xs
xsm
sm
md
lg

กองทุนสำรองปี50โกยเงิน5.5หมื่นล้าน กรุงไทยรั้งแชมป์เบอร์หนึ่งเหนียวแน่น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สมาคมฯ เผยปี 2550 เม็ดเงินลงทุนผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งระบบ โตเพิ่มขึ้นเป็น 441,720.26 ล้านบาท ขยายตัวกว่า 55,469.12 ล้านบาท จากปี 2549 โดย"บลจ.กรุงไทย" ครองแชมป์เบอร์หนึ่งเหนียวแน่น เอ็นเอวีรวมอยู่ 71,373.81 ล้านบาท ขณะที่"บลจ.ทิสโก้" ตามมาเป็นอันดับสอง ด้วยเม็ดเงินลงทุน 62,725.88 ล้านบาท ด้าน"เอ็มเอฟซี"โชว์กลยุทธ์เน้นจัดตั้งกองใหม่แบบมีคุณภาพ หลีกเลี่ยงแข่งขันค่าฟี เจาะกลุ่มบริษัทเอกชน

รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (aimc) ระบุว่า ในช่วงปี 2550 ที่ผ่านมา จำนวนเงินกองทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident fund) ทั้งระบบมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุนทั้งระบบอยู่ที่ 441,720.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55,469.12 ล้านบาท เมื่อเทียบเดือนธันวาคม 2549 ที่มีอยู่ 386,251.14 ล้านบาท

สำหรับ 10 อันดับแรกของบริษัทที่มีจำนวนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากที่สุด โดยอันดับที่ 1.ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2550 มีเม็ดเงินลงทุนรวม 71,373.81ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,076.6 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2549 ที่มีเม็ดเงินลงทุนรวม 69,297.21 ล้านบาท , อันดับ 2 คือ บลจ.ทิสโก้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 มีเม็ดเงินลงทุนรวม 62,725.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,709.84 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2549ที่มีจำนวนเงินกองทุน 53,016.04 ล้านบาท

ส่วน อันดับ 3 ได้แก่ บลจ.เอ็มเอฟซี มีเม็ดเงินลงทุนรวม ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 อยู่ที่ 51,742.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 242.67 ล้านบาท จากจำนวนเงินกองทุนช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2549 ที่ 51,499.46 ล้านบาท , อันดับ 4 บลจ.ไทยพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550 มีเม็ดเงินลงทุนรวม 51,739.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้น7,689.8 ล้านบาท จากเดือนสิ้นเดือนธันวาคม 2549 ที่มีเม็ดเงินลงทุนรวม 44,049.88 ล้านบาท , อันดับ 5 บลจ.กสิกรไทย มีเม็ดเงินลงทุนรวม 47,926.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,949.5 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2549 ที่มีเม็ดเงินลงทุนรวม 39,976.62 ล้านบาท

ขณะที่ อันดับ 6 บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) มีเม็ดเงินลงทุนรวม 36,549.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14,231.06 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2549 ที่มีเม็ดเงินลงทุนรวม 22,318.70 ล้านบาท , อันดับ 7 บลจ. บีที มีเม็ดเงินลงทุนรวม 22,397.71 ล้านบาท ติดลบอยู่ที่ 7,852.98 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2549 ที่มีเม็ดเงินลงทุนรวม 30,250.69 ล้านบาท , อันดับ 8 ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีเม็ดเงินลงทุนรวม 22,224.21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,683.75 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคมปี 2549 ที่มีเม็ดเงินลงทุนรวม 12,540.46 ล้านบาท

โดย อันดับ 9 ได้แก่ บริษัท อเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด หรือ AIA มีเม็ดเงินลงทุนรวม 19,825.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,032.2 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2549 ที่มีเม็ดเงินลงทุนรวม 15,793.66 ล้านบาท และอันดับ 10 บลจ. ฟินันซ่า มีเม็ดเงินลงทุนรวม 17,802.27 ล้านบาท ติดลบอยู่ที่ 2,021.2 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2549 ที่มีเม็ดเงินลงทุนรวม 19,823.47 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา บลจ. กรุงไทย มีจำนวนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งสิ้น 32 กองทุน มีจำนวนสมาชิก 112,338 ราย และจำนวนนายจ้าง 216 ราย ขณะที่ บลจ. ทิสโก้ มีจำนวนกองทุน 59 กองทุน จำนวนสมาชิก 352,424 ราย จำนวนนายจ้าง 2,067 ราย และ บลจ. เอ็มเอฟซี มีจำนวนกองทุน 38 กองทุน จำนวนสมาชิก 157,869 ราย จำนวนนายจ้าง 504 ราย

ด้าน บลจ. ไทยพาณิชย์ มีจำนวนกองทุน 40 กองทุน จำนวนสมาชิก 168,208 ราย จำนวนนายจ้าง 698 ราย ขณะที่ บลจ. กสิกรไทย มีจำนวนกองทุน 75 กองทุน จำนวนสมาชิก 266,241 ราย จำนวนนายจ้าง 1,550 ราย และ บลจ. ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) มีจำนวนกองทุน 10 กองทุน จำนวนสมาชิก 19,420 ราย จำนวนนายจ้าง 80 ราย ส่วน บลจ.บีที มีจำนวน 35 กองทุน จำนวนสมาชิก 110,589 ราย จำนวนนายจ้าง 701 ราย

นอกจากนี้ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีจำนวน 39 กองทุน จำนวนสมาชิก 170,018 ราย จำนวนนายจ้าง 697 ราย รวมทั้ง บริษัท อเมริกันอินเตอร์เนชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด มีจำนวน 29 กองทุน จำนวนสมาชิก 113,812 ราย จำนวนนายจ้าง 625 ราย และสุดท้าย บลจ. ฟินันซ่า มีกองทุน 49 กองทุน มีจำนวนสมาชิก 242,699 ราย

นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า สำหรับแผนธุรกิจด้านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปีนี้ บริษัทจะให้ความสำคัญในเรื่องของความเหมาะสม และมีคุณภาพมากขึ้น โดยจะออกกองทุนที่สามารถสร้างผลกำไรมากกว่าขาดทุน เพราะที่ผ่านมาหลาย ๆ บริษัทจัดการลงทุน จะใช้กลยุทธ์ปรับลดค่าธรรมเนียม (ฟี) มาแข่งขันกันเป็นว่าเล่น ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นผลดีแก่ผู้ถือหน่วยแน่นอน แต่ในทางกลับกันผลเสียที่ตามมาคือ ผู้ถือหน่วยอาจจะไม่ได้กองทุนที่ดีและมีคุณภาพ

"ในปีนี้บริษัทจะรุกทำธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในภาคเอกชนมากขึ้น แต่การบริหารจัดการจะไม่เน้นในขนาดกองทุนฯที่ใหญ่ แต่จะเป็นกองทุนฯขนาดเล็ก ๆ ที่มีคุณภาพมากกว่า”นายพิชิตกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น