บลจ.นครหลวงไทย เตรียม ส่ง 2 กองทุนใหม่เข้าตลาด กองแรกลุยตราสารหนี้ 6 เดือน หวังโยกเม็ดเงินกองเก่าที่ใกล้หมดอายุร่วม 1 พันกว่าล้านบาทเข้าพอร์ต ส่วนกอง 2 เป็นเอฟไอเอฟอีทีเอฟ ลุยกลุ่มธุรกิจเฮลท์แคร์ทั่วโลก รวมมูลค่า 2 โครงการ 5,000 ล้านบาท
นายนที ดำรงกิจการ ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า จากภาวะการลงทุนทั่วโลกที่มีความผันผวน ทำให้แผนการออกกองทุนใหม่ของบริษัทที่เตรียมไว้จำเป็นต้องเลื่อนออกไปจากเดือนมกราคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม บริษัทจะทำการออกกองทุนตราสารหนี้อายุ 6 เดือน มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท ซึ่งมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ ภายในเร็วนี้อย่างแน่นอนเพื่อทดแทนกองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 2/2 คุ้มครองเงินต้นซึ่งจะหมดอายุโครงการในเดือนกุมภาพันธ์นี้
ขณะเดียวกันบริษัทมีแผนที่จะออกกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) โดยอ้างอิงดัชนี ETF ที่ลงทุนในธุรกิจรักษา พยาบาล เวชภัณฑ์ทั่วโลก มูลค่าโครงการประมาณ 3,000 ล้านบาท
“กองทุนเอฟไอเอฟ ประเภทดังกล่าวมีความน่าสนใจที่จะเข้าไปลงทุน ซึ่งแต่เดิมเคยมีบริษัทจัดการกองทุนรายอื่นได้ออกกองทุนประเภทดังกล่าวมาแล้ว และสามารถระดมทุนได้ในระดับที่น่าพอใจ ดังนั้นในส่วนของบริษัทเองจึงเชื่อว่าผู้ถือหน่วยลงทุนจะตอบรับกับนโยบายในการลงทุนครั้งนี้แน่นอน”
สำหรับกองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 2/2 คุ้มครองเงินต้น เป็นกองทุนประเภท กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น โดยบริษัทจัดการจะคุ้มครองเงินต้นตามมูลค่าที่ตราไว้ 10.00 บาทต่อหน่วยให้เฉพาะผู้ถือหน่วยที่ซื้อหน่วยลงทุนในการจองซื้อครั้งแรก และได้ถือหน่วยลงทุนจนครบอายุโครงการ อีกทั้งจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเป็นราย ไตรมาส และเป็นโครงการที่ประสงค์จะดำรงอัตราส่วนการลงทุนตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด
ทั้งนี้กองทุนดังกล่าวมีอายุโครงการประมาณ 2 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม โดยได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2548 และจดทะเบียนกองทุนรวมเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2549
โดยกองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 2/2 คุ้มครองเงินต้นได้รายงานถึงเงินลงทุนของกองทุน ณ วันที่ 31 มกราคม 2551 ว่า กองทุนเข้าลงทุนในตราสารภาครัฐไทยและตราสารภาครัฐต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 947,486,248.92 บาท หรือ 82.25% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิกองทุน (NAV) และลงทุนในกลุ่มตราสารที่มธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้สลักหลัง หรือผู้คำประกันจำนวน 205,193,544.46 บาท
ก่อนหน้านี้ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) นครหลวงไทย และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย เปิดให้บริการ “SCIBS Trading Plus” หรือบริการชำระราคาค่าซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านกองทุนตลาดเงิน (Money Market) ซึ่งบลจ.นครหลวงไทยจะดำเนินการนำเงินที่ได้รับโอนจากการชำระราคาขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนที่เป็นลูกค้าจากบล.นครหลวงไทย ที่ใช้บริการชำระราคาขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชีธนาคารอัตโนมัติ (ATS) ของธนาคารนครหลวงไทยไปลงทุนในหน่วยลงทุนผ่านกองทุนตลาดเงิน เพื่อสร้างอัตราผลตอบแทนให้แก่นักลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจสถาบันการเงินแห่งแรกที่เปิดให้บริการหลังจากตลาดหลักทรัพย์ฯ (ตลท.)อนุญาตให้ดำเนินธุรกิจได้
นางสาวอัจฉรา สุทธิศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บลจ. นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า การเปิดให้บริการดังกล่าวจะทำให้มูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหารของกองทุนตลาดเงินของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 ล้านบาท จากยอดเดิม 3,000 พันล้านบาท และคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่อยู่เพียง 0.75% ต่อปี ซึ่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่าอัตราผลตอบแทนในตลาดเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 2.80% ต่อปี
ขณะเดียวกัน ภายในปี 2551 บลจ.นครหลวงไทย มีแผนที่จะออกโปรดักส์ใหม่ๆออกมาเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีการออกกองทุนใหม่ออกมาให้ครบทุกตลาด ทั้งกองทุนตราสารหนี้ กองทุนหุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุน LTF และกองทุน RMF รวมทั้งแนวคิดการจัดตั้งกองทุนหุ้น 100% ด้วย
นอกจากนี้บริษัทมีแผนที่จะรุกตลาดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคลมากขึ้น หลังจากได้รับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจจาก ก.ล.ต. ซึ่งบริษัทจะดำเนินการเพิ่มเจ้าหน้าที่การตลาด เพื่อรองรับการขายกองทุนประเภทใหม่ รวมถึงการทุ่มงบประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้น เพื่อขยายฐานผู้ออมเงินในประเทศ เพื่อผลักดันให้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารทั้งหมด (เอยูเอ็ม) ประมาณ 50,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16,000 บาท จากปี2550 ที่มีอยู่ประมาณ 34,000 ล้านบาท
ส่วนปัจจัยที่จะช่วยผลักดันให้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารของบลจ.นครหลวงไทย อยู่ที่ระดับ 34,000 ล้านบาทได้นั้น มาจากการขยายตัวจากกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งนักลงทุนยังให้ความสนใจสูงสุด เพราะให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอและมีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำ นอกจากนี้การที่บริษัทมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เข้ามาถือหุ้นนั้น ซึ่งนอกจากช่วยให้โครงการด้านการเงินของบริษัทมีศักยภาพมากขึ้นแล้ว บริษัทยังได้ผลประโยชน์ทางด้านอื่นเพิ่มเติม ได้แก่ การสร้างโปรดักส์ใหม่ๆ ออกมารองรับสมาชิก กบข.และจำนวนเงินของสมาชิก กบข. ที่เข้ามาลงทุนกับบริษัท ได้ช่วยขยายฐานเอยูเอ็มให้เติบโตตามเป้าที่กำหนดได้
นายนที ดำรงกิจการ ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า จากภาวะการลงทุนทั่วโลกที่มีความผันผวน ทำให้แผนการออกกองทุนใหม่ของบริษัทที่เตรียมไว้จำเป็นต้องเลื่อนออกไปจากเดือนมกราคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม บริษัทจะทำการออกกองทุนตราสารหนี้อายุ 6 เดือน มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท ซึ่งมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ ภายในเร็วนี้อย่างแน่นอนเพื่อทดแทนกองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 2/2 คุ้มครองเงินต้นซึ่งจะหมดอายุโครงการในเดือนกุมภาพันธ์นี้
ขณะเดียวกันบริษัทมีแผนที่จะออกกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) โดยอ้างอิงดัชนี ETF ที่ลงทุนในธุรกิจรักษา พยาบาล เวชภัณฑ์ทั่วโลก มูลค่าโครงการประมาณ 3,000 ล้านบาท
“กองทุนเอฟไอเอฟ ประเภทดังกล่าวมีความน่าสนใจที่จะเข้าไปลงทุน ซึ่งแต่เดิมเคยมีบริษัทจัดการกองทุนรายอื่นได้ออกกองทุนประเภทดังกล่าวมาแล้ว และสามารถระดมทุนได้ในระดับที่น่าพอใจ ดังนั้นในส่วนของบริษัทเองจึงเชื่อว่าผู้ถือหน่วยลงทุนจะตอบรับกับนโยบายในการลงทุนครั้งนี้แน่นอน”
สำหรับกองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 2/2 คุ้มครองเงินต้น เป็นกองทุนประเภท กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น โดยบริษัทจัดการจะคุ้มครองเงินต้นตามมูลค่าที่ตราไว้ 10.00 บาทต่อหน่วยให้เฉพาะผู้ถือหน่วยที่ซื้อหน่วยลงทุนในการจองซื้อครั้งแรก และได้ถือหน่วยลงทุนจนครบอายุโครงการ อีกทั้งจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเป็นราย ไตรมาส และเป็นโครงการที่ประสงค์จะดำรงอัตราส่วนการลงทุนตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด
ทั้งนี้กองทุนดังกล่าวมีอายุโครงการประมาณ 2 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม โดยได้รับอนุมัติให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2548 และจดทะเบียนกองทุนรวมเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2549
โดยกองทุนเปิดแมกซ์พันธบัตร 2/2 คุ้มครองเงินต้นได้รายงานถึงเงินลงทุนของกองทุน ณ วันที่ 31 มกราคม 2551 ว่า กองทุนเข้าลงทุนในตราสารภาครัฐไทยและตราสารภาครัฐต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 947,486,248.92 บาท หรือ 82.25% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิกองทุน (NAV) และลงทุนในกลุ่มตราสารที่มธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุน เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้สลักหลัง หรือผู้คำประกันจำนวน 205,193,544.46 บาท
ก่อนหน้านี้ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) นครหลวงไทย และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย เปิดให้บริการ “SCIBS Trading Plus” หรือบริการชำระราคาค่าซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านกองทุนตลาดเงิน (Money Market) ซึ่งบลจ.นครหลวงไทยจะดำเนินการนำเงินที่ได้รับโอนจากการชำระราคาขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนที่เป็นลูกค้าจากบล.นครหลวงไทย ที่ใช้บริการชำระราคาขายหลักทรัพย์ผ่านบัญชีธนาคารอัตโนมัติ (ATS) ของธนาคารนครหลวงไทยไปลงทุนในหน่วยลงทุนผ่านกองทุนตลาดเงิน เพื่อสร้างอัตราผลตอบแทนให้แก่นักลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจสถาบันการเงินแห่งแรกที่เปิดให้บริการหลังจากตลาดหลักทรัพย์ฯ (ตลท.)อนุญาตให้ดำเนินธุรกิจได้
นางสาวอัจฉรา สุทธิศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บลจ. นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า การเปิดให้บริการดังกล่าวจะทำให้มูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหารของกองทุนตลาดเงินของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 ล้านบาท จากยอดเดิม 3,000 พันล้านบาท และคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่อยู่เพียง 0.75% ต่อปี ซึ่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่าอัตราผลตอบแทนในตลาดเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 2.80% ต่อปี
ขณะเดียวกัน ภายในปี 2551 บลจ.นครหลวงไทย มีแผนที่จะออกโปรดักส์ใหม่ๆออกมาเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีการออกกองทุนใหม่ออกมาให้ครบทุกตลาด ทั้งกองทุนตราสารหนี้ กองทุนหุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุน LTF และกองทุน RMF รวมทั้งแนวคิดการจัดตั้งกองทุนหุ้น 100% ด้วย
นอกจากนี้บริษัทมีแผนที่จะรุกตลาดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคลมากขึ้น หลังจากได้รับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจจาก ก.ล.ต. ซึ่งบริษัทจะดำเนินการเพิ่มเจ้าหน้าที่การตลาด เพื่อรองรับการขายกองทุนประเภทใหม่ รวมถึงการทุ่มงบประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้น เพื่อขยายฐานผู้ออมเงินในประเทศ เพื่อผลักดันให้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารทั้งหมด (เอยูเอ็ม) ประมาณ 50,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16,000 บาท จากปี2550 ที่มีอยู่ประมาณ 34,000 ล้านบาท
ส่วนปัจจัยที่จะช่วยผลักดันให้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารของบลจ.นครหลวงไทย อยู่ที่ระดับ 34,000 ล้านบาทได้นั้น มาจากการขยายตัวจากกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งนักลงทุนยังให้ความสนใจสูงสุด เพราะให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอและมีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำ นอกจากนี้การที่บริษัทมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เข้ามาถือหุ้นนั้น ซึ่งนอกจากช่วยให้โครงการด้านการเงินของบริษัทมีศักยภาพมากขึ้นแล้ว บริษัทยังได้ผลประโยชน์ทางด้านอื่นเพิ่มเติม ได้แก่ การสร้างโปรดักส์ใหม่ๆ ออกมารองรับสมาชิก กบข.และจำนวนเงินของสมาชิก กบข. ที่เข้ามาลงทุนกับบริษัท ได้ช่วยขยายฐานเอยูเอ็มให้เติบโตตามเป้าที่กำหนดได้