บลจ.ไทยพาณิชย์ ปัดฝุ่นกองทุนเก่า SCBPMO หวังดึงลูกค้าแอลทีเอฟกว่า 6 หมื่นบัญชีเจียดเงินมาลงทุน เพื่อรับผลตอบแทนเพิ่มในช่วงตลาดหุ้นเอื้ออำนวย และมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ขณะเดียวกันเปิดขายกองพันธบัตรเกาหลี 6 เดือน และ 1 ปี มูลค่ากองละ 5,000 ล้านบาท ปิดขายหน่วยลงทุน16 เมษายน ชี้นักลงทุนไทยยังให้ความนิยมไม่เสื่อม
นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้เปิดจำหน่ายหน่วยลงทุนกองทุนใหม่ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่นักลงทุน จำนวน 3 กองทุน ได้แก่กองทุนที่ลงทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ จำนวน 2 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนที่มีอายุโครงการ 6เดือน และ 1ปี ซึ่งมีมูลค่าโครงการละ 5,000 ล้านบาท ซึ่งเปิดขายตั้งวันที่ 8 –16 เมษายนนี้
โดยกองทุนพันธบัตรเกาหลีอายุ 6 เดือนนั้น คาดว่าสามารถให้ผลตอบแทนได้ถึง 3.25 – 3.33% ขณะที่กองทุนพันธบัตรเกาหลีอายุ 1 ปีนั้น คาดว่าให้ผลตอบแทนได้ในระดับ 3.6 –3.7% ขณะเดียวกันบริษัทได้เปิดขายกองทุนพันธบัตรรัฐบาล อีก จำนวน 1 กองทุน ซึ่งคาดว่าจะให้ผลตอบแทนได้ที่ประมาณ 2.4 – 2.55% และจะปิดขายหน่วยลงทุนในวันที่ 16 เม.ย.นี้เช่นกัน
นอกจากนี้กองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรเกาหลีทั้ง 2 กองของบริษัท นั้นได้ทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยบลจ.ไทยพาณิชย์ได้ป้องกันความเสี่ยงถึง 2 ทาง หมายถึงความเสี่ยงจากการแลกเป็นเงินสกุลบาทเป็นดอลลาร์สหรัฐ และป้องกันความเสี่ยงจากเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินวอนอีกครั้ง
สำหรับกองทุนรวมที่เข้าลงทุนในพันธบัตรเกาหลีของบริษัทก่อนหน้านี้ กองแรกบริษัทสามารถระดมทุนได้ถึง 4,600 ล้านบาท ขณะที่กองทุนที่สอง บริษัทระดมทุนได้ 2,700 ล้านบาท โดยสาเหตุที่สามารถระดมทุนได้น้อยกว่ากองแรกนั้น เนื่องมากจากบริษัทมีระยะเวลาจำหน่วยหน่วยลงทุนในกองที่สองเพียง 4 วันเท่านั้น
ทั้งนี้ นายกำพล เชื่อว่า พันธบัตรเกาหลียังเป็นสินค้าที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่อไปในช่วงนี้ ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกระแสความนิยมในการลงทุนในตราสารหนี้สถาบันการเงินยุโรป ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากการลงทุนพันธบัตรเกาหลีสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรไทยในช่วงนี้
“พันธบัตรเกาหลีจะหมดความนิยมจากนักลงไทยได้ก็ต่อเมื่อ ประเทศเกาหลีมีการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงหรือต่ำกว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทย โดยสาเหตุที่กาหลีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นจะมาจากการป้องกันเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าเก็งกำไรในประเทศเป็นจำนวนมากเกินไป แต่ในทางกลับกันไทยยังมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไปอีกในอนาคต จึงทำให้ความนิยมลงทุนในพันธบัตรเกาหลีนั้นจะยังคงมีอยู่ต่อไปในช่วงนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าไทย”
ส่วนการลงทุนในประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ เชื่อว่ายังสามารถให้ผลตอบแทนอยู่ในระดับสูงถึงประมาณ 6-7% แต่จะต้องเป็นการจัดตั้งกองทุนโดยไม่มีการรับป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพราะหากมีการป้องกันความเสี่ยงจำให้กองทุนที่เข้าไปลงทุนใน 2 ประเทศนี้มีผลตอบแทนเพียง 2% เท่านั้น ซึ่งจะต่ำกว่าผลตอบแทนการลงทุนในประเทศอีกด้วย
ปัดฝุ่นกองทุนเก่าSCBPMO
ขณะเดียวกัน บลจ.ไทยพาณฺชย์ มีแผนที่จะนำกองทุนกองเก่าที่มีนโยบายการลงทุนใกล้เคียงกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) ประมาณ 6 กองทุน นำมาทำการตลาดใหม่ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุนรวมทั้งเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักลงทุนที่เริ่มมีความคุ้นเคยกับกองทุนแอลทีเอฟ ให้หันมาลงทุนในกองทุนเหล่านี้เพิ่มขึ้น
โดยกองทุนแรกที่นำมาทำการตลาดได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เพิ่มผลมั่นคง (SCBPMO) ซึ่งมีลักษณะและนโยบายการลงทุนใกล้เคียง กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นระยะยาวเอ็มเอไอ (SCBLT3) โดยกองทุนดังกล่าวมีนโนยายลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตยิ่งขึ้นในอนาคตไม่น้อยกว่า70% ของมูลค่าทรัพย์สินกองทุนรวม ซึ่งรวมถึงหุ้นขนาดเล็กที่อยู่ในSet100 และหุ้นในตลาดเอ็ม เอ ไอ ขณะที่ส่วนที่เหลือจะเข้าลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน และไม่ได้จดทะเบียนตลอดจนตราสารการเงินอื่นๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสมของแต่ละช่วงเวลา
สำหรับผลดำเนินงานกองทุนรวม SCBPMO ที่ผ่านมานั้น กองทุนสามารถให้ผลดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือนที่ 0.77% เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (ดัชนีตลาดหลักทรัพย์) –0.08% ขณะที่ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 14.92% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 4.00% ย้อนหลัง 1ปี 49.68% เมื่อเทียบเกณฑ์มมาตรฐาน 24.90% และย้อนหลัง 3 ปี 34.37% เมื่อเทียบเกณฑ์มาตรฐาน 14.05%
“เราหวังเพียงแค่ผู้ที่ลงทุนในกองทุนLTF เจียดเงินลงทุนบางส่วนมาลงทุนใน SCBPMO เพราะช่วงนี้ดูเป็นจังหวะเหมาะที่จะเข้ามาลงทุนในหุ้น เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น และดัชนีหุ้นลงมาต่ำสุดแล้ว ทำให้ผู้จัดการกองทุนของเรามองว่านี่คือช่วงเวลาที่ดัชนีจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นไปอีก โดยตลอดทั้งปีเชื่อว่าดัชนีจะอยู่ที่ 950 จุด บวก/ลบไม่เกิน 20 จุด ขณะเดียวกันคาดว่าตลาดหลักทรัพย์จะสามารถให้ผลตอบแทนทั้งปีที่ประมาณ 10-15% ซึ่งจะมาจากความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนและมาจากเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาเพิ่มขึ้น”
โดยในไตรมาส 2 นี้ บลจ.ไทยพาณิชย์จะปรับพอร์ตการลงทุนของกองทุน SCBPMO โดยจะเพิ่มน้ำหนักในการลงทุน Over weight หุ้นในกลุ่ม พลังงาน ธนาคารพาณิชย์ อสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มพาณิชย์ มากขึ้น
“การปัดฝุ่นนำกองทุนเก่าอย่างSCBPMO มาทำการตลาดอีกครั้งนั้น จุดประสงค์หลักไม่ใช่แผนที่จะตั้งเป้าขยายมูลค่าเงินลงทุนของกองให้เติบโตเพิ่มสูงขึ้น แต่มุ่งหวังให้ลูกค้า กองทุนแอลทีเอฟของบริษัทที่มีกว่า 6 หมื่นรายแบ่งเงินบางส่วนมาลงทุนในกองทุนนี้ เพื่อรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันกองทุนดังกล่าวยังมีนโยบายแบ่งเงินลงทุนบางส่วนลงทุนในอนุพันธ์ ทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาวเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงให้ผู้ลงทุนอีกด้วย ซี่งการเชิญชวนลูกค้าให้แบ่งเงินเข้าลงทุนผ่านกองทุนดังกล่าว ยังถือว่าเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าเพิ่มเติม นอกเหนือจากการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพียงอย่างเดียว”
ปัจจุบัน บลจ.ไทยพาณิชย์ มียอดเงินระดมทุนผ่านกองทุนแอลทีเอฟของบริษัทรวมทั้งสิ้น 15,000 ล้านบาท ขณะที่กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพมียอดเงินระดมทุนประมาณ 7,000 ล้านบาท
นายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทได้เปิดจำหน่ายหน่วยลงทุนกองทุนใหม่ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้แก่นักลงทุน จำนวน 3 กองทุน ได้แก่กองทุนที่ลงทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ จำนวน 2 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนที่มีอายุโครงการ 6เดือน และ 1ปี ซึ่งมีมูลค่าโครงการละ 5,000 ล้านบาท ซึ่งเปิดขายตั้งวันที่ 8 –16 เมษายนนี้
โดยกองทุนพันธบัตรเกาหลีอายุ 6 เดือนนั้น คาดว่าสามารถให้ผลตอบแทนได้ถึง 3.25 – 3.33% ขณะที่กองทุนพันธบัตรเกาหลีอายุ 1 ปีนั้น คาดว่าให้ผลตอบแทนได้ในระดับ 3.6 –3.7% ขณะเดียวกันบริษัทได้เปิดขายกองทุนพันธบัตรรัฐบาล อีก จำนวน 1 กองทุน ซึ่งคาดว่าจะให้ผลตอบแทนได้ที่ประมาณ 2.4 – 2.55% และจะปิดขายหน่วยลงทุนในวันที่ 16 เม.ย.นี้เช่นกัน
นอกจากนี้กองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรเกาหลีทั้ง 2 กองของบริษัท นั้นได้ทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยบลจ.ไทยพาณิชย์ได้ป้องกันความเสี่ยงถึง 2 ทาง หมายถึงความเสี่ยงจากการแลกเป็นเงินสกุลบาทเป็นดอลลาร์สหรัฐ และป้องกันความเสี่ยงจากเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินวอนอีกครั้ง
สำหรับกองทุนรวมที่เข้าลงทุนในพันธบัตรเกาหลีของบริษัทก่อนหน้านี้ กองแรกบริษัทสามารถระดมทุนได้ถึง 4,600 ล้านบาท ขณะที่กองทุนที่สอง บริษัทระดมทุนได้ 2,700 ล้านบาท โดยสาเหตุที่สามารถระดมทุนได้น้อยกว่ากองแรกนั้น เนื่องมากจากบริษัทมีระยะเวลาจำหน่วยหน่วยลงทุนในกองที่สองเพียง 4 วันเท่านั้น
ทั้งนี้ นายกำพล เชื่อว่า พันธบัตรเกาหลียังเป็นสินค้าที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่อไปในช่วงนี้ ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนกระแสความนิยมในการลงทุนในตราสารหนี้สถาบันการเงินยุโรป ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากการลงทุนพันธบัตรเกาหลีสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรไทยในช่วงนี้
“พันธบัตรเกาหลีจะหมดความนิยมจากนักลงไทยได้ก็ต่อเมื่อ ประเทศเกาหลีมีการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงหรือต่ำกว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทย โดยสาเหตุที่กาหลีจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นจะมาจากการป้องกันเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าเก็งกำไรในประเทศเป็นจำนวนมากเกินไป แต่ในทางกลับกันไทยยังมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงไปอีกในอนาคต จึงทำให้ความนิยมลงทุนในพันธบัตรเกาหลีนั้นจะยังคงมีอยู่ต่อไปในช่วงนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าไทย”
ส่วนการลงทุนในประเทศออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ เชื่อว่ายังสามารถให้ผลตอบแทนอยู่ในระดับสูงถึงประมาณ 6-7% แต่จะต้องเป็นการจัดตั้งกองทุนโดยไม่มีการรับป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพราะหากมีการป้องกันความเสี่ยงจำให้กองทุนที่เข้าไปลงทุนใน 2 ประเทศนี้มีผลตอบแทนเพียง 2% เท่านั้น ซึ่งจะต่ำกว่าผลตอบแทนการลงทุนในประเทศอีกด้วย
ปัดฝุ่นกองทุนเก่าSCBPMO
ขณะเดียวกัน บลจ.ไทยพาณฺชย์ มีแผนที่จะนำกองทุนกองเก่าที่มีนโยบายการลงทุนใกล้เคียงกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) ประมาณ 6 กองทุน นำมาทำการตลาดใหม่ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุนรวมทั้งเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักลงทุนที่เริ่มมีความคุ้นเคยกับกองทุนแอลทีเอฟ ให้หันมาลงทุนในกองทุนเหล่านี้เพิ่มขึ้น
โดยกองทุนแรกที่นำมาทำการตลาดได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เพิ่มผลมั่นคง (SCBPMO) ซึ่งมีลักษณะและนโยบายการลงทุนใกล้เคียง กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นระยะยาวเอ็มเอไอ (SCBLT3) โดยกองทุนดังกล่าวมีนโนยายลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตยิ่งขึ้นในอนาคตไม่น้อยกว่า70% ของมูลค่าทรัพย์สินกองทุนรวม ซึ่งรวมถึงหุ้นขนาดเล็กที่อยู่ในSet100 และหุ้นในตลาดเอ็ม เอ ไอ ขณะที่ส่วนที่เหลือจะเข้าลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน และไม่ได้จดทะเบียนตลอดจนตราสารการเงินอื่นๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสมของแต่ละช่วงเวลา
สำหรับผลดำเนินงานกองทุนรวม SCBPMO ที่ผ่านมานั้น กองทุนสามารถให้ผลดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือนที่ 0.77% เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (ดัชนีตลาดหลักทรัพย์) –0.08% ขณะที่ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 14.92% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 4.00% ย้อนหลัง 1ปี 49.68% เมื่อเทียบเกณฑ์มมาตรฐาน 24.90% และย้อนหลัง 3 ปี 34.37% เมื่อเทียบเกณฑ์มาตรฐาน 14.05%
“เราหวังเพียงแค่ผู้ที่ลงทุนในกองทุนLTF เจียดเงินลงทุนบางส่วนมาลงทุนใน SCBPMO เพราะช่วงนี้ดูเป็นจังหวะเหมาะที่จะเข้ามาลงทุนในหุ้น เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น และดัชนีหุ้นลงมาต่ำสุดแล้ว ทำให้ผู้จัดการกองทุนของเรามองว่านี่คือช่วงเวลาที่ดัชนีจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นไปอีก โดยตลอดทั้งปีเชื่อว่าดัชนีจะอยู่ที่ 950 จุด บวก/ลบไม่เกิน 20 จุด ขณะเดียวกันคาดว่าตลาดหลักทรัพย์จะสามารถให้ผลตอบแทนทั้งปีที่ประมาณ 10-15% ซึ่งจะมาจากความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนและมาจากเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาเพิ่มขึ้น”
โดยในไตรมาส 2 นี้ บลจ.ไทยพาณิชย์จะปรับพอร์ตการลงทุนของกองทุน SCBPMO โดยจะเพิ่มน้ำหนักในการลงทุน Over weight หุ้นในกลุ่ม พลังงาน ธนาคารพาณิชย์ อสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มพาณิชย์ มากขึ้น
“การปัดฝุ่นนำกองทุนเก่าอย่างSCBPMO มาทำการตลาดอีกครั้งนั้น จุดประสงค์หลักไม่ใช่แผนที่จะตั้งเป้าขยายมูลค่าเงินลงทุนของกองให้เติบโตเพิ่มสูงขึ้น แต่มุ่งหวังให้ลูกค้า กองทุนแอลทีเอฟของบริษัทที่มีกว่า 6 หมื่นรายแบ่งเงินบางส่วนมาลงทุนในกองทุนนี้ เพื่อรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันกองทุนดังกล่าวยังมีนโยบายแบ่งเงินลงทุนบางส่วนลงทุนในอนุพันธ์ ทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาวเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงให้ผู้ลงทุนอีกด้วย ซี่งการเชิญชวนลูกค้าให้แบ่งเงินเข้าลงทุนผ่านกองทุนดังกล่าว ยังถือว่าเป็นการเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าเพิ่มเติม นอกเหนือจากการลงทุนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพียงอย่างเดียว”
ปัจจุบัน บลจ.ไทยพาณิชย์ มียอดเงินระดมทุนผ่านกองทุนแอลทีเอฟของบริษัทรวมทั้งสิ้น 15,000 ล้านบาท ขณะที่กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพมียอดเงินระดมทุนประมาณ 7,000 ล้านบาท