ช่วงนี้ จะเดินทางไปไหนแสนลำบาก เพราะค่าใช้จ่ายต่อการเดินทางปรับตัวเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือรถสาธารณะ ก็ตาม และวันนี้ (16พ.ค.) เพราะล่าสุด บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศอีกลิตรละ 50 สตางค์ โดยให้มีผลตั้งแต่เวลา 05.00 น.วันนี้ เนื่องจากค่าการตลาดติดลบ ส่งผลให้ราคาดีเซลของเอสโซ่พุ่งแตะลิตละ 35.74 บาท/ลิตร ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สูงกว่าของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางจาก (ประเทศเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ถึงลิตรละ 1.30 บาท
โดย การประกาศปรับขึ้นราคาในครั้งนี้ ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันขายปลีกของปั๊มเอสโซ่ ในเขตกรุงเทพฯ และมณฑลของเอส เปลี่ยนไป โดยราคาดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 35.74 บาท ขณะที่เชล์อยู่ที่ลิตรละ 35.24 บาท ส่วน ปตท.และบางจากฯ อยู่ที่ลิตรละ 34.44 บาท ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน เท่ากับ ปตท.และบางจากฯ โดยเบนซิน 95 อยู่ที่ลิตรละ 38.09 บาท, เบนซิน 91 อยู่ที่ลิตรละ 36.99 บาท, แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ลิตรละ 34.09 บาท
ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศอาจขยับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 38-43 บาทต่อลิตร ภายใต้สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก อยู่ที่ 120 - 130 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล แต่หากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สามารถดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทให้อยู่ที่ระดับ 31.50 - 32.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็จะทำให้ราคาน้ำมันไม่มีปัญหามาก
ปัจจุบันนักลงทุนหันมาเก็งกำไรในน้ำมันมากกว่าทองคำ หรือหุ้น เนื่องจากได้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยจะเห็นได้จากการเข้าลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งนำโดย PTT หรือ บมจ.ปตท นั่นเอง ทั้งนี้การลงทุนในหุ้นกลุ่มดังกล่าวนอกจากสามารถทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นแล้ว ยังอาจส่งผลร้ายกลับมาด้วยหากมีการถือหุ้นไว้ในระยะเวลาที่นานเกินไป ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้ จะเกิดขึ้นได้กับนักลงทุนประเภทเก็งกำไรทั้งหลาย
ส่วนนักลงทุนประเภทปัจจัยพื้นฐาน หรือถือหุ้นในระยะยาวมาแล้ว เชื่อว่าเรื่องดังกล่าวยิ่งช่วยทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนปรับตัวสูงขึ้นไปด้วย โดยเฉพาะการลงทุนผ่านกองทุนรวม ประเภทกองทุนรวมหุ้น และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) หรืออาจรวมถึงกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยง (อาร์เอ็มเอฟ) บางกองที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากพอร์ตการลงทุนของกองทุนเหล่านี้ ส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 30 –50 จะมีหุ้นพลังงานไว้ในพอร์ต นอกเหนือจากหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ,หุ้นอสังหาริมทรัพย์ , หุ้นกลุ่มบริการ และหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์บางตัว ดังนั้นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ย่อมช่วยสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ถือหน่วยได้ในระดับที่ดี
ดังนั้นจึงนับได้ว่า การลงทุนผ่านกองทุนหุ้น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนท่ามกลางภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ เพราะน้ำมันเป็นปัจจัยหลัก หรือปัจจัยสำคัญในแทบทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมทางการเกษตร อุตสาหกรรมด้านปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการขนส่ง ฯลฯ ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้จะต้องแบกรับค่าต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แต่ในทางกลับกันราคาของสินค้าและผลผลิตจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ ก็ปรับเพิ่มขึ้นสูงด้วยเช่นกัน และถือเป็นโอกาสในการสร้างผลกำไรจากการลงทุนได้
โดยเห็นได้จากกลยุทธ์และแผนการลงทุนของผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนต่างๆ ที่ออกมาเปิดเผย ถึงจังหวะในการเข้าเก็บหุ้นพลังงาน หรือการเข้าลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ คอมมอดิตี้ต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาส1/2551 ที่ผ่านมา และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ การลงทุนในกลุ่มพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) จะได้รับผลดีจากความต้องการใช้น้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและภาวะการปรับตัวของราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จะผลักดันให้กลุ่มเกษตรโภคภัณฑ์ (Agricultural) ให้มีแนวโน้มการเติบโตสูงจากราคาอาหารที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับแนวโน้มการเติบโตของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะส่งผลดีต่อธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม อิเล็คทรอนิกส์ วัสดุภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เหล็ก เป็นต้น
แล้วสำหรับนักลงทุนทั่วไปล่ะ? จะรู้ได้อย่างไรว่าราคาน้ำมันในขณะนี้ เหมาะแก่การเข้าไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนกลับคืน หรือกองทุนหุ้นที่ลงทุนไปนั้นจะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนเรื่องน้ำมันได้อย่างไร? อะไรเป็นปัจจัยที่กดดันราคาน้ำมัน? ณ ขณะนี้.... สิ่งเหล่านี้เป็นคำถามที่ต้องควานหาคำตอบกันไม่จบสิ้น เพราะสถานการณ์ และปัจจัยต่างๆที่เข้ามากดดันราคาน้ำมันนั้นมีมากเหลือเกิน
รายงานพิเศษ “ผู้จัดการกองทุนรวมฉบับนี้” จะขอหยิบยกปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมันมานำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบ และสามารถนำไปวิเคราะห์ถึงสถานการณ์จริงได้เอง...หากคิดจะหันมาเอาดีในการลงทุน... เพราะเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้ลงทุนต้องศึกษา เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ หรือพิจารณาเลือกลงทุนด้วยตัวเอง...
