนินการนั้นเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้การระดมความเห็นในงานสัมนานี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการส่งเสริมให้มีมาตรการทางภาษีที่เหมาะสม
ขณะที่นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ หนึ่งในคณะทำงานด้านภาษีเพื่อพัฒนาตลาดทุน คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย เปิดเผยว่า มาตรการด้านภาษี เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยส่งเสริมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทย โดยมาตรการที่จะมีการดำเนินการ ได้แก่ การออกมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงการพิจารณาอุปสรรคทั้งด้านภาษีและด้านกฎหมายของการควบรวมกิจการในประเทศไทย
ทั้งนี้ จากสถิติการเสียภาษีของบริษัทจดทะเบียนประจำปี 2549 พบว่าบริษัทจดทะเบียนเสียภาษีประมาณร้อยละ 35 ของภาษีที่ภาครัฐได้รับจากรายได้ของนิติบุคคลทั้งหมด หรือประมาณ 1 ใน 3 ของรายได้ของภาษีนิติบุคคลทั้งหมด ซึ่งเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29 ในปี 2548 โดยหากเทียบสัดส่วนจำนวนบริษัทจดทะเบียน กับนิติบุคคลทั้งระบบแล้ว บริษัทจดทะเบียนประมาณ 500 กว่าแห่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.1 ของนิติบุคคลทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น ถึงแม้จะมีการมาตรการส่วนลดภาษีนิติบุคคล เพื่อจูงใจให้มีบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2544 ที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนยังเป็นกลุ่มผู้เสียภาษีที่ส่งรายได้หลักจาก ภาษีนิติบุคคลให้แก่ภาครัฐ
" การมีมาตรการภาษีเพื่อเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้น จะเป็นการดึงบริษัทเข้าสู่การมีระบบบัญชีที่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ภาครัฐมีรายได้จากภาษีเพิ่มมากขึ้น และสามารถนำไปพัฒนาทั้งระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวมได้ การมีมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการเข้าจดทะเบียน จึงเป็นมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ" นายกิติพงศ์กล่าว
นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ ที่ปรึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ในการสัมมนานี้จะมีการระดมความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อพิจารณาหามาตรการทางภาษีที่เหมาะสมใน 6 ประเด็นได้แก่ ประเด็นแรกได้แก่ การพิจารณาโครงสร้างและมาตรการทางภาษีของบริษัทจดทะเบียนเป็นการถาวรโดยมีอัตราภาษีที่ต่างจากบริษัททั่วไป ประเด็นที่สอง คือสิทธิประโยชน์ของบริษัทย่อยของบริษัทจดทะเบียน ประเด็นต่อมาคือ สิทธิประโยชน์ของบริษัทกรณีมีการควบรวมกิจการและการปรับโครงสร้าง ประเด็นต่อมา คือ สิทธิประโยชน์อื่นๆ เพื่อจูงใจให้เข้าสู่ระบบบัญชีที่เป็นมาตรฐาน ประด็นที่ห้าคือ การลงทุนของบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศ เช่น การลงทุนผ่าน Holding Company และ ประเด็นสุดท้าย คือ การหักค่าใช้จ่ายของบริษัทจดทะเบียน
นอกจากนี้ ในงานสัมนาที่จัดขึ้นนี้ได้มีการรวบรวมความเห็นทั้งหมดจากการสัมมนาเสนอต่อคณะทำงานด้านภาษีเพื่อพัฒนาตลาดทุน เพื่อพิจารณากลั่นกรองและนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
รายงานข่าวจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ทางตลท. ได้ร่วมมือกับ มูลนิธิเพื่อสนับสนุนการพัฒนาวิชาการทางนิติศาสตร์ จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง "มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมตลาดทุน กรณีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์" ในวันที่ 16 มิถุนายน 2551 โดยในงานมีผู้แทนจากสภาธุรกิจตลาดทุนไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่จากกรมสรรพากร รวมถึง คณะทำงานด้านภาษีเพื่อพัฒนาตลาดทุน ร่วมแสดงความเห็น
นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ขณะนี้ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ระหว่างจัดทำโครงการศึกษามาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมตลาดทุน โดยศึกษากรณีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการศึกษาและพัฒนาประมวลรัษฎากรจัดตั้งเพื่อศึกษาและปรับปรุงประมวลรัษฎากร ของศูนย์วิจัยกฎหมายและพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งในครงการดังกล่าว ทำให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินมาตรการด้านภาษีเพื่อการพัฒนาตลาดทุนต่อไป
ด้าน นายอัครพงษ์ ไทยานนท์ ผู้แทนจากสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า ภาครัฐถือว่ามีบทบาทสำคัญที่จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่ง มาตรการภาษีที่ภาครัฐได้ดำเนินการนั้นเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้การระดมความเห็นในงานสัมนานี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการส่งเสริมให้มีมาตรการทางภาษีที่เหมาะสม
ขณะที่นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ หนึ่งในคณะทำงานด้านภาษีเพื่อพัฒนาตลาดทุน คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย เปิดเผยว่า มาตรการด้านภาษี เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยส่งเสริมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทย โดยมาตรการที่จะมีการดำเนินการ ได้แก่ การออกมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงการพิจารณาอุปสรรคทั้งด้านภาษีและด้านกฎหมายของการควบรวมกิจการในประเทศไทย
ทั้งนี้ จากสถิติการเสียภาษีของบริษัทจดทะเบียนประจำปี 2549 พบว่าบริษัทจดทะเบียนเสียภาษีประมาณร้อยละ 35 ของภาษีที่ภาครัฐได้รับจากรายได้ของนิติบุคคลทั้งหมด หรือประมาณ 1 ใน 3 ของรายได้ของภาษีนิติบุคคลทั้งหมด ซึ่งเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29 ในปี 2548 โดยหากเทียบสัดส่วนจำนวนบริษัทจดทะเบียน กับนิติบุคคลทั้งระบบแล้ว บริษัทจดทะเบียนประมาณ 500 กว่าแห่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 0.1 ของนิติบุคคลทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น ถึงแม้จะมีการมาตรการส่วนลดภาษีนิติบุคคล เพื่อจูงใจให้มีบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2544 ที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนยังเป็นกลุ่มผู้เสียภาษีที่ส่งรายได้หลักจาก ภาษีนิติบุคคลให้แก่ภาครัฐ
" การมีมาตรการภาษีเพื่อเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้น จะเป็นการดึงบริษัทเข้าสู่การมีระบบบัญชีที่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้ภาครัฐมีรายได้จากภาษีเพิ่มมากขึ้น และสามารถนำไปพัฒนาทั้งระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวมได้ การมีมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการเข้าจดทะเบียน จึงเป็นมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ" นายกิติพงศ์กล่าว
นายนรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ ที่ปรึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ในการสัมมนานี้จะมีการระดมความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อพิจารณาหามาตรการทางภาษีที่เหมาะสมใน 6 ประเด็นได้แก่ ประเด็นแรกได้แก่ การพิจารณาโครงสร้างและมาตรการทางภาษีของบริษัทจดทะเบียนเป็นการถาวรโดยมีอัตราภาษีที่ต่างจากบริษัททั่วไป ประเด็นที่สอง คือสิทธิประโยชน์ของบริษัทย่อยของบริษัทจดทะเบียน ประเด็นต่อมาคือ สิทธิประโยชน์ของบริษัทกรณีมีการควบรวมกิจการและการปรับโครงสร้าง ประเด็นต่อมา คือ สิทธิประโยชน์อื่นๆ เพื่อจูงใจให้เข้าสู่ระบบบัญชีที่เป็นมาตรฐาน ประด็นที่ห้าคือ การลงทุนของบริษัทจดทะเบียนในต่างประเทศ เช่น การลงทุนผ่าน Holding Company และ ประเด็นสุดท้าย คือ การหักค่าใช้จ่ายของบริษัทจดทะเบียน
นอกจากนี้ ในงานสัมนาที่จัดขึ้นนี้ได้มีการรวบรวมความเห็นทั้งหมดจากการสัมมนาเสนอต่อคณะทำงานด้านภาษีเพื่อพัฒนาตลาดทุน เพื่อพิจารณากลั่นกรองและนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยพิจารณาในรายละเอียดต่อไป