ฝ่ายการลงทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) รายงานว่า สภาวะตลาดตราสารหนี้ในช่วงเดือนผ่านมา ค่อนข้างผันผวนโดยมีทั้งปัจจัยภายนอก และภายในที่เข้ามากระทบ ปัจจัยภายในจากการที่คณะกรรมการ นโยบายการเงิน( กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ย RP 1 วันไว้ที่ 3.25% ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ก่อนที่จะมีการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จึงส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรปรับตัวลดลงทันทีกว่า 20 bp. ในช่วงอายุ 5-10 ปี แม้ว่าตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. จะออกมาสูงถึง 5.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับปัจจัยภายนอก จะมุ่งไปที่สภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา โดยตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมา แสดงให้เห็นถึงการถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยสาเหตุหลักมาจากปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของสินเชื่อด้อยคุณภาพและทำให้สินทรัพย์ทางการเงินที่เกี่ยวข้อง เช่น CDO ด้อยค่าลงอย่างมากและกระทบต่อสถาบันการเงินต่างๆ ทำให้สถาบันการเงินจำเป็นต้องทำการเพิ่มทุนและเริ่มมีการผิดนัดชำระหนี้ สำหรับบริษัทที่ปล่อยกู้ให้แก่สินเชื่อด้อยคุณภาพ และส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า Cross Default ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อบริษัทผิดนัดชำระหนี้ (Default) กับเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญ และจะทำให้บริษัทเจ้าหนี้ดังกล่าวผิดนัดชำระหนี้กับเจ้าหนี้รายอื่นๆไปด้วย
แม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐเข้าสู่ภาวะชะลอตัวหรืออาจจะถึงขั้นถดถอยแต่ราคาน้ำมันก็ไม่ได้ปรับลดลงเนื่องจากกลุ่มโอเปกได้มีมติ ตรึงกำลังการผลิต ความขัดแย้งในโคลัมเบีย และแนวโน้มค่าเงินสหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงเรื่อยๆ เนื่องจากคาดการณ์ ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะทำการลดดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ราคาสินค้าต่างๆ ในประเทศก็ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากราคาต้นทุนที่สูงขึ้น
ดังนั้น คาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจจะมีการปรับตัวลดลงได้ไม่มากนักในช่วงที่เหลือของปีนี้ ซึ่งอาจจะเป็นแรงกดดันทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่สามารถที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้มากนัก ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการต่างๆ โดยการใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุล และมีการออกพันธบัตรมากขึ้นเพื่อที่จะชดเชยรายจ่าย ซึ่งทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนปรับตัวชันมากขึ้น
สำหรับปัจจัยภายนอก จะมุ่งไปที่สภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา โดยตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมา แสดงให้เห็นถึงการถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยสาเหตุหลักมาจากปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของสินเชื่อด้อยคุณภาพและทำให้สินทรัพย์ทางการเงินที่เกี่ยวข้อง เช่น CDO ด้อยค่าลงอย่างมากและกระทบต่อสถาบันการเงินต่างๆ ทำให้สถาบันการเงินจำเป็นต้องทำการเพิ่มทุนและเริ่มมีการผิดนัดชำระหนี้ สำหรับบริษัทที่ปล่อยกู้ให้แก่สินเชื่อด้อยคุณภาพ และส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า Cross Default ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อบริษัทผิดนัดชำระหนี้ (Default) กับเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญ และจะทำให้บริษัทเจ้าหนี้ดังกล่าวผิดนัดชำระหนี้กับเจ้าหนี้รายอื่นๆไปด้วย
แม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐเข้าสู่ภาวะชะลอตัวหรืออาจจะถึงขั้นถดถอยแต่ราคาน้ำมันก็ไม่ได้ปรับลดลงเนื่องจากกลุ่มโอเปกได้มีมติ ตรึงกำลังการผลิต ความขัดแย้งในโคลัมเบีย และแนวโน้มค่าเงินสหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงเรื่อยๆ เนื่องจากคาดการณ์ ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะทำการลดดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ราคาสินค้าต่างๆ ในประเทศก็ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากราคาต้นทุนที่สูงขึ้น
ดังนั้น คาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจจะมีการปรับตัวลดลงได้ไม่มากนักในช่วงที่เหลือของปีนี้ ซึ่งอาจจะเป็นแรงกดดันทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่สามารถที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้มากนัก ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการต่างๆ โดยการใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุล และมีการออกพันธบัตรมากขึ้นเพื่อที่จะชดเชยรายจ่าย ซึ่งทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนปรับตัวชันมากขึ้น