ความสำเร็จของ "กองทุนเปิด ทิสโก้ เอเชีย แปซิฟิก เอ็กซ์ เจแปน ทริกเกอร์ 15%" กองทุนประเภททาร์เก็ตฟันด์ ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด ที่สามารถบริหารจัดการพอร์ตจนสามารถสร้างผลตอบแทนได้เข้าเป้าภายในช่วงเวลาเพียง 2 เดือน ทำให้หลายคนเริ่มหันกลับมามองกองทุนประเภททาร์เก็ตฟันด์มากขึ้น...ถึงแม้ภาวะการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเอง จะว่าไปแล้วดูจะไม่ค่อยเอื้อเท่าไหร่ แต่หากมองลึกลงไปแล้ว พบว่า ความผันผวนทั้งหมดที่ผ่านมา ฉุดราคาหุ้นหลายๆ ตัว โดยเฉพาะหุ้นในต่างประเทศลดลงไปพอสมควร
ด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้มองเห็นโอกาสในการทำกำไรจากการปรับตัวขึ้นไปของราคาหุ้นในอนาคต เพราะสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เริ่มมีให้เห็นบ้างแล้ว ถึงแม้อาจจะไม่ใช่สัญญาณที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาก็ตาม
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กองทุนประเภททาร์เก็ตฟันด์ มีนโยบายและรูปแบบการลงทุนอย่างไร...กองทุนทาร์เก็ตฟันด์ ส่วนใหญ่จะมีนโยบายลงทุนในหุ้นซะส่วนใหญ่ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะการลงทุนในหุ้นถือเป็นการลงทุนที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้สูงและเป็นไปได้มากที่สุด สำหรับการกำหนดเป้าหมายผลตอบแทนสูงๆ เช่นนี้
สำหรับการกำหนดเป้าหมายผลตอบแทนของกองทุน ส่วนใหญ่ผู้จัดการกองทุนจะกำหนดจากปัจจัยพื้นฐานของหุ้นที่กองทุนจะเข้าไปลงทุน โดยมีการวิเคราะห์อย่างแน่ชัดแล้วว่า มีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนได้เข้าเป้าตามระยะเวลาการลงทุนของกองทุน ซึ่งระยะเวลาการลงทุนดังกล่าว ก็สามารถกำหนดได้ตามมุมมองของผู้จัดการกองทุนที่คาดว่าจะเป็นไปได้ เช่น กำหนดสร้างผลตอบแทน 15% ภายในช่วงระยะเวลา 6 เดือน หรืออาจะสูงขึ้นเป็น 20% ในช่วงระยะเวลาลงทุน 1 ปี เป็นต้น
และการกำหนดผลตอบแทนนี้เอง จะมีการบวกเงื่อนไขเข้าไปด้วย เช่น กองทุน A กำหนดเป้าหมายสร้างผลตอบแทน 15% ภายในกรอบเวลาการลงทุนเช่น 6 เดือน หรือ 1 ปี แต่ถาหากกองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้ 15% เป็นระยะเวลาติดต่อกันตามกำหนด ก็สามารถปิดกองทุนและคืนผลตอบแทนให้ผู้ลงทุนได้ก่อนเวลา แต่หากภายในช่วงเวลา 6 เดือน ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้เข้าเป้า 15% เมื่อครบอายุการลงทุนแล้ว ก็จะต้องปิดกองแล้วคืนผลตอบแทนตามให้กับผู้ลงทุนตามผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงถึงแม้จะไม่ถึง 15% ก็ตาม (เงื่อนไขดังกล่าวเปลี่ยนแปลงตามนโยบายการลงทุนของแต่ละบลจ.)
ตัวอย่างเช่น กองทุนเปิด ทิสโก้ เอเชีย แปซิฟิก เอ็กซ์ เจแปน ทริกเกอร์ 15% ซึ่งมีนโยบายในการเลิกดำเนินการและคืนเงินให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อสามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 15% ภายในระยะเวลา 1 ปี หรือกองทุนสามารถเลิกกองทุนได้ทันทีไม่ต้องรอครบ 1 ปี หากหน่วยลงทุนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 15 ของมูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วย (10.00 บาท) เป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกันเป็นต้น
ในช่วงที่ผ่านมา กองทุนทาร์เก็ตฟันด์ที่ออกมาเป็นทางเลือกให้กับผู้ลงทุนในบ้านเรา ที่เห็นๆ กัน ก็มี กองทุนเปิดกรุงไทยแจนยัวรี่เอ็ฟเฟค 1 ของบลจ.กรุงไทย ที่กำหนดอายุการลงทุนไว้ประมาณ 6 เดือนและตั้งเป้าผลตอบแทนไว้ที่ 15% ซึ่งหลังจากครบอายุการลงทุนไปแล้ว ปรากฏว่าผลตอบแทนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ก่อนจะปรับเป็นกองทุนเปิด เพื่อเปิดโอกาสในนักลงทุนหาผลตอบแทนต่อ และปิดกองทุนในท้ายที่สุดเหตุมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนของกองทุนลดลงเหลือต่ำกว่า 50 ล้านบาท
กองทุนเปิดบีที หุ้นทาร์เก็ต 15/1 ของบลจ.บีที ที่ตั้งเป้าหมายสร้างผลตอบแทน 15% ภายในช่วงระยะเวลาการลงทุนประมาณ 18 เดือน
กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิพทีน (I-15) และกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ทเวนตี้ (I-20) กองทุนต่างประเทศภายใต้การบริหารจัดการของบลจ.เอ็มเอฟซี โดยกองทุน I-15 ตั้งเป้าผลตอบแทน 15% ภายในระยะเวลา 2 ปี ส่วนกองทุน I-20 ตั้งเป้าผลตอบแทน 20% ภายในระยเวลาการลงทุน 2 ปีเช่นกัน
ล่าสุด กองทุนเปิด ทิสโก้ เอเชีย แปซิฟิก เอ็กซ์ เจแปน ทริกเกอร์ 15% ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าหมาย โดยหน่วยลงทุนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 15% จากมูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วย (10.00 บาท) เป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกันได้แล้ว โดยผลตอบแทนดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงเวลาเพียง 2 เดือนเศษเท่านั้น
ส่วนที่จะทยอยตามออกมาอีกจะเป็นกองทุนหุ้นของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) วรรณ ที่ตั้งเป้าทำกำไรในหุ้นประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ส่วนรายละเอียด และเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนยังมิได้สรุป แต่คาดจะสามารถออกมาเป็นทางเลือกให้นักลงทุนได้ในเร็วๆ นี้
จังหวะของทาร์เก็ตฟันด์
เวลาไหนเหมาะสมที่สุดในการตั้งกองทาร์เก็ตฟันด์ ส่วนใหญ่ฟันด์เมเนเจอร์จะมีข้อมูลประกอบในส่วนนี้ ซึ่งจะวิเคราะห์ความผันผวนของตลาด หรือสินทรัพย์ที่จะลงทุน และจะมีการประเมิณพื้นฐาน และปัจจัยที่สนับสนุนต่อการลงทุนเป็นหลัก
เป็นต้นว่ากองทุนนี้จะลงทุนในหุ้นกลุ่มประเทศเอเชีย ก็มักจะมองกันว่า ในช่วงความผันผวนของช่วงนั้นเป็นอย่าง เช่นมุมมองที่วัดจากดัชนี MSCI AC Asia-Pacific Ex Japan ซึ่งมักจะปรับตัวขึ้นร้อยละ15 ใน 1 ปีนั้น มีความเป็นไปได้ที่สูง เพราะในปีที่ผ่านมาดัชนีมีการแกว่งตัวถึงร้อยละ 37 ดังนั้น นี่แหละเป็นโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนในระยะสั้น
แต่ปัจจัยสนับสนุนก็มีส่วนช่วยให้กองทุนนี้มีแนวโน้มปรับตัวตามดัชนีที่ว่าด้วย เช่น ในช่วงที่ผ่านมาผลตลาดทุนในเอเชียแปซิฟิกได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาซับไพรม์ โดยผลกระทบนี้จะทำให้เกิดความผันผวนในระยะสั้นๆ เท่านั้น แต่ในระยะปานกลางตลาดทุนในเอเชียแปซิฟิกน่าจะยังคงแข็งแกร่งอยู่ และมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มนี้ยังมีการขยายตัวในระดับที่สูง โดย IMF ยังคงเชื่อมั่นว่าจีนและอินเดียจะเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในปี 2551 และคาดการณ์ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคนี้จะเติบโตมากกว่า 7% ในขณะที่อเมริกาและยุโรปเติบโตเพียง 2% และ 2.6% ซึ่งเหตุผลลักษณะนี้น่าจะเป็นตัวหนุนในการตั้งกองประเภทนี้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ซึ่งกองประเภทนี้จะเหมาะกับผู้ลงทุนที่มุ่งโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี และสามารถมองข้ามความผันผวนในระยะสั้นๆ อันเนื่องมาจากสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ และปัจจัยลบต่างๆ
ด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้มองเห็นโอกาสในการทำกำไรจากการปรับตัวขึ้นไปของราคาหุ้นในอนาคต เพราะสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เริ่มมีให้เห็นบ้างแล้ว ถึงแม้อาจจะไม่ใช่สัญญาณที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาก็ตาม
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กองทุนประเภททาร์เก็ตฟันด์ มีนโยบายและรูปแบบการลงทุนอย่างไร...กองทุนทาร์เก็ตฟันด์ ส่วนใหญ่จะมีนโยบายลงทุนในหุ้นซะส่วนใหญ่ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะการลงทุนในหุ้นถือเป็นการลงทุนที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้สูงและเป็นไปได้มากที่สุด สำหรับการกำหนดเป้าหมายผลตอบแทนสูงๆ เช่นนี้
สำหรับการกำหนดเป้าหมายผลตอบแทนของกองทุน ส่วนใหญ่ผู้จัดการกองทุนจะกำหนดจากปัจจัยพื้นฐานของหุ้นที่กองทุนจะเข้าไปลงทุน โดยมีการวิเคราะห์อย่างแน่ชัดแล้วว่า มีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนได้เข้าเป้าตามระยะเวลาการลงทุนของกองทุน ซึ่งระยะเวลาการลงทุนดังกล่าว ก็สามารถกำหนดได้ตามมุมมองของผู้จัดการกองทุนที่คาดว่าจะเป็นไปได้ เช่น กำหนดสร้างผลตอบแทน 15% ภายในช่วงระยะเวลา 6 เดือน หรืออาจะสูงขึ้นเป็น 20% ในช่วงระยะเวลาลงทุน 1 ปี เป็นต้น
และการกำหนดผลตอบแทนนี้เอง จะมีการบวกเงื่อนไขเข้าไปด้วย เช่น กองทุน A กำหนดเป้าหมายสร้างผลตอบแทน 15% ภายในกรอบเวลาการลงทุนเช่น 6 เดือน หรือ 1 ปี แต่ถาหากกองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้ 15% เป็นระยะเวลาติดต่อกันตามกำหนด ก็สามารถปิดกองทุนและคืนผลตอบแทนให้ผู้ลงทุนได้ก่อนเวลา แต่หากภายในช่วงเวลา 6 เดือน ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้เข้าเป้า 15% เมื่อครบอายุการลงทุนแล้ว ก็จะต้องปิดกองแล้วคืนผลตอบแทนตามให้กับผู้ลงทุนตามผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงถึงแม้จะไม่ถึง 15% ก็ตาม (เงื่อนไขดังกล่าวเปลี่ยนแปลงตามนโยบายการลงทุนของแต่ละบลจ.)
