นิด้าจับมือ CFA Institute ตั้งโปรแกรมพาร์ทเนอร์กับหลักสูตร "FIRM"ของมหาลัย หลังเห็นความสำคัญของการปั้นนักบริหารทางการเงินและการลงทุนมืออาชีพ ที่มีคุณธรรม ระบุการที่ประเทศไทยจะเติบโตในตลาดการเงินและการลงทุนในเวทีโลกได้ จำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาการเงินให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน
นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า( NIDA BUSINESS SCHOOL) เปิดเผยว่า ในปัจจุบัน CFA เป็นหลักสูตรที่เป็นที่นิยมของหนุ่มสาวนักการเงิน เพราะเป็นหลักสูตรสากลที่ได้รับการยอมรับในตลาดทุนทุกแห่งทั่วโลก และการที่จะสอบผ่านหลักสูตรนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อผ่านแล้วหลักสูตรนี้แล้ว ก็ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับผู้ที่สอบผ่าน ซึ่ง CFA ได้ฝึกให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพ ที่ไม่ได้มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางเท่านั้น แต่รวมถึงการมีคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนาตัวเอง เรียนรู้เพื่อให้ทันสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ
โดยล่าสุดได้มีการลงนามความร่วมมือระหว่างคณะบริหารธุรกิจ-นิด้า (NIDA BUSINESS SCHOOL) และ CFA Institute สหรัฐอเมริกา โดยมี สมาคมซี เอฟ เอ ไทยแลนด์ (CFA Society of Thailand) ร่วมเป็นสักขีพยาน เพื่อให้หลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาการลงทุนและการจัดการความเสี่ยง หรือ FIRM (Financial Investment and Risk Management Program) ของสถาบันได้รับการรับรองจาก CFA Institute สหรัฐอเมริกาให้เป็นสถาบัน CFA โปรแกรม พาร์ทเนอร์ ซึ่งนับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นแห่งที่ 4 ของทวีปเอเชีย ที่ได้รับการรับรอง จึงถือได้ว่าหลักสูตรนี้มีมาตรฐานเดียวกับหลักสูตรทางการเงินอื่นๆ ของโลก อาทิ Oxford , Cornell และ National University of Singapore
"เรารู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเลือกให้เป็นพาร์ทเนอร์ของสถาบัน CFA ซึ่งเป็นสถาบันที่ก่อกำเนิดหลักสูตร CFA ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในด้านของการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการลงทุน และจะเลือกพาร์ทเนอร์ในแต่ละประเทศเพียง1-2 รายเท่านั้น ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในทวีปยุโรปที่จะพิจารณามากกว่านั้น โดยเนื้อหาหลักสูตร FIRM ของนิด้า-เอ็มบีเอสอดคล้องกับหลักสูตรของ CFA ซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษา สามารถนำความรู้ไปสอบ CFA ได้ทั้ง 3 ระดับ" นาย เอกชัยกล่าว
ทั้งนี้ CFA Institute เป็นสถาบันจัดสอบและมอบประกาศนียบัตรทางวิชาชีพชั้นสูงทางด้านการเงิน และการลงทุนสำหรับผู้ที่จะประกอบวิชาชีพนักวิเคราะห์ ผู้จัดการกองทุน และที่ปรึกษาทางการเงิน ที่มีมาตรฐานระดับโลก โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาบุคลากรในแวดวงตลาดเงิน ตลาดทุน ให้มีความรู้ ความซื่อสัตย์ ความเชี่ยวชาญ และความเป็นมืออาชีพ
โดยปัจจุบันการสอบ CFA นั้นแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ใช้เวลาสอบ 3 ปี ในระดับที่ 1เป็นการปูพื้นฐาน โดยจะมีการสอบความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับการประเมินมูลค่าการลงทุน และการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ ส่วนระดับที่ 2 จะต้องรู้เรื่องบัญชี เพื่อใช้วิเคราะห์การเงิน การประเมินคุณค่า และระดับที่ 3 จะเน้นเรื่องการบริหารพอร์ตลงทุน หลังจากนั้นยังต้องมีประสบการณ์ทำงานตรงตามสายงานที่เกี่ยวข้องเป็นระยะเวลา 3 ปี จึงจะถือว่าสอบผ่าน อย่างสมบูรณ์แบบ
นายกำพล ปัญญาโกเมศ ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการลงทุนและการจัดการความเสี่ยง หรือ FIRM กล่าวว่า จำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่ได้รับ CFA ในแต่ละปีจะมีผู้สมัครสอบจากทั่วโลกเป็นจำนวนเกือบแสนคน ขณะที่ประเทศไทยมี CFA เพียง 600 กว่าคนเท่านั้น ทั้งนี้ปัจจุบัน CFA มีความสำคัญมากในแวดวง ไฟแนนซ์ เพราะผู้ที่จะประกอบอาชีพผู้จัดการกองทุน จะต้องผ่านหลักสูตร CFA ระดับ 3 และนักวิเคราะห์ จะต้องผ่านหลักสูตร CFA ระดับ 1 ดังนั้นหากประเทศไทยต้องการมีศักยภาพที่จะเติบโตในตลาดการเงินและการลงทุน โดยเฉพาะในเวทีโลกจำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาการเงินให้มากขึ้น
โดยขณะนี้แทบทุกองค์กรหันมาให้ความสำคัญในการรับบุคลากรเข้าทำงานโดยพิจารณาผู้ที่ผ่านหลักสูตร CFA เป็นลำดับต้น ๆ ดังนั้นหลักสูตร CFA จึงเป็นประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ยอมรับกัน และยังถือว่าเป็นตัวกำหนดมาตรฐานการศึกษาได้อย่างหนึ่ง เนื่องจากปัจจุบันบริษัทต่างชาติเข้ามาบริหารงานในไทยมากขึ้น การมีตัวกำหนดมาตรฐานจะเป็นการการันตีคุณภาพของนักศึกษาคนนั้นรวมทั้งยังหางานทำได้ง่ายขึ้นและยังพร้อมบ่งบอกมาตรฐานคุณภาพของสถาบันการเงินนั้นๆ ด้วยว่าได้คนคุณภาพเข้ามาบริหาร
สำหรับหลักสูตร FIRM เป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่เน้นองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์การเงิน การลงทุน และการจัดการความเสี่ยงที่ถูกต้องชัดเจน โดยได้นำแนวทางความรู้ของ CFA และ FRM มาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งที่ผ่านมา แม้จะมีเครื่องมือในการวิเคราะห์มากมายแต่ยังไม่เคยมีสถาบันการศึกษานำมาบรรจุเป็นหลักสูตรในระดับปริญญาโทอย่างจริงจัง จึงนับได้ว่าหลักสูตรนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
นายกำพล กล่าวอีกว่า NIDA Business School เห็นความสำคัญของการสอบ CFA จึงมีการให้ทุนกับนักศึกษาที่ต้องการไปสอบ CFA ด้วย โดยในระดับที่ 1 จะให้ทุนปีละ 10 ทุน ส่วนระดับ 2และ3 ไม่มีการให้ทุน แต่หากสามารถสอบผ่านก็สามารถมาเบิกเงินกับทางคณะได้เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาไปสอบ โดยค่าใช้จ่ายในการสอบทั้ง 3 ระดับไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท และยังสามารถสอบได้ตามศูนย์ต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก 130 กว่าประเทศ
นอกจากนี้ CFA Institute เป็นองค์กรระดับโลกที่ไม่มุ่งเน้นการหากำไร ทำหน้าที่ในการออกแบบหลักสูตรและควบคุมการสอบ CFAและมีจุดมุ่งหมายที่จะเน้นการพัฒนาบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินและตลาดทุน ทั้งในด้านความรู้ ความซื่อสัตย์รวมถึงความเป็นมืออาชีพ ในปัจจุบัน CFA Institute มีสมาชิกประมาณ 85,000 คน ใน 128 ประเทศ มีสมาชิกที่สอบผ่านหลักสูตร CFA แล้วประมาณ 70,000 คนและมีสมาคมย่อยในแต่ละประเทศรวมทั้งสิ้น 134 สมาคม ใน 55 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Charlottesville, Virginia ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสำนักงานย่อยที่ กรุงลอนดอน ฮ่องกง และนิวยอร์ก
นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า( NIDA BUSINESS SCHOOL) เปิดเผยว่า ในปัจจุบัน CFA เป็นหลักสูตรที่เป็นที่นิยมของหนุ่มสาวนักการเงิน เพราะเป็นหลักสูตรสากลที่ได้รับการยอมรับในตลาดทุนทุกแห่งทั่วโลก และการที่จะสอบผ่านหลักสูตรนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เมื่อผ่านแล้วหลักสูตรนี้แล้ว ก็ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับผู้ที่สอบผ่าน ซึ่ง CFA ได้ฝึกให้เป็นผู้บริหารมืออาชีพ ที่ไม่ได้มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางเท่านั้น แต่รวมถึงการมีคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนาตัวเอง เรียนรู้เพื่อให้ทันสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ
โดยล่าสุดได้มีการลงนามความร่วมมือระหว่างคณะบริหารธุรกิจ-นิด้า (NIDA BUSINESS SCHOOL) และ CFA Institute สหรัฐอเมริกา โดยมี สมาคมซี เอฟ เอ ไทยแลนด์ (CFA Society of Thailand) ร่วมเป็นสักขีพยาน เพื่อให้หลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาการลงทุนและการจัดการความเสี่ยง หรือ FIRM (Financial Investment and Risk Management Program) ของสถาบันได้รับการรับรองจาก CFA Institute สหรัฐอเมริกาให้เป็นสถาบัน CFA โปรแกรม พาร์ทเนอร์ ซึ่งนับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นแห่งที่ 4 ของทวีปเอเชีย ที่ได้รับการรับรอง จึงถือได้ว่าหลักสูตรนี้มีมาตรฐานเดียวกับหลักสูตรทางการเงินอื่นๆ ของโลก อาทิ Oxford , Cornell และ National University of Singapore
"เรารู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเลือกให้เป็นพาร์ทเนอร์ของสถาบัน CFA ซึ่งเป็นสถาบันที่ก่อกำเนิดหลักสูตร CFA ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในด้านของการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการลงทุน และจะเลือกพาร์ทเนอร์ในแต่ละประเทศเพียง1-2 รายเท่านั้น ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในทวีปยุโรปที่จะพิจารณามากกว่านั้น โดยเนื้อหาหลักสูตร FIRM ของนิด้า-เอ็มบีเอสอดคล้องกับหลักสูตรของ CFA ซึ่งผู้ที่สำเร็จการศึกษา สามารถนำความรู้ไปสอบ CFA ได้ทั้ง 3 ระดับ" นาย เอกชัยกล่าว
ทั้งนี้ CFA Institute เป็นสถาบันจัดสอบและมอบประกาศนียบัตรทางวิชาชีพชั้นสูงทางด้านการเงิน และการลงทุนสำหรับผู้ที่จะประกอบวิชาชีพนักวิเคราะห์ ผู้จัดการกองทุน และที่ปรึกษาทางการเงิน ที่มีมาตรฐานระดับโลก โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาบุคลากรในแวดวงตลาดเงิน ตลาดทุน ให้มีความรู้ ความซื่อสัตย์ ความเชี่ยวชาญ และความเป็นมืออาชีพ
โดยปัจจุบันการสอบ CFA นั้นแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ใช้เวลาสอบ 3 ปี ในระดับที่ 1เป็นการปูพื้นฐาน โดยจะมีการสอบความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับการประเมินมูลค่าการลงทุน และการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ ส่วนระดับที่ 2 จะต้องรู้เรื่องบัญชี เพื่อใช้วิเคราะห์การเงิน การประเมินคุณค่า และระดับที่ 3 จะเน้นเรื่องการบริหารพอร์ตลงทุน หลังจากนั้นยังต้องมีประสบการณ์ทำงานตรงตามสายงานที่เกี่ยวข้องเป็นระยะเวลา 3 ปี จึงจะถือว่าสอบผ่าน อย่างสมบูรณ์แบบ
นายกำพล ปัญญาโกเมศ ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการลงทุนและการจัดการความเสี่ยง หรือ FIRM กล่าวว่า จำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่ได้รับ CFA ในแต่ละปีจะมีผู้สมัครสอบจากทั่วโลกเป็นจำนวนเกือบแสนคน ขณะที่ประเทศไทยมี CFA เพียง 600 กว่าคนเท่านั้น ทั้งนี้ปัจจุบัน CFA มีความสำคัญมากในแวดวง ไฟแนนซ์ เพราะผู้ที่จะประกอบอาชีพผู้จัดการกองทุน จะต้องผ่านหลักสูตร CFA ระดับ 3 และนักวิเคราะห์ จะต้องผ่านหลักสูตร CFA ระดับ 1 ดังนั้นหากประเทศไทยต้องการมีศักยภาพที่จะเติบโตในตลาดการเงินและการลงทุน โดยเฉพาะในเวทีโลกจำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาการเงินให้มากขึ้น
โดยขณะนี้แทบทุกองค์กรหันมาให้ความสำคัญในการรับบุคลากรเข้าทำงานโดยพิจารณาผู้ที่ผ่านหลักสูตร CFA เป็นลำดับต้น ๆ ดังนั้นหลักสูตร CFA จึงเป็นประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ยอมรับกัน และยังถือว่าเป็นตัวกำหนดมาตรฐานการศึกษาได้อย่างหนึ่ง เนื่องจากปัจจุบันบริษัทต่างชาติเข้ามาบริหารงานในไทยมากขึ้น การมีตัวกำหนดมาตรฐานจะเป็นการการันตีคุณภาพของนักศึกษาคนนั้นรวมทั้งยังหางานทำได้ง่ายขึ้นและยังพร้อมบ่งบอกมาตรฐานคุณภาพของสถาบันการเงินนั้นๆ ด้วยว่าได้คนคุณภาพเข้ามาบริหาร
สำหรับหลักสูตร FIRM เป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่เน้นองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์การเงิน การลงทุน และการจัดการความเสี่ยงที่ถูกต้องชัดเจน โดยได้นำแนวทางความรู้ของ CFA และ FRM มาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งที่ผ่านมา แม้จะมีเครื่องมือในการวิเคราะห์มากมายแต่ยังไม่เคยมีสถาบันการศึกษานำมาบรรจุเป็นหลักสูตรในระดับปริญญาโทอย่างจริงจัง จึงนับได้ว่าหลักสูตรนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
นายกำพล กล่าวอีกว่า NIDA Business School เห็นความสำคัญของการสอบ CFA จึงมีการให้ทุนกับนักศึกษาที่ต้องการไปสอบ CFA ด้วย โดยในระดับที่ 1 จะให้ทุนปีละ 10 ทุน ส่วนระดับ 2และ3 ไม่มีการให้ทุน แต่หากสามารถสอบผ่านก็สามารถมาเบิกเงินกับทางคณะได้เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาไปสอบ โดยค่าใช้จ่ายในการสอบทั้ง 3 ระดับไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท และยังสามารถสอบได้ตามศูนย์ต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วโลก 130 กว่าประเทศ
นอกจากนี้ CFA Institute เป็นองค์กรระดับโลกที่ไม่มุ่งเน้นการหากำไร ทำหน้าที่ในการออกแบบหลักสูตรและควบคุมการสอบ CFAและมีจุดมุ่งหมายที่จะเน้นการพัฒนาบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินและตลาดทุน ทั้งในด้านความรู้ ความซื่อสัตย์รวมถึงความเป็นมืออาชีพ ในปัจจุบัน CFA Institute มีสมาชิกประมาณ 85,000 คน ใน 128 ประเทศ มีสมาชิกที่สอบผ่านหลักสูตร CFA แล้วประมาณ 70,000 คนและมีสมาคมย่อยในแต่ละประเทศรวมทั้งสิ้น 134 สมาคม ใน 55 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Charlottesville, Virginia ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสำนักงานย่อยที่ กรุงลอนดอน ฮ่องกง และนิวยอร์ก