xs
xsm
sm
md
lg

กองทุนส่วนบุคคลจบQ1โต3พันล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กองทุนส่วนบุคคลจบไตรมาสแรก เม็ดเงินลงทุนเพิ่มเล็กน้อยเพียง 3,506.35 ล้านบาทหรือคิดเป็น 1.99% ดันยอดรวมทั้งระบบขยับขึ้นเป็น กว่า 1.78 แสนล้านบาท "กสิกรไทย"ครองแชมป์ต่อเนื่อง ด้วยเอยูเอ็มสูงสุด 3.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ "ทิสโก้"ตามติดด้วยยอดรวม 3.1 หมื่นล้านบาท

รายงานข่าวจาก สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า ภาพรวมของเงินลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคลในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2551 ที่ผ่านมา ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เป็นเป็นการขายตัวเพียวเล็กน้อยเท่านั้น โดยกองทุนส่วนบุคคลมีตัวเลขการลงทุนรวมกันทั้งระบบ จำนวน 178,987.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 175,480.71 ของช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 เป็นจำนวน 3,506.35 ล้านบาทหรือคิดเป็น 1.99%

สำหรับปัจจัยที่ทำให้กองทุนส่วนบุคคลขยายตัวไม่สูงมากนัก ส่วนหนึ่งมาจากภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นที่ค่อนข้างผันผวน จากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ โดยปัจจัยภายนอกเป็นผลมาจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่ยังคงมีความกังวลต่อเนื่อง จนกดดันภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐให้เข้าสู่ภาวะถอถอย ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยภายในยังคงเป็นเรื่องของการเมืองในประเทศที่ยังไม่มีความชัดเจน ขณะเดียวกัน การลงทุนในตราสารหนี้เองยังไม่น่าสนใจมากนัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในช่วงขาลง

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลทั้งปีนี้ น่าจะขยายตัวได้มากขึ้นหลังจากนี้ เนื่องจากทางการเองเปิดทางให้ผู้ลงทุนสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้ ทั้งนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย ซึ่งเชื่อว่านักลงทุนหลายคนจะเลือกช่องทางนี้ในการกระจายความเสี่ยงให้เงินลงทุน

ทั้งนี้ สมาคมฯ รายงานบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่มีส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) สูงสุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย อันดับ 1.บลจ.กสิกรไทย โดยมีจำนวนเงินลงทุนรวม 35,074.13 ล้านบาทเพิ่มขึ้นประมาณ 2,485.87 ล้านบาทจากเงินลงทุนในเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมาซึ่งมีจำนวน 32,558.26 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 19.06%

อันดับ 2. บลจ.ทิสโก้ มีจำนวนเงินลงทุนรวม 31659.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1242.74 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมเดิม 30,416.85 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 17.69% อันดับ 3.บลจ.ไอเอ็นจี มีจำนวนเงินลงทุนรวม 22774.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 917.85 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมเดิม 21856.92 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต12.72% อันดับ 4. บลจ.เอ็มเอฟซี มีจำนวนเงินลงทุนรวม 21223.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 249.61 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมเดิม 20,928.48 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 11.86%

อันดับ 5. บลจ.วรรณ มีจำนวนเงินลงทุนรวม 20730.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้น364.24 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมเดิม 20,365.76 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต11.58% อันดับ 6. ธนาคารกรุงเทพ มีจำนวนเงินลงทุนรวม 9543.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 277.20 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมเดิม 9,266.25 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 5.33% อันดับ 7. บลจ.อเบอร์ดีน มีจำนวนเงินลงทุนรวม 6499.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 146.92 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมเดิม 6,352.59 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 3.63%

ขณะที่อันดับ 8. ได้แก่ บลจ.บัวหลวง มีจำนวนเงินลงทุนรวม 5760.60 ล้านบาท ลดลง (654.29) ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมเดิม 6,414.89 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลง 3.22% อันดับ 9.บลจ.ไทยพาณิชย์ มีจำนวนเงินลงทุนรวม 5472.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1472.65 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมเดิม 4,000.16 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 3.06% อันดับ 10. บลจ.อยุธยา มีจำนวนเงินลงทุนรวม 3185.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 198.1 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมเดิม 3,617.65 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 2.13%
กำลังโหลดความคิดเห็น