กองทุนอีทีเอฟ (ETF) " หรือ Exchange Traded Fund คงเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตานักลงทุนมาบ้างไม่มากก็น้อย หลังจาก ThaiDEX SET 50 ETF หรือที่เรียกว่า TDEX ได้ฤกษ์เปิดตัวเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2550 หลังจากนั้น มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (NAV) มีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน นั่นเป็นเพียงวิวัฒนาการของตลาดทุนไทยที่ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งเท่านั้น
อีกไม่นานจากนี้ น้องใหม่อย่างกองทุน Energy ETF ที่จะมีการอ้างอิงกับดัชนีหมวดธุรกิจพลังงาน ก็จะเข้ามาให้นักลงทุนได้ยลโฉม และได้ลงทุนกัน วันนี้ "ผู้จัดการกองทุนรวม" มีข้อมูลดีๆ จากงานสัมมนาเรื่อง "เพิ่มโอกาสทำกำไรในหุ้น ด้วยกองทุน ETF" ในงาน Money Expo 2008 ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) วรรณ จำกัด กล่าวว่า กองทุนอีทีเอฟ (ETF) " หรือ Exchange Traded Fund เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยมีมูลค่าของขนาดสินทรัพย์มากกว่า 8 แสนล้านล้านบาท และมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นการนำข้อดีของการลงทุนในหุ้น และกองทุนรวมมารวมเข้าไว้ด้วยกัน
สำหรับกองทุน ETF ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ Standard & Poor's- 500 Depositary Receipts (SPDRs) ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 6-7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประเทศไทยได้มีการเรียนรู้จากต่างประเทศ จึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมา คือ ThaiDEX SET 50 ETF หรือที่เรียกว่า TDEX โดยจะมีการลงทุนเลียนแบบดัชนี SET 50 และยังมีข้อดีที่ไม่จำเป็นต้องมีนักวิเคราะห์มาเลือกหุ้น และไม่ต้องไปซื้อๆ ขายๆ ทำให้ค่าคอมมิชชั่นลดลง จึงได้รับความนิยมมากขึ้น
ทั้งนี้ ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) จะต้องทำการเสนอซื้อเสนอขายอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้นักลงทุนสามารถซื้อขายได้อย่างคล่องตัว โดย TDEX จะมีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ เป็นผู้ดูแลสภาพคล่อง และมีการสัญญาว่าตลอดเวลาจะมีการเสนอซื้อขายเสนอขายฝั่งใดฝั่งหนึ่งไม่ต่ำกว่า 5 แสนหน่วยของ TDEX และมีราคาห่างไม่เกิน 1% ทำให้มีสภาพคล่องเกิดขึ้น โดยมีส่วนต่างที่ 1% ราคาเสนอซื้อเสนอขายจะแตกต่างกันเพียง 1%
ยกตัวอย่าง เช่น หากราคาเสนอซื้อเสนอขายของ TDEX อยู่ที่ 6.15-6.16 บาท ซึ่งมีส่วนต่างเพียง 0.2% เท่านั้น ขณะที่การซื้อหุ้นโดยทั่วไปนั้น หากซื้อมาที่ราคา 100 บาท หากตัดสินใจที่จะขายในนาทีถัดไปก็จะขาดทุนไปแล้ว 1 บาท ซึ่งไม่คิดค่าคอมมิชชั่น ขณะที่การซื้อขาย TDEX หากซื้อมาที่ราคา 6.16 บาท และขายไปที่ราคา 6.15 บาท จะมีส่วนต่างเพียง 1 ใน 6 บาทเท่านั้น นับว่าเป็นราคาเสนอซื้อเสนอขายที่แคบที่สุดในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
โดยกองทุน TDEX จะลงทุนในหุ้น 50 ตัว ที่มีขนาดใหญ่ และมีความคล่องตัวสูง ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นผู้คัดสรรเข้ามา และประกาศในทุกวัน ดังนั้น การเคลื่อนไหวของ TDEX จะมีความใกล้เคียงกับดัชนี SET 50 มาก ขณะเดียวกัน ยังมีความต่าง 2 ประการ คือ การลงทุนใน TDEX มีค่าใช้จ่ายในการบริหาร แต่ตัวดัชนี SET 50 ไม่มีค่าใช้จ่าย และ TDEX มีการจ่ายเงินปันผล ในแต่ละปีด้วย ทำให้มีการเคลื่อนไหวดีกว่าดัชนีเล็กน้อย
จากการศึกษา 6 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2545-2550 ซึ่งเป็นการคำนวณโดยรวมผลตอบแทนจากดัชนี SET 50 บวกเข้ากับเงินปันผล พบว่า ดัชนี SET 50 สามารถให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 300% เฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 26% ส่วนดัชนี SET INDEX ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 254% เฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 23% โดยปกติผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของดัชนี SET 50 จะมากกว่าดัชนี SET INDEX อยู่แล้ว ในช่วงที่ผ่านมา ปีที่ติดลบมากอย่างปี 2547 ดัชนี SET 50 จะติดลบน้อยกว่าดัชนี SET INDEX ขณะที่ปีที่บวกมาก ดัชนี SET 50 จะบวกมากกว่าดัชนี SET INDEX อยู่แล้ว
ในช่วง 32 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 12% ขณะที่หุ้นทั่วโลกสามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10-12% ส่วนการจ่ายเงินปันผลของหุ้นในดัชนี SET50 จะอยู่ในอัตราประมาณ 3.5% เป็นการคาดหวังที่มองได้ในขณะที่พีอีเรโชอยู่ที่ระดับ 11-12 เท่า
โชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด กล่าวว่า หลักการในการดำเนินการของ Energy ETF จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับกับ TDEX แต่แทนที่จะนำไปลงทุนในหุ้น SET 50 จะไปซื้อหุ้นในกลุ่มพลังงานแทน โดยมีจำนวน 23 ตัวในปัจจุบัน (ไม่นับรวม ESSO) ซึ่งหุ้นในกลุ่มพลังงาน 9 ตัวแรกจะมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิมากกว่า 97-98% ของดัชนีหมวดธุรกิจพลังงาน เมื่อลองรันพอร์ตหุ้นในกลุ่มพลังงานเมื่อเทียบกับดัชนีในหมวดธุรกิจพลังงานทั้งหมด พบว่ามีความผันผวนตามมาตรฐานเพียง (Tracking Error) 0.39%
ดังนั้น จึงทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานทั้ง 23 ตัว และเวลาที่ผู้ดูแลสภาพคล่องทำงานมักจะใช้ตลาดฟิวเจอร์หรือ TFEX ในการเป็นเครื่องมือในการช่วยทำให้ราคาของ TDEX ใกล้เคียงกับดัชนีให้มากที่สุด โดยเมื่อราคา TDEX เทรดสูงเกินไป ก็จะเข้าไปซื้อ TDEX แล้วขายฟิวเจอร์ หรือถ้าฟิวเจอร์สูงเกินไป และ TDEX เทรดต่ำเกินไป ก็จะเข้าไปซื้อฟิวเจอร์มาขาย TDEX ทำกำไร แต่ยังไม่ฟิวเจอร์ในหุ้นกลุ่มพลังงาน ทำให้ผู้ดูแลสภาพคล่องต้องทำงานหนักเป็นพิเศษ
โดยจะต้องมีพอร์ตเพื่อจะดูหุ้นในกลุ่มพลังงาน และคอยปิดช่องว่างให้ได้ เบื้องต้นคาดว่าจะลงทุนในหุ้น 10 ตัวแรกของกลุ่มพลังงาน และ ESSO แต่จะมีการปรับเปลี่ยนในอนาคตได้ เพราะวัตถุประสงค์ของกองทุนดัชนีไม่ว่าจะเป็นอีทีเอฟหรือกองทุนดัชนีธรรมดาก็ตาม คือต้องการ Track ราคา หรือ Track ผลตอบแทนของดัชนี ซึ่งหากหุ้น 10 ตัวแรกเริ่มไม่ Track แล้ว มูลค่าตลาด (Market Cap) ของหุ้นที่เข้ามาในกลุ่มดัชนีเริ่มใหญ่ขึ้น ก็ต้องมีการเพิ่มเข้าไป และกองทุนนี้จะมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง
สำหรับหุ้นในกลุ่มพลังงานถือว่าเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่ และมีสภาพคล่องสูงมาก โดยมีขนาดประมาณ 35% ของตลาดโดยรวม และจำนวน 80% ของกลุ่มเป็นหุ้นในบริษัทในเครือของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทำให้การเคลื่อนไหวแกว่งตัวกว่าตลาดมาก สามารถนำตลาด และยังช่วยในการพยุงดัชนีโดยรวมเอาไว้ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน
หากโฟกัสไปที่พลังงานอย่างเดียว ดัชนีจะแกว่งตัวมากกว่าดัชนี SET50 TDEX และดัชนี SET INDEX จึงมีความเสี่ยงมาก เพราะไม่มีหุ้นกลุ่มอื่นมาช่วยกระจายความเสี่ยง อย่างกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น นักลงทุนต้องมีความเข้าใจว่าลงทุนในเซกเตอร์จะมีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในภาพใหญ่ ที่มีการกระจายการลงทุนอยู่แล้ว
ส่วนผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน กลุ่มพลังงานอยู่ที่ 10.36% ขณะที่ SET 50 อยู่ที่ 5.35% ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือน กลุ่มพลังงานอยู่ที่ -5.83% ขณะที่ SET 50 อยู่ที่ -5.05% และผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี กลุ่มพลังงานอยู่ที่ 52.48% ขณะที่ SET 50 อยู่ที่ 26.63% ส่วนผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีกลุ่มพลังงานอยู่ที่ -3.50% ขณะที่ SET 50 อยู่ที่ -2.89%
เบื้องต้นคาดว่าราคาน่าจะอยู่ในระดับที่ 5 บาท เนื่องจากหุ้นส่วนใหญ่ในตลาดกว่า 40-60% มีการซื้อขายที่ระดับ 5-10 บาท โดยต้องการให้นักลงทุนมีความคุ้นชิน และหากจะทำให้ราคาอยุ่ในระดับที่ซื้อขายในตลาด และซื้อง่ายขายคล่อง แต่ต้องมีคณะทำงานเข้ามาหลายคณะ ทั้งฝ่ายเทคนิค และฝ่ายการตลาด เพื่อเข้าไปพูดในเชิงลึกอีกครั้ง โดยคาดว่าจะสามารถออกกองทุนประมาณสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกรกฎาคมนี้
อีกไม่นานจากนี้ น้องใหม่อย่างกองทุน Energy ETF ที่จะมีการอ้างอิงกับดัชนีหมวดธุรกิจพลังงาน ก็จะเข้ามาให้นักลงทุนได้ยลโฉม และได้ลงทุนกัน วันนี้ "ผู้จัดการกองทุนรวม" มีข้อมูลดีๆ จากงานสัมมนาเรื่อง "เพิ่มโอกาสทำกำไรในหุ้น ด้วยกองทุน ETF" ในงาน Money Expo 2008 ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) วรรณ จำกัด กล่าวว่า กองทุนอีทีเอฟ (ETF) " หรือ Exchange Traded Fund เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยมีมูลค่าของขนาดสินทรัพย์มากกว่า 8 แสนล้านล้านบาท และมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นการนำข้อดีของการลงทุนในหุ้น และกองทุนรวมมารวมเข้าไว้ด้วยกัน
สำหรับกองทุน ETF ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ Standard & Poor's- 500 Depositary Receipts (SPDRs) ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 6-7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประเทศไทยได้มีการเรียนรู้จากต่างประเทศ จึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมา คือ ThaiDEX SET 50 ETF หรือที่เรียกว่า TDEX โดยจะมีการลงทุนเลียนแบบดัชนี SET 50 และยังมีข้อดีที่ไม่จำเป็นต้องมีนักวิเคราะห์มาเลือกหุ้น และไม่ต้องไปซื้อๆ ขายๆ ทำให้ค่าคอมมิชชั่นลดลง จึงได้รับความนิยมมากขึ้น
ทั้งนี้ ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) จะต้องทำการเสนอซื้อเสนอขายอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้นักลงทุนสามารถซื้อขายได้อย่างคล่องตัว โดย TDEX จะมีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ เป็นผู้ดูแลสภาพคล่อง และมีการสัญญาว่าตลอดเวลาจะมีการเสนอซื้อขายเสนอขายฝั่งใดฝั่งหนึ่งไม่ต่ำกว่า 5 แสนหน่วยของ TDEX และมีราคาห่างไม่เกิน 1% ทำให้มีสภาพคล่องเกิดขึ้น โดยมีส่วนต่างที่ 1% ราคาเสนอซื้อเสนอขายจะแตกต่างกันเพียง 1%
ยกตัวอย่าง เช่น หากราคาเสนอซื้อเสนอขายของ TDEX อยู่ที่ 6.15-6.16 บาท ซึ่งมีส่วนต่างเพียง 0.2% เท่านั้น ขณะที่การซื้อหุ้นโดยทั่วไปนั้น หากซื้อมาที่ราคา 100 บาท หากตัดสินใจที่จะขายในนาทีถัดไปก็จะขาดทุนไปแล้ว 1 บาท ซึ่งไม่คิดค่าคอมมิชชั่น ขณะที่การซื้อขาย TDEX หากซื้อมาที่ราคา 6.16 บาท และขายไปที่ราคา 6.15 บาท จะมีส่วนต่างเพียง 1 ใน 6 บาทเท่านั้น นับว่าเป็นราคาเสนอซื้อเสนอขายที่แคบที่สุดในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
โดยกองทุน TDEX จะลงทุนในหุ้น 50 ตัว ที่มีขนาดใหญ่ และมีความคล่องตัวสูง ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเป็นผู้คัดสรรเข้ามา และประกาศในทุกวัน ดังนั้น การเคลื่อนไหวของ TDEX จะมีความใกล้เคียงกับดัชนี SET 50 มาก ขณะเดียวกัน ยังมีความต่าง 2 ประการ คือ การลงทุนใน TDEX มีค่าใช้จ่ายในการบริหาร แต่ตัวดัชนี SET 50 ไม่มีค่าใช้จ่าย และ TDEX มีการจ่ายเงินปันผล ในแต่ละปีด้วย ทำให้มีการเคลื่อนไหวดีกว่าดัชนีเล็กน้อย
จากการศึกษา 6 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2545-2550 ซึ่งเป็นการคำนวณโดยรวมผลตอบแทนจากดัชนี SET 50 บวกเข้ากับเงินปันผล พบว่า ดัชนี SET 50 สามารถให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 300% เฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 26% ส่วนดัชนี SET INDEX ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 254% เฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 23% โดยปกติผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของดัชนี SET 50 จะมากกว่าดัชนี SET INDEX อยู่แล้ว ในช่วงที่ผ่านมา ปีที่ติดลบมากอย่างปี 2547 ดัชนี SET 50 จะติดลบน้อยกว่าดัชนี SET INDEX ขณะที่ปีที่บวกมาก ดัชนี SET 50 จะบวกมากกว่าดัชนี SET INDEX อยู่แล้ว
ในช่วง 32 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยจะอยู่ที่ 12% ขณะที่หุ้นทั่วโลกสามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10-12% ส่วนการจ่ายเงินปันผลของหุ้นในดัชนี SET50 จะอยู่ในอัตราประมาณ 3.5% เป็นการคาดหวังที่มองได้ในขณะที่พีอีเรโชอยู่ที่ระดับ 11-12 เท่า
โชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย จำกัด กล่าวว่า หลักการในการดำเนินการของ Energy ETF จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับกับ TDEX แต่แทนที่จะนำไปลงทุนในหุ้น SET 50 จะไปซื้อหุ้นในกลุ่มพลังงานแทน โดยมีจำนวน 23 ตัวในปัจจุบัน (ไม่นับรวม ESSO) ซึ่งหุ้นในกลุ่มพลังงาน 9 ตัวแรกจะมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิมากกว่า 97-98% ของดัชนีหมวดธุรกิจพลังงาน เมื่อลองรันพอร์ตหุ้นในกลุ่มพลังงานเมื่อเทียบกับดัชนีในหมวดธุรกิจพลังงานทั้งหมด พบว่ามีความผันผวนตามมาตรฐานเพียง (Tracking Error) 0.39%
ดังนั้น จึงทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานทั้ง 23 ตัว และเวลาที่ผู้ดูแลสภาพคล่องทำงานมักจะใช้ตลาดฟิวเจอร์หรือ TFEX ในการเป็นเครื่องมือในการช่วยทำให้ราคาของ TDEX ใกล้เคียงกับดัชนีให้มากที่สุด โดยเมื่อราคา TDEX เทรดสูงเกินไป ก็จะเข้าไปซื้อ TDEX แล้วขายฟิวเจอร์ หรือถ้าฟิวเจอร์สูงเกินไป และ TDEX เทรดต่ำเกินไป ก็จะเข้าไปซื้อฟิวเจอร์มาขาย TDEX ทำกำไร แต่ยังไม่ฟิวเจอร์ในหุ้นกลุ่มพลังงาน ทำให้ผู้ดูแลสภาพคล่องต้องทำงานหนักเป็นพิเศษ
โดยจะต้องมีพอร์ตเพื่อจะดูหุ้นในกลุ่มพลังงาน และคอยปิดช่องว่างให้ได้ เบื้องต้นคาดว่าจะลงทุนในหุ้น 10 ตัวแรกของกลุ่มพลังงาน และ ESSO แต่จะมีการปรับเปลี่ยนในอนาคตได้ เพราะวัตถุประสงค์ของกองทุนดัชนีไม่ว่าจะเป็นอีทีเอฟหรือกองทุนดัชนีธรรมดาก็ตาม คือต้องการ Track ราคา หรือ Track ผลตอบแทนของดัชนี ซึ่งหากหุ้น 10 ตัวแรกเริ่มไม่ Track แล้ว มูลค่าตลาด (Market Cap) ของหุ้นที่เข้ามาในกลุ่มดัชนีเริ่มใหญ่ขึ้น ก็ต้องมีการเพิ่มเข้าไป และกองทุนนี้จะมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง
สำหรับหุ้นในกลุ่มพลังงานถือว่าเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่ และมีสภาพคล่องสูงมาก โดยมีขนาดประมาณ 35% ของตลาดโดยรวม และจำนวน 80% ของกลุ่มเป็นหุ้นในบริษัทในเครือของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทำให้การเคลื่อนไหวแกว่งตัวกว่าตลาดมาก สามารถนำตลาด และยังช่วยในการพยุงดัชนีโดยรวมเอาไว้ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวน
หากโฟกัสไปที่พลังงานอย่างเดียว ดัชนีจะแกว่งตัวมากกว่าดัชนี SET50 TDEX และดัชนี SET INDEX จึงมีความเสี่ยงมาก เพราะไม่มีหุ้นกลุ่มอื่นมาช่วยกระจายความเสี่ยง อย่างกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น นักลงทุนต้องมีความเข้าใจว่าลงทุนในเซกเตอร์จะมีความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในภาพใหญ่ ที่มีการกระจายการลงทุนอยู่แล้ว
ส่วนผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือน กลุ่มพลังงานอยู่ที่ 10.36% ขณะที่ SET 50 อยู่ที่ 5.35% ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือน กลุ่มพลังงานอยู่ที่ -5.83% ขณะที่ SET 50 อยู่ที่ -5.05% และผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี กลุ่มพลังงานอยู่ที่ 52.48% ขณะที่ SET 50 อยู่ที่ 26.63% ส่วนผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีกลุ่มพลังงานอยู่ที่ -3.50% ขณะที่ SET 50 อยู่ที่ -2.89%
เบื้องต้นคาดว่าราคาน่าจะอยู่ในระดับที่ 5 บาท เนื่องจากหุ้นส่วนใหญ่ในตลาดกว่า 40-60% มีการซื้อขายที่ระดับ 5-10 บาท โดยต้องการให้นักลงทุนมีความคุ้นชิน และหากจะทำให้ราคาอยุ่ในระดับที่ซื้อขายในตลาด และซื้อง่ายขายคล่อง แต่ต้องมีคณะทำงานเข้ามาหลายคณะ ทั้งฝ่ายเทคนิค และฝ่ายการตลาด เพื่อเข้าไปพูดในเชิงลึกอีกครั้ง โดยคาดว่าจะสามารถออกกองทุนประมาณสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกรกฎาคมนี้