สรุปภาวะการลงทุนตลาดตราหุ้นปี 2550
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาสที่ 4 สามารถปรับตัวขึ้นได้ตามที่คาดการณ์ไว้ โดยมีจุดสูงสุดของไตรมาสอยู่ที่ 915.03 จุด อย่างไรก็ตาม ปัญหาซับไพร์มซีดีโอ ที่ประทุขึ้นมาตั้งแต่ไตรมาสที่แล้ว ได้ส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุน และการทิศทางการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นทั้งของไทยและของต่างประเทศ ประกอบกับความกังวลในกรณีของ PTT ที่ศาลมีคำพิพากษาในวันที่ 18 ธันวาคม เป็นสาเหตุให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงถึง 123.32 จุดจากจุดสูงสุด โดยทำจุดต่ำสุดของไตรมาสไว้ที่ 791.71 จุด ในวันที่ 20 ธันวาคม อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในเดือนสุดท้ายของไตรมาสได้พลิกฟื้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ดัชนีสามารถปิดไตรมาส และปิดปี 2550 ไว้ที่ 858.10 จุด คิดเป็น +1.49% QoQ และ +26.22 % จากสิ้นปี 2549
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในเดือนตุลาคม 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 61.78 จุด หรือ 7.31% จากราคาปิด ณ สิ้นเดือนกันยายน ที่ 845.50 จุด โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือน ดัชนีสามารถปรับขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง จากแรงหนุนของการปรับตัวขึ้นของตลาดต่างประเทศ และการเข้ามาซื้อหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 17 ตุลาคม หลังจากที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของอินเดีย (SEBI) เสนอแนะให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายที่มีต่อตราสาร Participatory Notes (PN) ทำให้ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีในครึ่งเดือนหลังสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ จากแรงหนุนของราคาน้ำมัน ที่ทำสถิติสูงสุดใหม่ในวันที่ 29 ตุลาคม โดยราคาส่งมอบน้ำมันเดือนธันวาคมในตลาดนิวยอร์ค อยู่สูงถึง 92 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งฉุดให้ราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยดัชนีปิดสิ้นเดือนตุลาคมที่ 907.28 จุด
สำหรับในเดือนพฤศจิกายน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงตลอดทั้งเดือน โดยปรับตัวลดลงถึง 99.7 จุด มาทำจุดต่ำสุดของเดือนไว้ที่ 807.58 จุด ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน ก่อนที่จะดีดตัวกลับขึ้นไปปิดสิ้นเดือนที่ 846.44 จุด คิดเป็นการปรับตัวลดลง 60.84 จุด หรือ 6.71% จากสิ้นเดือนตุลาคม ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีในเดือนนี้นั้น เป็นปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากปัญหาซับไพรม์ ต่อเนื่องมาจากไตรมาสที่แล้ว ข่าวในเชิงลบส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับที่ธนาคารในต่างประเทศหลายธนาคาร จำเป็นต้องตั้งสำรองเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดแรงเทขายหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินออกมาทั่วโลก ซึ่งแรงเทขายนี้ได้กระทบกับตลาดหุ้นไทยเช่นกัน
นอกจากนี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้ออกกฎให้ธนาคารพาณิชย์ทำการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นจากการลงทุนในซีดีโอ ทำให้นักลงทุนทำการเทขายหุ้นกลุ่มธนาคารออกมา เป็นเหตุในการฉุดรั้งดัชนีลงมา อย่างไรก็ตามเมื่อดัชนีแตะแนวรับทางจิตวิทยาที่ 800 จุด แรงซื้อจึงมีเข้ามา และผลักดันให้ดัชนีไปปิดสิ้นเดือนได้ที่ 846.44 จุด
ในเดือนธันวาคม ดัชนีค่อนข้างผันผวนเหมือนเช่นในเดือนที่ผ่านมา โดยมีจุดต่ำสุดของเดือนอยู่ที่ 791.71 จุด และจุดสูงสุดของเดือนที่ 858.10 จุด ในช่วงครึ่งแรกของเดือน ดัชนีอยู่ในช่วงขาลงอันเกิดจากแรงเทขายของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนก่อนที่ผลการตัดสินของศาลที่มีต่อ PTT จะมีขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม และเมื่อผลการตัดสินออกมาว่า PTT จะไม่ถูกปลด ออกจากตลาด (Delist) เพียงแต่จะต้องคืนทรัพย์สินที่เป็นท่อส่งก๊าซคืนให้แก่รัฐ ซึ่งในระหว่างช่วงการตีค่าทรัพย์สินดังกล่าวที่มีผลต่อมูลค่าหุ้น PTT จะออกมา นักลงทุนได้ทยอยขายหุ้น PTT ทำให้ราคาหุ้นได้ปรับตัวไปทำจุดต่ำสุดในระหว่างเดือนที่ 330 บาท ซึ่งแรงเทขายนี้ยังได้แผ่กระจายไปสู่หุ้นอื่นๆในตลาด และได้ฉุดรั้งดัชนีลงมาทำจุดต่ำสุดของเดือนที่ 791.71 จุด
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในช่วงครึ่งหลังของเดือนได้ปรับตัวดีขึ้นเมื่อตลาดได้รับทราบถึงผลกระทบต่อหุ้น PTT ที่แท้จริงว่าจะกระทบต่อมูลค่าหุ้นไม่มากนัก อีกทั้งการเก็งกำไรในช่วงใกล้การเลือกตั้งมีเข้ามา ทำให้ดัชนีฟื้นตัวขึ้น และสามารถปิดในเดือนธันวาคมที่ 858.10 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 11.66 จุดจากเดือนพฤศจิกายน
มุมมองตลาดหลักทรัพย์ในปี 2551
ผลการเลือกตั้งได้ออกมาแล้วว่าพรรคพลังประชาชนได้เสียงข้างมาก และอาจจะเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล อย่างไรก็ตาม หากพรรคพลังประชาชนไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ พรรคประชาธิปัตย์ก็พร้อมที่จะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลเช่นกัน ภายใน 2 อาทิตย์แรกของเดือนมกราคม ความชัดเจนในเรื่องของการจัดตั้งรัฐบาลน่าจะมีมากขึ้น ซึ่งทิสโก้เชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นพรรคพลังประชาชน หรือพรรคประชาธิปัตย์จะเข้ามาเป็นพรรคหลักในการบริหารประเทศ น่าจะเป็นที่ยอมรับได้ ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายหลักๆของสองพรรคนี้มีจุดมุ่งหมายเหมือนกันที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกด้าน คือทั้งในด้านการบริโภค การลงทุน และการสร้างความเชื่อมั่นต่อต่างประเทศ และเชื่อว่า GDP ของประเทศในปีนี้จะขยายตัว 4.8% ดีขึ้นจากปี 2550 ที่คาดว่า GDP จะขยายตัวที่ 4.5%
โดยที่การฟื้นตัวของการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศจะเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ เราคาดว่า ด้วยมูลค่า (Valuation) ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ที่ยังคงซื้อขายที่ P/E ต่ำกว่าตลาดอื่นในภูมิภาคเดียวกัน Dividend Yield ของตลาดหุ้นไทยที่ 4.2% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย Dividend Yield ของตลาดหุ้นในแถบ Asia ที่ 2.3% รวมทั้งมุมมองทางเศรษฐกิจที่มีทิศทางในเชิงบวกมากขึ้น จะทำให้ SET Index ในปีนี้ ยังคงอยู่ในแดนบวกต่อไป โดยมีเป้าหมายสำหรับดัชนีในปีนี้ที่ 1000 จุด หรือคิดเป็นการเติบโต 16.54% จากระดับดัชนีปิดในปี 2550
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน ทิสโก้ยังคงเน้นในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เช่นหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ อสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มพลังงานซึ่งยังคงมีปัจจัยบวกสนับสนุนจากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม การลงทุนในปีนี้เชื่อว่า น่าจะมีความผันผวนอยู่บ้างพอสมควรเนื่องจาก นโยบายต่างๆที่รัฐบาลใหม่จะออกมานั้น ยังคงต้องใช้เวลาที่จะเห็นผลที่ชัดเจน รวมทั้งปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกา ที่ยังคงเรื้อรังต่อเนื่องมาในปีนี้ การลงทุนจึงควรเป็นไปอย่างระมัดระวัง
สรุปภาวะการลงทุนตลาดตราสารหนี้ปี 2550
สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คงดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.25 เนื่องจากแรงกดดันจากปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เงินเฟ้อเริ่มขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.20 ในเดือนธันวาคม 2550 ทั้งนี้ตลาดได้มีการคาดหมายว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นได้ปรับลดลงมาถึงระดับต่ำสุดแล้ว ประกอบกับตลาดคาดว่าจะมีปริมาณพันธบัตรที่ออกใหม่ค่อนข้างมากเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปี 2551 และเพื่อทดแทนหนี้ระยะสั้นของกองทุนฟื้นฟูฯ ทำให้นักลงทุนสถาบันปรับลดน้ำหนักการลงทุน และมีการขายทำกำไรในพันธบัตรรัฐบาลเป็นอย่างมากในช่วงต้นไตรมาส 4 ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในทุก ๆ ช่วงอายุ อย่างไรก็ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเริ่มทรงตัวและปรับลดระดับลงอีกครั้ง หลังจากที่ปรับตัวขึ้นไปที่ระดับสูงสุดในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้เนื่องจากกระแสการปรับลดดอกเบี้ยในสหรัฐเพื่อบรรเทาปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ ประกอบกับตลาดคาดหมายว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว โดยส่วนใหญ่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างเร็วในช่วงปลายปี 2551
ณ สิ้นไตรมาส ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลปิดที่ระดับ 166.99 โดยปรับตัวลดลงประมาณ 0.16% เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นไตรมาส 3 ขณะที่ดัชนีหุ้นกู้เอกชนยังคงปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 0.10% โดยปิดที่ระดับ 143.35 จุด
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ทิสโก้คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีโอกาสที่จะปรับลดระดับลง โดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาว เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นมาค่อนข้างมากแล้ว เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่มีแนวโน้มจะทรงตัวตลอดปี 2008 อีกทั้งดอกเบี้ยโลก โดยเฉพาะดอกเบี้ยในสหรัฐ มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน ทำให้คาดว่านักลงทุนสถาบันจะเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางถึงยาวในช่วงต้นปี 2551
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2551 ทิสโก้ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรระยะปานกลางถึงยาว เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น ประกอบกับคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากการที่ราคาพันธบัตรมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลง) อย่างไรก็ตาม จะยังคงเน้นการลงทุนในพันธบัตรที่มีสภาพคล่องสูง ทั้งนี้เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนได้ง่าย สำหรับการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน ทิสโก้จะเน้นการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนอายุประมาณ 1-3 ปี ที่มี credit rating ที่ดี โดยเน้นระดับ A- ขึ้นไป
ที่มา : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาสที่ 4 สามารถปรับตัวขึ้นได้ตามที่คาดการณ์ไว้ โดยมีจุดสูงสุดของไตรมาสอยู่ที่ 915.03 จุด อย่างไรก็ตาม ปัญหาซับไพร์มซีดีโอ ที่ประทุขึ้นมาตั้งแต่ไตรมาสที่แล้ว ได้ส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุน และการทิศทางการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นทั้งของไทยและของต่างประเทศ ประกอบกับความกังวลในกรณีของ PTT ที่ศาลมีคำพิพากษาในวันที่ 18 ธันวาคม เป็นสาเหตุให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงถึง 123.32 จุดจากจุดสูงสุด โดยทำจุดต่ำสุดของไตรมาสไว้ที่ 791.71 จุด ในวันที่ 20 ธันวาคม อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในเดือนสุดท้ายของไตรมาสได้พลิกฟื้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ดัชนีสามารถปิดไตรมาส และปิดปี 2550 ไว้ที่ 858.10 จุด คิดเป็น +1.49% QoQ และ +26.22 % จากสิ้นปี 2549
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในเดือนตุลาคม 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 61.78 จุด หรือ 7.31% จากราคาปิด ณ สิ้นเดือนกันยายน ที่ 845.50 จุด โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือน ดัชนีสามารถปรับขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง จากแรงหนุนของการปรับตัวขึ้นของตลาดต่างประเทศ และการเข้ามาซื้อหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 17 ตุลาคม หลังจากที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของอินเดีย (SEBI) เสนอแนะให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายที่มีต่อตราสาร Participatory Notes (PN) ทำให้ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีในครึ่งเดือนหลังสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ จากแรงหนุนของราคาน้ำมัน ที่ทำสถิติสูงสุดใหม่ในวันที่ 29 ตุลาคม โดยราคาส่งมอบน้ำมันเดือนธันวาคมในตลาดนิวยอร์ค อยู่สูงถึง 92 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งฉุดให้ราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยดัชนีปิดสิ้นเดือนตุลาคมที่ 907.28 จุด
สำหรับในเดือนพฤศจิกายน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงตลอดทั้งเดือน โดยปรับตัวลดลงถึง 99.7 จุด มาทำจุดต่ำสุดของเดือนไว้ที่ 807.58 จุด ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน ก่อนที่จะดีดตัวกลับขึ้นไปปิดสิ้นเดือนที่ 846.44 จุด คิดเป็นการปรับตัวลดลง 60.84 จุด หรือ 6.71% จากสิ้นเดือนตุลาคม ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีในเดือนนี้นั้น เป็นปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากปัญหาซับไพรม์ ต่อเนื่องมาจากไตรมาสที่แล้ว ข่าวในเชิงลบส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับที่ธนาคารในต่างประเทศหลายธนาคาร จำเป็นต้องตั้งสำรองเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดแรงเทขายหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินออกมาทั่วโลก ซึ่งแรงเทขายนี้ได้กระทบกับตลาดหุ้นไทยเช่นกัน
นอกจากนี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้ออกกฎให้ธนาคารพาณิชย์ทำการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นจากการลงทุนในซีดีโอ ทำให้นักลงทุนทำการเทขายหุ้นกลุ่มธนาคารออกมา เป็นเหตุในการฉุดรั้งดัชนีลงมา อย่างไรก็ตามเมื่อดัชนีแตะแนวรับทางจิตวิทยาที่ 800 จุด แรงซื้อจึงมีเข้ามา และผลักดันให้ดัชนีไปปิดสิ้นเดือนได้ที่ 846.44 จุด
ในเดือนธันวาคม ดัชนีค่อนข้างผันผวนเหมือนเช่นในเดือนที่ผ่านมา โดยมีจุดต่ำสุดของเดือนอยู่ที่ 791.71 จุด และจุดสูงสุดของเดือนที่ 858.10 จุด ในช่วงครึ่งแรกของเดือน ดัชนีอยู่ในช่วงขาลงอันเกิดจากแรงเทขายของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนก่อนที่ผลการตัดสินของศาลที่มีต่อ PTT จะมีขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม และเมื่อผลการตัดสินออกมาว่า PTT จะไม่ถูกปลด ออกจากตลาด (Delist) เพียงแต่จะต้องคืนทรัพย์สินที่เป็นท่อส่งก๊าซคืนให้แก่รัฐ ซึ่งในระหว่างช่วงการตีค่าทรัพย์สินดังกล่าวที่มีผลต่อมูลค่าหุ้น PTT จะออกมา นักลงทุนได้ทยอยขายหุ้น PTT ทำให้ราคาหุ้นได้ปรับตัวไปทำจุดต่ำสุดในระหว่างเดือนที่ 330 บาท ซึ่งแรงเทขายนี้ยังได้แผ่กระจายไปสู่หุ้นอื่นๆในตลาด และได้ฉุดรั้งดัชนีลงมาทำจุดต่ำสุดของเดือนที่ 791.71 จุด
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในช่วงครึ่งหลังของเดือนได้ปรับตัวดีขึ้นเมื่อตลาดได้รับทราบถึงผลกระทบต่อหุ้น PTT ที่แท้จริงว่าจะกระทบต่อมูลค่าหุ้นไม่มากนัก อีกทั้งการเก็งกำไรในช่วงใกล้การเลือกตั้งมีเข้ามา ทำให้ดัชนีฟื้นตัวขึ้น และสามารถปิดในเดือนธันวาคมที่ 858.10 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 11.66 จุดจากเดือนพฤศจิกายน
มุมมองตลาดหลักทรัพย์ในปี 2551
ผลการเลือกตั้งได้ออกมาแล้วว่าพรรคพลังประชาชนได้เสียงข้างมาก และอาจจะเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล อย่างไรก็ตาม หากพรรคพลังประชาชนไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ พรรคประชาธิปัตย์ก็พร้อมที่จะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลเช่นกัน ภายใน 2 อาทิตย์แรกของเดือนมกราคม ความชัดเจนในเรื่องของการจัดตั้งรัฐบาลน่าจะมีมากขึ้น ซึ่งทิสโก้เชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นพรรคพลังประชาชน หรือพรรคประชาธิปัตย์จะเข้ามาเป็นพรรคหลักในการบริหารประเทศ น่าจะเป็นที่ยอมรับได้ ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายหลักๆของสองพรรคนี้มีจุดมุ่งหมายเหมือนกันที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกด้าน คือทั้งในด้านการบริโภค การลงทุน และการสร้างความเชื่อมั่นต่อต่างประเทศ และเชื่อว่า GDP ของประเทศในปีนี้จะขยายตัว 4.8% ดีขึ้นจากปี 2550 ที่คาดว่า GDP จะขยายตัวที่ 4.5%
โดยที่การฟื้นตัวของการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศจะเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ เราคาดว่า ด้วยมูลค่า (Valuation) ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ที่ยังคงซื้อขายที่ P/E ต่ำกว่าตลาดอื่นในภูมิภาคเดียวกัน Dividend Yield ของตลาดหุ้นไทยที่ 4.2% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย Dividend Yield ของตลาดหุ้นในแถบ Asia ที่ 2.3% รวมทั้งมุมมองทางเศรษฐกิจที่มีทิศทางในเชิงบวกมากขึ้น จะทำให้ SET Index ในปีนี้ ยังคงอยู่ในแดนบวกต่อไป โดยมีเป้าหมายสำหรับดัชนีในปีนี้ที่ 1000 จุด หรือคิดเป็นการเติบโต 16.54% จากระดับดัชนีปิดในปี 2550
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน ทิสโก้ยังคงเน้นในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีที่จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เช่นหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ อสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มพลังงานซึ่งยังคงมีปัจจัยบวกสนับสนุนจากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม การลงทุนในปีนี้เชื่อว่า น่าจะมีความผันผวนอยู่บ้างพอสมควรเนื่องจาก นโยบายต่างๆที่รัฐบาลใหม่จะออกมานั้น ยังคงต้องใช้เวลาที่จะเห็นผลที่ชัดเจน รวมทั้งปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกา ที่ยังคงเรื้อรังต่อเนื่องมาในปีนี้ การลงทุนจึงควรเป็นไปอย่างระมัดระวัง
สรุปภาวะการลงทุนตลาดตราสารหนี้ปี 2550
สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คงดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.25 เนื่องจากแรงกดดันจากปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เงินเฟ้อเริ่มขยับขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.20 ในเดือนธันวาคม 2550 ทั้งนี้ตลาดได้มีการคาดหมายว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นได้ปรับลดลงมาถึงระดับต่ำสุดแล้ว ประกอบกับตลาดคาดว่าจะมีปริมาณพันธบัตรที่ออกใหม่ค่อนข้างมากเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในปี 2551 และเพื่อทดแทนหนี้ระยะสั้นของกองทุนฟื้นฟูฯ ทำให้นักลงทุนสถาบันปรับลดน้ำหนักการลงทุน และมีการขายทำกำไรในพันธบัตรรัฐบาลเป็นอย่างมากในช่วงต้นไตรมาส 4 ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในทุก ๆ ช่วงอายุ อย่างไรก็ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเริ่มทรงตัวและปรับลดระดับลงอีกครั้ง หลังจากที่ปรับตัวขึ้นไปที่ระดับสูงสุดในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้เนื่องจากกระแสการปรับลดดอกเบี้ยในสหรัฐเพื่อบรรเทาปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ ประกอบกับตลาดคาดหมายว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว โดยส่วนใหญ่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างเร็วในช่วงปลายปี 2551
ณ สิ้นไตรมาส ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลปิดที่ระดับ 166.99 โดยปรับตัวลดลงประมาณ 0.16% เมื่อเทียบกับช่วงสิ้นไตรมาส 3 ขณะที่ดัชนีหุ้นกู้เอกชนยังคงปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 0.10% โดยปิดที่ระดับ 143.35 จุด
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ทิสโก้คาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีโอกาสที่จะปรับลดระดับลง โดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาว เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวสูงขึ้นมาค่อนข้างมากแล้ว เมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่มีแนวโน้มจะทรงตัวตลอดปี 2008 อีกทั้งดอกเบี้ยโลก โดยเฉพาะดอกเบี้ยในสหรัฐ มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน ทำให้คาดว่านักลงทุนสถาบันจะเริ่มกลับเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางถึงยาวในช่วงต้นปี 2551
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2551 ทิสโก้ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนในพันธบัตรระยะปานกลางถึงยาว เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรระยะสั้น ประกอบกับคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากการที่ราคาพันธบัตรมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวลดลง) อย่างไรก็ตาม จะยังคงเน้นการลงทุนในพันธบัตรที่มีสภาพคล่องสูง ทั้งนี้เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนได้ง่าย สำหรับการลงทุนในหุ้นกู้เอกชน ทิสโก้จะเน้นการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนอายุประมาณ 1-3 ปี ที่มี credit rating ที่ดี โดยเน้นระดับ A- ขึ้นไป
ที่มา : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด