กองทุนรวมปีหมูไฟรับเงินไหลเข้ากว่า 3.86 แสนล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัว 37% จากปีก่อน โดยเอฟไอเอฟมาแรงสุด ปีเดียวโกยเงินเข้าเฉียด 2 แสนล้าน ด้าน "ไทยพาณิชย์" ยังรั้งแชมป์เบอร์หนึ่งต่อเนื่อง แถมเอยูเอ็มทะยานแตะ 3 แสนล้านบาท ตามมาด้วย "กสิกรไทย" ที่เร่งเครื่องดันเอยูเอ็มผ่าน 2 แสนล้านหวดก้นผู้นำตลาด
รายงานข่าวเปิดเผยว่า ธุรกิจกองทุนรวมในปี 2550 ที่ผ่านมา เติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากปีก่อนหน้านี้ โดยสิ้นสุดเดือนธันวาคม มีเงินลงทุนทั้งระบบรวมทั้งสิ้น 1.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 386,148.67 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 1.04 ล้านบาทในเดือนธันวาคมของปี 2549 ซึ่งเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวคิดเป็นอัตราการเติบโตรวม 37.11%
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนในกองทุนรวมปีที่ผ่านมา หลักๆ มาจากเงินลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ทั้งที่ลงทุนในประเทศและต่างประเทศ โดยปัจจัยที่สำให้กองทุนประเภทนี้ได้รับความสนใจผู้ลงทุนค่อนข้างสูง เนื่องจากสามารถให้ผลตอบแทนได้สูงกว่าเงินฝากภายใต้ความเสี่ยงที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศลงอย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ในระดับต่ำสุดในปัจจุบัน โดยในเดือนธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา กองทุนตราสารหนี้ทั้งระบบ มีจำนวนเงินลงทุนรวม 950,806.28 ล้านบาท
สำหรับกองทุนหุ้น ในช่วงต้นปีที่แล้วถือเป็นปีที่นักลงทุนหันมาสนใจลงทุนในกองทุนประเภทนี้มากขึ้น เนื่องจากผลตอบแทนจากการลงทุนในปีนี้ค่อนข้างสูงจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวขึ้นไปถึงระดับ 920 จุด แต่จากปัญหาซับไพรม์ และราคาม้ำมันที่กระทบต่อการลงทุนทั่วโลกในช่วงครึ่งปีหลัง ส่งผลให้นักลงทุนชะลอการลงทุนไปบ้าง โดยสิ้นเดือนธันวาคมมีเงินลงทุนในกองทุนหุ้นรวมทั้งหมด 132,072.65 ล้านบาท
ส่วนการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ (FIF) ในปี 2550 ถือเป็นกองทุนที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างล้นหลาม ทั้งกองทุนที่ลงทุนในหุ้นและกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นอายุ 3 เดือนและ 6 เดือน โดยเงินลงทุนในกองทุนประเภทนี้ขยายตัวอย่างกล้าวกระโดด จากจำนวนเงินรวม 28,880.75 ล้านบาทในเดือนธันวาคม 2549 เป็น 209,274.05 ล้านบาทในเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นเงินลงทุนใหม่ประมาณ 180,393.30 ล้านบาทหรือคิดเป็นการเติบโตในอัตรา 624.61% ทั้งนี้ จากการขยายตัวดังกล่าว คาดการณ์ว่าจะต่อเนื่องมาถึงปีนี้ เพราะปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยในประเทศเองยังไม่มีสัญญาณการปรับขึ้นแต่อย่างใด ขณะที่การลงทุนในตลาดหุ้นเองก็เป็นทางเลือกในการกระจายความเสี่ยงอีกช่องทาง
ด้านกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดบในปี 2550 กองทุนแอลทีเอฟมีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 49,408.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 24,221.63ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 25,186.42 ล้านบาทในเดือนธันวาคมปีก่อนหน้า ส่วนกองทุนอาร์เอ็มเอฟ มีเงินลงทุนรวม 38,016.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 12,541.62 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 25,475.23 ล้านบาทในช่วงสิ้นปี 2549
รายงานข่าวกล่าวว่า สำหรับบริษัทจัดการกองทุน (บลจ.) ที่มีส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) เป็นอันดับต้นๆ 5 อันดับแรกยังคงเป็นบลจ.ภายใต้เครือข่ายธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ โดยบลจ.ไทยพาณิชย์ ยังคงรั้งแชมป์บลจ.ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) สูงที่สุด โดยสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2550 มีจำนวนเงินลงทุนรวม 301,494.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 130,826.59 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวม 170,667.83 ล้านบาทในเดือนธันวาคม 2549
อันดับ 2 ยังคงเป็นบลจ.กสิกรไทยเช่นกัน โดยมีเงินลงทุนรวม 231,879.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 65,919.15 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวม 165,959.97 ล้านบาท อันดับ 3 บลจ.ทหารไทย ด้วยเงินลงทุนรวม 138,358.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37,756.72 ล้านบาทจากเงินลงทุน 100,601.78 ล้านบาท
อันดับ 4 บลจ.บัวหลวง มีเงินลงทุนรวม 136,092.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 35,154.73 ล้านบาท 100,938.11 ล้านบาท และอันดับ 5 บลจ.กรุงไทย มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 119,107.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 18,884.60 ล้านบาทจากจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งหมดในเดือนธันวาคมปีก่อนหน้า 100,222.92 ล้านบาท
รายงานข่าวเปิดเผยว่า ธุรกิจกองทุนรวมในปี 2550 ที่ผ่านมา เติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากปีก่อนหน้านี้ โดยสิ้นสุดเดือนธันวาคม มีเงินลงทุนทั้งระบบรวมทั้งสิ้น 1.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 386,148.67 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 1.04 ล้านบาทในเดือนธันวาคมของปี 2549 ซึ่งเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวคิดเป็นอัตราการเติบโตรวม 37.11%
ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนในกองทุนรวมปีที่ผ่านมา หลักๆ มาจากเงินลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ทั้งที่ลงทุนในประเทศและต่างประเทศ โดยปัจจัยที่สำให้กองทุนประเภทนี้ได้รับความสนใจผู้ลงทุนค่อนข้างสูง เนื่องจากสามารถให้ผลตอบแทนได้สูงกว่าเงินฝากภายใต้ความเสี่ยงที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในประเทศลงอย่างต่อเนื่องจนมาอยู่ในระดับต่ำสุดในปัจจุบัน โดยในเดือนธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา กองทุนตราสารหนี้ทั้งระบบ มีจำนวนเงินลงทุนรวม 950,806.28 ล้านบาท
สำหรับกองทุนหุ้น ในช่วงต้นปีที่แล้วถือเป็นปีที่นักลงทุนหันมาสนใจลงทุนในกองทุนประเภทนี้มากขึ้น เนื่องจากผลตอบแทนจากการลงทุนในปีนี้ค่อนข้างสูงจากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวขึ้นไปถึงระดับ 920 จุด แต่จากปัญหาซับไพรม์ และราคาม้ำมันที่กระทบต่อการลงทุนทั่วโลกในช่วงครึ่งปีหลัง ส่งผลให้นักลงทุนชะลอการลงทุนไปบ้าง โดยสิ้นเดือนธันวาคมมีเงินลงทุนในกองทุนหุ้นรวมทั้งหมด 132,072.65 ล้านบาท
ส่วนการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ (FIF) ในปี 2550 ถือเป็นกองทุนที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างล้นหลาม ทั้งกองทุนที่ลงทุนในหุ้นและกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นอายุ 3 เดือนและ 6 เดือน โดยเงินลงทุนในกองทุนประเภทนี้ขยายตัวอย่างกล้าวกระโดด จากจำนวนเงินรวม 28,880.75 ล้านบาทในเดือนธันวาคม 2549 เป็น 209,274.05 ล้านบาทในเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นเงินลงทุนใหม่ประมาณ 180,393.30 ล้านบาทหรือคิดเป็นการเติบโตในอัตรา 624.61% ทั้งนี้ จากการขยายตัวดังกล่าว คาดการณ์ว่าจะต่อเนื่องมาถึงปีนี้ เพราะปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยในประเทศเองยังไม่มีสัญญาณการปรับขึ้นแต่อย่างใด ขณะที่การลงทุนในตลาดหุ้นเองก็เป็นทางเลือกในการกระจายความเสี่ยงอีกช่องทาง
ด้านกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดบในปี 2550 กองทุนแอลทีเอฟมีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 49,408.05 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 24,221.63ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 25,186.42 ล้านบาทในเดือนธันวาคมปีก่อนหน้า ส่วนกองทุนอาร์เอ็มเอฟ มีเงินลงทุนรวม 38,016.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 12,541.62 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 25,475.23 ล้านบาทในช่วงสิ้นปี 2549
รายงานข่าวกล่าวว่า สำหรับบริษัทจัดการกองทุน (บลจ.) ที่มีส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) เป็นอันดับต้นๆ 5 อันดับแรกยังคงเป็นบลจ.ภายใต้เครือข่ายธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ โดยบลจ.ไทยพาณิชย์ ยังคงรั้งแชมป์บลจ.ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) สูงที่สุด โดยสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2550 มีจำนวนเงินลงทุนรวม 301,494.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 130,826.59 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวม 170,667.83 ล้านบาทในเดือนธันวาคม 2549
อันดับ 2 ยังคงเป็นบลจ.กสิกรไทยเช่นกัน โดยมีเงินลงทุนรวม 231,879.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 65,919.15 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวม 165,959.97 ล้านบาท อันดับ 3 บลจ.ทหารไทย ด้วยเงินลงทุนรวม 138,358.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37,756.72 ล้านบาทจากเงินลงทุน 100,601.78 ล้านบาท
อันดับ 4 บลจ.บัวหลวง มีเงินลงทุนรวม 136,092.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 35,154.73 ล้านบาท 100,938.11 ล้านบาท และอันดับ 5 บลจ.กรุงไทย มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 119,107.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 18,884.60 ล้านบาทจากจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งหมดในเดือนธันวาคมปีก่อนหน้า 100,222.92 ล้านบาท