ผู้จัดการรายวัน - ก.ล.ต. คาดการณ์แนวโน้มกองทุนเอฟไอเอฟปีนี้ต่ำกว่าปี 50 ที่ออกทั้งหมด 124 กอง มูลค่าเกือบ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากไตรมาสแรกออกไปแล้วแค่ 33 กองทุน มูลค่า 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เหตุดอกเบี้ยต่างประเทศต่ำ-ปัญหาซับไพรม์ พร้อมมั่นใจวงเงินคงเหลือ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพียงพอกับความต้องการ จากวงเงินที่แบงก์ชาติอนุมัติ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่โบรกเกอร์ขนเงินในพอร์ตออกไปลงทุนแล้ว 15.6 ล้านดอลลาร์ แต่บลจ. ยังไม่กล้า ขอดูทิศทางไปก่อน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยถึง นโยบายสนับสนับการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ ว่า ขณะนี้วงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศคงเหลืออยู่จำนวน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากวงเงินลงทุนต่างประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อนุมัติรวม 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าจะเพียงพอในการจัดสรรวงเงินให้กับนักลงทุนประเทศต่างๆ
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานก.ล.ต. กำหนดจัดสรรวงเงินจำนวนดังกล่าวให้กับกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ บุคคลทั่วไปที่จะไปลงทุนต่างประเทศโดยผ่านกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์) การลงทุนตรงโดยผ่านบริษัทหลักทรัพย์ การอนุญาตให้บริษัททในต่างประเทศเข้ามาจดทะเบียนเพื่อระดมทุนในตลาดหุ้นไทย และการออกตราสารทางการเงินสกุลเงินบาทที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์ต่างประเทศ (TCR)
สำหรับการลงทุนในต่างประเทศตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 14 มีนาคม 2551 มีการออกกองทุนรวมที่ไปลงทุนต่างประเทศ (FIF) แล้วจำนวน 33 กองทุน มูลค่า 2,147.63 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับปี 2550 ที่ผ่านมามีการออกกองทุนรวมไปลงทุนในต่างประเทศจำนวน 124 กองทุน มูลค่ารวม 9,447.79 ล้านเหรียญสหรัฐ
"กองเอฟไอเอฟปีนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนตราสารหนี้ แต่คาดว่ากองทุนเอฟไอเอฟปีนี้จะน้อยกว่าปี 2550 เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ไม่เอื้อต่อการลงทุน อาทิ อัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศลดลง เศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัว ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ(ซับไพรม์) ทำให้ผู้จัดการกองทุนทำงานลำบากมากขึ้นในการเลือกประเทศในการเข้าไปลงทุนเพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่ดี"
ส่วนสาเหตุที่ก.ล.ต.เปิดโอกาสให้มีการออกไปลงทุนในต่างประเทศนั้น เนื่องจากต้องการให้นักลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย โดยก.ล.ต.ได้มีการผ่อนเกณฑ์ต่างๆ ให้เหมือนกับการลงทุนภายในประเทศ และล่าสุดได้ขยายหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมถึงนักลงทุนทั่วไปที่สามารถออกไปลงทุนต่างประเทศ โดยผ่านกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์) และการลงทุนตรงในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยผ่านบริษัทหลักทรัพย์นั้นคาดว่าจะต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะนักลงทุนที่จะลงทุนต่างประเทศจะต้องมีความรู้ในเรื่องการลงทุนต่างประเทศ
"นักลงทุนไทยที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านบลจ.นั้น ก.ล.ต.ไม่ได้มีการกำหนดในเรื่องค่าคอมมิชชันและค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยจะปล่อยให้บลจ.แต่ละแห่งเป็นผู้กำหนด ดังนั้น นักลงทุนจะต้องใช้วิจารญาณในการเลือกใช้บริการของโบรกเกอร์เอง แต่ทางก.ล.ต.ได้มีการจำกัดความเสี่ยงของนักลงทุนโดยกำหนดเฉพาะให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศเท่านั้น" นายประเวช กล่าว
นายประเวช กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จำนวน 3 แห่ง ได้นำเงินลงทุนของบริษัท (พอร์ตบล.)ไปลงทุนแล้ว ณ วันที่ 24 มีนาคม 2551 รวมมูลค่า 15.6 ล้านเหรียญสหรัฐ จากที่เริ่มเปิดให้ลงทุนได้เมื่อวันที่ 14 มีนาคมนั้น แต่ในส่วนของพอร์ตลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ยังไม่มีการนำเงินไปลงทุน เนื่องจากสินทรัพย์ของบลจ.มีไม่มากจึงยังไม่สนใจที่จะนำเงินไปลงทุน
นายประกิด บุณยัษฐิติ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน ก.ล.ต. กล่าวว่า กองทุนที่จะมีการจัดตั้งไปลงทุนต่างประเทศนั้น ขณะนี้จะเป็นกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งเม็ดเงินลงทุนจะไหลไปลงทุนต่างประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงและเมื่อหักกับอัตราแลกเปลี่ยนแล้วยังให้ผลตอบแทนที่ดี เช่น ประเทศเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แต่เมื่อมีเงินไหลเข้าไปลงทุนในระยะหนึ่งแล้วก็จะต้องมีการหาแหล่งลงทุนใหม่ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่ดี
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินลงทุนในต่างประเทศ ของกองทุนทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นั้น บลจ.จะต้องมีการขออนุมัติวงเงินพร้อมยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) และจะต้องมีการเสนอขายและจดทะเบียนกองทุนภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับอนุมัติวงเงิน ซึ่งหากยังไม่มีการเสนอขายจะต้องคืนวงเงินลงทุนมายังก.ล.ต. ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเพื่อป้องกันไม่ให้มีการขอวงเงินไว้นานเกินไป เพื่อที่จะกระจายวงเงินให้กับผู้ที่ต้องการไปลงทุนจริง
สำหรับการจัดสรรวงเงินของกองทุนไพรเวทฟันด์และการลงทุนตรงโดยผ่านบล.นั้น ซึ่งหากเป็นบริษัทนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จะอนุมัติวงเงินให้รายละไม่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่จะจัดสรรให้ครั้งละไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่หากใช้วงเงินไปถึง 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สามารถขอวงเงินเพิ่มเป็น 10 ล้านเหรียญสหรัฐ และจนถึง 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯและหากเป็นบุคคลธรรมดาและนักลงทุนอื่นๆ จะอนุมัติวงเงินให้รายละไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะจัดสรรให้ครั้งและ 5 แสนเหรียญสหรัฐ และเมื่อใช้ไปแล้วถึง 4 แสนเหรียญสหรัฐก็จะอนุมัติเพิ่มให้จนถึง 5 ล้านเหรียญสหรัฐและหากยังไม่ใช้บวงเงินลงทุนภายใน30 วัน จะถูกเรียกวงเงินคืน
ส่วนขั้นตอนการขอวงเงินลงทุนในไพรเวทฟันด์และลงทุนตรงผ่านบล.คือ บล.และบลจ.จะต้องทำความรู้จักกับนักลงทุนและฐานะทางการเงินของนักลงทุนเพื่อที่จะกำหนดวงเงินให้นักลงทุนแต่ละราย และจะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงและข้อมูลเกี่ยวข้อง และบล.และบลจ.ยื่นขออนุมัติวงเงินจากก.ล.ต.ผ่านระบบของก.ล.ต.หลังจากนั้นนำเงินไปแลกเป็นเงินต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม ประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุนได้ ในส่วนของกองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ รัฐบาลเอกชน หน่วยลงทุนของกกองทุนรวม สตรัคเจอร์โน้ต อนุพันธ์ ส่วนกองทุนไพรเวทฟันด์จะลงทุนเหมือกองทุนรวม ซึ่งขณะนี้ก.ล.ต.อยู่ระหว่างการขยายการลงทุนให้กว้างขึ้น ขณะที่การลงทุนผ่านโบรกเกอร์นั้นจะลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น ส่วนพอร์ตการลงทุนของโบรกเกอร์และบลจ.จะไม่จำกัดสินค้าการลงทุน เพราะเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการลงทุน
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยถึง นโยบายสนับสนับการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ ว่า ขณะนี้วงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศคงเหลืออยู่จำนวน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากวงเงินลงทุนต่างประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อนุมัติรวม 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าจะเพียงพอในการจัดสรรวงเงินให้กับนักลงทุนประเทศต่างๆ
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานก.ล.ต. กำหนดจัดสรรวงเงินจำนวนดังกล่าวให้กับกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ บุคคลทั่วไปที่จะไปลงทุนต่างประเทศโดยผ่านกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์) การลงทุนตรงโดยผ่านบริษัทหลักทรัพย์ การอนุญาตให้บริษัททในต่างประเทศเข้ามาจดทะเบียนเพื่อระดมทุนในตลาดหุ้นไทย และการออกตราสารทางการเงินสกุลเงินบาทที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์ต่างประเทศ (TCR)
สำหรับการลงทุนในต่างประเทศตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 14 มีนาคม 2551 มีการออกกองทุนรวมที่ไปลงทุนต่างประเทศ (FIF) แล้วจำนวน 33 กองทุน มูลค่า 2,147.63 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับปี 2550 ที่ผ่านมามีการออกกองทุนรวมไปลงทุนในต่างประเทศจำนวน 124 กองทุน มูลค่ารวม 9,447.79 ล้านเหรียญสหรัฐ
"กองเอฟไอเอฟปีนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนตราสารหนี้ แต่คาดว่ากองทุนเอฟไอเอฟปีนี้จะน้อยกว่าปี 2550 เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ไม่เอื้อต่อการลงทุน อาทิ อัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศลดลง เศรษฐกิจโลกมีการชะลอตัว ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ(ซับไพรม์) ทำให้ผู้จัดการกองทุนทำงานลำบากมากขึ้นในการเลือกประเทศในการเข้าไปลงทุนเพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่ดี"
ส่วนสาเหตุที่ก.ล.ต.เปิดโอกาสให้มีการออกไปลงทุนในต่างประเทศนั้น เนื่องจากต้องการให้นักลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย โดยก.ล.ต.ได้มีการผ่อนเกณฑ์ต่างๆ ให้เหมือนกับการลงทุนภายในประเทศ และล่าสุดได้ขยายหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมถึงนักลงทุนทั่วไปที่สามารถออกไปลงทุนต่างประเทศ โดยผ่านกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวทฟันด์) และการลงทุนตรงในหลักทรัพย์ต่างประเทศโดยผ่านบริษัทหลักทรัพย์นั้นคาดว่าจะต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะนักลงทุนที่จะลงทุนต่างประเทศจะต้องมีความรู้ในเรื่องการลงทุนต่างประเทศ
"นักลงทุนไทยที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านบลจ.นั้น ก.ล.ต.ไม่ได้มีการกำหนดในเรื่องค่าคอมมิชชันและค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยจะปล่อยให้บลจ.แต่ละแห่งเป็นผู้กำหนด ดังนั้น นักลงทุนจะต้องใช้วิจารญาณในการเลือกใช้บริการของโบรกเกอร์เอง แต่ทางก.ล.ต.ได้มีการจำกัดความเสี่ยงของนักลงทุนโดยกำหนดเฉพาะให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศเท่านั้น" นายประเวช กล่าว
นายประเวช กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จำนวน 3 แห่ง ได้นำเงินลงทุนของบริษัท (พอร์ตบล.)ไปลงทุนแล้ว ณ วันที่ 24 มีนาคม 2551 รวมมูลค่า 15.6 ล้านเหรียญสหรัฐ จากที่เริ่มเปิดให้ลงทุนได้เมื่อวันที่ 14 มีนาคมนั้น แต่ในส่วนของพอร์ตลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ยังไม่มีการนำเงินไปลงทุน เนื่องจากสินทรัพย์ของบลจ.มีไม่มากจึงยังไม่สนใจที่จะนำเงินไปลงทุน
นายประกิด บุณยัษฐิติ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน ก.ล.ต. กล่าวว่า กองทุนที่จะมีการจัดตั้งไปลงทุนต่างประเทศนั้น ขณะนี้จะเป็นกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งเม็ดเงินลงทุนจะไหลไปลงทุนต่างประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงและเมื่อหักกับอัตราแลกเปลี่ยนแล้วยังให้ผลตอบแทนที่ดี เช่น ประเทศเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แต่เมื่อมีเงินไหลเข้าไปลงทุนในระยะหนึ่งแล้วก็จะต้องมีการหาแหล่งลงทุนใหม่ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่ดี
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินลงทุนในต่างประเทศ ของกองทุนทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นั้น บลจ.จะต้องมีการขออนุมัติวงเงินพร้อมยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) และจะต้องมีการเสนอขายและจดทะเบียนกองทุนภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับอนุมัติวงเงิน ซึ่งหากยังไม่มีการเสนอขายจะต้องคืนวงเงินลงทุนมายังก.ล.ต. ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเพื่อป้องกันไม่ให้มีการขอวงเงินไว้นานเกินไป เพื่อที่จะกระจายวงเงินให้กับผู้ที่ต้องการไปลงทุนจริง
สำหรับการจัดสรรวงเงินของกองทุนไพรเวทฟันด์และการลงทุนตรงโดยผ่านบล.นั้น ซึ่งหากเป็นบริษัทนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จะอนุมัติวงเงินให้รายละไม่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่จะจัดสรรให้ครั้งละไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่หากใช้วงเงินไปถึง 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สามารถขอวงเงินเพิ่มเป็น 10 ล้านเหรียญสหรัฐ และจนถึง 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯและหากเป็นบุคคลธรรมดาและนักลงทุนอื่นๆ จะอนุมัติวงเงินให้รายละไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะจัดสรรให้ครั้งและ 5 แสนเหรียญสหรัฐ และเมื่อใช้ไปแล้วถึง 4 แสนเหรียญสหรัฐก็จะอนุมัติเพิ่มให้จนถึง 5 ล้านเหรียญสหรัฐและหากยังไม่ใช้บวงเงินลงทุนภายใน30 วัน จะถูกเรียกวงเงินคืน
ส่วนขั้นตอนการขอวงเงินลงทุนในไพรเวทฟันด์และลงทุนตรงผ่านบล.คือ บล.และบลจ.จะต้องทำความรู้จักกับนักลงทุนและฐานะทางการเงินของนักลงทุนเพื่อที่จะกำหนดวงเงินให้นักลงทุนแต่ละราย และจะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงและข้อมูลเกี่ยวข้อง และบล.และบลจ.ยื่นขออนุมัติวงเงินจากก.ล.ต.ผ่านระบบของก.ล.ต.หลังจากนั้นนำเงินไปแลกเป็นเงินต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม ประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุนได้ ในส่วนของกองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ รัฐบาลเอกชน หน่วยลงทุนของกกองทุนรวม สตรัคเจอร์โน้ต อนุพันธ์ ส่วนกองทุนไพรเวทฟันด์จะลงทุนเหมือกองทุนรวม ซึ่งขณะนี้ก.ล.ต.อยู่ระหว่างการขยายการลงทุนให้กว้างขึ้น ขณะที่การลงทุนผ่านโบรกเกอร์นั้นจะลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศและพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น ส่วนพอร์ตการลงทุนของโบรกเกอร์และบลจ.จะไม่จำกัดสินค้าการลงทุน เพราะเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการลงทุน