ชื่อของรถในตระกูล AMG มีอายุอานามครบรอบ 55 ปี ในปีนี้ ถือว่าเป็นรหัสตัวแรงของ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่ต่อยอดนำเอาเทคโนโลยีจากสนามแข่งมาใช้งานกับรถรุ่นต่างๆ ของแบรนด์แห่งดวงดาวจากเมืองสตุทการ์ด ซึ่งความนิยมใน AMG ทำให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ ได้ตั้งแผนกพิเศษแยกส่วนออกมาเพื่อพัฒนารถ AMG โดยเฉพาะ และได้มีการตั้งแบรนด์ใหม่ในชื่อ Mercedes-AMG ทำตลาดควบคู่ไปกับแบรนด์หลัก Mercedes-Benz
ซึ่ง AMG ทุกคันจะมีความพิเศษคือ One Man, One Engine หรือวิศวกรหนึ่งคนจะประกอบเครื่องยนต์หนึ่งตัวสำหรับรถคันนั้นๆ โดยจะมีลายเซ็นเฉพาะของวิศวกรคนนั้นๆ กำกับอยู่ที่เครื่องยนต์ด้วย และทุกคันจะประกอบจากโรงงานที่เยอรมนี จนกระทั่งในปี 2561 ประเทศไทยกลายเป็นประเทศแรกในโลก ที่มีโรงงานประกอบรถยนต์ AMG นอกเยอรมนี และมีการทำตลาดรถ AMG ต่อเนื่องหลากหลายโมเดล
สำหรับในปี 2565 เป็นปีที่ครบรอบ 55 ปีของการถือกำเนิด AMG ซึ่งเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมทดลองขับรถยนต์รุ่นต่างๆ ของ AMG ที่ทำตลาดในไทยภายใต้ชื่อ Mercedes-Benz Driving Events 2022 ขึ้นที่สนามช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต ซึ่งทีมงาน เอ็มจีอาร์ มอเตอริ่ง ไม่พลาดการเข้าร่วมทดลองขับ เพื่อเฟ้นหารถ AMG ในดวงใจของเรา
การทดลองขับจะแบ่งเป็น 4 สถานีหลัก และจบท้ายด้วยการให้ทดลองขับแบบเต็มสนามโดยได้ขับคนละ 2 รอบสนามซึ่งถือว่า มีเพียงไม่กี่แบรนด์เท่านั้นที่อนุญาตให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ขับเต็มรอบสนามเช่นนี้ (ชมคลิปประกอบด้านล่างสุด)
กดมิดหาอัตราเร่ง
จุดแรกเราถูกวางให้มาทดสอบหาอัตราเร่งโดยรถที่นำมาใช้เป็นรุ่น GLA35 ซึ่งจะมี Launch Mode สามารถออกตัวแบบพุ่งทะยานได้ โดยเข้าโหมดสปอร์ตหรือสปอร์ตพลัสแล้วเหยียบเบรกให้ลึกที่สุด ตามด้วยกดคันเร่งให้สุดเท้า ระบบจะทำงาน รอบเครื่องยนต์จะค้างอยู่ในระดับสูง ปล่อยคันเร่งรถจะพุ่งทันทีแบบหลังติดเบาะ แต่ไม่ใช่จะระบบจะทำงานทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ต้องจับจังหวะให้ดีๆ รวมถึงตัวเครื่องยนต์ต้องมีความพร้อมด้วย
เราได้ลองหลายครั้งจนมั่นใจแม้ว่าเครื่องยนต์จะมีขนาดเล็กที่สุดในบรรดา AMG ด้วยกัน แต่ GLA35 ยังให้ความสนุกสนานและความแรงตามสายพันธ์ไม่เสียชื่อของ AMG แม้แต่น้อย โดยเฉพาะจังหวะเบรกเมื่อสุดทางกดหนักเอาอยู่อย่างมั่นใจ เรียกว่าเหยียบจนมีกลิ่นไหม้ของยางก็ยังไหวอยู่ (เราได้ขับเป็นชุดแรก ส่วนชุดสุดท้ายจะยังได้ความรู้สึกแบบเราอยู่หรือไม่ มิอาจทราบคำตอบได้)
เบรก-หักหลบฉุกเฉิน
เป็นอีกหนึ่งสถานีที่เราชื่นชอบเป็นพิเศษ เพราะนี่คือการจำลองสถานการณ์จริงหากต้องเจอเหตุฉุกเฉินบนท้องถนน ไม่ว่าจะสุนัขตัดหน้าหรือจักรยานยนต์ออกจากซอย ด้วยสัญชาตญาณเรามักจะหักหลบแบบทันทีเอาไว้ก่อนเสมอ ฉะนั้นเราจะได้เห็นการทรงตัวและการควบคุมพวงมาลัยว่ามีความปลอดภัยเพียงใด
รอบแรกเป็นการทดลองระบบเบรกให้ดูระยะการเบรก ด้วยความเร็ว 50 กม./ชม. รถหยุดได้ในระยะเพียงไม่ถึง 15 เมตร ต่อมาเพิ่มความเร็วเป็น 100 กม./ชม. ระยะเบรกทะลุไปกว่า 50 เมตร ยิ่งเร็วมากระยะเบรกยิ่งมากเป็นทวีคูณ จากนั้นให้ลองเบรกแล้วหักหลบด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม.
เราได้ขับคันแรกเป็นรุ่น C43 ตัวประกอบในประเทศ ขับมาด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. ตามที่กำหนด การหักหลบเป็นไปอย่างนุ่มนวลควบคุมได้อย่างอุ่นใจ รอบสองเราเปลี่ยนไปขับ E200 (คันนี้ไม่ใช่ AMG) ยอมรับว่ากะความเร็วพลาดไปหน่อยพุ่งมาถึงจุดหักหลบที่ความเร็วเกิน 100 กม./ชม. หักไม่พ้นชนกรวยเข้าไปอย่างจัง มิใช่รถไม่ดีแต่คุณมิอาจฝืนหลักฟิสิกส์ได้ หากมาเร็วเกินไม่ว่าอย่างไรก็ต้องยอมสารภาพบาป โดยคนอื่นที่ขับคันเดียวกันก่อนหน้าเรา ขับผ่านฉลุย
เข้าโค้งเต็มสปีด
ทีมงานเลือกให้ลองขับเข้าโค้งที่ โค้ง 7-11 ของสนามช้าง ซึ่งเป็นโค้งหลอกตา บางจุดสามารถทำความเร็วได้แต่บางจุดต้องชะลอมิฉะนั้นอาจจะหลุดโค้งไปได้ รถที่เราได้ลองในสถานีนี้ มีหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น CLS53 , GLC43 Coupe, GLE53 และ GLA35
สำหรับรถที่ขับแล้วประทับใจเราที่สุดในสถานีเข้าโค้งคือ CLS53 ทั้งความแรงและการเกาะถนนที่ถูกต้องตรงจริตเราที่สุด เข้าได้อย่างมั่นใจทุกโค้ง ทั้งอัตราเร่งที่สอดรับกับจังหวะกดคันเร่งหนักเพื่อต้องการกำลัง CLS53 คือดีงามและมีอาการโยนตัวน้อย ส่วนหนึ่งมาจากลักษณะของตัวรถที่เป็นซีดานเมื่อเทียบการขับกับรุ่นอื่นๆ ที่เป็นเอสยูวี อาการโคลงตัวย่อมมีมากกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย
สลาลมวัดฝืมือ
สถานีสลาลมความสนุกสนานของจุดนี้คือ การควบคุมรถแบบภาพรวมเพื่อให้ได้ความไวในการขับขี่มากที่สุด โดยมีเวลาเป็นตัวชี้วัดฝืมือของแต่ละคน เพื่อเอาไว้ขิงกันเล่นๆ โดยรถที่เราได้ใช้งานในรอบซ้อมเป็นรุ่น GLB และ GLA200 ส่วนรุ่นที่ใช้ในรอบจริงคือ A200
ทั้ง 3 รุ่นที่เราได้ลองขับ ควบคุมง่าย พวงมาลัยแม่นยำ เข้าโค้งเกาะถนนดี ช่วงล่างของ A200 จะทรงตัวดีกว่า GLA และ GLB รวมถึงอัตราเร่งที่พุ่งทันใจมากกว่า โดยภาพรวมยังยืนยันคำเดิมตั้งแต่เมื่อครั้งได้ลองขับ A200 ครั้งแรกว่าเป็นรถที่สมรรถนะดีเกินข้อมูลบนโบว์ชัวร์
อัดเต็มรอบสนาม
เราเดินมาช้าที่สุดทำให้เหลือรถให้ขับเป็น GLA200 ที่ต้องยอมรับว่า สมรรถนะในการขับขี่ดูจะเป็นรองทุกคันที่มาในทริปนี้ทั้งหมด แถมต้องขับไล่ตาม A200 ฉะนั้นแม้เครื่องยนต์จะมีพิกัดเท่ากันคือ 1.3 ลิตร กำลังสูงสุด 163 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 250 นิวตันเมตร แต่ด้วยรูปทรงและการปรับจูนทำให้ GLA200 ไม่มีทางไล่ตาม A200 ได้ทันอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม สุดท้ายสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมทดลองขับแบบหลากหลายรุ่นเช่นนี้ ช่วยให้การตัดสินใจง่ายขึ้นว่าจะเลือกคบหารถรุ่นใด หากเป็นการใช้งานปกติทั่วไป ผู้เขียนเลือก GLA200 แม้ A200 จะให้ความรู้สึกเมื่อขับในสนามที่ดีกว่า แต่ในชีวิตจริง กลับกลายเป็น GLA200 เหมาะลักษณะการใช้งานของเรามากกว่า
สุดท้ายถ้าให้เลือกจริงๆ 1 คันภายใต้แบรนด์ AMG คำตอบของผู้เขียนคือ GLA35 เพราะอยู่ในระดับราคาที่จับต้องได้ง่ายมีอรรถประโยชน์ตรงกับการใช้งาน ปัจจุบัน GLA35 ราคา 3,310,000 บาท และในอนาคตจะกลายเป็น Rare Item อย่างแน่นอน เพราะแว่วข่าวว่าอาจจะหยุดการผลิตเวอร์ชันประกอบในประเทศไทย ฉะนั้นถ้าเล็งอยู่ อย่ารอ เดี๋ยวจะหาว่าไม่บอกกัน
ซึ่ง AMG ทุกคันจะมีความพิเศษคือ One Man, One Engine หรือวิศวกรหนึ่งคนจะประกอบเครื่องยนต์หนึ่งตัวสำหรับรถคันนั้นๆ โดยจะมีลายเซ็นเฉพาะของวิศวกรคนนั้นๆ กำกับอยู่ที่เครื่องยนต์ด้วย และทุกคันจะประกอบจากโรงงานที่เยอรมนี จนกระทั่งในปี 2561 ประเทศไทยกลายเป็นประเทศแรกในโลก ที่มีโรงงานประกอบรถยนต์ AMG นอกเยอรมนี และมีการทำตลาดรถ AMG ต่อเนื่องหลากหลายโมเดล
สำหรับในปี 2565 เป็นปีที่ครบรอบ 55 ปีของการถือกำเนิด AMG ซึ่งเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมทดลองขับรถยนต์รุ่นต่างๆ ของ AMG ที่ทำตลาดในไทยภายใต้ชื่อ Mercedes-Benz Driving Events 2022 ขึ้นที่สนามช้าง อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต ซึ่งทีมงาน เอ็มจีอาร์ มอเตอริ่ง ไม่พลาดการเข้าร่วมทดลองขับ เพื่อเฟ้นหารถ AMG ในดวงใจของเรา
การทดลองขับจะแบ่งเป็น 4 สถานีหลัก และจบท้ายด้วยการให้ทดลองขับแบบเต็มสนามโดยได้ขับคนละ 2 รอบสนามซึ่งถือว่า มีเพียงไม่กี่แบรนด์เท่านั้นที่อนุญาตให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ขับเต็มรอบสนามเช่นนี้ (ชมคลิปประกอบด้านล่างสุด)
กดมิดหาอัตราเร่ง
จุดแรกเราถูกวางให้มาทดสอบหาอัตราเร่งโดยรถที่นำมาใช้เป็นรุ่น GLA35 ซึ่งจะมี Launch Mode สามารถออกตัวแบบพุ่งทะยานได้ โดยเข้าโหมดสปอร์ตหรือสปอร์ตพลัสแล้วเหยียบเบรกให้ลึกที่สุด ตามด้วยกดคันเร่งให้สุดเท้า ระบบจะทำงาน รอบเครื่องยนต์จะค้างอยู่ในระดับสูง ปล่อยคันเร่งรถจะพุ่งทันทีแบบหลังติดเบาะ แต่ไม่ใช่จะระบบจะทำงานทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ต้องจับจังหวะให้ดีๆ รวมถึงตัวเครื่องยนต์ต้องมีความพร้อมด้วย
เราได้ลองหลายครั้งจนมั่นใจแม้ว่าเครื่องยนต์จะมีขนาดเล็กที่สุดในบรรดา AMG ด้วยกัน แต่ GLA35 ยังให้ความสนุกสนานและความแรงตามสายพันธ์ไม่เสียชื่อของ AMG แม้แต่น้อย โดยเฉพาะจังหวะเบรกเมื่อสุดทางกดหนักเอาอยู่อย่างมั่นใจ เรียกว่าเหยียบจนมีกลิ่นไหม้ของยางก็ยังไหวอยู่ (เราได้ขับเป็นชุดแรก ส่วนชุดสุดท้ายจะยังได้ความรู้สึกแบบเราอยู่หรือไม่ มิอาจทราบคำตอบได้)
เบรก-หักหลบฉุกเฉิน
เป็นอีกหนึ่งสถานีที่เราชื่นชอบเป็นพิเศษ เพราะนี่คือการจำลองสถานการณ์จริงหากต้องเจอเหตุฉุกเฉินบนท้องถนน ไม่ว่าจะสุนัขตัดหน้าหรือจักรยานยนต์ออกจากซอย ด้วยสัญชาตญาณเรามักจะหักหลบแบบทันทีเอาไว้ก่อนเสมอ ฉะนั้นเราจะได้เห็นการทรงตัวและการควบคุมพวงมาลัยว่ามีความปลอดภัยเพียงใด
รอบแรกเป็นการทดลองระบบเบรกให้ดูระยะการเบรก ด้วยความเร็ว 50 กม./ชม. รถหยุดได้ในระยะเพียงไม่ถึง 15 เมตร ต่อมาเพิ่มความเร็วเป็น 100 กม./ชม. ระยะเบรกทะลุไปกว่า 50 เมตร ยิ่งเร็วมากระยะเบรกยิ่งมากเป็นทวีคูณ จากนั้นให้ลองเบรกแล้วหักหลบด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม.
เราได้ขับคันแรกเป็นรุ่น C43 ตัวประกอบในประเทศ ขับมาด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. ตามที่กำหนด การหักหลบเป็นไปอย่างนุ่มนวลควบคุมได้อย่างอุ่นใจ รอบสองเราเปลี่ยนไปขับ E200 (คันนี้ไม่ใช่ AMG) ยอมรับว่ากะความเร็วพลาดไปหน่อยพุ่งมาถึงจุดหักหลบที่ความเร็วเกิน 100 กม./ชม. หักไม่พ้นชนกรวยเข้าไปอย่างจัง มิใช่รถไม่ดีแต่คุณมิอาจฝืนหลักฟิสิกส์ได้ หากมาเร็วเกินไม่ว่าอย่างไรก็ต้องยอมสารภาพบาป โดยคนอื่นที่ขับคันเดียวกันก่อนหน้าเรา ขับผ่านฉลุย
เข้าโค้งเต็มสปีด
ทีมงานเลือกให้ลองขับเข้าโค้งที่ โค้ง 7-11 ของสนามช้าง ซึ่งเป็นโค้งหลอกตา บางจุดสามารถทำความเร็วได้แต่บางจุดต้องชะลอมิฉะนั้นอาจจะหลุดโค้งไปได้ รถที่เราได้ลองในสถานีนี้ มีหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น CLS53 , GLC43 Coupe, GLE53 และ GLA35
สำหรับรถที่ขับแล้วประทับใจเราที่สุดในสถานีเข้าโค้งคือ CLS53 ทั้งความแรงและการเกาะถนนที่ถูกต้องตรงจริตเราที่สุด เข้าได้อย่างมั่นใจทุกโค้ง ทั้งอัตราเร่งที่สอดรับกับจังหวะกดคันเร่งหนักเพื่อต้องการกำลัง CLS53 คือดีงามและมีอาการโยนตัวน้อย ส่วนหนึ่งมาจากลักษณะของตัวรถที่เป็นซีดานเมื่อเทียบการขับกับรุ่นอื่นๆ ที่เป็นเอสยูวี อาการโคลงตัวย่อมมีมากกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย
สลาลมวัดฝืมือ
สถานีสลาลมความสนุกสนานของจุดนี้คือ การควบคุมรถแบบภาพรวมเพื่อให้ได้ความไวในการขับขี่มากที่สุด โดยมีเวลาเป็นตัวชี้วัดฝืมือของแต่ละคน เพื่อเอาไว้ขิงกันเล่นๆ โดยรถที่เราได้ใช้งานในรอบซ้อมเป็นรุ่น GLB และ GLA200 ส่วนรุ่นที่ใช้ในรอบจริงคือ A200
ทั้ง 3 รุ่นที่เราได้ลองขับ ควบคุมง่าย พวงมาลัยแม่นยำ เข้าโค้งเกาะถนนดี ช่วงล่างของ A200 จะทรงตัวดีกว่า GLA และ GLB รวมถึงอัตราเร่งที่พุ่งทันใจมากกว่า โดยภาพรวมยังยืนยันคำเดิมตั้งแต่เมื่อครั้งได้ลองขับ A200 ครั้งแรกว่าเป็นรถที่สมรรถนะดีเกินข้อมูลบนโบว์ชัวร์
อัดเต็มรอบสนาม
เราเดินมาช้าที่สุดทำให้เหลือรถให้ขับเป็น GLA200 ที่ต้องยอมรับว่า สมรรถนะในการขับขี่ดูจะเป็นรองทุกคันที่มาในทริปนี้ทั้งหมด แถมต้องขับไล่ตาม A200 ฉะนั้นแม้เครื่องยนต์จะมีพิกัดเท่ากันคือ 1.3 ลิตร กำลังสูงสุด 163 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 250 นิวตันเมตร แต่ด้วยรูปทรงและการปรับจูนทำให้ GLA200 ไม่มีทางไล่ตาม A200 ได้ทันอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม สุดท้ายสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมทดลองขับแบบหลากหลายรุ่นเช่นนี้ ช่วยให้การตัดสินใจง่ายขึ้นว่าจะเลือกคบหารถรุ่นใด หากเป็นการใช้งานปกติทั่วไป ผู้เขียนเลือก GLA200 แม้ A200 จะให้ความรู้สึกเมื่อขับในสนามที่ดีกว่า แต่ในชีวิตจริง กลับกลายเป็น GLA200 เหมาะลักษณะการใช้งานของเรามากกว่า
สุดท้ายถ้าให้เลือกจริงๆ 1 คันภายใต้แบรนด์ AMG คำตอบของผู้เขียนคือ GLA35 เพราะอยู่ในระดับราคาที่จับต้องได้ง่ายมีอรรถประโยชน์ตรงกับการใช้งาน ปัจจุบัน GLA35 ราคา 3,310,000 บาท และในอนาคตจะกลายเป็น Rare Item อย่างแน่นอน เพราะแว่วข่าวว่าอาจจะหยุดการผลิตเวอร์ชันประกอบในประเทศไทย ฉะนั้นถ้าเล็งอยู่ อย่ารอ เดี๋ยวจะหาว่าไม่บอกกัน