แบงก์กสิกรไทยประกาศแผนบัตรเครดิต เน้นเจาะตลาดบัตรเครดิตระดับแพลตินัม และบัตรทอง หวังดันยอดใช่จ่ายผ่านบัตรเพิ่ม 27% ด้วยการทุ่มงบการตลาดบัตรเครดิต 250 ล้านบาท พร้อมเพิ่มเครื่องรูดบัตรเป็น 45,000 เครื่อง ชี้ เอ็นพีแอลสิ้นปีจะอยู่ที่ 2.6% เท่ากับปีก่อน เพราะไม่มีปัจจัยลบมากระทบ
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า การดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตของธนาคารในปีนี้ได้ตั้งเป้าหมายว่า จะเพิ่มยอดบัตรใหม่เอาไว้ที่ 200,000 บัตร ซึ่งจะทำให้สิ้นปีมียอดบัตรเครดิตอยู่ที่ 1,300,000-1,400,000 บัตร และให้ความสำคัญกับการเพิ่มบัตรเครดิตแพลตินัม เป็น 15% จากปัจจุบันมีอยู่ 9% หรือ 87,000 บัตรของพอร์ตรวม และเพิ่มเป็นบัตรทองเป็น 46% บัตไทเทเนียม 2% ที่เหลือเป็นบัตรธรรมดา โดยสิ้นปีที่ผ่านมายอดบัตรเครดิตอยู่ที่ 1,200,000 บัตร
ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเอาไว้27% ซึ่งจะทำให้ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรโดยรวมสิ้นปีเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 80,000 ล้านบาท จากยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรสิ้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 69,000 ล้านบาท อีกทั้งเพื่อให้รายได้ค่าธรรมเนียมสิ้นปีอยู่ที่ 1,400 ล้านบาท จากสิ้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 1,045 ล้านบาท โดยธนาคารได้ตั้งงบการตลาดเกี่ยวกับการทำบัตรเครดิตและการกระตุ้นยอดการใช้จ่ายเอาไว้ 250 ล้านบาท
นอกจากนี้ ธนาคารได้ทำการเพิ่มเครื่องรูดบัตรเป็น 45,000 เครื่อง จากสิ้นปีที่ผ่านมามีอยู่ 38,000 เครื่อง เน้นเพิ่มในกลุ่มร้านค้าเอสเอ็มอี ประเภทร้านค้าเล็กๆ ร้านอาหาร รวมทั้งสถานีบริการน้ำมัน หรือ ปั๊ม เพื่อให้มีรายได้จากร้านค้าเพิ่มเป็น 2,800 ล้านบาท หรือ เพิ่ม 34% จากปีที่ผ่านมามีรายได้จากร้านค้า 2,005 ล้านบาท
สำหรับยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล ณ สิ้นปีที่ผ่านมามีอยู่ 2.6% ในขณะที่ตลาดบัตรเครดิตมีเอ็นพีแอลอยู่ที่ประมาณ 3% และคาดว่า ยอดเอ็นพีแอลของธนาคารสิ้นปีน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.6% เพราะไม่มีมาตรการหรือ ปัจจัยอะไรเข้ามากระทบที่ทำให้เอ็นพีแอลเพิ่ม ส่วนการยกเลิกบัตรในปีที่ผ่านมามีแค่ประมาณ 2% โดยในจำนวนนี้ประมาณ 50%ของ 2% เป็นการยกเลิกของลูกค้าเอง เนื่องจากมีจำนวนบัตรเครดิตของธนาคารกสิกรไทยหลายบัตร จึงยกเลิกให้เหลือเพียง 1 บัตร และที่เหลือคือลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บัตรและทำการยกเลิกเอง
นางสาวขัตติยา กล่าวว่า ในด้านของคุณสมบัตรผู้ทำบัตรเครดิต นั้น ธนาคารยังยึดตามกฎเกณฑ์เดิมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เหมือนเดิมไม่ได้เข้มงวดมากกว่าเดิม แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะเป็นอย่างไร รวมทั้งการผ่อนชำระก็ยังใช้ 10% เหมือนเดิม สำหรับบัตรธรรมดา ผู้สมัครต้องมีรายได้ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป บัตรไทเทเนียม ต้องมีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป บัตรทองต้องมีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และบัตรแพลทตินัมต้องมีรายได้ 250,000 บาท ต่อเดือนขึ้นไป ยกเว้นอาชีพ แพทย์ และวิศวกร
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า การดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตของธนาคารในปีนี้ได้ตั้งเป้าหมายว่า จะเพิ่มยอดบัตรใหม่เอาไว้ที่ 200,000 บัตร ซึ่งจะทำให้สิ้นปีมียอดบัตรเครดิตอยู่ที่ 1,300,000-1,400,000 บัตร และให้ความสำคัญกับการเพิ่มบัตรเครดิตแพลตินัม เป็น 15% จากปัจจุบันมีอยู่ 9% หรือ 87,000 บัตรของพอร์ตรวม และเพิ่มเป็นบัตรทองเป็น 46% บัตไทเทเนียม 2% ที่เหลือเป็นบัตรธรรมดา โดยสิ้นปีที่ผ่านมายอดบัตรเครดิตอยู่ที่ 1,200,000 บัตร
ทั้งนี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเอาไว้27% ซึ่งจะทำให้ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรโดยรวมสิ้นปีเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 80,000 ล้านบาท จากยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรสิ้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 69,000 ล้านบาท อีกทั้งเพื่อให้รายได้ค่าธรรมเนียมสิ้นปีอยู่ที่ 1,400 ล้านบาท จากสิ้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 1,045 ล้านบาท โดยธนาคารได้ตั้งงบการตลาดเกี่ยวกับการทำบัตรเครดิตและการกระตุ้นยอดการใช้จ่ายเอาไว้ 250 ล้านบาท
นอกจากนี้ ธนาคารได้ทำการเพิ่มเครื่องรูดบัตรเป็น 45,000 เครื่อง จากสิ้นปีที่ผ่านมามีอยู่ 38,000 เครื่อง เน้นเพิ่มในกลุ่มร้านค้าเอสเอ็มอี ประเภทร้านค้าเล็กๆ ร้านอาหาร รวมทั้งสถานีบริการน้ำมัน หรือ ปั๊ม เพื่อให้มีรายได้จากร้านค้าเพิ่มเป็น 2,800 ล้านบาท หรือ เพิ่ม 34% จากปีที่ผ่านมามีรายได้จากร้านค้า 2,005 ล้านบาท
สำหรับยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล ณ สิ้นปีที่ผ่านมามีอยู่ 2.6% ในขณะที่ตลาดบัตรเครดิตมีเอ็นพีแอลอยู่ที่ประมาณ 3% และคาดว่า ยอดเอ็นพีแอลของธนาคารสิ้นปีน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.6% เพราะไม่มีมาตรการหรือ ปัจจัยอะไรเข้ามากระทบที่ทำให้เอ็นพีแอลเพิ่ม ส่วนการยกเลิกบัตรในปีที่ผ่านมามีแค่ประมาณ 2% โดยในจำนวนนี้ประมาณ 50%ของ 2% เป็นการยกเลิกของลูกค้าเอง เนื่องจากมีจำนวนบัตรเครดิตของธนาคารกสิกรไทยหลายบัตร จึงยกเลิกให้เหลือเพียง 1 บัตร และที่เหลือคือลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บัตรและทำการยกเลิกเอง
นางสาวขัตติยา กล่าวว่า ในด้านของคุณสมบัตรผู้ทำบัตรเครดิต นั้น ธนาคารยังยึดตามกฎเกณฑ์เดิมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เหมือนเดิมไม่ได้เข้มงวดมากกว่าเดิม แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะเป็นอย่างไร รวมทั้งการผ่อนชำระก็ยังใช้ 10% เหมือนเดิม สำหรับบัตรธรรมดา ผู้สมัครต้องมีรายได้ 15,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป บัตรไทเทเนียม ต้องมีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป บัตรทองต้องมีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป และบัตรแพลทตินัมต้องมีรายได้ 250,000 บาท ต่อเดือนขึ้นไป ยกเว้นอาชีพ แพทย์ และวิศวกร