กองทุนรวม 5 เดือนเริ่มกระเตื้อง เงินลงทุนเริ่มขยับขึ้นจาก 1.391 ล้านบาทในไตรมาสแรกมาอยู่ที่ 1.424 ล้านบาท แต่ยังติดลบอยู่ประมาณ 2 พันล้านบาทจากสิ้นปีที่แล้ว โดยกองทุนต่างประเทศ ทั้งบอนด์เกาหลีใต้-คอมมอดิตี้ เป็นพระเอกโกยเงินชดเชย ECP ที่ทยอยครบอายุ ด้านมาร์เกตแชร์ล่าสุด บลจ.กสิกรไทยขยับหวดก้นเบอร์หนึ่ง บลจ.ไทยพาณิชย์แล้ว หลัง 5 เดือนเงินลงทุนไหลเข้าอีกกว่า 1.31 หมื่นล้านบาท ขณะที่แชมป์เงินไหลออกกว่า 2.81 ล้านบาท
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า การลงทุนในกองทุนรวมเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เริ่มกระเตื้องขึ้นจากช่วง 3 เดือนแรกของปีซึ่งติดลบไปกว่า 35,246.11 ล้านบาทจากช่วงปลายปีที่แล้ว โดยในช่วง 5 เดือนแรกของมีเงินลงทุนรวมทั้งหมด 1,424,587.51 ล้านบาท ยังต่ำกว่าเงินลงทุนรวมทั้งหมด 1,426,626.92 ล้านบาทในเดือนธันวาคม 2551 อยู่ประมาณ 2,039.40 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับการขยายตัวของธุรกิจกองทุนรวมทั้งระบบในช่วงไตรมาสแรกพบว่า เงินลงทุนเพิ่มขึ้นพอสมควรจากจำนวน 1,391,380.81 ล้านบาท มาอยู่ 1,424,587.51 ล้านบาทในปัจจุบัน ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ทำให้เงินลงทุนไหลกลับเข้ามาลงทุนในกองทุนรวมมากขึ้น เนื่องมาจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เปิดจำหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศ (FIF) โดยเฉพาะกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งล้วนแล้วแต่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่ต้องการหาทางเลือกการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย
นอกจากนี้ ยังมีกองทุนต่างประเทศที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) โดยเฉพาะสินค้าเกษตร น้ำมัน ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยที่ต้องการกระจายความเสี่ยงหาผลตอบแทนที่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้พอสมควร
ทั้งนี้ หากสรุปจำนวนเงินลงทุนในกองทุนแต่ละประเภท กองทุนรวมตราสารทุนมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 131,458.07 ล้านบาท ในขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 943,611.48 ล้านบาท กองทุนรวมแบบผสมมีเงินลงทุนรวม 248,698.28 ล้านบาท และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 60,321.55 ล้านบาท
นอกจากนี้ หากแยกจำนวนเงินลงทุนในกองทุนที่มีลักษณะพิเศษ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 49,587.68 ล้านบาท กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 39,149.33 ล้านบาท ในขณะที่กองทุนต่างประเทศมีจำนวนเงินทั้งสิ้น 192,765.50 ล้านบาท
สำหรับกองทุนรวมต่างประเทศ หากเทียบกับจำนวนเงินลงทุนทั้งหมดในช่วงเดือนธันวาคมซึ่งมีเงินลงทุนรวม 209,274.05 ล้านบาท พบว่า แม้บลจ.จะพยายามออกกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ หรือกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลีย หรือนิวซีแลนด์ เพื่อชดเชยกองทุนที่ลงทุนในตั๋ว ECP (Euro commercial Paper) ซึ่งทยอยครบอายุ แต่สัดส่วนก็ยังต่ำกว่า ส่วนหนึ่งมาจากผู้ลงทุนมีทางเลือกการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ประเทศซึ่งแม้จะให้ผลตอบแทนต่ำกว่า แต่ก็ไม่มีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุน ECP ถือว่าเป็นกองทุนที่ได้รับความอย่างล้นหลามในช่วงปลายปีที่แล้วต่อเนื่องมาถึงต้นปีนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพรวมการแข่งขันในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ยังอยู่ที่การเปิดขายกองทุนเอฟไอเอฟ ทั้งกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ ที่ยังมีส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าในประเทศไทย ขณะเดียวกัน ยังมีกองทุนที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ข้าว ข้าวโพด กาแฟ ที่หลายบลจ. เสนอเป็นทางเลือก หลังจากราคาสินค้าเหล่านี้ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ได้อานิสงส์มาจากนำไปใช้ผลิตพลังงานทดแทน ในขณะที่ราคาน้ำมันเองก็ปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
จากการเปิดขายกองทุนต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทจัดการกองทุนหลายแห่ง มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) เพิ่มขึ้นจากปลายปีที่แล้วอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่บางแห่งก็มีสัดส่วนเงินลงทุนลดลงด้วยเช่นกัน โดยจากการรายงานส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ล่าสุด ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2551 พบว่า บลจ.ไทยพาณิชย์ ยังครองมาร์เกตแชร์เป็นอันดับ 1 ด้วยสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 273,377.71 ล้านบาท ซึ่งลดลงพอสมควรจากสินทรัพย์รวมประมาณ 301,494.43 ล้านบาทในช่วงปลายปีที่แล้ว หรือคิดเป็นเงินลงทุนที่ลดลงประมาณ 28,116.72 ล้านบาท
ส่วนบลจ.กสิกรไทย ที่มีมาร์เกตแชร์เป็นอันดับ 2 มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย 5 เดือนแรกมีเงินลงทุนในกองทุนรวมอยู่ที่ 245,017.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 13,138.56 ล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 231,879.13 ล้านบาทในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ทั้งนี้ จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ทำให้ส่วนต่างระหว่างบลจ.ไทยพาณิชย์และบลจ.กสิกรไทย อยู่ในสัดส่วนที่ไม่ต่างกันมากนัก ซึ่งมีโอกาสที่บลจ.กสิกรไทยจะขยับขึ้นมาครองมาร์เกตแชร์เป็นอันดับ 1 ได้อีกครั้ง
สำหรับอันดับ 3 ได้แก่ บลจ.บัวหลวง ซึ่งมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 140,676.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 4,583.48 ล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 136,092.84 ล้านบาท อันดับ 4 บลจ.ทหารไทย มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 131,611.69 ล้านบาท ลดลงประมาณ 6,746.82 ล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 138,358.51 ล้านบาท และอันดับ 5 บลจ.เอ็มเอฟซี ที่มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 118,498.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 4917.38ล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 113,581.54 ล้านบาทในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า การลงทุนในกองทุนรวมเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เริ่มกระเตื้องขึ้นจากช่วง 3 เดือนแรกของปีซึ่งติดลบไปกว่า 35,246.11 ล้านบาทจากช่วงปลายปีที่แล้ว โดยในช่วง 5 เดือนแรกของมีเงินลงทุนรวมทั้งหมด 1,424,587.51 ล้านบาท ยังต่ำกว่าเงินลงทุนรวมทั้งหมด 1,426,626.92 ล้านบาทในเดือนธันวาคม 2551 อยู่ประมาณ 2,039.40 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับการขยายตัวของธุรกิจกองทุนรวมทั้งระบบในช่วงไตรมาสแรกพบว่า เงินลงทุนเพิ่มขึ้นพอสมควรจากจำนวน 1,391,380.81 ล้านบาท มาอยู่ 1,424,587.51 ล้านบาทในปัจจุบัน ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ทำให้เงินลงทุนไหลกลับเข้ามาลงทุนในกองทุนรวมมากขึ้น เนื่องมาจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เปิดจำหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนต่างประเทศ (FIF) โดยเฉพาะกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งล้วนแล้วแต่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่ต้องการหาทางเลือกการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย
นอกจากนี้ ยังมีกองทุนต่างประเทศที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) โดยเฉพาะสินค้าเกษตร น้ำมัน ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยที่ต้องการกระจายความเสี่ยงหาผลตอบแทนที่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้พอสมควร
ทั้งนี้ หากสรุปจำนวนเงินลงทุนในกองทุนแต่ละประเภท กองทุนรวมตราสารทุนมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 131,458.07 ล้านบาท ในขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 943,611.48 ล้านบาท กองทุนรวมแบบผสมมีเงินลงทุนรวม 248,698.28 ล้านบาท และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 60,321.55 ล้านบาท
นอกจากนี้ หากแยกจำนวนเงินลงทุนในกองทุนที่มีลักษณะพิเศษ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 49,587.68 ล้านบาท กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) 39,149.33 ล้านบาท ในขณะที่กองทุนต่างประเทศมีจำนวนเงินทั้งสิ้น 192,765.50 ล้านบาท
สำหรับกองทุนรวมต่างประเทศ หากเทียบกับจำนวนเงินลงทุนทั้งหมดในช่วงเดือนธันวาคมซึ่งมีเงินลงทุนรวม 209,274.05 ล้านบาท พบว่า แม้บลจ.จะพยายามออกกองทุนพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ หรือกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลีย หรือนิวซีแลนด์ เพื่อชดเชยกองทุนที่ลงทุนในตั๋ว ECP (Euro commercial Paper) ซึ่งทยอยครบอายุ แต่สัดส่วนก็ยังต่ำกว่า ส่วนหนึ่งมาจากผู้ลงทุนมีทางเลือกการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ประเทศซึ่งแม้จะให้ผลตอบแทนต่ำกว่า แต่ก็ไม่มีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุน ECP ถือว่าเป็นกองทุนที่ได้รับความอย่างล้นหลามในช่วงปลายปีที่แล้วต่อเนื่องมาถึงต้นปีนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพรวมการแข่งขันในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ยังอยู่ที่การเปิดขายกองทุนเอฟไอเอฟ ทั้งกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ ที่ยังมีส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าในประเทศไทย ขณะเดียวกัน ยังมีกองทุนที่ลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ข้าว ข้าวโพด กาแฟ ที่หลายบลจ. เสนอเป็นทางเลือก หลังจากราคาสินค้าเหล่านี้ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ได้อานิสงส์มาจากนำไปใช้ผลิตพลังงานทดแทน ในขณะที่ราคาน้ำมันเองก็ปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
จากการเปิดขายกองทุนต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทจัดการกองทุนหลายแห่ง มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) เพิ่มขึ้นจากปลายปีที่แล้วอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่บางแห่งก็มีสัดส่วนเงินลงทุนลดลงด้วยเช่นกัน โดยจากการรายงานส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ล่าสุด ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2551 พบว่า บลจ.ไทยพาณิชย์ ยังครองมาร์เกตแชร์เป็นอันดับ 1 ด้วยสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 273,377.71 ล้านบาท ซึ่งลดลงพอสมควรจากสินทรัพย์รวมประมาณ 301,494.43 ล้านบาทในช่วงปลายปีที่แล้ว หรือคิดเป็นเงินลงทุนที่ลดลงประมาณ 28,116.72 ล้านบาท
ส่วนบลจ.กสิกรไทย ที่มีมาร์เกตแชร์เป็นอันดับ 2 มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย 5 เดือนแรกมีเงินลงทุนในกองทุนรวมอยู่ที่ 245,017.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 13,138.56 ล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 231,879.13 ล้านบาทในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ทั้งนี้ จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ทำให้ส่วนต่างระหว่างบลจ.ไทยพาณิชย์และบลจ.กสิกรไทย อยู่ในสัดส่วนที่ไม่ต่างกันมากนัก ซึ่งมีโอกาสที่บลจ.กสิกรไทยจะขยับขึ้นมาครองมาร์เกตแชร์เป็นอันดับ 1 ได้อีกครั้ง
สำหรับอันดับ 3 ได้แก่ บลจ.บัวหลวง ซึ่งมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 140,676.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 4,583.48 ล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 136,092.84 ล้านบาท อันดับ 4 บลจ.ทหารไทย มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 131,611.69 ล้านบาท ลดลงประมาณ 6,746.82 ล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 138,358.51 ล้านบาท และอันดับ 5 บลจ.เอ็มเอฟซี ที่มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 118,498.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 4917.38ล้านบาท จากสินทรัพย์รวม 113,581.54 ล้านบาทในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว