บลจ. เอ็มเอฟซีทุ่มงบ 20 ล้านบาท ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ รุกการตลาดผ่านสื่อโฆษณาทุกรูปแบบ ภายใต้สโลแกน “มันสมองทางการเงินที่คุณวางใจ” ประเดิมผ่านบีทีเอส-บิลบอร์ด-Series Pole และกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่องทั้งปี สร้างความทันสมัยและน่าเชื่อถือ ชูจุดแข็งด้านประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ ความมั่นใจของนักลงทุนสถาบัน และผู้ถือหุ้นใหญ่ภาครัฐ ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนรายย่อยเป็น 30% ดันรายได้ค่าฟี
นางกาญจนา โรจวทัญญู รองกรรมการผู้จัดการ สายการขายและการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยถึงกลยุทธ์ทางการตลาดของ บลจ.เอ็มเอฟซีในปีนี้ว่า บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ทั้งการทำงานภายในองค์กรและภาพลักษณ์ภายนอก โดยในส่วนของภาพลักษณ์นั้นบริษัท ได้ปรับโฉมภาพลักษณ์ของบริษัทใหม่ให้ดูทันสมัย เน้นการสร้างแบรนด์องค์กรให้เป็นที่รู้จักอย่างทั่วถึง โดยใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การสื่อสารและกิจกรรมการตลาด ตลอดทั้งปีอย่างต่อเนื่องด้วยงบประมาณ 20 ล้านบาท
ทั้งนี้ ก่อนการทำ Brand Relaunch ได้มีการทำวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Customer In-dept Interview) ทุกกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งตามกลุ่มอายุและ lifestyle ของแต่ละกลุ่มเพื่อหาข้อมูลเชิงลึกถึงความต้องการของลูกค้าและจุดอ่อนจุดแข็งของบริษัท จึงเป็นที่มาของการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของการเป็นสถาบันทางการเงินในใจของลูกค้า คือการเป็นองค์กรที่ “รู้รอบ รู้ลึก และดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด” ภายใต้สโลแกน “มันสมองทางการลงทุนที่คุณวางใจ”
"ภาพลักษณ์ใหม่ของเราซีในช่วงแรก จะใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ 3 รูปแบบ ประกอบด้วย บีทีเอส บิลบอร์ด/Series Poles และสื่อหนังสือพิมพ์ ภายใต้ข้อความ “มองหาผู้เชี่ยวชาญเรื่องการลงทุน เลือกบลจ.ที่มีประสบการณ์ 33 ปี” “มองหาความมั่นใจในการลงทุน เลือกบลจ.ที่สถาบันภาครัฐและเอกชนลงทุนกว่า 190,000 ล้านบาท” และ “มองหาบลจ. ที่น่าเชื่อถือ เลือกบลจ.ที่ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ กระทรวงการคลัง” โดยสื่อบิลบอร์ด/Series Pole ติดตั้งใน 2 บริเวณคือ ช่วงขาเข้าจากสนามบินสุวรรณภูมิและบริเวณทางด่วนถนนพระราม 4 ตามลำดับ สำหรับสื่อหนังสือพิมพ์เน้นการสื่อในหนังสือพิมพ์แนวเศรษฐกิจเป็นหลัก"นางกาญจนากล่าว
นอกจากใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อให้ถึงภาพลักษณ์ใหม่แล้ว บริษัทยังเน้นการจัดกิจกรรมการตลาดในหลากหลายรูปแบบกับนักลงทุนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสนับสนุนการเปิดขายกองทุนแต่ละประเภท และสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการจัดสัมมนาให้ความรู้ด้านการลงทุนให้กับนักลงทุน โดยเลือกการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับ Lifestyle และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุดทั้งในส่วนของลูกค้าเก่า และลูกค้าใหม่
นอกจากกิจกรรมด้านการตลาดแล้ว เอ็มเอฟซียังมุ่งพัฒนากองทุนที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างความมั่งคั่งแก่ลูกค้าตามความต้องการและระดับความเสี่ยงที่รับได้ของแต่ละท่าน บริหารผลตอบแทนจากการลงทุนให้เป็นที่น่าพึงพอใจ พัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ พัฒนาการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปรับระบบการให้ข้อมูลข่าวสารและคำแนะนำแก่ลูกค้าที่ถูกต้อง สม่ำเสมอ ทัน ต่อเหตุการณ์ รวมทั้งปรับระบบการบริการซื้อขายหน่วยลงทุน ที่สะดวกสบาย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าอย่างเต็มที่ ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจทั้งการให้บริการและผลตอบแทนจากการลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของเอ็มเอฟซีให้เป็นบลจ. ในใจของนักลงทุนอย่างแท้จริง
นางกาญจนากล่าวว่า การปรับภาพลักษณ์ของบริษัทใหม่ดังกล่าว เพื่อให้แบรนด์ของบลจ.เอ็มเอฟซี เป็นที่รู้จักของนักลงทุนรายย่อยทั่วไปมากขึ้น โดยกลุ่มเป้าหมายหลักจะเป็นคนที่มีความรู้เรื่องการลงทุนอยู่แล้ว และต้องการหาช่องทางการลงทุนใหม่ๆ เพิ่ม โดยบริษัทตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนรายย่อยเป็น 30% จากสัดส่วนในปัจจุบันที่มีนักลงทุนกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 10-20% ของลูกค้าทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นนักลงทุนสถาบันในสัดส่วนประมาณ 80-90% ทั้งนี้ ถึงแม้สัดส่วนลูกค้ารายย่อยจะมีจำนวนน้อยกว่า แต่ในแง่ของรายได้ค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) มีสัดส่วนที่สูงกว่านักลงทุนสถาบัน
สำหรับช่องทางการขาย บริษัทก็จะเพิ่มบุคลากรที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาการลงทุน (Investment Planner) ขึ้นอีกเพื่อรองรับการขยายตลาดดังกล่าว ขณะเดียวกันก็จะให้ความสำคัญกับคุณภาพของบุคลากรมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ทั้งในแง่ของบริการและการตอบคำถามของลูกค้า
นอกจากนั้น บริษัทยังอยู่ระหว่างเจรจากับตัวแทนการขาย (เซลลิ่งเอเจนต์) กับสาขาของธนาคารต่างประเทศเพิ่มอีก 2 ราย ซึ่งประกอบด้วย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ไทย และธนาคารซิตี้แบงก์ จากปัจจุบันที่มีธนาคารดอยซ์แบงก์ และบริษัทหลักทรัพย์เป็นตัวแทนการขายหน่วยลงทุนให้แล้ว ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการขายหน่วยลงทุนจากการขายผ่านที่ปรึกษาการลงทุนและตัวแทนขาย ให้อยู่ในระดับที่เท่ากัน จากปัจจุบันที่ขายผ่านที่ปรึกษาการลงทุนสูงกว่าในสัดส่วน 80% และผ่านตัวแทนอีกประมาณ 20%
นางกาญจนา โรจวทัญญู รองกรรมการผู้จัดการ สายการขายและการตลาด บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยถึงกลยุทธ์ทางการตลาดของ บลจ.เอ็มเอฟซีในปีนี้ว่า บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ทั้งการทำงานภายในองค์กรและภาพลักษณ์ภายนอก โดยในส่วนของภาพลักษณ์นั้นบริษัท ได้ปรับโฉมภาพลักษณ์ของบริษัทใหม่ให้ดูทันสมัย เน้นการสร้างแบรนด์องค์กรให้เป็นที่รู้จักอย่างทั่วถึง โดยใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การสื่อสารและกิจกรรมการตลาด ตลอดทั้งปีอย่างต่อเนื่องด้วยงบประมาณ 20 ล้านบาท
ทั้งนี้ ก่อนการทำ Brand Relaunch ได้มีการทำวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Customer In-dept Interview) ทุกกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งตามกลุ่มอายุและ lifestyle ของแต่ละกลุ่มเพื่อหาข้อมูลเชิงลึกถึงความต้องการของลูกค้าและจุดอ่อนจุดแข็งของบริษัท จึงเป็นที่มาของการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของการเป็นสถาบันทางการเงินในใจของลูกค้า คือการเป็นองค์กรที่ “รู้รอบ รู้ลึก และดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด” ภายใต้สโลแกน “มันสมองทางการลงทุนที่คุณวางใจ”
"ภาพลักษณ์ใหม่ของเราซีในช่วงแรก จะใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ 3 รูปแบบ ประกอบด้วย บีทีเอส บิลบอร์ด/Series Poles และสื่อหนังสือพิมพ์ ภายใต้ข้อความ “มองหาผู้เชี่ยวชาญเรื่องการลงทุน เลือกบลจ.ที่มีประสบการณ์ 33 ปี” “มองหาความมั่นใจในการลงทุน เลือกบลจ.ที่สถาบันภาครัฐและเอกชนลงทุนกว่า 190,000 ล้านบาท” และ “มองหาบลจ. ที่น่าเชื่อถือ เลือกบลจ.ที่ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ กระทรวงการคลัง” โดยสื่อบิลบอร์ด/Series Pole ติดตั้งใน 2 บริเวณคือ ช่วงขาเข้าจากสนามบินสุวรรณภูมิและบริเวณทางด่วนถนนพระราม 4 ตามลำดับ สำหรับสื่อหนังสือพิมพ์เน้นการสื่อในหนังสือพิมพ์แนวเศรษฐกิจเป็นหลัก"นางกาญจนากล่าว
นอกจากใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อให้ถึงภาพลักษณ์ใหม่แล้ว บริษัทยังเน้นการจัดกิจกรรมการตลาดในหลากหลายรูปแบบกับนักลงทุนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสนับสนุนการเปิดขายกองทุนแต่ละประเภท และสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการจัดสัมมนาให้ความรู้ด้านการลงทุนให้กับนักลงทุน โดยเลือกการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับ Lifestyle และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุดทั้งในส่วนของลูกค้าเก่า และลูกค้าใหม่
นอกจากกิจกรรมด้านการตลาดแล้ว เอ็มเอฟซียังมุ่งพัฒนากองทุนที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อสร้างความมั่งคั่งแก่ลูกค้าตามความต้องการและระดับความเสี่ยงที่รับได้ของแต่ละท่าน บริหารผลตอบแทนจากการลงทุนให้เป็นที่น่าพึงพอใจ พัฒนาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ พัฒนาการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ปรับระบบการให้ข้อมูลข่าวสารและคำแนะนำแก่ลูกค้าที่ถูกต้อง สม่ำเสมอ ทัน ต่อเหตุการณ์ รวมทั้งปรับระบบการบริการซื้อขายหน่วยลงทุน ที่สะดวกสบาย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าอย่างเต็มที่ ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจทั้งการให้บริการและผลตอบแทนจากการลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของเอ็มเอฟซีให้เป็นบลจ. ในใจของนักลงทุนอย่างแท้จริง
นางกาญจนากล่าวว่า การปรับภาพลักษณ์ของบริษัทใหม่ดังกล่าว เพื่อให้แบรนด์ของบลจ.เอ็มเอฟซี เป็นที่รู้จักของนักลงทุนรายย่อยทั่วไปมากขึ้น โดยกลุ่มเป้าหมายหลักจะเป็นคนที่มีความรู้เรื่องการลงทุนอยู่แล้ว และต้องการหาช่องทางการลงทุนใหม่ๆ เพิ่ม โดยบริษัทตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนรายย่อยเป็น 30% จากสัดส่วนในปัจจุบันที่มีนักลงทุนกลุ่มนี้อยู่ประมาณ 10-20% ของลูกค้าทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นนักลงทุนสถาบันในสัดส่วนประมาณ 80-90% ทั้งนี้ ถึงแม้สัดส่วนลูกค้ารายย่อยจะมีจำนวนน้อยกว่า แต่ในแง่ของรายได้ค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) มีสัดส่วนที่สูงกว่านักลงทุนสถาบัน
สำหรับช่องทางการขาย บริษัทก็จะเพิ่มบุคลากรที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาการลงทุน (Investment Planner) ขึ้นอีกเพื่อรองรับการขยายตลาดดังกล่าว ขณะเดียวกันก็จะให้ความสำคัญกับคุณภาพของบุคลากรมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ทั้งในแง่ของบริการและการตอบคำถามของลูกค้า
นอกจากนั้น บริษัทยังอยู่ระหว่างเจรจากับตัวแทนการขาย (เซลลิ่งเอเจนต์) กับสาขาของธนาคารต่างประเทศเพิ่มอีก 2 ราย ซึ่งประกอบด้วย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ไทย และธนาคารซิตี้แบงก์ จากปัจจุบันที่มีธนาคารดอยซ์แบงก์ และบริษัทหลักทรัพย์เป็นตัวแทนการขายหน่วยลงทุนให้แล้ว ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการขายหน่วยลงทุนจากการขายผ่านที่ปรึกษาการลงทุนและตัวแทนขาย ให้อยู่ในระดับที่เท่ากัน จากปัจจุบันที่ขายผ่านที่ปรึกษาการลงทุนสูงกว่าในสัดส่วน 80% และผ่านตัวแทนอีกประมาณ 20%