เอเอฟพี - กองทุนความมั่งคั่งภาครัฐ หรือ Sovereign Wealthy Fund (SWFs) ที่เข้าไปลงทุนในต่างประเทศ มีอัตราขยายตัวถึงปีละ 24% ในช่วงสามปีที่ผ่านมา และ ณ ปี 2007 มีสินทรัพย์ในมือมากกว่า 3.5 ล้านล้านดอลลาร์
โกลบอล อินไซท์ บริษัทที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่มลรัฐแมสซาชูเซตส์, สหรัฐฯ บอกว่า หากกองทุนภาครัฐเหล่านี้ยังคงเติบโตในระดับนี้ต่อไป ในปี 2015 ก็จะมีขนาดใหญ่กว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ของสหรัฐฯ และจะใหญ่กว่าสหภาพยุโรป(อียู)ภายในปี 2016
กองทุนประเภทนี้มีสินทรัพย์พุ่งทะยานลิ่ว ก็เพราะรัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากมาย สืบเนื่องจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ขึ้นสูง ทำให้เห็นความจำเป็นของการไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดสำหรับเม็ดเงินที่มีอยู่
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของการลงทุนโดยกองทุนที่ดำเนินการโดยรัฐบาลเหล่านี้ ทำให้มีความกังวลว่าอาจจะถูกใช้เป็นหนึ่งในกลไกทางการเมือง เพื่อต่อรองกับประเทศที่ทางกองทุนเข้าไปลงทุนก็ได้
โกลบอล อินไซท์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และทำนายเศรษฐกิจและการเงิน ในช่วงที่ผ่านมาได้ให้ความสนใจศึกษาความเคลื่อนไหวของกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐเป็นพิเศษ เพราะเห็นว่ากองทุนรัฐบาลเหล่านี้ กำลังเปลี่ยนรูปแบบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาไปโดยสิ้นเชิง
"รัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งมีเม็ดเงินที่ไม่ได้เกิดจากการกู้ยืมอยู่ในปริมาณมหาศาล ทำให้กองทุนเพื่อการลงทุนของประเทศนั้น ๆกลายเป็นนายหน้าแห่งอำนาจการเงินรายใหม่ ขึ้นมาแทนกองทุนเฮดฟันด์และกองทุนบริหารสินทรัพย์ภาคเอกชน(ไพรเวต อิควิตี้ ฟันดื) ที่มีอยู่เดิม อีกทั้งยังกำลังช่วงชิงแย่งบทบาทจากธนาคารกลางทั้งหลาย ในการทำหน้าที่เป็นแหล่งทุนระหว่างประเทศแหล่งสุดท้ายที่สามารถให้ความช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน" แจน แรนดอล์ฟ ผู้อำนวยการฝ่ายความเสี่ยงภาครัฐ ของโกลบอล อินไซท์ กล่าว
จากการติดตามดูกองทุนรัฐบาลเหล่านี้ของโกลบอล อินไซท์พบว่าเมื่อปี 2007 กองทุนประเภทนี้อัดฉีดเม็ดเงินราว 80,000 ล้านดอลลาร์ เข้าไปถือครองหุ้นหรือสินทรัพย์อื่นๆ ของธนาคารต่างๆ เฉพาะในสหรัฐฯประเทศเดียว และเมื่อพิจารณาจากขอบเขตทั่วโลก ราว 93% ของการลงทุนในหลักทรัพย์ของกองทุนประเภทนี้ จะเป็นการลงทุนในภาคการเงินของโลกตะวันตก
"สถานการณ์ตอนนี้ก็คือการเปลี่ยนความสำคัญด้านการเงินจากตะวันตกมาเป็นตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน, เอเชีย, ตะวันออกกลาง และประเทศผู้ผลิตพลังงานรายอื่น ๆ" แรนดอล์ฟกล่าว
จีนเป็นแหล่งกองทุนรัฐบาลรายใหญ่ที่สุด โดยมีเม็ดเงินราว 1,200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามด้วยรัสเซียและคูเวต
แต่สำหรับประเทศที่กองทุนความมั่งคั่งภาครัฐมีอัตราเติบโตเร็วที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ก็คือ ไนจีเรีย ผู้ผลิตน้ำมันใหญ่อันดับ 8 ของโลกซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 291%, โอมาน 256%, คาซัคสถาน 162%, อังโกลา 84%, รัสเซีย 74% และบราซิล 65%
ในเดือนมกราคมปี 2008 กองทุนประเภทนี้เข้าซื้อสินทรัพย์เป็นมูลค่า 20,600 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบหนึ่งในสามของจำนวนเม็ดเงินทั้งหมดที่กองทุนรัฐบาลเหล่านี้ทำการควบรวมหรือซื้อสินทรัพย์ในตลอดทั้งปี 2007
เมื่อปี 2007 กองทุนรัฐบาลทำให้เกิดการควบรวมและซื้อสินทรัพย์ราว 35% ของมูลค่าการควบรวมและเทกโอเวอร์ทั้งโลก ส่วนที่สหรัฐ กองทุนเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อการควบรวมสูงถึง 28%ของมูลค่าการควบรวม
โกลบอล อินไซท์ยังได้กล่าวอีกว่ากองทุนรัฐบาลยังได้จับมือเป็นพันธมิตรกับกองทุนบริษัทสินทรัพย์เอกชนเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ โดยมีส่วนในการลงทุนราว 10% ของกองทุนบริหารสินทรัพย์ที่เข้าไปในประเทศต่าง ๆทั่วโลก และกำลังจะขยายตัวอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้านี้
โกลบอล อินไซท์ บริษัทที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่มลรัฐแมสซาชูเซตส์, สหรัฐฯ บอกว่า หากกองทุนภาครัฐเหล่านี้ยังคงเติบโตในระดับนี้ต่อไป ในปี 2015 ก็จะมีขนาดใหญ่กว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ของสหรัฐฯ และจะใหญ่กว่าสหภาพยุโรป(อียู)ภายในปี 2016
กองทุนประเภทนี้มีสินทรัพย์พุ่งทะยานลิ่ว ก็เพราะรัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากมาย สืบเนื่องจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ขึ้นสูง ทำให้เห็นความจำเป็นของการไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดสำหรับเม็ดเงินที่มีอยู่
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของการลงทุนโดยกองทุนที่ดำเนินการโดยรัฐบาลเหล่านี้ ทำให้มีความกังวลว่าอาจจะถูกใช้เป็นหนึ่งในกลไกทางการเมือง เพื่อต่อรองกับประเทศที่ทางกองทุนเข้าไปลงทุนก็ได้
โกลบอล อินไซท์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และทำนายเศรษฐกิจและการเงิน ในช่วงที่ผ่านมาได้ให้ความสนใจศึกษาความเคลื่อนไหวของกองทุนความมั่งคั่งภาครัฐเป็นพิเศษ เพราะเห็นว่ากองทุนรัฐบาลเหล่านี้ กำลังเปลี่ยนรูปแบบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาไปโดยสิ้นเชิง
"รัฐบาลประเทศกำลังพัฒนาหลายแห่งมีเม็ดเงินที่ไม่ได้เกิดจากการกู้ยืมอยู่ในปริมาณมหาศาล ทำให้กองทุนเพื่อการลงทุนของประเทศนั้น ๆกลายเป็นนายหน้าแห่งอำนาจการเงินรายใหม่ ขึ้นมาแทนกองทุนเฮดฟันด์และกองทุนบริหารสินทรัพย์ภาคเอกชน(ไพรเวต อิควิตี้ ฟันดื) ที่มีอยู่เดิม อีกทั้งยังกำลังช่วงชิงแย่งบทบาทจากธนาคารกลางทั้งหลาย ในการทำหน้าที่เป็นแหล่งทุนระหว่างประเทศแหล่งสุดท้ายที่สามารถให้ความช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน" แจน แรนดอล์ฟ ผู้อำนวยการฝ่ายความเสี่ยงภาครัฐ ของโกลบอล อินไซท์ กล่าว
จากการติดตามดูกองทุนรัฐบาลเหล่านี้ของโกลบอล อินไซท์พบว่าเมื่อปี 2007 กองทุนประเภทนี้อัดฉีดเม็ดเงินราว 80,000 ล้านดอลลาร์ เข้าไปถือครองหุ้นหรือสินทรัพย์อื่นๆ ของธนาคารต่างๆ เฉพาะในสหรัฐฯประเทศเดียว และเมื่อพิจารณาจากขอบเขตทั่วโลก ราว 93% ของการลงทุนในหลักทรัพย์ของกองทุนประเภทนี้ จะเป็นการลงทุนในภาคการเงินของโลกตะวันตก
"สถานการณ์ตอนนี้ก็คือการเปลี่ยนความสำคัญด้านการเงินจากตะวันตกมาเป็นตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน, เอเชีย, ตะวันออกกลาง และประเทศผู้ผลิตพลังงานรายอื่น ๆ" แรนดอล์ฟกล่าว
จีนเป็นแหล่งกองทุนรัฐบาลรายใหญ่ที่สุด โดยมีเม็ดเงินราว 1,200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามด้วยรัสเซียและคูเวต
แต่สำหรับประเทศที่กองทุนความมั่งคั่งภาครัฐมีอัตราเติบโตเร็วที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ก็คือ ไนจีเรีย ผู้ผลิตน้ำมันใหญ่อันดับ 8 ของโลกซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 291%, โอมาน 256%, คาซัคสถาน 162%, อังโกลา 84%, รัสเซีย 74% และบราซิล 65%
ในเดือนมกราคมปี 2008 กองทุนประเภทนี้เข้าซื้อสินทรัพย์เป็นมูลค่า 20,600 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบหนึ่งในสามของจำนวนเม็ดเงินทั้งหมดที่กองทุนรัฐบาลเหล่านี้ทำการควบรวมหรือซื้อสินทรัพย์ในตลอดทั้งปี 2007
เมื่อปี 2007 กองทุนรัฐบาลทำให้เกิดการควบรวมและซื้อสินทรัพย์ราว 35% ของมูลค่าการควบรวมและเทกโอเวอร์ทั้งโลก ส่วนที่สหรัฐ กองทุนเข้าซื้อสินทรัพย์เพื่อการควบรวมสูงถึง 28%ของมูลค่าการควบรวม
โกลบอล อินไซท์ยังได้กล่าวอีกว่ากองทุนรัฐบาลยังได้จับมือเป็นพันธมิตรกับกองทุนบริษัทสินทรัพย์เอกชนเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ โดยมีส่วนในการลงทุนราว 10% ของกองทุนบริหารสินทรัพย์ที่เข้าไปในประเทศต่าง ๆทั่วโลก และกำลังจะขยายตัวอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้านี้