บลจ.ไทยพาณิชย์จ่อออกกองทุนเอฟไอเอฟเฉลี่ยเดือนละ 1 กองทุน มูลค่ากองละ 1,000 ล้านบาท ประเดิมปลายเดือนพฤษภาคมนี้กองแรก พร้อมเตรียมออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ใหม่ภายในไตรมาสที่ 2 นี้เช่นกัน ส่วนไตรมาสสุดท้ายจะเน้นขายกองทุน LTF และกองทุน RMF เป็นหลัก
นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมออกกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) อีก 3 กองทุน โดยจะเน้นลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes) ในทองคำ Climate Change และสินค้าเกษตร มูลค่าโครงการละประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มเปิดเสนอขายกองทุนแรกได้ประมาณปลายเดือนพฤษภาคม 2551 จากนั้นจะทยอยขายเดือนละ 1 กองทุน และในไตรมาส 3/2551 จะเริ่มออกกองทุนน้อยลง ขณะที่ไตรมาส 4/2551 จะเน้นหนักไปที่การขายกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มากขึ้น
สำหรับเรื่องที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) รับปากว่าจะนำไปหารือกับทางภาครัฐ ได้แก่ กองทุนหลังการเกษียณอายุ โดยจะมีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และสวัสดิการแก่ผู้ที่เกษียณอายุที่นำเงินไปลงทุน ซึ่งจะยึดเอารูปแบบกองทุนลักษณะนี้จากออสเตรเลียเป็นต้นแบบ และจะต้องมีกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ เพื่อเข้ามาส่งเสริมกันซึ่งกันและกันด้วย ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังเป็นที่ต้องติดตามกันต่อไปว่าจะมีความชัดเจนอย่างไรบ้าง
ขณะที่กองทุนเพื่อการศึกษา เช่น การบริจาคเงินเพื่อการศึกษา จะมีการกำหนดแนวทางการบริจาคผ่านกองทุนรวมให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นกัน ซึ่งจะเป็นการปรับรูปแบบเข้าสู่การลงทุนในกองทุนรวม เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริจาคเงินเพื่อการศึกษา นอกเหนือจากการบริจาคเงินเพื่อการศึกษาโดยผ่านทางอื่นๆ และไม่ได้เสียประโยชน์อะไร เพราะว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการบริจาคเงินเพื่อการศึกษาอยู่แล้ว
นอกจากนี้ บริษัทจะออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์) ใหม่ในไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยอยู่ระหว่างหาข้อสรุปเกี่ยวกับประเภทการลงทุนว่าจะทำในส่วนของออฟฟิศ อพาร์ทเม้นท์ และเพื่อการพาณิชย์ เช่น ห้างสรรพสินค้า ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สม่ำเสมอ รวมทั้งคาดว่าจะมีการเพิ่มทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ควอลิตี้ เฮ้าส์ (QHPF) ซึ่งจะต้องขอมติจากที่ประชุมอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีนโยบายการลงทุนโครงการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในโครงการ คิวเฮ้าส์ เพลินจิต โครงการคิวเฮ้าส์ ลุมพินี และโครงการเวฟ เพลส ซึ่งนโยบายในการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ลงทุนไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิต่อปี ในกรณีที่กองทุนมีกำไรสะสม บริษัทอาจจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นหน่วยลงทุนจากกำไรสะสมได้ ทั้งนี้ กำไรสุทธิและกำไรสะสมดังกล่าวข้างต้นจะต้องเกิดขึ้นจริงจากการหาประโยชน์ในทรัพย์สินของกองทุน โดยไม่รวมกำไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์หลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ของกองทุน รวมถึงรายจ่ายในการจัดตั้งกองทุนรวมและรายจ่ายในการเสนอขายหน่วยลงทุน
ทั้งนี้ ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน QHPF ได้มีการประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นหน่วยไปแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง รวมเป็นมูลค่าต่อหน่วย่ละ 0.5500 บาท โดยมีการจ่ายเงินปันผลดังนี้ รอบที่ 1 ในอัตราหน่วยละ 0.1850 บาท และรอบที่ 2 ในอัตราหน่วยละ 0.1750 บาท และรอบที่ 3 ในอัตราหน่วยละ 0.1900 บาท
ส่วนผลดำเนินการของกองทุนนี้ สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 พบว่า มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 8,458.44 ล้านบาท สามารถให้ผลการดำเนินการย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 1.08% ผลดำเนินการย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 1.08% ผลการดำเนินการย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 1.23% และสามารถให้ผลดำเนินการย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 11.73%
ก่อนหน้านี้ บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) QH เปิดเผยว่า บริษัทเดินหน้าขยายกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ควอลิตี้ เฮ้าส์ (QHPF) อีก 3,000 ล้านบาทจากเดิมอยู่ที่ 8,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนในปลายไตรมาส 2/2551 ถึงต้นไตรมาส 3/2551 จากเดิมที่มีโครงการจัดออกกองทุนดังกล่าวในช่วงไตรมาส 2/2251 แต่ได้มีการเพิ่มสินทรัพย์ใหม่ในกองทุนเก่า ทำให้ต้องเลื่อนเวลาในการออกกองทุนดังกล่าวมาเล็กน้อย
ขณะที่สินทรัพย์ที่จะเข้าไปลงทุนเป็นโครงการเซอร์วิสอพาร์เมนต์ จำนวน 3 โครงการ และอาคารสำนักคิวเฮ้าส์สาทร ขณะเดียวกัน มองว่าภาวะอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีแรกที่เป็นขาลงาน่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากผู้ประกอบการก็สามารถลดต้นทุนลงได้ในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่จูงใจให้ผู้บริโภคซื้อบ้านมากขึ้น
นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมออกกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) อีก 3 กองทุน โดยจะเน้นลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes) ในทองคำ Climate Change และสินค้าเกษตร มูลค่าโครงการละประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มเปิดเสนอขายกองทุนแรกได้ประมาณปลายเดือนพฤษภาคม 2551 จากนั้นจะทยอยขายเดือนละ 1 กองทุน และในไตรมาส 3/2551 จะเริ่มออกกองทุนน้อยลง ขณะที่ไตรมาส 4/2551 จะเน้นหนักไปที่การขายกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มากขึ้น
สำหรับเรื่องที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) รับปากว่าจะนำไปหารือกับทางภาครัฐ ได้แก่ กองทุนหลังการเกษียณอายุ โดยจะมีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และสวัสดิการแก่ผู้ที่เกษียณอายุที่นำเงินไปลงทุน ซึ่งจะยึดเอารูปแบบกองทุนลักษณะนี้จากออสเตรเลียเป็นต้นแบบ และจะต้องมีกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ เพื่อเข้ามาส่งเสริมกันซึ่งกันและกันด้วย ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังเป็นที่ต้องติดตามกันต่อไปว่าจะมีความชัดเจนอย่างไรบ้าง
ขณะที่กองทุนเพื่อการศึกษา เช่น การบริจาคเงินเพื่อการศึกษา จะมีการกำหนดแนวทางการบริจาคผ่านกองทุนรวมให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นกัน ซึ่งจะเป็นการปรับรูปแบบเข้าสู่การลงทุนในกองทุนรวม เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริจาคเงินเพื่อการศึกษา นอกเหนือจากการบริจาคเงินเพื่อการศึกษาโดยผ่านทางอื่นๆ และไม่ได้เสียประโยชน์อะไร เพราะว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการบริจาคเงินเพื่อการศึกษาอยู่แล้ว
นอกจากนี้ บริษัทจะออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์) ใหม่ในไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยอยู่ระหว่างหาข้อสรุปเกี่ยวกับประเภทการลงทุนว่าจะทำในส่วนของออฟฟิศ อพาร์ทเม้นท์ และเพื่อการพาณิชย์ เช่น ห้างสรรพสินค้า ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สม่ำเสมอ รวมทั้งคาดว่าจะมีการเพิ่มทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ควอลิตี้ เฮ้าส์ (QHPF) ซึ่งจะต้องขอมติจากที่ประชุมอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ควอลิตี้ เฮ้าส์ มีนโยบายการลงทุนโครงการซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในโครงการ คิวเฮ้าส์ เพลินจิต โครงการคิวเฮ้าส์ ลุมพินี และโครงการเวฟ เพลส ซึ่งนโยบายในการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ลงทุนไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิต่อปี ในกรณีที่กองทุนมีกำไรสะสม บริษัทอาจจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นหน่วยลงทุนจากกำไรสะสมได้ ทั้งนี้ กำไรสุทธิและกำไรสะสมดังกล่าวข้างต้นจะต้องเกิดขึ้นจริงจากการหาประโยชน์ในทรัพย์สินของกองทุน โดยไม่รวมกำไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์หลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ของกองทุน รวมถึงรายจ่ายในการจัดตั้งกองทุนรวมและรายจ่ายในการเสนอขายหน่วยลงทุน
ทั้งนี้ ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน QHPF ได้มีการประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นหน่วยไปแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง รวมเป็นมูลค่าต่อหน่วย่ละ 0.5500 บาท โดยมีการจ่ายเงินปันผลดังนี้ รอบที่ 1 ในอัตราหน่วยละ 0.1850 บาท และรอบที่ 2 ในอัตราหน่วยละ 0.1750 บาท และรอบที่ 3 ในอัตราหน่วยละ 0.1900 บาท
ส่วนผลดำเนินการของกองทุนนี้ สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 พบว่า มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 8,458.44 ล้านบาท สามารถให้ผลการดำเนินการย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 1.08% ผลดำเนินการย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 1.08% ผลการดำเนินการย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 1.23% และสามารถให้ผลดำเนินการย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 11.73%
ก่อนหน้านี้ บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) QH เปิดเผยว่า บริษัทเดินหน้าขยายกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ควอลิตี้ เฮ้าส์ (QHPF) อีก 3,000 ล้านบาทจากเดิมอยู่ที่ 8,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนในปลายไตรมาส 2/2551 ถึงต้นไตรมาส 3/2551 จากเดิมที่มีโครงการจัดออกกองทุนดังกล่าวในช่วงไตรมาส 2/2251 แต่ได้มีการเพิ่มสินทรัพย์ใหม่ในกองทุนเก่า ทำให้ต้องเลื่อนเวลาในการออกกองทุนดังกล่าวมาเล็กน้อย
ขณะที่สินทรัพย์ที่จะเข้าไปลงทุนเป็นโครงการเซอร์วิสอพาร์เมนต์ จำนวน 3 โครงการ และอาคารสำนักคิวเฮ้าส์สาทร ขณะเดียวกัน มองว่าภาวะอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีแรกที่เป็นขาลงาน่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากผู้ประกอบการก็สามารถลดต้นทุนลงได้ในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่จูงใจให้ผู้บริโภคซื้อบ้านมากขึ้น