ตลาดปิกอัพในประเทศไทยครองสัดส่วนยอดขายราวครึ่งหนึ่งด้วยจำนวนยอดขายผ่าน 9 เดือนแรกของปีนี้มีจำนวนเกือบ 293,539 คัน เติบโตเพิ่มขึ้น 22% (เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนหน้า) โดยมี อีซูซุ ครองผู้นำตลาดด้วยยอดขาย ดีแม็คซ์ 137,033 คัน และแม้จะเป็นผู้นำตลาดในเวลานี้ แต่อีซูซุ ไม่หยุดนิ่งในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยได้มีการเปิดตัว ดี-แม็คซ์ รุ่น Magic EYEs ที่ถือว่าเป็น Model Year 2023 มีการใส่ระบบเสริมความปลอดภัยมาให้เพิ่มเติม
ซึ่ง อีซูซุ ได้มีการจัดให้สื่อมวลชนได้สัมผัสตัวจริงของ ดี-แม็คซ์ Magic EYEs พร้อมทดลองขับเพื่อพิสูจน์ว่าระบบเสริมความปลอดภัยที่ใส่มาให้ใช้งานเป็นอย่างไรบ้าง และทีมงานเอ็มจีอาร์ มอเตอริ่ง ไม่พลาดการเข้าร่วมทดลองขับคราวนี้
D-MAX Magic EYEs เติม ADAS 12 ระบบ
จุดสำคัญของดี-แม็คซ์ Magic EYEs คือการใส่ระบบความปลอดภัย ADAS (Advanced Driver Assistance Systems) เพิ่มเติมเข้ามาในรุ่น V-Cross 4x4 และ Hi-lander 4 doors รุ่นท็อปสุดของไลน์การขาย โดยมีราคาเพิ่มขึ้น 25,000 บาท เมื่อเทียบกับรุ่นปี 2022
สำหรับระบบ ADAS ที่ใส่เข้ามาจะเป็นครั้งแรกของปิกอัพที่ใช้ กล้องหน้าคู่ 3D Imaging Stereo Camera ในตรวจจับวัตถุด้านหน้าแบบ Real Time พร้อมเรดาร์ 2 จุดและเซ็นเซอร์ 8 จุดรอบคัน ซึ่งจะแม่นยำที่สุดของระบบเสริมความปลอดภัยในระดับนี้ โดยมีระบบการทำงานทั้งหมด 12 รายการดังนี้
1.ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรฝัน ACC พร้อมฟังก์ชั่น Stop & Go (Full Speed Range Adaptive Cruise Control)
2.ระบบแจ้งเตือนก่อนการชนด้านหน้า FCW (Forward Collision Warning)
3.ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ AEB (Autonomous Emergency Braking)
4.ระบบตัดกำลังเครื่องยนต์เมื่อเหยียบคันเร่งผิดพลาด PMM (Pedal Misacceleration Mitigation System)
5.ระบบเตือนเมื่อรถออกนอกช่องจราจร LDW (Lane Departure Warning)
6.ระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติเมื่อมีรถสวนทางขณะเลี้ยวขวา Turn Assist with AEB
7.ระบบควบคุมไฟสูงอัตโนมัติ AHB (Automatic High Beam)
8.ระบบเบรกอัตโนมัติหลังเกิดอุบัติเหตุ MCB (Multi-Collision Brake)
9.ระบบแจ้งเตือนจุดอับสายตา BSM (Blind Spot Monitoring)
10.ระบบช่วยเตือนขณะถอยรถยนต์ RCTA (Rear Cross Traffic Alert)
11.ระบบเซ็นเซอร์ช่วยจอดรถยนต์ Parking Aid System
12.ระบบตั้งค่าจำกัดความเร็วสูงสุดด้วยตัวเอง MSL (Manual Speed Limiter)
ขณะที่หัวใจมิได้มีการปรับเปลี่ยนแต่อย่างใด โดยรุ่น 3.0 ลิตร ยังคงใช้เครื่องยนต์รหัส 4JJ3-TCX กำลังสูงสุด 190 แรงม้าที่ 3,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 450 นิวตัน-เมตร ที่1,600-2,600 รอบ/นาที ส่วนรุ่น 1.9 ลิตรเป็นเครื่องยนต์รหัส RZ4E-TC กำลังสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 3,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 350 นิวตัน–เมตร ที่ 1,800–2,600 รอบ/นาที
ADAS ใช้ได้ดีจริง
สำหรับการทดลองขับทีมงานกำหนดให้ขับเพียง 2 รอบสนาม รวมระยะทางราว 1.8 กิโลเมตร หากเป็นการขับขี่เพื่อรีวิวภาพรวมสมรรถนะของรถคงต้องบอกว่า ไม่สามารถอธิบายอะไรได้มาก แต่คราวนี้เป็นโมเดลที่เราเคยขับแล้ว และมุ่งเน้นในเรื่องของการทดลองระบบเสริมความปลอดภัยเป็นหลัก ฉะนั้นจึงยังพอที่จะหาข้อสรุปได้
ภาพรวมการขับขี่สารภาพตามตรงว่า ไม่รู้สึกว่ามีอะไรแตกต่างจากเดิม ส่วนการทดสอบระบบแจ้งเตือนออกนอกเลน (LDW) ตรงจุดนี้ ด้วยเหตุที่เส้นถนนไม่ชัดเจน หรือเหตุผลใดมิอาจทราบได้ เราไม่พบการทำงานของระบบแต่อย่างใด
ขณะที่การทดสอบระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรฝัน ACC พร้อมฟังก์ชัน Stop & Go ลองแล้วระบบใช้งานได้ดี ช่วยให้การขับขี่ง่ายและสบายขึ้นอย่างชัดเจน แถมในช่วงการเลี้ยวโค้ง หากเราบังคับควบคุมพวงมาลัยตามคันหน้า ระบบจะยังสามารถรักษาความเร็วเอาไว้ได้อีกด้วย (ดูคลิปประกอบ)
นอกจากนั้น ยังมีการจำลองสถานการณ์ในรูปแบบของการใช้กำแพงจำลอง เพื่อสาธิตการทำงานของ ระบบแจ้งเตือนก่อนการชนด้านหน้า (FCW) ที่ทำงานควบคู่กับ ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ (AEB) ต่อเนื่องด้วยการ ทดลองเหยียบคันเร่งให้มิด เพื่อดูการทำงานของ ระบบตัดกำลังเครื่องยนต์เมื่อเหยียบคันเร่งผิดพลาด (PMM) ว่าเป็นอย่างไร
ผลลัพธ์ของการทำงานระบบเตือนก่อนการชนทางด้านหน้าและระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัต จะเห็นได้ชัดเจนว่ารถหยุดก่อนถึงกำแพงจำลอง โดยมีการเบรกที่หนักหน่วง เหลือระยะก่อนถึงกำแพงราว 2-3 เมตร เรียกว่าหยุดได้อุ่นใจ หากใช้ความเร็วไม่มากเกินกว่าที่ระบบจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ส่วนการทำงานของระบบตัดกำลังเครื่องยนต์เมื่อเหยียบคันเร่งผิดพลาด คือ เมื่อรถหยุดนิ่ง ผู้ขับกดคันเร่งแบบมิดเท้าโดยมีกำแพงจำลองขวางอยู่ทางด้านหน้า เมื่อมองจากภายนอกจะเห็นว่าตัวรถค่อยๆ ขยับไปทางด้านหน้าแบบช้าๆ เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะยกเท้าออกจากคันเร่งและเปลี่ยนมาเหยียบเบรกได้ทัน โดยตัวรถไม่พุ่งไปชนกำแพง
บทส่งท้าย จากการได้ลองระบบในคราวนี้ แม้จะเป็นแค่เพียง 2-3 รายการเท่านั้น แต่เพียงพอแล้วสำหรับข้อสรุปว่า คุ้มค่า เพราะระบบช่วยให้เราขับขี่ได้ปลอดภัยมากขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้จริง โดยจ่ายเพิ่มขึ้นเพียง 25,000 บาท ระบบแบบนี้แม้มีแล้วไม่ได้ใช้ แต่มีไว้ยังไงก็คุ้ม
ซึ่ง อีซูซุ ได้มีการจัดให้สื่อมวลชนได้สัมผัสตัวจริงของ ดี-แม็คซ์ Magic EYEs พร้อมทดลองขับเพื่อพิสูจน์ว่าระบบเสริมความปลอดภัยที่ใส่มาให้ใช้งานเป็นอย่างไรบ้าง และทีมงานเอ็มจีอาร์ มอเตอริ่ง ไม่พลาดการเข้าร่วมทดลองขับคราวนี้
D-MAX Magic EYEs เติม ADAS 12 ระบบ
จุดสำคัญของดี-แม็คซ์ Magic EYEs คือการใส่ระบบความปลอดภัย ADAS (Advanced Driver Assistance Systems) เพิ่มเติมเข้ามาในรุ่น V-Cross 4x4 และ Hi-lander 4 doors รุ่นท็อปสุดของไลน์การขาย โดยมีราคาเพิ่มขึ้น 25,000 บาท เมื่อเทียบกับรุ่นปี 2022
สำหรับระบบ ADAS ที่ใส่เข้ามาจะเป็นครั้งแรกของปิกอัพที่ใช้ กล้องหน้าคู่ 3D Imaging Stereo Camera ในตรวจจับวัตถุด้านหน้าแบบ Real Time พร้อมเรดาร์ 2 จุดและเซ็นเซอร์ 8 จุดรอบคัน ซึ่งจะแม่นยำที่สุดของระบบเสริมความปลอดภัยในระดับนี้ โดยมีระบบการทำงานทั้งหมด 12 รายการดังนี้
1.ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรฝัน ACC พร้อมฟังก์ชั่น Stop & Go (Full Speed Range Adaptive Cruise Control)
2.ระบบแจ้งเตือนก่อนการชนด้านหน้า FCW (Forward Collision Warning)
3.ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ AEB (Autonomous Emergency Braking)
4.ระบบตัดกำลังเครื่องยนต์เมื่อเหยียบคันเร่งผิดพลาด PMM (Pedal Misacceleration Mitigation System)
5.ระบบเตือนเมื่อรถออกนอกช่องจราจร LDW (Lane Departure Warning)
6.ระบบช่วยเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติเมื่อมีรถสวนทางขณะเลี้ยวขวา Turn Assist with AEB
7.ระบบควบคุมไฟสูงอัตโนมัติ AHB (Automatic High Beam)
8.ระบบเบรกอัตโนมัติหลังเกิดอุบัติเหตุ MCB (Multi-Collision Brake)
9.ระบบแจ้งเตือนจุดอับสายตา BSM (Blind Spot Monitoring)
10.ระบบช่วยเตือนขณะถอยรถยนต์ RCTA (Rear Cross Traffic Alert)
11.ระบบเซ็นเซอร์ช่วยจอดรถยนต์ Parking Aid System
12.ระบบตั้งค่าจำกัดความเร็วสูงสุดด้วยตัวเอง MSL (Manual Speed Limiter)
ขณะที่หัวใจมิได้มีการปรับเปลี่ยนแต่อย่างใด โดยรุ่น 3.0 ลิตร ยังคงใช้เครื่องยนต์รหัส 4JJ3-TCX กำลังสูงสุด 190 แรงม้าที่ 3,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 450 นิวตัน-เมตร ที่1,600-2,600 รอบ/นาที ส่วนรุ่น 1.9 ลิตรเป็นเครื่องยนต์รหัส RZ4E-TC กำลังสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 3,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 350 นิวตัน–เมตร ที่ 1,800–2,600 รอบ/นาที
ADAS ใช้ได้ดีจริง
สำหรับการทดลองขับทีมงานกำหนดให้ขับเพียง 2 รอบสนาม รวมระยะทางราว 1.8 กิโลเมตร หากเป็นการขับขี่เพื่อรีวิวภาพรวมสมรรถนะของรถคงต้องบอกว่า ไม่สามารถอธิบายอะไรได้มาก แต่คราวนี้เป็นโมเดลที่เราเคยขับแล้ว และมุ่งเน้นในเรื่องของการทดลองระบบเสริมความปลอดภัยเป็นหลัก ฉะนั้นจึงยังพอที่จะหาข้อสรุปได้
ภาพรวมการขับขี่สารภาพตามตรงว่า ไม่รู้สึกว่ามีอะไรแตกต่างจากเดิม ส่วนการทดสอบระบบแจ้งเตือนออกนอกเลน (LDW) ตรงจุดนี้ ด้วยเหตุที่เส้นถนนไม่ชัดเจน หรือเหตุผลใดมิอาจทราบได้ เราไม่พบการทำงานของระบบแต่อย่างใด
ขณะที่การทดสอบระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรฝัน ACC พร้อมฟังก์ชัน Stop & Go ลองแล้วระบบใช้งานได้ดี ช่วยให้การขับขี่ง่ายและสบายขึ้นอย่างชัดเจน แถมในช่วงการเลี้ยวโค้ง หากเราบังคับควบคุมพวงมาลัยตามคันหน้า ระบบจะยังสามารถรักษาความเร็วเอาไว้ได้อีกด้วย (ดูคลิปประกอบ)
นอกจากนั้น ยังมีการจำลองสถานการณ์ในรูปแบบของการใช้กำแพงจำลอง เพื่อสาธิตการทำงานของ ระบบแจ้งเตือนก่อนการชนด้านหน้า (FCW) ที่ทำงานควบคู่กับ ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ (AEB) ต่อเนื่องด้วยการ ทดลองเหยียบคันเร่งให้มิด เพื่อดูการทำงานของ ระบบตัดกำลังเครื่องยนต์เมื่อเหยียบคันเร่งผิดพลาด (PMM) ว่าเป็นอย่างไร
ผลลัพธ์ของการทำงานระบบเตือนก่อนการชนทางด้านหน้าและระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัต จะเห็นได้ชัดเจนว่ารถหยุดก่อนถึงกำแพงจำลอง โดยมีการเบรกที่หนักหน่วง เหลือระยะก่อนถึงกำแพงราว 2-3 เมตร เรียกว่าหยุดได้อุ่นใจ หากใช้ความเร็วไม่มากเกินกว่าที่ระบบจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ส่วนการทำงานของระบบตัดกำลังเครื่องยนต์เมื่อเหยียบคันเร่งผิดพลาด คือ เมื่อรถหยุดนิ่ง ผู้ขับกดคันเร่งแบบมิดเท้าโดยมีกำแพงจำลองขวางอยู่ทางด้านหน้า เมื่อมองจากภายนอกจะเห็นว่าตัวรถค่อยๆ ขยับไปทางด้านหน้าแบบช้าๆ เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะยกเท้าออกจากคันเร่งและเปลี่ยนมาเหยียบเบรกได้ทัน โดยตัวรถไม่พุ่งไปชนกำแพง
บทส่งท้าย จากการได้ลองระบบในคราวนี้ แม้จะเป็นแค่เพียง 2-3 รายการเท่านั้น แต่เพียงพอแล้วสำหรับข้อสรุปว่า คุ้มค่า เพราะระบบช่วยให้เราขับขี่ได้ปลอดภัยมากขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้จริง โดยจ่ายเพิ่มขึ้นเพียง 25,000 บาท ระบบแบบนี้แม้มีแล้วไม่ได้ใช้ แต่มีไว้ยังไงก็คุ้ม