ตัวอย่างเช่น กองทุนเปิด ทิสโก้ เอเชีย แปซิฟิก เอ็กซ์ เจแปน ทริกเกอร์ 15% ซึ่งมีนโยบายในการเลิกดำเนินการและคืนเงินให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนเมื่อสามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 15% ภายในระยะเวลา 1 ปี หรือกองทุนสามารถเลิกกองทุนได้ทันทีไม่ต้องรอครบ 1 ปี หากหน่วยลงทุนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 15 ของมูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วย (10.00 บาท) เป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกันเป็นต้น
ในช่วงที่ผ่านมา กองทุนทาร์เก็ตฟันด์ที่ออกมาเป็นทางเลือกให้กับผู้ลงทุนในบ้านเรา ที่เห็นๆ กัน ก็มี กองทุนเปิดกรุงไทยแจนยัวรี่เอ็ฟเฟค 1 ของบลจ.กรุงไทย ที่กำหนดอายุการลงทุนไว้ประมาณ 6 เดือนและตั้งเป้าผลตอบแทนไว้ที่ 15% ซึ่งหลังจากครบอายุการลงทุนไปแล้ว ปรากฏว่าผลตอบแทนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ก่อนจะปรับเป็นกองทุนเปิด เพื่อเปิดโอกาสในนักลงทุนหาผลตอบแทนต่อ และปิดกองทุนในท้ายที่สุดเหตุมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุนของกองทุนลดลงเหลือต่ำกว่า 50 ล้านบาท
กองทุนเปิดบีที หุ้นทาร์เก็ต 15/1 ของบลจ.บีที ที่ตั้งเป้าหมายสร้างผลตอบแทน 15% ภายในช่วงระยะเวลาการลงทุนประมาณ 18 เดือน
กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิพทีน (I-15) และกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ทเวนตี้ (I-20) กองทุนต่างประเทศภายใต้การบริหารจัดการของบลจ.เอ็มเอฟซี โดยกองทุน I-15 ตั้งเป้าผลตอบแทน 15% ภายในระยะเวลา 2 ปี ส่วนกองทุน I-20 ตั้งเป้าผลตอบแทน 20% ภายในระยเวลาการลงทุน 2 ปีเช่นกัน
ล่าสุด กองทุนเปิด ทิสโก้ เอเชีย แปซิฟิก เอ็กซ์ เจแปน ทริกเกอร์ 15% ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าหมาย โดยหน่วยลงทุนมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 15% จากมูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วย (10.00 บาท) เป็นเวลา 3 วันทำการติดต่อกันได้แล้ว โดยผลตอบแทนดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงเวลาเพียง 2 เดือนเศษเท่านั้น
ส่วนที่จะทยอยตามออกมาอีกจะเป็นกองทุนหุ้นของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) วรรณ ที่ตั้งเป้าทำกำไรในหุ้นประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ส่วนรายละเอียด และเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนยังมิได้สรุป แต่คาดจะสามารถออกมาเป็นทางเลือกให้นักลงทุนได้ในเร็วๆ นี้
จังหวะของทาร์เก็ตฟันด์
เวลาไหนเหมาะสมที่สุดในการตั้งกองทาร์เก็ตฟันด์ ส่วนใหญ่ฟันด์เมเนเจอร์จะมีข้อมูลประกอบในส่วนนี้ ซึ่งจะวิเคราะห์ความผันผวนของตลาด หรือสินทรัพย์ที่จะลงทุน และจะมีการประเมิณพื้นฐาน และปัจจัยที่สนับสนุนต่อการลงทุนเป็นหลัก
เป็นต้นว่ากองทุนนี้จะลงทุนในหุ้นกลุ่มประเทศเอเชีย ก็มักจะมองกันว่า ในช่วงความผันผวนของช่วงนั้นเป็นอย่าง เช่นมุมมองที่วัดจากดัชนี MSCI AC Asia-Pacific Ex Japan ซึ่งมักจะปรับตัวขึ้นร้อยละ15 ใน 1 ปีนั้น มีความเป็นไปได้ที่สูง เพราะในปีที่ผ่านมาดัชนีมีการแกว่งตัวถึงร้อยละ 37 ดังนั้น นี่แหละเป็นโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนในระยะสั้น
แต่ปัจจัยสนับสนุนก็มีส่วนช่วยให้กองทุนนี้มีแนวโน้มปรับตัวตามดัชนีที่ว่าด้วย เช่น ในช่วงที่ผ่านมาผลตลาดทุนในเอเชียแปซิฟิกได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาซับไพรม์ โดยผลกระทบนี้จะทำให้เกิดความผันผวนในระยะสั้นๆ เท่านั้น แต่ในระยะปานกลางตลาดทุนในเอเชียแปซิฟิกน่าจะยังคงแข็งแกร่งอยู่ และมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มนี้ยังมีการขยายตัวในระดับที่สูง โดย IMF ยังคงเชื่อมั่นว่าจีนและอินเดียจะเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในปี 2551 และคาดการณ์ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคนี้จะเติบโตมากกว่า 7% ในขณะที่อเมริกาและยุโรปเติบโตเพียง 2% และ 2.6% ซึ่งเหตุผลลักษณะนี้น่าจะเป็นตัวหนุนในการตั้งกองประเภทนี้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ซึ่งกองประเภทนี้จะเหมาะกับผู้ลงทุนที่มุ่งโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี และสามารถมองข้ามความผันผวนในระยะสั้นๆ อันเนื่องมาจากสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ และปัจจัยลบต่างๆ