กระแสพันธบัตรเกาหลีใต้ฟีเวอร์ยังฮอตไม่เลิก 3 บลจ.ใหญ่ "อยุธยา - ทหารไทย - ธนชาต" ประกาศเข็นกองทุนเพิ่มหลังสงกรานต์มูลค่าร่วม 8,800 ล้านบาท โดยบลจ.อยุธยาส่ง 2 กอง "อยุธยาตราสารหนี้พลัส 12M4 - อยุธยาตราสารหนี้พลัส 18M2 " พร้อมกัน 21 - 28 เมษายน ให้ยิลด์สวย 3.5-3.9% และ 3.65-4.05% ตามลำดับ ส่วนทหารไทยต่อยอดซีรีส์ทหารไทย พันธบัตรเกาหลีใต้ รุ่นที่ 12 กำหนดผลตอบแทน 3.55% เปิดจอง 16 - 22 เมษายน 255 ด้านธนชาตจับลูกค้าชอบเสี่ยงต่ำด้วยกองทุนธนชาตตราสารหนี้ต่างประเทศ 2 และ 4 ไอพีโอถึง 22 เมษายนนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันหลังจากภาวะทางเศรษฐกิจในประเทศมีความผันผวนสูง ทำให้ผลตอบแทนของตราสารหนี้ในประเทศเกิดความผันผวนตาม ทำให้นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้นิยมที่จะออกไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ ซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรของในประเทศไทย
นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 21 - 28 เมษายน 2551 บริษัทจะมีการจำหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ คือ กองทุนอยุธยาตราสารหนี้พลัส 12M4 (AYF12MPLS4) และกองทุนอยุธยาตราสารหนี้พลัส 18M2 (AYF18MPLS2)
โดยกองทุนเปิดอยุธยาตราสารหนี้พลัส 12M4 (AYF12MPLS4) เป็นกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศอายุประมาณ 12 เดือน มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท ซึ่งมีนโยบายในการนำเงินลงทุนอย่างน้อย 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ไปลงทุนในตราสารหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือใน 2 อันดับแรก ส่วนที่เหลือจะลงทุนในเงินฝากและ/หรือตราสารหนี้ในประเทศที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี กำหนดอัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติที่ 3.5-3.9%
ขณะที่กองทุนอยุธยาตราสารหนี้พลัส 18M2 (AYF18MPLS2) เป็นกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศอายุประมาณ 18 เดือน มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท มีนโยบายนำเงินลงทุนอย่างน้อย 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ไปลงทุนในตราสารหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือใน 2 อันดับแรก ส่วนที่เหลือจะลงทุนในเงินฝากและ/หรือตราสารหนี้ในประเทศที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี กำหนดอัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติที่ 3.65-4.05%
ขณะเดียวกันรายงานข่าวจากบลจ.ทหารไทย เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 16 - 22 เมษายน 2551 บริษัทได้มีการเปิดขายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดทหารไทย พันธบัตรเกาหลีใต้ รุ่นที่ 12 ซึ่งเป็นกองทุนประเภทกองทุนรวมตราสารหนี้ ที่ลงทุนในต่างประเทศ ประเภทรับซื้อหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ ที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตราฐาน มีขนาดโครงการ 3,000 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 1 ปี
ทั้งนี้กองมีนโยบายลงทุนในพันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งชาติที่รัฐบาลเกาหลีใต้ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลเกาหลีใต้เป็นผู้ออกหรือเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ใน 2 อันดับแรกที่เสนอขายในต่างประเทศ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยส่วนที่เหลือกองทุนอาจพิจารณาลงทุนในเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ในประเทศที่มีอายุของสัญญา อายุของตราสาร หรือระยะเวลาการฝากเงิน ไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน
กองทุนอาจทำสัญญาสวอป หรือสัญญาฟอร์เวิร์ดที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยน (Foregi Exchange Rate Risk) โดยต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด แต่จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีลักษณะสัญญาซื้อขายหน่วยลงทุนแฝง (Structured Note) โดยบลจ.จะพิจารณาดำเนินการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี ในอัตราไม่ต่ำกว่า 3.55% ต่อปี
รายงานข่าวจากบลจ.ธนชาต เปิดเผยว่า บริษัทกำลังเปิดขายกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ต่างประเทศ 2 (T-FixFIF2) และกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ต่างประเทศ 4 (T-FixFIF4) ซึ่งได้ทำการเปิดขายในระหว่างวันที่ 16-22 เมษายน 2551 นี้ โดยมีมูลค่ากองทุนละ 1,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้
โดยกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ต่างประเทศ 2 มีอายุโครงการ 12 เดือน และกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ต่างประเทศ 4 มีอายุโครงการ 18 เดือน โดยนโยบายการลงทุนของทั้งสองกองทุนเน้นลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือตราสารทางการเงินต่าง ๆ ของภาครัฐหรือเอกชน โดยกองทุนจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งการลงทุนดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ก.ล.ต.หรือประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ที่เห็นชอบให้ลงทุนได้
นอกจากนี้กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยง หรือจัดให้มีการป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการลงทุนในต่างประเทศตามความเหมาะสม และสภาวการณ์ในแต่ละขณะ โดยจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ตอบแทน และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
รายงานข่าวจากการรวบรวมข้อมูลของ "ผู้จัดการรายวัน" พบว่า ช่วงที่ผ่านมาหลายบลจ.ที่มีการออกกองงทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 35,000 ล้านบาท ในขณะที่มีอีกหลายบลจ.ที่มีการออกกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งในส่วนของกองทุนของบลจ.อยุธยา , บลจ.ทหารไทย และบลจ.ธนชาต ที่มีการประกาศขายในครั้งนี้มีมูลค่าโครงการรวมกันกว่า 8,800 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าผลตอบแทนของกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้มีการปรับตัวลดลงจากช่วงทีผ่านมา แหล่งข่าวจากบลจ.แห่งหนึ่ง เปิดเผยว่า การที่ผลตอบแทนของกองทุนพันธบัตรเกาหลีเริ่มมีการปรับตัวลดลง เนื่องมาจากผลตอบแทนของพันธบัตรที่มีทิศทางขาลง และอัตราค่าสวอปที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลทำให้ผลตอบแทนของกองทุนเกิดการลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยภาวะดังกล่าวน่าจะทำให้ผลตอบแทนของกองทุนพันธบัตรเกาหลีของทุกบลจ.ปรับตัวลดลงประมาณ 0.20 - 0.50% และอาจจะส่งผลทำให้หลังจากนี้อัตรผลอตอบแทนของกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ที่มีอายุการลงทุน 1 ปี ในอีก 1-2 เดือนปรับตัวลดลงไปเหลือเพียง 3.5%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันหลังจากภาวะทางเศรษฐกิจในประเทศมีความผันผวนสูง ทำให้ผลตอบแทนของตราสารหนี้ในประเทศเกิดความผันผวนตาม ทำให้นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้นิยมที่จะออกไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ ซึ่งสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรของในประเทศไทย
นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 21 - 28 เมษายน 2551 บริษัทจะมีการจำหน่ายหน่วยลงทุนของกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ คือ กองทุนอยุธยาตราสารหนี้พลัส 12M4 (AYF12MPLS4) และกองทุนอยุธยาตราสารหนี้พลัส 18M2 (AYF18MPLS2)
โดยกองทุนเปิดอยุธยาตราสารหนี้พลัส 12M4 (AYF12MPLS4) เป็นกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศอายุประมาณ 12 เดือน มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท ซึ่งมีนโยบายในการนำเงินลงทุนอย่างน้อย 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ไปลงทุนในตราสารหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือใน 2 อันดับแรก ส่วนที่เหลือจะลงทุนในเงินฝากและ/หรือตราสารหนี้ในประเทศที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี กำหนดอัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติที่ 3.5-3.9%
ขณะที่กองทุนอยุธยาตราสารหนี้พลัส 18M2 (AYF18MPLS2) เป็นกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศอายุประมาณ 18 เดือน มูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท มีนโยบายนำเงินลงทุนอย่างน้อย 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ไปลงทุนในตราสารหนี้ที่เสนอขายในต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือใน 2 อันดับแรก ส่วนที่เหลือจะลงทุนในเงินฝากและ/หรือตราสารหนี้ในประเทศที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี กำหนดอัตรารับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติที่ 3.65-4.05%
ขณะเดียวกันรายงานข่าวจากบลจ.ทหารไทย เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 16 - 22 เมษายน 2551 บริษัทได้มีการเปิดขายหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดทหารไทย พันธบัตรเกาหลีใต้ รุ่นที่ 12 ซึ่งเป็นกองทุนประเภทกองทุนรวมตราสารหนี้ ที่ลงทุนในต่างประเทศ ประเภทรับซื้อหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ ที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตราฐาน มีขนาดโครงการ 3,000 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 1 ปี
ทั้งนี้กองมีนโยบายลงทุนในพันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งชาติที่รัฐบาลเกาหลีใต้ องค์การหรือหน่วยงานของรัฐบาลเกาหลีใต้เป็นผู้ออกหรือเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ใน 2 อันดับแรกที่เสนอขายในต่างประเทศ โดยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยส่วนที่เหลือกองทุนอาจพิจารณาลงทุนในเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ในประเทศที่มีอายุของสัญญา อายุของตราสาร หรือระยะเวลาการฝากเงิน ไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองเงินไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่องของกองทุน
กองทุนอาจทำสัญญาสวอป หรือสัญญาฟอร์เวิร์ดที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากอัตราแลกเปลี่ยน (Foregi Exchange Rate Risk) โดยต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด แต่จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีลักษณะสัญญาซื้อขายหน่วยลงทุนแฝง (Structured Note) โดยบลจ.จะพิจารณาดำเนินการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อปี ในอัตราไม่ต่ำกว่า 3.55% ต่อปี
รายงานข่าวจากบลจ.ธนชาต เปิดเผยว่า บริษัทกำลังเปิดขายกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ต่างประเทศ 2 (T-FixFIF2) และกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ต่างประเทศ 4 (T-FixFIF4) ซึ่งได้ทำการเปิดขายในระหว่างวันที่ 16-22 เมษายน 2551 นี้ โดยมีมูลค่ากองทุนละ 1,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้
โดยกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ต่างประเทศ 2 มีอายุโครงการ 12 เดือน และกองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้ต่างประเทศ 4 มีอายุโครงการ 18 เดือน โดยนโยบายการลงทุนของทั้งสองกองทุนเน้นลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับตราสารแห่งหนี้ เงินฝาก หรือตราสารทางการเงินต่าง ๆ ของภาครัฐหรือเอกชน โดยกองทุนจะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งการลงทุนดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ก.ล.ต.หรือประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด ที่เห็นชอบให้ลงทุนได้
นอกจากนี้กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยง หรือจัดให้มีการป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการลงทุนในต่างประเทศตามความเหมาะสม และสภาวการณ์ในแต่ละขณะ โดยจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ตอบแทน และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
รายงานข่าวจากการรวบรวมข้อมูลของ "ผู้จัดการรายวัน" พบว่า ช่วงที่ผ่านมาหลายบลจ.ที่มีการออกกองงทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรเกาหลีใต้ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 35,000 ล้านบาท ในขณะที่มีอีกหลายบลจ.ที่มีการออกกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งในส่วนของกองทุนของบลจ.อยุธยา , บลจ.ทหารไทย และบลจ.ธนชาต ที่มีการประกาศขายในครั้งนี้มีมูลค่าโครงการรวมกันกว่า 8,800 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าผลตอบแทนของกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้มีการปรับตัวลดลงจากช่วงทีผ่านมา แหล่งข่าวจากบลจ.แห่งหนึ่ง เปิดเผยว่า การที่ผลตอบแทนของกองทุนพันธบัตรเกาหลีเริ่มมีการปรับตัวลดลง เนื่องมาจากผลตอบแทนของพันธบัตรที่มีทิศทางขาลง และอัตราค่าสวอปที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลทำให้ผลตอบแทนของกองทุนเกิดการลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยภาวะดังกล่าวน่าจะทำให้ผลตอบแทนของกองทุนพันธบัตรเกาหลีของทุกบลจ.ปรับตัวลดลงประมาณ 0.20 - 0.50% และอาจจะส่งผลทำให้หลังจากนี้อัตรผลอตอบแทนของกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ที่มีอายุการลงทุน 1 ปี ในอีก 1-2 เดือนปรับตัวลดลงไปเหลือเพียง 3.5%