เอเชียน วอลล์สตรีท - ราคาเหล็กถีบตัว ดันต้นทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าพุ่งกระฉูด ผู้ประกอบการเจอปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออก ส่งผลราคาหุ้นร่วงติดต่อกันกราวรูด แนะอย่าเพิ่งถือหุ้นกลุ่มยานยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเนื่องจากราคาเหล็กโลกถีบตัวสูง สืบเนื่องจากบริษัทเป่าสตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่สุดของจีน ได้บรรลุข้อตกลงซื้อเหล็กจากยักษ์เหล็กโลกซีวีอาร์ดีแห่งบราซิลเมื่อปลายเดือนก.พ. ด้วยราคาที่สูงขึ้น 65% จากนั้น เป่าสตีลก็ประกาศปรับขึ้นราคาเหล็กแต่ละประเภทในไตรมาสที่ 2 โดยเมื่อเทียบกับราคาในไตรมาสที่ 1 ผลิตภัณฑ์หลักอย่างเหล็กรีดร้อนและเหล็กรีดเย็นได้ปรับราคาเพิ่มขึ้นถึง 800 หยวน / ตัน เป็นการปรับขึ้นสูงกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญคาดไว้ถึง 1 เท่าตัว
เนื่องจากเหล็กรีดเย็น เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมรถยนต์ และยังใช้เป็นวัตถุดิบส่วนนอกสำหรับการประกอบตู้เย็น และเครื่องซักผ้า นอกจากนี้กฎหมายการจ้างงาน และสภาพเศรษฐกิจโลก ที่ได้รับผลกระทบจากซับไพรม์ในสหรัฐฯ ทำให้โดยรวมต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมาก ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ต่างคิดหนักกับราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น
ครั้นจะผลักภาระไปยังผู้บริโภคก็ทำไม่ได้ ด้วยอาจทำให้ยอดขายตก ขณะเดียวกันจะไม่ขึ้นราคาสินค้าก็ทำไม่ได้อีก เพราะต้นทุนที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กำไรหดหาย
สภาพการณ์ดังกล่าว ทำให้นักลงทุนต่างทยอยเทขายหุ้นในกลุ่มยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ เดนเวย์ มอเตอร์ (Denway motor), เกรทวอลล์ มอเตอร์ (Great Wall Motor), จี๋ลี่ ออโตโมบิล โฮลดิ้ง (Geely Automobile Holding) และ ไหเอ่อร์ อิเล็กทรอนิกส์ กรุ๊ป (Haier Electronics Group) ส่งผลให้ราคาหุ้นกลุ่มนี้ร่วงรูด
นอกจากนี้หากดูสภาพตลาดในจีน ที่การแข่งขันในธุรกิจรถยนต์ดุเดือดร้อนแรง ผู้ผลิตแต่ละรายต่างแข่งกันตัดราคา เพื่อแย่งชิงลูกค้า ซึ่งส่วนมากมักเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อรถคันแรก ทำให้หลายปีที่ผ่านมา ราคารถยนต์ลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ผลกำไรของบริษัทพลอยลดลงตาม
ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตรถยนต์ ในปี 2007 ราคารถยนต์นั่ง 4 ประตูโดยเฉลี่ยลดลงราว 8.5% ส่วนปีนี้นักวิเคราะห์คาดว่า บรรดาผู้ผลิตจะลดราคาลงไปอีกเพื่อทำยอดขาย ก่อนที่มหกรรมกีฬาโอลิมปิกปักกิ่งจะเริ่มขึ้น
ชาร์ล เฉิง นักวิเคราะห์จาก ซิติกรุ๊ป ฮ่องกง แนะว่า นักลงทุนควรระวังการถือหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ในจีน เนื่องจากสภาพการณ์ในตลาด และผลประกอบการโดยรวมดูไม่ค่อยดีนัก
หุ้นของเดนเวย์ ซึ่งจดทะเบียนซื้อขายในตลาดฮั่งเส็ง ณ ปัจจุบัน มีราคาซื้อขายต่ำกว่าช่วงที่ราคาหุ้นของบริษัทมีมูลค่าสูงสุดปลายเดือนต.ค. กว่า 25% เฉิงกล่าวว่า เดนเวย์ กำลังเผชิญสงครามตัดราคา ด้วยเดนเวย์มีการร่วมทุนกับฮอนด้า ผลิตรถยนต์ในจีน ทว่าตอนนี้โตโยต้ากำลังขับเคี่ยวสงครามราคากับฮอนด้าอย่างดุเดือด ฉะนั้นในช่วง 1 ปีนี้ ราคาหุ้นเดนเวย์อาจตกเหลือ 3.35 เหรียญฮ่องกง
หลี่ตัน จากบริษัทหลักทรัพย์ แกแล็กซี่ ในมหานครปักกิ่งกล่าวว่า กลุ่มบริษัทที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ขนาดเล็กราคาถูก "การแข่งขันในกลุ่มนี้ดุเดือดมาก และก็ไม่มีช่องเหลือให้ตัดราคาอีกแล้ว"
ด้านผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านบางราย เช่น ไหเอ่อร์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ได้ปรับราคาสินค้าไปแล้ว นับเป็นการปรับราคาสินค้าครั้งแรกในรอบทศวรรษของไหเอ่อร์
โดยหุ้นของไหเอ่อร์มีมูลค่าลดลงกว่าครึ่ง นับแต่ช่วงที่หุ้นไหเอ่อร์ ทำมูลค่าสูงสุดเมื่อปลาย พ.ค. 2007
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์บางรายชี้ว่า โดยรวมแล้วไหเอ่อร์ ไม่น่ามีปัญหามากนัก เนื่องจากไหเอ่อร์กลายเป็นแบรนด์ที่ติดตลาด และผู้บริโภคยินดีที่จะซื้อสินค้าของบริษัท ไม่ว่าราคาอาจเพิ่มขึ้น ฉะนั้นทางบริษัทจึงมีทางออกด้วยการผลักภาระให้กับผู้บริโภค โดยไม่กระเทือนสถานะของบริษัทมากนัก นอกจากนี้ความกดดันจะยิ่งทำให้บริษัทไหเอ่อร์ ซึ่งแข็งแกร่งอยู่แล้ว ปรับตัวและยิ่งแข็งแกร่งขึ้น
อุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเนื่องจากราคาเหล็กโลกถีบตัวสูง สืบเนื่องจากบริษัทเป่าสตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่สุดของจีน ได้บรรลุข้อตกลงซื้อเหล็กจากยักษ์เหล็กโลกซีวีอาร์ดีแห่งบราซิลเมื่อปลายเดือนก.พ. ด้วยราคาที่สูงขึ้น 65% จากนั้น เป่าสตีลก็ประกาศปรับขึ้นราคาเหล็กแต่ละประเภทในไตรมาสที่ 2 โดยเมื่อเทียบกับราคาในไตรมาสที่ 1 ผลิตภัณฑ์หลักอย่างเหล็กรีดร้อนและเหล็กรีดเย็นได้ปรับราคาเพิ่มขึ้นถึง 800 หยวน / ตัน เป็นการปรับขึ้นสูงกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญคาดไว้ถึง 1 เท่าตัว
เนื่องจากเหล็กรีดเย็น เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมรถยนต์ และยังใช้เป็นวัตถุดิบส่วนนอกสำหรับการประกอบตู้เย็น และเครื่องซักผ้า นอกจากนี้กฎหมายการจ้างงาน และสภาพเศรษฐกิจโลก ที่ได้รับผลกระทบจากซับไพรม์ในสหรัฐฯ ทำให้โดยรวมต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมาก ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ต่างคิดหนักกับราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น
ครั้นจะผลักภาระไปยังผู้บริโภคก็ทำไม่ได้ ด้วยอาจทำให้ยอดขายตก ขณะเดียวกันจะไม่ขึ้นราคาสินค้าก็ทำไม่ได้อีก เพราะต้นทุนที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กำไรหดหาย
สภาพการณ์ดังกล่าว ทำให้นักลงทุนต่างทยอยเทขายหุ้นในกลุ่มยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า อาทิ เดนเวย์ มอเตอร์ (Denway motor), เกรทวอลล์ มอเตอร์ (Great Wall Motor), จี๋ลี่ ออโตโมบิล โฮลดิ้ง (Geely Automobile Holding) และ ไหเอ่อร์ อิเล็กทรอนิกส์ กรุ๊ป (Haier Electronics Group) ส่งผลให้ราคาหุ้นกลุ่มนี้ร่วงรูด
นอกจากนี้หากดูสภาพตลาดในจีน ที่การแข่งขันในธุรกิจรถยนต์ดุเดือดร้อนแรง ผู้ผลิตแต่ละรายต่างแข่งกันตัดราคา เพื่อแย่งชิงลูกค้า ซึ่งส่วนมากมักเป็นผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อรถคันแรก ทำให้หลายปีที่ผ่านมา ราคารถยนต์ลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ผลกำไรของบริษัทพลอยลดลงตาม
ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตรถยนต์ ในปี 2007 ราคารถยนต์นั่ง 4 ประตูโดยเฉลี่ยลดลงราว 8.5% ส่วนปีนี้นักวิเคราะห์คาดว่า บรรดาผู้ผลิตจะลดราคาลงไปอีกเพื่อทำยอดขาย ก่อนที่มหกรรมกีฬาโอลิมปิกปักกิ่งจะเริ่มขึ้น
ชาร์ล เฉิง นักวิเคราะห์จาก ซิติกรุ๊ป ฮ่องกง แนะว่า นักลงทุนควรระวังการถือหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ในจีน เนื่องจากสภาพการณ์ในตลาด และผลประกอบการโดยรวมดูไม่ค่อยดีนัก
หุ้นของเดนเวย์ ซึ่งจดทะเบียนซื้อขายในตลาดฮั่งเส็ง ณ ปัจจุบัน มีราคาซื้อขายต่ำกว่าช่วงที่ราคาหุ้นของบริษัทมีมูลค่าสูงสุดปลายเดือนต.ค. กว่า 25% เฉิงกล่าวว่า เดนเวย์ กำลังเผชิญสงครามตัดราคา ด้วยเดนเวย์มีการร่วมทุนกับฮอนด้า ผลิตรถยนต์ในจีน ทว่าตอนนี้โตโยต้ากำลังขับเคี่ยวสงครามราคากับฮอนด้าอย่างดุเดือด ฉะนั้นในช่วง 1 ปีนี้ ราคาหุ้นเดนเวย์อาจตกเหลือ 3.35 เหรียญฮ่องกง
หลี่ตัน จากบริษัทหลักทรัพย์ แกแล็กซี่ ในมหานครปักกิ่งกล่าวว่า กลุ่มบริษัทที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ขนาดเล็กราคาถูก "การแข่งขันในกลุ่มนี้ดุเดือดมาก และก็ไม่มีช่องเหลือให้ตัดราคาอีกแล้ว"
ด้านผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านบางราย เช่น ไหเอ่อร์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น ได้ปรับราคาสินค้าไปแล้ว นับเป็นการปรับราคาสินค้าครั้งแรกในรอบทศวรรษของไหเอ่อร์
โดยหุ้นของไหเอ่อร์มีมูลค่าลดลงกว่าครึ่ง นับแต่ช่วงที่หุ้นไหเอ่อร์ ทำมูลค่าสูงสุดเมื่อปลาย พ.ค. 2007
อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์บางรายชี้ว่า โดยรวมแล้วไหเอ่อร์ ไม่น่ามีปัญหามากนัก เนื่องจากไหเอ่อร์กลายเป็นแบรนด์ที่ติดตลาด และผู้บริโภคยินดีที่จะซื้อสินค้าของบริษัท ไม่ว่าราคาอาจเพิ่มขึ้น ฉะนั้นทางบริษัทจึงมีทางออกด้วยการผลักภาระให้กับผู้บริโภค โดยไม่กระเทือนสถานะของบริษัทมากนัก นอกจากนี้ความกดดันจะยิ่งทำให้บริษัทไหเอ่อร์ ซึ่งแข็งแกร่งอยู่แล้ว ปรับตัวและยิ่งแข็งแกร่งขึ้น