xs
xsm
sm
md
lg

Q&A Corner : รวมมิตรcredit link note

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

หลายวันก่อนทางคอลัมน์ "Q&A Corner" ได้รับคำถามจากท่านผู้อ่านที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับcredit link note มาเป็นจำนวนมาก ทางทีมงานจึงหาคำตอบพร้อมไขข้อสงสัยให้กับผู้อ่านครับ เเละวันนี้ทาง บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ เป็นผู้ตอบข้อสงสัยให้ทั้ง 2 คำถามเลยครับ

คำถาม - เนื่องจากวันนี้ ผมได้อ่านหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ เกี่ยวกับ credit link note จึงมีความสงสัยบางประการ อยากจะสอบถามดังนี้ ตัวอย่างเช่น หากกองทุนได้ลงทุนใน credit link note ที่ link ด้าน credit กับพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือพันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ก็ตาม หากรัฐบาลของประเทศนั้น ๆ ออกมาตรการพิเศษ เช่น มาตรการ 30% เช่นรัฐบาลไทย จะเกิดเหตุการณ์ทีเรียกว่าความเสี่ยงด้าน settlement หรือไม่ เพราะกองทุนสัญญาว่าจะได้รับ ผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า X% หากเกิดเหตุการณ์ดังตัวอย่าง จะยังคงได้รับผลตอบแทน X% ตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ หากไม่ได้ผู้ลงทุนจะได้รับความคุ้มครองอย่างไรบ้าง ขอบคุณครับ พิง

ตอบ - ทางบลจ.ไทยพาณิชย์ได้ตอบคำถาม คุณ พิง ดังนี้ครับ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์มาตรการ 30% มันไม่ได้กระทบกับผลตอบแทนอยู่แล้ว เพราะปกติมาตรการ 30% คือการเกร็งกำไรค่าเงิน ซึ่งการที่พันธบัตรรัฐบาลให้ผลตอบแทนเท่าไหร่ ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนเข้าไปซื้อพันธบัตรต่างๆก็ยังคงได้รับผลตอบแทนตามเดิมทุกประการ โดยการคุ้มครองของการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลโดยทั่วไป จะได้รับความเสี่ยงและการคืนเงินต้นคงจะได้รับเต็มจำนวน

ส่วนเรื่องCredit link note มันเป็นอีกเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการลงทุนในพันธบัตรโดยตรง ซึ่งคือตราสารที่ออกโดยสถาบันการเงิน ซึ่งผลตอบแทนของตราสารนั้นไปอ้างอิงถึงผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลต่างๆ ทั้งนี้หาก สถาบันการเงินนั้นเป็นผู้ออกและไม่ได้มีปัญหาใดก็จะไม่ได้รับผลกระทบแม้ว่าจะมีมาตรการ 30 เปอร์เซ็นต์ก็ตามหรือมาตรการใดก็ตาม โดยผลตอบแทนจะไม่ได้รับผลกระทบ

คำถาม - กรณีที่ Issuer เกิด Default CLN holder มีสิทธิในการ Claim reference asset อย่างไร หาก reference asset เช่น Korean Bond เกิด Default ผลจะเป็นอย่างไรต่อผู้ถือ CLN ครับ สำหรับด้านผู้ออก CLN จำเป็นไม๊ต้องที่ผู้ออกต้องมี Reference asset ในมือ ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ Nutthawut Pongsatirat

ตอบ - โดยปกติแล้วผู้ออก CLN ควรจะมีทรัพย์สินที่อ้างอิงอยู่ในมือด้วย หากถ้ามีเหตุว่า อย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาลเกาหลีเกิด Default หมายถึงว่ารัฐบาลเกาหลีประกาศไม่ชำระหนี้พันธบัตรรัฐบาลเลย แน่นอนสิ่งที่จะกระทบกลับมาก็คือตัวตราสารที่มีผลตอบแทนไปอ้างอิงด้วย แต่โดยปกติอย่างที่บอกว่าบรรดาพันธบัตรรัฐบาลโดยส่วนใหญ่ในด้านของ Default แทบจะไม่มีอยู่แล้ว เพราะรัฐบาลทุกรัฐบาลส่วนใหญ่จะรักษาอันดับความน่าเชื่อถือของตัวเองอยู่แล้ว

ดังนั้นโดยเบื้องต้นที่มักจะพูดถึงคือพันธบัตรรัฐบาลประเทศต่างๆ จะไม่ค่อยได้เกิด Default risk เลย จริงๆเรียกว่า risk free เลยคือความเสี่ยงไม่เกิดขึ้นในเรื่องเครดิต จึงไม่ต้องกังวลมาก สบายใจได้ แต่ถ้าเป็นอย่างบางรัฐบาล เช่นในประเทศที่ไม่ได้พัฒนาจริงๆ เกิดเหตุรัฐบาล Default ขึ้นจริง ตัวตราสารที่เกี่ยวข้องก็จะกระทบต่อไปอาจกระทบต่อผลตอบแทนหรือเงินต้นด้วยก็แล้วแต่กรณี ซึ่งรัฐบาลในโซนเอเชียจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่อง Default เลย

ผู้ออก CLN บางครั้งมีเครดิตตัวเองดีมาก ดีกว่าประเทศที่อ้างอิง ดังนั้นเวลาออกตราสารดอกเบี้ยจะต่ำ พอดอกเบี้ยต่ำก็จะไม่มีคนซื้อ ก็เลยต้องไปอิงกับ Asset อื่นเช่น สมมติว่าผู้ออกเงินออกตั๋วธนาคารต่างประเทศอาจมีเครดิต AAA แต่พันธบัตรประเทศไทย จริงๆเป็นพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งประเทศไทยเครดิตอยู่ประมาณ BBB+ ดังนั้นถ้า CLN หรือสถาบันที่ออกเอง ถ้าออกตั๋วเงินของตัวเองดอกเบี้ยจะต่ำมากเพราะตัวเองแข็งแรงกว่า ถ้าจะออกตั๋วที่ได้ดอกเบี้ยสูงขึ้นโดยไปอ้างอิงกับผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทย เพราะพันธบัตรรัฐบาลไทยอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ ซึ่งผู้ออกจะทำได้โดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยเก็บไว้ด้วย เพราะถ้าถึงเวลาต้องจ่ายดอกเบี้ยตามที่ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลไทยจ่าย

ขอบคุณ เจ้าหน้าที่จาก บลจ. ไทยพาณิชย์ มากนะครับ สำหรับผู้ที่มีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนรวม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ fund@manager.co.th หรือโพสต์เป็นความคิดเห็นไว้ที่หน้าข่าวกองทุนรวม www.manager.co.th ทาง"Q&A Corner" จะไขข้อข้องใจให้ทราบเเน่นอน ครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น