ผู้จัดการกองทุนยังมั่นใจศักยภาพ กลุ่มประเทศ "BRIC" มองระยะยาวสดใส แม้ในช่วงระยะสั้นตลาดหุ้นอาจผันผวน ยํ้าความน่าลงทุนยังมี เหตุเป็นประเทศกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีปัจจัยการผลิตและการบริโภคภายในที่แข็งแกร่ง แอสเซทพลัสเผยผลงาน "ASP-BRIC" ไตรมาสแรกติดลบ 19%
นางสาวสุทธินี สิมะกุลธร ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด กล่าวถึง ความน่าลงทุนในกลุ่มประเทศ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ( BRIC ) ว่า ในส่วนของประเทศบราซิลนั้นจากการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ช่วยพยุงให้ตลาดหุ้นบราซิลมีแรงต้านทานต่อความผันผวนของโลกได้ดีมาก ซึ่งทาง EIU คาดการณ์ไว้ว่า GDP ของบราซิลในปีนี้น่าจะเติบโตขึ้นประมาณ 4.5% ขณะที่ประเทศรัสเซีย เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก ประชากรที่มีคุณภาพ มีการศึกษาสูง และมีรายได้เข้ามามากจากการส่งออกน้ำมัน ส่งผลให้ประเทศมีเงินหมุนเวียนค่อนข้างสูงและ การที่ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในระดับที่ดี โดย IMF คาดว่า ปีนี้เศรษฐกิจรัสเซียน่าจะเติบโตประมาณ 7% นอกจากนี้ ประเทศบราซิลและรัสเซียได้รับแรงกระตุ้นจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศอีกด้วย
ในขณะที่ประเทศอินเดีย มีประชากรจำนวนมากเป็นอันดับ 2 ของโลก และมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านโปรแกรมซอฟแวร์มาก โดยหากมีการปฏิรูปด้าน Infrastructure ได้ดี โอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจจะมีมากขึ้น โดย IMF คาดว่าในปีนี้ เศรษฐกิจของอินเดียน่าจะเติบโตขึ้นประมาณ 7.9% และประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของกลุ่มประเทศ BRIC มีจุดเด่นอยู่ที่มีประชากรมาก แรงงานราคาถูก มีคุณภาพ และมีความเชี่ยวชาญพิเศษทางด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ ซึ่ง IMF คาดว่าทั้งปีจีนน่าจะเติบโตประมาณ 9.3% แต่เงินเฟ้อที่สูงมากของจีนที่ทำให้ตลาดหุ้นของจีนน่าสนใจน้อยลง
นางสาวสุทธินี กล่าวต่อว่า ภาพรวมของกองทุน ASP-BRIC ในไตรมาส 1 ปี 2551 ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก Templeton BRIC Fund ได้ปรับลดลงประมาณ 17% ขณะที่หากลงทุนเป็นระยะเวลา 1 ปี จะได้ผลตอบแทนอยู่ที่ 22.59% ในส่วนของกองทุนเปิดแอสเซทพลัสบริค (ASP-BRIC) ปรับตัวลดลง 19 % ในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา โดยการที่กองทุน ASP-BRIC ได้ปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นปีนั้น เป็นไปตามภาวะการปรับตัวลงของตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับตัวลดลง และความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการปรับตัวลงของตลาดหุ้นของประเทศกลุ่มบริคดังกล่าวจะเป็นผลกระทบในระยะสั้น ที่อาจจะยังคงผันผวน แต่ในระยะยาวแล้ว การลงทุนจะได้รับผลดีจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจประเทศกลุ่มบริค ที่เติบโตจากการบริโภคในประเทศเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มบริคเมื่อรวมกันแล้วมีสัดส่วนมากถึง 30% ของอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และมีประชากรมากถึง 40% ของประชากรโลก นอกจากนี้ทั้ง 4 ประเทศนี้มีเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงช่วยลดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น หากนักลงทุนสนใจลงทุนในกลุ่มประเทศบริค จึงควรลงทุนในระยะยาว ไม่ต่ำกว่า 1 ปี
ด้านนายจุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาดกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในกลุ่มประเทศ BRIC ในขณะนี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีแก่นักลงทุนเพราะคาดว่าน่าจะให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ดีแก่นักลงทุนได้ในระยะยาว
ทั้งนี้ การลงทุน ในกลุ่มประเทศ BRIC นั้นเป็นการลงทุนในตลาดประเทศเกิดใหม่ ซึ่งเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจที่ดีรวมถึงมีการบริโภคภายในประทศในระดับที่สูงส่งผลให้แนวโน้มการลงทุนในกลุ่มประเทศ BRIC มีแนวโน้มที่ดี โดยที่ประเทศบราซิลนั้น ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มประเทศละตินอเมริกาที่มีเศรษฐกิจที่เติบโตมากที่สุด เพราะมีผลผลิตด้านสินค้าเกษตรมากรวมทั้งมีการผลิตพลังงานทดแทนจากพืชผลทางเกษตร (เอเทอร์นอล) ในปริมาณที่มากเป็นการลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศทำให้ประเทศบราชิลไม่ได้รับผลกระทบจากราคานํ้ามันที่สูงในตลาดโลก
ส่วนประเทศรัสเซียนั้น มีทรัพยากรด้านพลังงานในปริมาณที่มากซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ประเทศรัสเซียมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีในช่วงที่ราคานํ้ามันกับราคาพลังงานในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้ประเทศรัสเซียมีความน่าลงทุนมากขึ้น ในขณะที่ ประเทศจีนกับอินเดียนั้น เป็นประเทศที่มีการบริโภคภายในประเทศที่สูง ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นโดยในส่วนของประเทศจีนนั้นมีการส่งออกที่มากซึ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศจีนมีอัตรการเติบโตที่สูงกว่าประเทศอินเดีย แต่โดยรวมแล้วถือว่าประเทศอินเดียกับประเทจีนมีแนวโน้มการลงทุนที่ดี
นายจุมพลกล่าวถึงภาวะเงินเฟ้อในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ว่า ภาวะเงินเฟ้อดังกล่าวเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสนในอยู่เพราะอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจและการลงทุนได้ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเงินเฟ้อดังกล่าวเป็นเรื่องของแต่ละประเทศที่มีการแก้ปัญหาภายในประเทศเอง ซึ่งหากการบริโภคภายในประเทศดีน่าจะสามารถต้านทานเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นภายในประเทศได้
นางสาวสุทธินี สิมะกุลธร ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซท พลัส จำกัด กล่าวถึง ความน่าลงทุนในกลุ่มประเทศ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ( BRIC ) ว่า ในส่วนของประเทศบราซิลนั้นจากการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ช่วยพยุงให้ตลาดหุ้นบราซิลมีแรงต้านทานต่อความผันผวนของโลกได้ดีมาก ซึ่งทาง EIU คาดการณ์ไว้ว่า GDP ของบราซิลในปีนี้น่าจะเติบโตขึ้นประมาณ 4.5% ขณะที่ประเทศรัสเซีย เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก ประชากรที่มีคุณภาพ มีการศึกษาสูง และมีรายได้เข้ามามากจากการส่งออกน้ำมัน ส่งผลให้ประเทศมีเงินหมุนเวียนค่อนข้างสูงและ การที่ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในระดับที่ดี โดย IMF คาดว่า ปีนี้เศรษฐกิจรัสเซียน่าจะเติบโตประมาณ 7% นอกจากนี้ ประเทศบราซิลและรัสเซียได้รับแรงกระตุ้นจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศอีกด้วย
ในขณะที่ประเทศอินเดีย มีประชากรจำนวนมากเป็นอันดับ 2 ของโลก และมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านโปรแกรมซอฟแวร์มาก โดยหากมีการปฏิรูปด้าน Infrastructure ได้ดี โอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจจะมีมากขึ้น โดย IMF คาดว่าในปีนี้ เศรษฐกิจของอินเดียน่าจะเติบโตขึ้นประมาณ 7.9% และประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของกลุ่มประเทศ BRIC มีจุดเด่นอยู่ที่มีประชากรมาก แรงงานราคาถูก มีคุณภาพ และมีความเชี่ยวชาญพิเศษทางด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ ซึ่ง IMF คาดว่าทั้งปีจีนน่าจะเติบโตประมาณ 9.3% แต่เงินเฟ้อที่สูงมากของจีนที่ทำให้ตลาดหุ้นของจีนน่าสนใจน้อยลง
นางสาวสุทธินี กล่าวต่อว่า ภาพรวมของกองทุน ASP-BRIC ในไตรมาส 1 ปี 2551 ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก Templeton BRIC Fund ได้ปรับลดลงประมาณ 17% ขณะที่หากลงทุนเป็นระยะเวลา 1 ปี จะได้ผลตอบแทนอยู่ที่ 22.59% ในส่วนของกองทุนเปิดแอสเซทพลัสบริค (ASP-BRIC) ปรับตัวลดลง 19 % ในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา โดยการที่กองทุน ASP-BRIC ได้ปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นปีนั้น เป็นไปตามภาวะการปรับตัวลงของตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับตัวลดลง และความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการปรับตัวลงของตลาดหุ้นของประเทศกลุ่มบริคดังกล่าวจะเป็นผลกระทบในระยะสั้น ที่อาจจะยังคงผันผวน แต่ในระยะยาวแล้ว การลงทุนจะได้รับผลดีจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจประเทศกลุ่มบริค ที่เติบโตจากการบริโภคในประเทศเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มบริคเมื่อรวมกันแล้วมีสัดส่วนมากถึง 30% ของอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และมีประชากรมากถึง 40% ของประชากรโลก นอกจากนี้ทั้ง 4 ประเทศนี้มีเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงช่วยลดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกผันผวนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น หากนักลงทุนสนใจลงทุนในกลุ่มประเทศบริค จึงควรลงทุนในระยะยาว ไม่ต่ำกว่า 1 ปี
ด้านนายจุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาดกองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในกลุ่มประเทศ BRIC ในขณะนี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีแก่นักลงทุนเพราะคาดว่าน่าจะให้ผลตอบแทนการลงทุนที่ดีแก่นักลงทุนได้ในระยะยาว
ทั้งนี้ การลงทุน ในกลุ่มประเทศ BRIC นั้นเป็นการลงทุนในตลาดประเทศเกิดใหม่ ซึ่งเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจที่ดีรวมถึงมีการบริโภคภายในประทศในระดับที่สูงส่งผลให้แนวโน้มการลงทุนในกลุ่มประเทศ BRIC มีแนวโน้มที่ดี โดยที่ประเทศบราซิลนั้น ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มประเทศละตินอเมริกาที่มีเศรษฐกิจที่เติบโตมากที่สุด เพราะมีผลผลิตด้านสินค้าเกษตรมากรวมทั้งมีการผลิตพลังงานทดแทนจากพืชผลทางเกษตร (เอเทอร์นอล) ในปริมาณที่มากเป็นการลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศทำให้ประเทศบราชิลไม่ได้รับผลกระทบจากราคานํ้ามันที่สูงในตลาดโลก
ส่วนประเทศรัสเซียนั้น มีทรัพยากรด้านพลังงานในปริมาณที่มากซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ประเทศรัสเซียมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีในช่วงที่ราคานํ้ามันกับราคาพลังงานในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นทำให้ประเทศรัสเซียมีความน่าลงทุนมากขึ้น ในขณะที่ ประเทศจีนกับอินเดียนั้น เป็นประเทศที่มีการบริโภคภายในประเทศที่สูง ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นโดยในส่วนของประเทศจีนนั้นมีการส่งออกที่มากซึ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศจีนมีอัตรการเติบโตที่สูงกว่าประเทศอินเดีย แต่โดยรวมแล้วถือว่าประเทศอินเดียกับประเทจีนมีแนวโน้มการลงทุนที่ดี
นายจุมพลกล่าวถึงภาวะเงินเฟ้อในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ว่า ภาวะเงินเฟ้อดังกล่าวเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสนในอยู่เพราะอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจและการลงทุนได้ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเงินเฟ้อดังกล่าวเป็นเรื่องของแต่ละประเทศที่มีการแก้ปัญหาภายในประเทศเอง ซึ่งหากการบริโภคภายในประเทศดีน่าจะสามารถต้านทานเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นภายในประเทศได้