บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม พรีมาเวสท์
ปกติเมื่ออยู่ในคอลัมน์ที่จะคุยเกี่ยวกับเรื่องกองทุนรวม ผมมักเชิญชวนให้ทุกท่านลงทุนโดยมุ่งเน้นให้ลงทุนอย่างไรเพื่อให้เงินออมงอกเงย ซึ่งการลงทุนดังกล่าวก็ขึ้นกับการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุน เพราะถ้าท่านหวังผลตอบแทนมากท่านก็ต้องยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยในทำนองกลับกันถ้าท่านยอมรับความเสี่ยงได้น้อย ผลตอบแทนจากการลงทุนก็ได้รับลดลงไปตามลำดับ เข้าข่าย “High Risk High Return”
ผมเชื่อว่านักลงทุนที่คุ้นเคยกับการลงทุนในกองทุนรวมแล้ว โดยเฉพาะท่านที่เคยลงทุนนทั้งกองทุนรวมประเภทคุ้มครองเงินต้นและกองทุนประเภทตราสารทุน หรือกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ คงจะเข้าใจได้เป็นอย่างดี ในบทความนี้ผมก็ยังอยากเรียนเชิญให้ท่านลงทุนเพื่อการออมอยู่ครับ เพียงแต่ว่าต่างจากทุกครั้งที่ผมมักจะนำให้ท่านเปรียบเทียบกับเงินทีมีอยู่ในกระเป๋าว่าจะนำไปลงทุนอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุดในระดับความเสี่ยงที่ท่านรับได้ แต่ในครั้งนี้ผมอยากจะพูดถึงการก่อหนี้บัตรเครดิตเพื่อการลงทุน
เมื่อพูดถึงเรื่องการก่อหนี้เพื่อการลงทุนแล้ว การก่อหนี้เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก็เป็นที่ทุกท่านทราบกันแล้วว่าก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ท่านสามารถสร้างผลตอบแทน เช่น จากค่าเช่า หรือขายเมื่อราคาปรับสูงขึ้น ในทำนองเดียวกันคนส่วนมากมักจะคิดถึงเรื่องการก่อหนี้บัตรเครดิตมักจะเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค ทั้งที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและจำเป็น แต่ทุกวันนี้การก่อหนี้ผ่านบัตรเครดิตได้เป็นส่วนหนึ่งที่เปิดโลกการลงทุนแก่ท่านได้ ผมเชื่อว่าหลายท่านคงทราบและเคยลงทุนซื้อหน่วยลงทุนผ่านบัตรเครดิตแล้ว การก่อหนี้บัตรเครดิตได้กลายเป็นช่องทางหนึ่งเพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนควบคู่ไปกับการอำนวยความสะดวกการแก่ท่าน โดยประโยชน์สูงสุดที่ท่านจะได้รับคือ “ท่านซื้อหน่วยลงทุนวันนี้ แต่ชำระเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนตามรอบบิล” ลักษณะเช่นนี้คล้ายคลึงกับการซื้อสินค้าและบริการซึ่งท่านรูดบัตรเครดิตซื้อของวันนี้แต่ไปรอชำระค่าสินค้าและบริการในวันที่บริษัทบัตรเครดิตมีบิลมาเรียกเก็บ ซึ่งโดยปกติก็ประมาณ 30-55 วัน แต่ก็ขึ้นกับว่าการลงทุนใกล้เคียงกับรอบบิลของท่านเพียงใด อย่างไรก็ตามที่ผมใช้คำว่าคล้ายคลึงเพราะการซื้อหน่วยลงทุนผ่านบัตรเครดิตในแต่ละที่ของบริษัทจัดการก็อาจมีขั้นตอนแตกต่างกัน
อย่างไรก็ตามเคยมีคำถามหนึ่งที่น่าสนใจครับ ว่าถ้านักลงทุนต้องการลงทุนเช่นในหน่วยลงทุนกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) หรือหน่วยลงทุนของกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แต่ต้องการทะยอยชำระเงินค่าหน่วยลงทุนผ่านบัตรเครดิตแทนที่จะชำระทั้งจำนวนเมื่อถึงรอบบิล ในกรณีนี้สิ่งหนึ่งที่ท่านนักลงทุนต้องช่างน้ำหนักระหว่างผลตอบแทนของเงินลงทุน หรือผลประโยชน์ที่ได้รับจากการลดหย่อนภาษีจากการลงทุนในกองทุนทั้งสองประเภทว่าคุ้มกับดอกเบี้ยที่ต้องชำระแก่บริษัทบัตรเครดิตหรือไม่ วิธีหนึ่งที่ท่านสามารถทำได้คือค่อยๆ ทะยอยลงทุนตามกำลังครับ น่าจะให้ประโยชน์กับท่านดีกว่า หรือถ้าท่านคิดว่าเป็นการออมเงินท่านก็อาจเข้าลงทุนแบบสม่ำเสมอผ่านการซื้อหน่วยลงทุนผ่านบัตรเครดิตได้ ซึ่งวิธีนี้ท่านเพียงแต่ดำเนินการครั้งเดียวแต่ท่านสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้ทุกเดือน หรือตามเดือนที่ท่านเลือกลงทุน
การแข่งขันอย่างพอเหมาะมักจะเป็นคุณแก่ผู้บริโภคเสมอ ดังเช่นการเสนอช่องทางการลงทุนใหม่ๆ การก่อหนี้ผ่านบัตรเครดิตวันนี้จึงไม่ใช่เป็นเพื่อการบริโภคอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ยังเป็นการลงทุนได้อีกด้วย แต่อย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนการลงทุน
ปกติเมื่ออยู่ในคอลัมน์ที่จะคุยเกี่ยวกับเรื่องกองทุนรวม ผมมักเชิญชวนให้ทุกท่านลงทุนโดยมุ่งเน้นให้ลงทุนอย่างไรเพื่อให้เงินออมงอกเงย ซึ่งการลงทุนดังกล่าวก็ขึ้นกับการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุน เพราะถ้าท่านหวังผลตอบแทนมากท่านก็ต้องยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยในทำนองกลับกันถ้าท่านยอมรับความเสี่ยงได้น้อย ผลตอบแทนจากการลงทุนก็ได้รับลดลงไปตามลำดับ เข้าข่าย “High Risk High Return”
ผมเชื่อว่านักลงทุนที่คุ้นเคยกับการลงทุนในกองทุนรวมแล้ว โดยเฉพาะท่านที่เคยลงทุนนทั้งกองทุนรวมประเภทคุ้มครองเงินต้นและกองทุนประเภทตราสารทุน หรือกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ คงจะเข้าใจได้เป็นอย่างดี ในบทความนี้ผมก็ยังอยากเรียนเชิญให้ท่านลงทุนเพื่อการออมอยู่ครับ เพียงแต่ว่าต่างจากทุกครั้งที่ผมมักจะนำให้ท่านเปรียบเทียบกับเงินทีมีอยู่ในกระเป๋าว่าจะนำไปลงทุนอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุดในระดับความเสี่ยงที่ท่านรับได้ แต่ในครั้งนี้ผมอยากจะพูดถึงการก่อหนี้บัตรเครดิตเพื่อการลงทุน
เมื่อพูดถึงเรื่องการก่อหนี้เพื่อการลงทุนแล้ว การก่อหนี้เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ก็เป็นที่ทุกท่านทราบกันแล้วว่าก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ท่านสามารถสร้างผลตอบแทน เช่น จากค่าเช่า หรือขายเมื่อราคาปรับสูงขึ้น ในทำนองเดียวกันคนส่วนมากมักจะคิดถึงเรื่องการก่อหนี้บัตรเครดิตมักจะเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค ทั้งที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและจำเป็น แต่ทุกวันนี้การก่อหนี้ผ่านบัตรเครดิตได้เป็นส่วนหนึ่งที่เปิดโลกการลงทุนแก่ท่านได้ ผมเชื่อว่าหลายท่านคงทราบและเคยลงทุนซื้อหน่วยลงทุนผ่านบัตรเครดิตแล้ว การก่อหนี้บัตรเครดิตได้กลายเป็นช่องทางหนึ่งเพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนควบคู่ไปกับการอำนวยความสะดวกการแก่ท่าน โดยประโยชน์สูงสุดที่ท่านจะได้รับคือ “ท่านซื้อหน่วยลงทุนวันนี้ แต่ชำระเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนตามรอบบิล” ลักษณะเช่นนี้คล้ายคลึงกับการซื้อสินค้าและบริการซึ่งท่านรูดบัตรเครดิตซื้อของวันนี้แต่ไปรอชำระค่าสินค้าและบริการในวันที่บริษัทบัตรเครดิตมีบิลมาเรียกเก็บ ซึ่งโดยปกติก็ประมาณ 30-55 วัน แต่ก็ขึ้นกับว่าการลงทุนใกล้เคียงกับรอบบิลของท่านเพียงใด อย่างไรก็ตามที่ผมใช้คำว่าคล้ายคลึงเพราะการซื้อหน่วยลงทุนผ่านบัตรเครดิตในแต่ละที่ของบริษัทจัดการก็อาจมีขั้นตอนแตกต่างกัน
อย่างไรก็ตามเคยมีคำถามหนึ่งที่น่าสนใจครับ ว่าถ้านักลงทุนต้องการลงทุนเช่นในหน่วยลงทุนกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) หรือหน่วยลงทุนของกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แต่ต้องการทะยอยชำระเงินค่าหน่วยลงทุนผ่านบัตรเครดิตแทนที่จะชำระทั้งจำนวนเมื่อถึงรอบบิล ในกรณีนี้สิ่งหนึ่งที่ท่านนักลงทุนต้องช่างน้ำหนักระหว่างผลตอบแทนของเงินลงทุน หรือผลประโยชน์ที่ได้รับจากการลดหย่อนภาษีจากการลงทุนในกองทุนทั้งสองประเภทว่าคุ้มกับดอกเบี้ยที่ต้องชำระแก่บริษัทบัตรเครดิตหรือไม่ วิธีหนึ่งที่ท่านสามารถทำได้คือค่อยๆ ทะยอยลงทุนตามกำลังครับ น่าจะให้ประโยชน์กับท่านดีกว่า หรือถ้าท่านคิดว่าเป็นการออมเงินท่านก็อาจเข้าลงทุนแบบสม่ำเสมอผ่านการซื้อหน่วยลงทุนผ่านบัตรเครดิตได้ ซึ่งวิธีนี้ท่านเพียงแต่ดำเนินการครั้งเดียวแต่ท่านสามารถซื้อหน่วยลงทุนได้ทุกเดือน หรือตามเดือนที่ท่านเลือกลงทุน
การแข่งขันอย่างพอเหมาะมักจะเป็นคุณแก่ผู้บริโภคเสมอ ดังเช่นการเสนอช่องทางการลงทุนใหม่ๆ การก่อหนี้ผ่านบัตรเครดิตวันนี้จึงไม่ใช่เป็นเพื่อการบริโภคอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ยังเป็นการลงทุนได้อีกด้วย แต่อย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนการลงทุน