นักวิเคราะห์มองเศรษฐกิจไทยขยายตัว 5-6% แค่ฝัน เหตุปัจจัยลบรุมเร้าเพียบ ทั้งเศรษฐกิจโลก และการเมืองไทยที่ยังไม่มีเสถียรภาพ ระบุการแก้รธน.บ่อเกิดความขัดแย้ง และการเผชิญหน้า พร้อมแนะรัฐพิจารณางบประมาณตามความจริงด้วยกระแสเงินสดมากกว่าใช้ตัวเลขจากงบดุลเป็นพื้นฐานในการบริหารงาน
นางสาวอังคณา รัชธร ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่วถึงแนวโน้มเศรษฐกิจภายในประเทศว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอาจจะไม่เป็นตามประมาณการใหม่ของรัฐบาลที่ตั้งเป้าไว้ร้อยละ 5.0-6.0 ถึงแม้จะมีมาตรการเร่งด่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 3.95 แสนล้านบาท เนื่องจากมาตรการของรัฐกว่าจะได้ผลชัดเจนน่าจะเป็นช่วงครึ่งปีหลัง เเต่ขณะเดียวกันก็ยังมีอีก 3 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัวไม่ถึงระดับดังกล่าว ได้แก่ เศรษฐกิจโลก เงินเฟ้อ และการเมืองของไทย
ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้ ซึ่งธนาคารโลกได้ปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงเหลือร้อยละ 3.3 ลดลงจากร้อยละ 3.6 ในปี 2550 นื่องจากปัญหาทางการเงินในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น มีความรุนแรงกว่าที่คาดไว้ ส่งผลให้ปริมาณการค้าโลกปรับตัวลดลงมาก เหลือเพียงร้อยละ 7.4 เทียบกับร้อยละ 8.7 ในปีที่ผ่านมา ทำให้การส่งออกในตลาดโลกชะลอตัวลงค่อนข้างมาก ลดลงเหลือร้อยละ 7.6 จากร้อยละ 9.2 ในปีที่แล้ว
ขณะที่การนำเข้าในตลาดโลกชะลอตัวลงไม่มากนัก โดยขยายตัวร้อยละ 7.2 จากร้อยละ 8.3 ตามลำดับ ทั้งนี้หากเกิดวิกฤตสินเชื่อตึงตัว อาจทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยที่มีความอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่ยังพึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 73 ของ GDP โดยหากเศรษฐกิจโลกขยายตัวได้น้อยลงร้อยละ 1.0 จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้น้อยลงประมาณร้อยละ 0.6 – 1.0
"เงินเฟ้อในประเทศมีเป็นอีกปัจจัยที่มีแนวโน้มจะสร้างปัญหามากขึ้น จากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน และอาหาร โดยในไตรมาสแรก มีอัตราสูงถึงร้อยละ 5.0 เทียบกับร้อยละ 2.4 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการประมาณการของสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดไว้ว่า ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 0.028 และเศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวได้น้อยลงร้อยละ 0.020 ในขณะที่การใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวได้น้อยลงร้อยละ 0.035 การลงทุนขยายตัวได้น้อยลงร้อยละ 0.029 และปริมาณการส่งออกขยายตัวได้น้อยลงร้อยละ 0.069 ซึ่งจะทำให้เงินเฟ้อเฉลี่ยตลอดทั้งปีอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-4.0 แต่หากเงินเฟ้อปรับขึ้นมากกว่าที่คาดจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของการลงทุน การใช้จ่ายของภาคครัวเรือน และเศรษฐกิจโดยรวม" นางสาวอังคณา กล่าว
นางสาวอังคณา กล่าวอีกว่า ปัญหาการเมืองของไทยเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากการเมืองขณะนี้ยังไม่นิ่งและมีปัญหาด้านเสถียรภาพ สืบเนื่องจากความขัดแย้งในการปรับแก้รัฐธรรมนูญ และการยุบพรรคการเมือง โดยจุดล่อแหลมนี้จะผลักดันให้เกิดการเผชิญหน้าขึ้นอีกรอบ และอาจทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ส่งผลให้ภาคเอกชนไม่กล้าลงทุน และผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นและชะลอการบริโภคอีกด้วย
ทั้งนี้ การบริหารที่สำคัญเพื่อความอยู่รอดของเศรษฐกิจไทยในภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูงคือ ควรให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดมากกว่าการเน้นงบดุลเป็นหลัก เพราะเป็นจุดที่แสดงฐานะเงินทุนหมุนเวียนที่มีอยู่จริง โดยต้องมียอดเงินเป็นบวก ส่วนเงินสดที่เป็นส่วนเกินจากการใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจและการกันสำรองฉุกเฉิน ซึ่งไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์จะมีต้นทุนในการถือเงินสด สามารถนำไปหาผลตอบแทนได้เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด เช่น การฝากเงินในบัญชีเงินฝาก และการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนมือง่าย เป็นต้น
ขณะเดียวกันการรักษาธุรกิจหลัก ก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นประเภทธุรกิจหลักที่สร้างรายได้หรือกำไรให้กับกิจการ ซึ่งจะเป็นแกนในการพยุงกิจการในช่วงเศรษฐกิจเข้าสู่ขาลง และเป็นธุรกิจที่ผู้เป็นเจ้าของมีความเชี่ยวชาญสูง โดยการรักษาฐานลูกค้า จะเป็นอีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับการรักษาลูกค้าเดิม เนื่องจากตลาดปีนี้แม้จะยังเติบโต แต่จะไม่มากเท่าไร ขณะเดียวกันยังมีความระมัดระวังในการจับจ่าย ทำให้ ลูกค้าเดิมเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าลูกค้าใหม่เนื่องจากมีฐานประวัติเดิมอยู่แล้ว และสามารถทำกิจกรรมที่เจาะลึกเฉพาะกลุ่มได้ แต่ถึงกระนั้น การจูงใจลูกค้าเดิมให้ยังคงใช้สินค้าและบริการต่อไปและใช้มากขึ้น จะไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น และการแข่งขันแย่งชิงลูกค้าที่ดีเป็นไปอย่างเข้มข้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพราะลูกค้าจะให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าของการใช้สินค้าและบริการ ทั้งในด้านเวลาและประโยชน์ที่จะได้รับมากขึ้น และให้ความสำคัญกับราคาน้อยลงเมื่อมีระดับรายได้สูงขึ้น จึงควรสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างเป็นระบบ และมีการบริหารฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่องและตรงจุด แทนการสร้างความประทับใจในตัวบุคคลเพียงอย่างเดียวเช่นในอดีต เพราะพนักงานยุคใหม่มีแนวโน้มย้ายงานสูงขึ้น
" สำหรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนก็เป็นอีกสิ่งที่ควระมัดระวัง ในการทำการค้าระหว่างประเทศ เช่น การกำหนดราคา โดยต้องคำนึงถึงต้นทุนที่เป็นเงินบาทให้รอบคอบ และที่ต้องระมัดระวังความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่จะตามมาอีกด้วย" นางสาวอังคณา กล่าว
นางสาวอังคณา รัชธร ฝ่ายวิจัย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่วถึงแนวโน้มเศรษฐกิจภายในประเทศว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอาจจะไม่เป็นตามประมาณการใหม่ของรัฐบาลที่ตั้งเป้าไว้ร้อยละ 5.0-6.0 ถึงแม้จะมีมาตรการเร่งด่วนในการกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 3.95 แสนล้านบาท เนื่องจากมาตรการของรัฐกว่าจะได้ผลชัดเจนน่าจะเป็นช่วงครึ่งปีหลัง เเต่ขณะเดียวกันก็ยังมีอีก 3 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัวไม่ถึงระดับดังกล่าว ได้แก่ เศรษฐกิจโลก เงินเฟ้อ และการเมืองของไทย
ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้ ซึ่งธนาคารโลกได้ปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงเหลือร้อยละ 3.3 ลดลงจากร้อยละ 3.6 ในปี 2550 นื่องจากปัญหาทางการเงินในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น มีความรุนแรงกว่าที่คาดไว้ ส่งผลให้ปริมาณการค้าโลกปรับตัวลดลงมาก เหลือเพียงร้อยละ 7.4 เทียบกับร้อยละ 8.7 ในปีที่ผ่านมา ทำให้การส่งออกในตลาดโลกชะลอตัวลงค่อนข้างมาก ลดลงเหลือร้อยละ 7.6 จากร้อยละ 9.2 ในปีที่แล้ว
ขณะที่การนำเข้าในตลาดโลกชะลอตัวลงไม่มากนัก โดยขยายตัวร้อยละ 7.2 จากร้อยละ 8.3 ตามลำดับ ทั้งนี้หากเกิดวิกฤตสินเชื่อตึงตัว อาจทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าที่คาดไว้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยที่มีความอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่ยังพึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 73 ของ GDP โดยหากเศรษฐกิจโลกขยายตัวได้น้อยลงร้อยละ 1.0 จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้น้อยลงประมาณร้อยละ 0.6 – 1.0
"เงินเฟ้อในประเทศมีเป็นอีกปัจจัยที่มีแนวโน้มจะสร้างปัญหามากขึ้น จากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน และอาหาร โดยในไตรมาสแรก มีอัตราสูงถึงร้อยละ 5.0 เทียบกับร้อยละ 2.4 ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งการประมาณการของสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดไว้ว่า ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 0.028 และเศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวได้น้อยลงร้อยละ 0.020 ในขณะที่การใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวได้น้อยลงร้อยละ 0.035 การลงทุนขยายตัวได้น้อยลงร้อยละ 0.029 และปริมาณการส่งออกขยายตัวได้น้อยลงร้อยละ 0.069 ซึ่งจะทำให้เงินเฟ้อเฉลี่ยตลอดทั้งปีอยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-4.0 แต่หากเงินเฟ้อปรับขึ้นมากกว่าที่คาดจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของการลงทุน การใช้จ่ายของภาคครัวเรือน และเศรษฐกิจโดยรวม" นางสาวอังคณา กล่าว
นางสาวอังคณา กล่าวอีกว่า ปัญหาการเมืองของไทยเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากการเมืองขณะนี้ยังไม่นิ่งและมีปัญหาด้านเสถียรภาพ สืบเนื่องจากความขัดแย้งในการปรับแก้รัฐธรรมนูญ และการยุบพรรคการเมือง โดยจุดล่อแหลมนี้จะผลักดันให้เกิดการเผชิญหน้าขึ้นอีกรอบ และอาจทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ส่งผลให้ภาคเอกชนไม่กล้าลงทุน และผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นและชะลอการบริโภคอีกด้วย
ทั้งนี้ การบริหารที่สำคัญเพื่อความอยู่รอดของเศรษฐกิจไทยในภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูงคือ ควรให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดมากกว่าการเน้นงบดุลเป็นหลัก เพราะเป็นจุดที่แสดงฐานะเงินทุนหมุนเวียนที่มีอยู่จริง โดยต้องมียอดเงินเป็นบวก ส่วนเงินสดที่เป็นส่วนเกินจากการใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจและการกันสำรองฉุกเฉิน ซึ่งไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์จะมีต้นทุนในการถือเงินสด สามารถนำไปหาผลตอบแทนได้เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด เช่น การฝากเงินในบัญชีเงินฝาก และการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนมือง่าย เป็นต้น
ขณะเดียวกันการรักษาธุรกิจหลัก ก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นประเภทธุรกิจหลักที่สร้างรายได้หรือกำไรให้กับกิจการ ซึ่งจะเป็นแกนในการพยุงกิจการในช่วงเศรษฐกิจเข้าสู่ขาลง และเป็นธุรกิจที่ผู้เป็นเจ้าของมีความเชี่ยวชาญสูง โดยการรักษาฐานลูกค้า จะเป็นอีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับการรักษาลูกค้าเดิม เนื่องจากตลาดปีนี้แม้จะยังเติบโต แต่จะไม่มากเท่าไร ขณะเดียวกันยังมีความระมัดระวังในการจับจ่าย ทำให้ ลูกค้าเดิมเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าลูกค้าใหม่เนื่องจากมีฐานประวัติเดิมอยู่แล้ว และสามารถทำกิจกรรมที่เจาะลึกเฉพาะกลุ่มได้ แต่ถึงกระนั้น การจูงใจลูกค้าเดิมให้ยังคงใช้สินค้าและบริการต่อไปและใช้มากขึ้น จะไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น และการแข่งขันแย่งชิงลูกค้าที่ดีเป็นไปอย่างเข้มข้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพราะลูกค้าจะให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าของการใช้สินค้าและบริการ ทั้งในด้านเวลาและประโยชน์ที่จะได้รับมากขึ้น และให้ความสำคัญกับราคาน้อยลงเมื่อมีระดับรายได้สูงขึ้น จึงควรสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างเป็นระบบ และมีการบริหารฐานลูกค้าอย่างต่อเนื่องและตรงจุด แทนการสร้างความประทับใจในตัวบุคคลเพียงอย่างเดียวเช่นในอดีต เพราะพนักงานยุคใหม่มีแนวโน้มย้ายงานสูงขึ้น
" สำหรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนก็เป็นอีกสิ่งที่ควระมัดระวัง ในการทำการค้าระหว่างประเทศ เช่น การกำหนดราคา โดยต้องคำนึงถึงต้นทุนที่เป็นเงินบาทให้รอบคอบ และที่ต้องระมัดระวังความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนที่จะตามมาอีกด้วย" นางสาวอังคณา กล่าว