ราคาน้ำมันดิบและปัจจัยที่มีผลกระทบกับราคา ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2551
น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) : ปรับเพิ่มขึ้น 1.57 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล ปิดที่ 125.80 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล และราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นไปแตะที่ระดับสูงสุด 126.98 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรลในการซื้อขายระหว่างวัน เนื่องจาก
(+)ประธานาธิบดีอิหร่านได้ออกมากล่าวว่า อิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลกอาจจะปรับลดการใช้กำลังการผลิตของประเทศลง แม้ว่าจะยังไม่มีการตัดสินใจถึงปริมาณที่จะปรับลดอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ตลาดเกิดความกังวลต่อปริมาณอุปทานน้ำมันดิบโลก
(+)ปริมาณน้ำมันทำความร้อนคงคลังในเดือน เม.ย. (Middle Distillate Stock) ของยุโรปปรับลดลง 1.4% จากเดือน มี.ค. หรือปรับลดลง 7.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 361.28 ล้านบาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นหลายแห่งขยายระยะเวลาการปิดซ่อมบำรุงตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงในปีก่อนจนถึงฤดูใบไม้ผลิตในปีนี้
(+) โรงกลั่นแห่งหนึ่งในสก็อตแลนด์ยังคงปิดซ่อมบำรุงหน่วย Hydrocracker ที่เสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ นับตั้งแต่ 2 - 3 สัปดาห์ก่อน
(-) อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงก่อนปิดตลาด หลังจากสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ มีมติชะลอการซื้อน้ำมันดิบสำรองเพื่อกลยุทธ์ (Strategic Petroleum Reserve) ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไว้จนกว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 75 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล
น้ำมันเบนซิน : ปรับลดลง 2.12 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล ปิดที่ 129.17 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง แม้ว่าอุปสงค์จากอินโดนีเซียยังคงแข็งแกร่ง เนื่องจาก
(-) การขนย้ายน้ำมันเบนซินจากอินเดียเข้ามาขายในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยโรงกลั่นแห่งหนึ่งเสนอขายน้ำมันเบนซินออกเทน 92 จำนวน 50,000 – 55,000 ตันสำหรับงวดครึ่งเดือนแรกของเดือน มิ.ย. และตลาดคาดว่าจะมีการส่งออกน้ำมันดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยลบกดดันราคาน้ำมันเบนซินในภูมิภาค
(+) ตลาดคาดการณ์ว่า บริษัทแห่งหนึ่งของอินโดนีเซียจะนำเข้าน้ำมันเบนซินถึง 5.2 ล้านบาร์เรลสำหรับงวดเดือน พ.ค. หลังจากโรงกลั่นในประเทศหยุดเดินเครื่องหน่วยผลิตน้ำมันเบนซิน (RFCC) (กำลังการผลิต 83,000 บาร์เรลต่อวัน) เป็นการชั่วคราว เนื่องจากเกิดปัญหาขัดข้องทางเทคนิคเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาและมีแนวโน้มจะสามารถกลับมาดำเนินการผลิตตามปกติได้ในช่วงปลายเดือน พ.ค.
(+) อุปสงค์น้ำมันเบนซินในอินโดนีเซียยังคงปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากรัฐบาลประกาศจะปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันดังกล่าวประมาณ 30% ในเดือน พ.ค. หรือเดือน มิ.ย. ส่งผลให้ประชาชนออกมาซื้อน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นก่อนจะถึงระยะเวลาดังกล่าว
น้ำมันดีเซล : ปรับลดลง 0.78 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล ปิดที่ 157.07 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง แม้ว่าอุปทานทั่วโลกยังอยู่ในภาวะตึงตัว เนื่องจาก
(+) โรงกลั่นในอินโดนีเซียปิดซ่อมบำรุงจากเกิดปัญหาขัดข้องทางเทคนิค ส่งผลให้อินโดนีเซียจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันดีเซลเพิ่มเติมจำนวน 400,000 บาร์เรลสำหรับงวดเดือน พ.ค. เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันดังกล่าวในประเทศ
(+) มีการคาดการณ์ว่า จะมีการขนย้ายน้ำมันดีเซลจากภูมิภาคไปขายยังยุโรปจำนวน 90,000 ตันในช่วงปลายเดือน พ.ค. ขณะที่อุปสงค์น้ำมันดีเซลในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียยังคงแข็งแกร่ง ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคทวีความตึงตัวยิ่งขึ้น เป็นปัจจัยบวกสนับสนุนราคาน้ำมันดีเซลในภูมิภาค
น้ำมันเตา : ปรับลดลง 1.74 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล ปิดที่ 90.46 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
(-) ราคาน้ำมันเตาความหนืดต่ำปรับลดลง เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากการเสนอขายน้ำมันดังกล่าวเข้ามาในตลาดจำนวนมาก ขณะที่อุปสงค์จากจีนปรับชะลอตัวลง
(+) ตลาดคาดการณ์ว่า จะมีการขนย้ายน้ำมันเตาจากตะวันตกเข้ามาในภูมิภาคจำนวน 3.5 ล้านตันสำหรับงวดเดือน พ.ค. และจำนวน 2 ล้านตันสำหรับงวดเดือน มิ.ย. ซึ่งน้อยกว่าปริมาณการนำเข้าเฉลี่ยต่อเดือนที่ 4 ล้านตันในช่วงต้นปี ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดังกล่าวในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับลดลง
(+) มีการคาดการณ์ว่า อุปสงค์น้ำมันเตาจากจีนอาจมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลท้องถิ่นอาจทบทวนการตัดสินใจเรื่องการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ผลิตไฟฟ้าในมณฑลกวางตุ้งอีกครั้ง
แหล่งข้อมูล : บมจ.ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
โดย การประกาศปรับขึ้นราคาในครั้งนี้ ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันขายปลีกของปั๊มเอสโซ่ ในเขตกรุงเทพฯ และมณฑลของเอส เปลี่ยนไป โดยราคาดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 35.74 บาท ขณะที่เชล์อยู่ที่ลิตรละ 35.24 บาท ส่วน ปตท.และบางจากฯ อยู่ที่ลิตรละ 34.44 บาท ส่วนราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน เท่ากับ ปตท.และบางจากฯ โดยเบนซิน 95 อยู่ที่ลิตรละ 38.09 บาท, เบนซิน 91 อยู่ที่ลิตรละ 36.99 บาท, แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ลิตรละ 34.09 บาท
ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศอาจขยับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 38-43 บาทต่อลิตร ภายใต้สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก อยู่ที่ 120 - 130 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล แต่หากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สามารถดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทให้อยู่ที่ระดับ 31.50 - 32.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็จะทำให้ราคาน้ำมันไม่มีปัญหามาก
ปัจจุบันนักลงทุนหันมาเก็งกำไรในน้ำมันมากกว่าทองคำ หรือหุ้น เนื่องจากได้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยจะเห็นได้จากการเข้าลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งนำโดย PTT หรือ บมจ.ปตท นั่นเอง ทั้งนี้การลงทุนในหุ้นกลุ่มดังกล่าวนอกจากสามารถทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นแล้ว ยังอาจส่งผลร้ายกลับมาด้วยหากมีการถือหุ้นไว้ในระยะเวลาที่นานเกินไป ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้ จะเกิดขึ้นได้กับนักลงทุนประเภทเก็งกำไรทั้งหลาย
ส่วนนักลงทุนประเภทปัจจัยพื้นฐาน หรือถือหุ้นในระยะยาวมาแล้ว เชื่อว่าเรื่องดังกล่าวยิ่งช่วยทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนปรับตัวสูงขึ้นไปด้วย โดยเฉพาะการลงทุนผ่านกองทุนรวม ประเภทกองทุนรวมหุ้น และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) หรืออาจรวมถึงกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยง (อาร์เอ็มเอฟ) บางกองที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากพอร์ตการลงทุนของกองทุนเหล่านี้ ส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 30 –50 จะมีหุ้นพลังงานไว้ในพอร์ต นอกเหนือจากหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ,หุ้นอสังหาริมทรัพย์ , หุ้นกลุ่มบริการ และหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์บางตัว ดังนั้นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ย่อมช่วยสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ถือหน่วยได้ในระดับที่ดี
ดังนั้นจึงนับได้ว่า การลงทุนผ่านกองทุนหุ้น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนท่ามกลางภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ เพราะน้ำมันเป็นปัจจัยหลัก หรือปัจจัยสำคัญในแทบทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมทางการเกษตร อุตสาหกรรมด้านปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการขนส่ง ฯลฯ ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้จะต้องแบกรับค่าต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แต่ในทางกลับกันราคาของสินค้าและผลผลิตจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ ก็ปรับเพิ่มขึ้นสูงด้วยเช่นกัน และถือเป็นโอกาสในการสร้างผลกำไรจากการลงทุนได้
โดยเห็นได้จากกลยุทธ์และแผนการลงทุนของผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนต่างๆ ที่ออกมาเปิดเผย ถึงจังหวะในการเข้าเก็บหุ้นพลังงาน หรือการเข้าลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ คอมมอดิตี้ต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาส1/2551 ที่ผ่านมา และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ การลงทุนในกลุ่มพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) จะได้รับผลดีจากความต้องการใช้น้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและภาวะการปรับตัวของราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จะผลักดันให้กลุ่มเกษตรโภคภัณฑ์ (Agricultural) ให้มีแนวโน้มการเติบโตสูงจากราคาอาหารที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับแนวโน้มการเติบโตของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะส่งผลดีต่อธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม อิเล็คทรอนิกส์ วัสดุภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เหล็ก เป็นต้น
แล้วสำหรับนักลงทุนทั่วไปล่ะ? จะรู้ได้อย่างไรว่าราคาน้ำมันในขณะนี้ เหมาะแก่การเข้าไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนกลับคืน หรือกองทุนหุ้นที่ลงทุนไปนั้นจะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนเรื่องน้ำมันได้อย่างไร? อะไรเป็นปัจจัยที่กดดันราคาน้ำมัน? ณ ขณะนี้.... สิ่งเหล่านี้เป็นคำถามที่ต้องควานหาคำตอบกันไม่จบสิ้น เพราะสถานการณ์ และปัจจัยต่างๆที่เข้ามากดดันราคาน้ำมันนั้นมีมากเหลือเกิน
รายงานพิเศษ “ผู้จัดการกองทุนรวมฉบับนี้” จะขอหยิบยกปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมันมานำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบ และสามารถนำไปวิเคราะห์ถึงสถานการณ์จริงได้เอง...หากคิดจะหันมาเอาดีในการลงทุน... เพราะเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้ลงทุนต้องศึกษา เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ หรือพิจารณาเลือกลงทุนด้วยตัวเอง...
ราคาน้ำมันดิบและปัจจัยที่มีผลกระทบกับราคา ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2551
น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) : ปรับเพิ่มขึ้น 1.57 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล ปิดที่ 125.80 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล และราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นไปแตะที่ระดับสูงสุด 126.98 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรลในการซื้อขายระหว่างวัน เนื่องจาก
(+)ประธานาธิบดีอิหร่านได้ออกมากล่าวว่า อิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลกอาจจะปรับลดการใช้กำลังการผลิตของประเทศลง แม้ว่าจะยังไม่มีการตัดสินใจถึงปริมาณที่จะปรับลดอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ตลาดเกิดความกังวลต่อปริมาณอุปทานน้ำมันดิบโลก
(+)ปริมาณน้ำมันทำความร้อนคงคลังในเดือน เม.ย. (Middle Distillate Stock) ของยุโรปปรับลดลง 1.4% จากเดือน มี.ค. หรือปรับลดลง 7.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 361.28 ล้านบาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นหลายแห่งขยายระยะเวลาการปิดซ่อมบำรุงตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงในปีก่อนจนถึงฤดูใบไม้ผลิตในปีนี้
(+) โรงกลั่นแห่งหนึ่งในสก็อตแลนด์ยังคงปิดซ่อมบำรุงหน่วย Hydrocracker ที่เสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ นับตั้งแต่ 2 - 3 สัปดาห์ก่อน
(-) อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงก่อนปิดตลาด หลังจากสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ มีมติชะลอการซื้อน้ำมันดิบสำรองเพื่อกลยุทธ์ (Strategic Petroleum Reserve) ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไว้จนกว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 75 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล
น้ำมันเบนซิน : ปรับลดลง 2.12 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล ปิดที่ 129.17 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง แม้ว่าอุปสงค์จากอินโดนีเซียยังคงแข็งแกร่ง เนื่องจาก
(-) การขนย้ายน้ำมันเบนซินจากอินเดียเข้ามาขายในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยโรงกลั่นแห่งหนึ่งเสนอขายน้ำมันเบนซินออกเทน 92 จำนวน 50,000 – 55,000 ตันสำหรับงวดครึ่งเดือนแรกของเดือน มิ.ย. และตลาดคาดว่าจะมีการส่งออกน้ำมันดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยลบกดดันราคาน้ำมันเบนซินในภูมิภาค
(+) ตลาดคาดการณ์ว่า บริษัทแห่งหนึ่งของอินโดนีเซียจะนำเข้าน้ำมันเบนซินถึง 5.2 ล้านบาร์เรลสำหรับงวดเดือน พ.ค. หลังจากโรงกลั่นในประเทศหยุดเดินเครื่องหน่วยผลิตน้ำมันเบนซิน (RFCC) (กำลังการผลิต 83,000 บาร์เรลต่อวัน) เป็นการชั่วคราว เนื่องจากเกิดปัญหาขัดข้องทางเทคนิคเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาและมีแนวโน้มจะสามารถกลับมาดำเนินการผลิตตามปกติได้ในช่วงปลายเดือน พ.ค.
(+) อุปสงค์น้ำมันเบนซินในอินโดนีเซียยังคงปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากรัฐบาลประกาศจะปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันดังกล่าวประมาณ 30% ในเดือน พ.ค. หรือเดือน มิ.ย. ส่งผลให้ประชาชนออกมาซื้อน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นก่อนจะถึงระยะเวลาดังกล่าว
น้ำมันดีเซล : ปรับลดลง 0.78 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล ปิดที่ 157.07 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง แม้ว่าอุปทานทั่วโลกยังอยู่ในภาวะตึงตัว เนื่องจาก
(+) โรงกลั่นในอินโดนีเซียปิดซ่อมบำรุงจากเกิดปัญหาขัดข้องทางเทคนิค ส่งผลให้อินโดนีเซียจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันดีเซลเพิ่มเติมจำนวน 400,000 บาร์เรลสำหรับงวดเดือน พ.ค. เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันดังกล่าวในประเทศ
(+) มีการคาดการณ์ว่า จะมีการขนย้ายน้ำมันดีเซลจากภูมิภาคไปขายยังยุโรปจำนวน 90,000 ตันในช่วงปลายเดือน พ.ค. ขณะที่อุปสงค์น้ำมันดีเซลในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียยังคงแข็งแกร่ง ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคทวีความตึงตัวยิ่งขึ้น เป็นปัจจัยบวกสนับสนุนราคาน้ำมันดีเซลในภูมิภาค
น้ำมันเตา : ปรับลดลง 1.74 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล ปิดที่ 90.46 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
(-) ราคาน้ำมันเตาความหนืดต่ำปรับลดลง เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากการเสนอขายน้ำมันดังกล่าวเข้ามาในตลาดจำนวนมาก ขณะที่อุปสงค์จากจีนปรับชะลอตัวลง
(+) ตลาดคาดการณ์ว่า จะมีการขนย้ายน้ำมันเตาจากตะวันตกเข้ามาในภูมิภาคจำนวน 3.5 ล้านตันสำหรับงวดเดือน พ.ค. และจำนวน 2 ล้านตันสำหรับงวดเดือน มิ.ย. ซึ่งน้อยกว่าปริมาณการนำเข้าเฉลี่ยต่อเดือนที่ 4 ล้านตันในช่วงต้นปี ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดังกล่าวในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับลดลง
(+) มีการคาดการณ์ว่า อุปสงค์น้ำมันเตาจากจีนอาจมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลท้องถิ่นอาจทบทวนการตัดสินใจเรื่องการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ผลิตไฟฟ้าในมณฑลกวางตุ้งอีกครั้ง
แหล่งข้อมูล : บมจ.ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)