xs
xsm
sm
md
lg

“คาร์ลอส กอนซ์”กับความท้าท้ายใหม่ในมิตซูบิชิ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

หลังนิสสัน มอเตอร์ ปิดบิ๊กดีลในการเข้าไปถือหุ้น 34% ของมิตซูบิชิ และกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ล่าสุดก็เป็นไปตามคาด เมื่อ“คาร์ลอส กอนซ์” นายใหญ่คนดังยังเข้ามานั่งในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม (CO-CEO) ของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ จำกัด ด้วย...ผู้สื่อข่าวในอาเซียนร่วมสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ถึงประเด็นความคืบหน้าต่างๆ
คาร์ลอส กอนซ์ จับมือกับโอซามุ มาซูโกะ
- การเข้าดำรงตำแหน่ง (คาร์ลอส กอนซ์) ที่ Mitsubishi เมื่อเทียบกับครั้ง ที่เกิดขึ้นจากการร่วมกิจการระหว่าง Nissan กับ Renault ในปี 1999

ในปี 1999 ที่เกิดวิกฤตขึ้นกับ Nissan ซึ่งเป็นเรื่องภายในองค์กรเกี่ยวกับศักยภาพและความสามารถ ซึ่งไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายนอกดังกรณีของ Mitsubishi ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับธุรกิจของ Mitsubishi ที่ต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากปัญหาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองกรณีแตกต่างกัน เราเชื่อว่า Mitsubishi มีศักยภาพดีเยี่ยม สามารถเติบโต แต่ยังต้องส่งเสริมศักยภาพอย่างเต็มที่ บางเรื่องต้องมาจากวิธีการดำเนินธุรกิจแบบของ Mitsubishi เองบางเรื่องก็ต้องใช้ความท้าทายใหม่ๆ

- ความคืบหน้าของการร่วมเป็นพันธมิตร ภายหลังจากที่ประกาศในครั้งแรก เช่นการจัดซื้อ หรือการแลกปลี่ยนเทคโนโลยี มีความเป็นไปได้มั้ยว่าผู้บริหารของนิสสันจะย้ายไปร่วมงานที่ Mitsubishi ในแต่ภูมิภาค เช่น ประเทศในกลุ่มอาเซียน?

คำตอบคือ “ไม่” เรามีการปฏิบัติงานแยกจากกัน ภารกิจหรือความรับผิดชอบต่างๆ ของแต่ละพื้นที่ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้แต่ละพื้นที่ทำงานให้เกิดผลดีและความสามารถที่ดีสำหรับ ในประเทศ ASEAN ขนาดธุรกิจของ Mitsubishi มีขนาดใหญ่กว่า Nissan ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของ Nissan เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเราสามารถขอการสนับสนุนจากทางMitsubishi ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ logistic ต่างๆ ที่ Mitsubishi มีขณะเดียวกัน Mitsubishi ก็ได้รับประโยชน์จากความได้เปรียบทางด้านต้นทุนการผลิตเช่นกัน (Economy of Scale)

- โมเดลในปัจจุบันของ Mitsubishi ค่อนข้างเก่า เมื่อไหร่ที่จะมีเห็นโมเดลใหม่ที่เกิดจากการร่วมกันของพันธมิตรนี้?

หลายๆ บริษัท ก็ประสบปัญหาของ โมเดล ที่เริ่มมีอายุ ที่ Nissan และ Mitsubishi ก็เช่นกัน ณ ตอนนี้ผมยังตอบไม่ได้ว่าการร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ บอกได้ ณ ตอนนี้ว่า เราจะได้รับประโยชน์ใน 2 เรื่อง คือ 1) ใช้ Platform ร่วมกัน เมื่อมันมีความเป็นไปได้ และ 2) การพัฒนา Platform ร่วมกัน เช่น รถปิคอัพในตลาด ASEAN ซึ่ง Mitsubishi มีความได้เปรียบในภูมิภาคนี้อยู่แล้ว

- การควบรวมกิจการในครั้งนี้ ให้ประโยชน์แก่ Nissan ในระยะสั้นและยาวอย่างไร?

การเข้าถือหุ้น 34% แน่นอนว่าผู้ถือหุ้นได้รับประโยชน์ เราไม่ได้เป็นเจ้าของทั้งหมด แค่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งการเป็นพันธมิตรระหว่าง 2 บริษัท นี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับประโยชน์จากกำไร หรือ การปันผล ในขณะเดียวกันการทำงานร่วมกันยังได้รับประโยชน์ในด้านการจัดสรรทรัพยากร หรือ จัดซื้อต่างๆ ตัวอย่างที่เห็นได้คือ ขนาดของธุรกิจที่เกิดขึ้นในปีแรกที่ Nissan มี 24 พันล้านเยน แต่พอมาถึงปีที่ 3 เติบโตเป็น 60 พันล้านเยน ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการร่วมทำ Profit & Loss อย่างทำการลดต้นทุนต่างๆ

- มีความเป็นไปได้มั้ยว่า Nissan จะ Take Over Mitsubishi เพิ่มจากขณะนี้ที่ 34%?

ณ ตอนนี้เรายังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มการเข้าถือหุ้น พื้นฐานของการเป็นพันธมิตรคือความมั่นคง ส่วนอื่นๆ ของกลุ่ม Mitsubishi เช่น Mitsubishi industry หรือ Mitsubishi Bank ก็ยังถือหุ้นใน Mitsubishi Motor อยู่

- ท่านคาดหวังอย่างไรกับการร่วมกันของ Nissan และ Mitsubishi ในครั้งนี้สำหรับตลาดอาเซียนแล้วจะมีผลอย่างไรกับธุรกิจ Nissan ในภูมิภาคนี้?

ขนาดของธุรกิจของ Nissan ใน ASEAN เมื่อเทียบกันทั่วโลกเท่ากับ 1/5 แต่ขนาดของ ASEAN ใหญ่กว่านั้น การเข้าใจพื้นฐานในด้านต่างๆจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ และมีโอกาสมากมายรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อต่างๆที่ Mitsubishi มีความโดดเด่น การจัดการด้าน logistic ต่างๆ นอกจากนั้น การพัฒนาร่วมกันต่างๆ ในรวมถึงการได้ประโยชน์ด้านการขยายฐานการผลิตของ Mitsubishi

- Nissan และ Mitsubishi มีโรงงานของตนเองในประเทศอาเซียน มีผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกัน เช่น รถขนาดเล็ก หรือ รถปิคอัพ ซึ่งก็เป็นผลิตภัณฑ์หลักในภูมิภาคนี้ ทำอย่างไรที่จะให้ทั้งคู่ ดำเนินธุรกิจไปด้วยกัน ในบางกรณีเช่น 1 Dealer สามารถขายรถ 2 ยี่ห้อ และทำอย่างไรที่จะเสริมความเข้มแข็งของ Brand ในภูมิภาคนี้
อันดับแรกเลย ให้ผมอธิบายถึงความร่วมมือระหว่างพันธมิตรในตลาด เราจะใช้ความสามารถของแต่ละฝ่ายในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน แน่นอนว่า ด้านการตลาดและการขายต้องแยกกันตาม บริษัท นั้นๆ ซึ่งก็ต้องแข่งขันกันเอง ทำให้ตลาดมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงแข่งขันกับ บริษัท อื่นๆด้วย สำหรับ พันธมิตร Renault - Nissan ก็เป็นเช่นนี้ สำหรับ Dealer คงไม่มีการทำเช่นนั้น เพราะทาง Mitsubishi ก็มีแนวทางของตัวเองในแต่ละด้านเหมือนของ Nissan 

- ใน Indonesia Auto Show ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Mitsubishi จัดแสดง รถต้นแบบของ MPV ขนาดเล็ก Model นี้จะถูกนำมาขายภายใต้ Brand Nissan ด้วยมั้ย?

ตามที่กล่าวในเบื้องต้น เราจะ Share การศึกษาในรถปิคอัพ และ รถเพื่อการพาณิชย์ขนาดเล็กต่างๆ ซึ่งจะนำความร่วมมือด้านต่างๆนี้มาใช้ในการพัฒนา MPV ขนาดเล็ก ของ Nissan ด้วยเช่นกัน โดยใช้ Platform ของ Mitsubishi

- อนึ่งนายโอซามุ มาซูโกะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ จำกัด ยังถูกถามในประเด็นว่า จะมีบทบาทในการบริหารอย่างไรในการเป็น CO-CEO ของ Mitsubishi ร่วมกับนายกอนซ์ ?

กอนซ์ เป็นผู้บริหารที่ทำงานหนัก ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศทั่วโลก ซึ่งกอนซ์จะไม่ได้ดูแลคณะผู้บริหารของ Mitsubishi แต่จะทำโดยผม(มาซูโกะ) ผมเชื่อว่า บทบาทของท่านที่ Mitsubishi จะไม่เป็นอุปสรรคแก่ Nissan โดยทั้งสองบริษัทจะต้องเดินหน้าไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการร่วมธุรกิจ จากที่คุยกับกอนซ์ เราได้วางกลยุทธ์ร่วมกัน ในระยะกลาง และระยะยาวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและพัฒนาศักยภาพขององค์กรของเรา
กำลังโหลดความคิดเห็น