ข่าวในประเทศ -
ผู้ประกอบการ ยานยนต์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานเสียงอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยครึ่งปีหลัง 2559 เริ่มส่งสัญญานฟื้นตัว มั่นใจยอดการผลิตและการจำหน่ายเป็นไปตามคาด ชี้รถยนต์ไฟฟ้าคือคำตอบแห่งอนาคต ในงานเสวนา “อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กับความท้าทายในครึ่งปีหลัง 2559” ซึ่งจัดโดย สมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย (สรยท.) ในงาน Bangkok International Grand Motor Sale 2016 หรือ BIG Motor Sale 2016 (บิ๊ก มอเตอร์ เซล 2016)
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000008841201.JPEG)
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000008841202.JPEG)
สมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย (THAI AUTOMOTIVE JOURNALISTS ASSOCIATION - TAJA) จัดงานเสวนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กับความท้าทายในครึ่งปีหลัง 2559” ที่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล แกรนด์ มอเตอร์ เซลส์ 2016 (Bangkok International Grand Motor Sale 2016) โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเวทีเสวนาอย่างคึกคัก
นายยุทธพงษ์ ภาษี นายกสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย (สรยท.) เปิดเผยว่า การเสวนาวิชาการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสมาคมฯ โดยมองเห็นว่าอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และมีความสำคัญ ซึ่งมีปัจจัยหลายประการส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วงที่ผ่านมา การเสวนาวันนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงยานยนต์ ร่วมช่วยหาคำตอบ ให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยว่าจะเดินหน้าไปในทิศทางใด
นายจรวย ขันมณี ประธานจัดงาน มหกรรมยานยนต์เพื่อการขาย บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล แกรนด์ มอเตอร์ เซลส์ 2016 (บิ๊ก มอเตอร์เซล 2016 ) กล่าวในพิธีเปิดงานเสวนาว่า แม้อุตสาหกรรมยานยนต์จะมีความตกต่ำ ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ก็เชื่อว่าภาพรวมอุตสาหกรรมจะเริ่มดีขึ้น และงานบิ๊ก มอเตอร์เซลส์ ก็พร้อมที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยานยนต์นับต่อจากนี้ไป โดยเชื่อว่าตลาดรถยนต์ในภาพรวมจะเติบโตขึ้น และมียอดจำหน่ายไม่น้อยกว่า 7.5 แสนคันอย่างแน่นอนในปีนี้
“เราคาดการณ์ว่าในงานบิ๊กจะมียอดจำหน่ายรถยนต์ไม่น้อยกว่า 2 หมื่นคันและรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ไม่น้อยกว่า 4,000 คัน ซึ่งลดเป้าลงจากปีที่ผ่านมา แต่จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น การผ่านร่างประชามติรัฐธรรมนูญ หรือแนวโน้มอุตสาหกรรมที่เริ่มดีขึ้น ทำให้มองว่าอาจจะมียอดจำหน่ายที่กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง และอาจจะกลับมามียอดจำหน่ายเท่ากับปีที่ผ่านมา ที่มียอดจำหน่ายรถยนต์ 2.5 หมื่นคันและรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ 5,000 คัน”
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดผลิตรถยนต์ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาลดลงเล็กน้อย 7.18% ทำให้ภาพรวมของการผลิตรถยนต์ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2559 อยู่ที่ 1,147,330 คัน เติบโตที่ 4.2% โดยที่ผ่านมา ยอดการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก รวมถึงการผลิตรถยนต์นั่งที่มีการเปิดตัวรุ่นใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องในช่วงต้นปี
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000008841203.JPEG)
“ปีนี้เราตั้งเป้าหมายการผลิตรถยนต์ที่ 1.95-2 ล้านคัน เติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ทำได้ 1.93 ล้านคันเล็กน้อย ซึ่งหากดูจากทิศทางการผลิตแล้ว ต้องถือว่ามีแนวโน้มที่เป็นไปได้ จากการเติบโตของภาพรวมของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการลงทุนขนาดใหญ่ที่ทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ”
ในส่วนของการจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มียอดจำหน่าย 60,635 คัน ลดลง 0.4% จากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้ภาพรวมของยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 429,265 คัน ลดลงเล็กน้อยที่ 0.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้ประเมินว่ายอดการผลิตที่ลดลงในเดือนที่ผ่านมา ยังไม่มีผลกระทบต่อยอดจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็เป็นสิ่งที่ต้องติดตามกันอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่ายอดจำหน่ายทั้งปีที่วางไว้ 7.5 แสนคัน น่าจะทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
นางเพียงใจ แก้วสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2559 น่าจะกลับมาสู่ภาวะปกติที่มียอดการผลิตรถยนต์ที่ระดับ 2 ล้านคัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีหลังจากที่อุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากโครงการรถยนต์คันแรกในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ทำให้ยอดการผลิตและตลาดรถยนต์มีความผันผวนอย่างมาก
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000008841204.JPEG)
ทั้งนี้ ราคาพืชผลทางการเกษตรยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย โดยในช่วงที่ผ่านมา ราคาพืชผลทางเกษตรยังย่ำแย่อยู่ แต่ก็เริ่มเห็นว่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงต่อจากนี้ ประกอบกับตลาดรถยนต์ในช่วงครึ่งปีหลังมักจะมียอดจำหน่ายที่เหนือกว่าอยู่แล้ว ทำให้มองว่ามีปัจจัยบวกเพิ่มขึ้น รวมถึงการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่จากค่ายรถหลายค่าย ซึ่งล้วนแล้วแต่จะช่วยกระตุ้นยอดขายรถยนต์ในประเทศไทยให้กลับมาเติบโตอีกครั้งในช่วงที่เหลือของปี
“ภาครัฐบาลได้มีความพยายามในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจ รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมที่จะผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าและเติบโตในอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญก็คือการปรับลดคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานรถยนต์ ตามความต้องการของโลกที่ต้องการลดมากกว่า 90% ซึ่งจะเปิดทางให้รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ากลายเป็นเป้าหมายสุดท้ายในอนาคต ซึ่งประเทศไทยก็น่าจะอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับอุตสาหกรรมยานยนต์โลกในอนาคต”
นายกฤษฎา อุตตโมทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวขึ้นในช่วงปลายปี 2558 ที่ผ่านมา และเริ่มปรับตัวลดอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ก่อนจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นและเชื่อว่าจะกลับมาอยู่ในเกณฑ์ขาขึ้นในช่วงต่อจากนี้ไป ตามที่มีการคาดการณ์ว่าจีดีพีของประเทศไทยในปีนี้จะอยู่ที่ 2.5%
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000008841205.JPEG)
ในส่วนของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป มียอดจำหน่ายที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและมียอดจำหน่ายรวม 3 แบรนด์มากกว่า 1 หมื่นคันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในปี 2558 ขณะที่ ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ในภาพรวมตั้งแต่ปี 2555 จนถึง 2558 ตลาดติดลบมากถึง 44% เป็นผลมาจากโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรก แตกต่างจากตลาดรถยนต์หรูหราที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องถึง 68% ในช่วงเวลาเดียวกัน
“ปีนี้เรามีการลงทุนเพิ่มเติมอีก 448 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพการประกอบรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย โดยในปัจจุบัน มีการประกอบรถยนต์มากถึง 19 รุ่น และเตรียมพร้อมที่จะประกอบรถยนต์ปลั๊กอิน ไฮบริดในประเทศไทยในครึ่งปีหลังนี้ ซึ่งบีเอ็มดับเบิลเชื่อว่า รถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกใหม่ อาทิ รถยนต์ไฮบริด จะเริ่มมีทิศทางเติบโตขึ้นในช่วง 4-5 ปีต่อจากนี้ ขณะที่รถยนต์ที่ใช้พลังงานรูปแบบพิเศษ อย่างเช่นกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า น่าจะขยายตัวในช่วง 5-10 ปีนับจากนี้”
นางอัชณา ลิมป์ไพฑูรย์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า หากอุตสาหกรรมยานยนต์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนรายย่อยในกลุ่มเทียร์ 2 และเทียร์ 3 ที่มีจำนวนมากกว่า 1,700 รายในประเทศไทย จากภาพรวมการส่งออกชิ้นส่วนที่หดตัวลง 4% ในปีที่ผ่านมาและอีกเกือบ 1% ว่านปีนี้ สวนทางกับการนำเข้าชิ้นส่วนที่ขยายตัวราว 6% ในปีนี้ เป็นผลจากการบุกตลาดของผู้ผลิตชิ้นส่วนราคาถูก และการปรับแผนงานของผู้ผลิตรถยนต์บางรายที่เน้นไปนำเข้าชิ้นส่วนเพิ่มมากขึ้น
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000008841206.JPEG)
“เรื่องของผู้ผลิตชิ้นส่วนนั้นมีหลายสิ่งที่ต้องคำนึง ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐว่าจะดำเนินการไปในทิศทางไหน ซึ่งแนวโน้มในการเดินหน้าไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 นั้นเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ประกอบการ และเป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ยังต้องดิ้นรนในเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องของเทคโนโลยี เรื่องการผลิต ที่จะก่อให้เกิดศักยภาพในการผลิต รวมไปถึงเรื่องของการสร้างคนขึ้นมารองรับกับอุตสาหกรรม ซึ่งหากเราต้องการพัฒนาขึ้นมาเป็นฮับของอาเซียน ที่มีการแข่งขันกันมาก ก็มีความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันมากขึ้น เพื่อพัฒนาขีดความสามารถร่วมกัน”
ทั้งนี้ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยมีการส่งออกรวมกันปีละกว่า 6 แสนล้านบาท ซึ่งสูสีกับตัวเลขการส่งออกของผู้ผลิตรถยนต์ ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนมีการส่งออกปีละกว่า 1.22 ล้านล้านบาท จึงเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญที่ต้องได้รับการพัฒนาและปรับปรุงในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งต้องมีการสร้างยุทธศาสตร์ขึ้นมารองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยต่อไปในอนาคต
นายอนุพล ลิขิตพฤกษ์ไพศาล เลขาธิการสมาคมผู้จำหน่ายค้าปลีกรถยนต์ไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมค้าปลีกรถยนต์ไทยมูลค่ารวมปีละมากกว่า 20 ล้านล้านบาท คิดเป็นจีดีพีประมาณ 15-20% หากคิดในกลุ่มรถยนต์ใหม่ที่คาดว่าจะจำหน่าย 7.5 แสนคัน ก็น่าจะมีมูลค่าใม่น้อนกว่า 7.5 แสนล้านบาท ซึ่งใหญ่ที่สุดในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย ทั้งนี้ หากมองภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์โลกที่มียอดจำหน่ายราว 60 ล้านคัน ประเทศไทยจะมีสัดส่วนอยู่ที่ราว 3% ของอุตสาหกรรมยานยนต์โลก
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000008841207.JPEG)
“เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จากที่ตลาดรถปิกอัพเคยมีส่วนแบ่งมากถึง 70% ในปัจจุบัน ตลาดรถยนต์นั่งและตลาดรถปิกอัพมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันมาก ขณะที่ตลาดรถยนต์หรูหราก็มีการเติบโตมากขึ้น และขยายตัวลงไปในตลาดระดับคอมแพคท์มากขึ้น ซึ่งนับเป็นการขยายเซกเมนต์ของธุรกิจไปตามกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา”
ภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปีนี้ก็น่าจะอยู่ที่ระดับ 7.5 แสนคัน โดยมียอดขายเฉลี่ยเดือนละ 6 หมื่นคัน แบ่งเป็นรถปิกอัพและรถยนต์นั่งอย่างละเท่ากัน ซึ่งตลาดนั้นเติบโตด้วยการทำแคมเปญของผู้ประกอบการร่วมกับผู้ประกอบการทางการเงิน ซึ่งเป็นตลาดของผู้บริโภคที่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ภาพรวมของธุรกิจยานยนต์มีความคึกคักและเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต
ดร.พิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ในประเทศไทยผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และเชื่อว่าจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งแตกต่างกันไปตามแต่ละเซกเมนต์ แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในช่วงครึ่งปีหลังเป็นต้นไป ปัจจัยที่จะเป็นบวกประกอบไปด้วย รายได้เกษตรกรเริ่มดีขึ้น กลุ่มผู้ซื้อรถยนต์คันแรกครบกำหนดการถือครอง อัตราดอกเบี้ยยังทรงตัวต่ำต่อเนื่องไปถึงปีหน้า รวมไปถึงการเปิดตัวโมเดลใหม่ ๆ ของค่ายรถ โดยมองว่าตลาดรถยนต์นั่งจะเติบโตได้ดีกว่า โดยที่เอสยูวีจะมีแนวโน้มการเติบโตสูงสุด
![](https://mpics.mgronline.com/pics/Images/559000008841208.JPEG)
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบที่อาจจะส่งผลกระทบและต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวที่ช้าและเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ โดยเติบโต 2.8% ในปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเติบโต 3% ในปีนี้และ 3.3% ในปี 2560 ซึ่งโครงสร้างของเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่เอื้อต่อการเติบโตอย่างมากในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ายอดจำหน่ายรถยนต์แต่ละเดือนน่าจะอยู่ที่ระดับ 6.5 หมื่นคัน หรือมียอดขาย 7.5-7.6 แสนคัน ลดลงราว 5% จากปีที่ผ่านมา
สำหรับในปี 2560 เราคาดว่าตลาดรถยนต์ไทยน่าจะมีการเติบโตอย่างมาก และเชื่อว่าอาจจะกลับไปมียอดจำหน่ายได้สูงสุดถึง 8.8 แสนคันในกรณีที่ดีที่สุด หากมีการกระตุ้นตลาดที่เหมาะสมและผู้บริโภคมีความต้องการซื้อรถยนต์รุ่นใหม่ และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เชื่อว่าการกลับมาของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตในระยะยาวอาจจะไม่แข็งแกร่งเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจนั้นไม่ได้เติบโตอย่างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ แต่เชื่อว่าในช่วงปลายปีน่าจะมีการออกมาตรการใหม่ ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์มา ซึ่งน่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้กับผู้ประกอบการในการผลักดันตลาดรถยนต์ร่วมกันเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องในอนาคต
พบกับกิจกรรมดีๆ สำหรับสมาชิกสมาคม และสามารถติดตามข่าวสารของ สมาคมฯ ได้ที่ www.tajathailand.com ซึ่งคณะกรรมการเปิดขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกของสมาคมฯ และคนรักยานยนต์ทั่วประเทศ
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ MGR Motoring
สมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย (THAI AUTOMOTIVE JOURNALISTS ASSOCIATION - TAJA) จัดงานเสวนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กับความท้าทายในครึ่งปีหลัง 2559” ที่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล แกรนด์ มอเตอร์ เซลส์ 2016 (Bangkok International Grand Motor Sale 2016) โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเวทีเสวนาอย่างคึกคัก
นายยุทธพงษ์ ภาษี นายกสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย (สรยท.) เปิดเผยว่า การเสวนาวิชาการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมสมาคมฯ โดยมองเห็นว่าอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และมีความสำคัญ ซึ่งมีปัจจัยหลายประการส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในช่วงที่ผ่านมา การเสวนาวันนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงยานยนต์ ร่วมช่วยหาคำตอบ ให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยว่าจะเดินหน้าไปในทิศทางใด
นายจรวย ขันมณี ประธานจัดงาน มหกรรมยานยนต์เพื่อการขาย บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล แกรนด์ มอเตอร์ เซลส์ 2016 (บิ๊ก มอเตอร์เซล 2016 ) กล่าวในพิธีเปิดงานเสวนาว่า แม้อุตสาหกรรมยานยนต์จะมีความตกต่ำ ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ก็เชื่อว่าภาพรวมอุตสาหกรรมจะเริ่มดีขึ้น และงานบิ๊ก มอเตอร์เซลส์ ก็พร้อมที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยานยนต์นับต่อจากนี้ไป โดยเชื่อว่าตลาดรถยนต์ในภาพรวมจะเติบโตขึ้น และมียอดจำหน่ายไม่น้อยกว่า 7.5 แสนคันอย่างแน่นอนในปีนี้
“เราคาดการณ์ว่าในงานบิ๊กจะมียอดจำหน่ายรถยนต์ไม่น้อยกว่า 2 หมื่นคันและรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ไม่น้อยกว่า 4,000 คัน ซึ่งลดเป้าลงจากปีที่ผ่านมา แต่จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น การผ่านร่างประชามติรัฐธรรมนูญ หรือแนวโน้มอุตสาหกรรมที่เริ่มดีขึ้น ทำให้มองว่าอาจจะมียอดจำหน่ายที่กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง และอาจจะกลับมามียอดจำหน่ายเท่ากับปีที่ผ่านมา ที่มียอดจำหน่ายรถยนต์ 2.5 หมื่นคันและรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ 5,000 คัน”
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดผลิตรถยนต์ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาลดลงเล็กน้อย 7.18% ทำให้ภาพรวมของการผลิตรถยนต์ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2559 อยู่ที่ 1,147,330 คัน เติบโตที่ 4.2% โดยที่ผ่านมา ยอดการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยเติบโตต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก รวมถึงการผลิตรถยนต์นั่งที่มีการเปิดตัวรุ่นใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องในช่วงต้นปี
“ปีนี้เราตั้งเป้าหมายการผลิตรถยนต์ที่ 1.95-2 ล้านคัน เติบโตขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ทำได้ 1.93 ล้านคันเล็กน้อย ซึ่งหากดูจากทิศทางการผลิตแล้ว ต้องถือว่ามีแนวโน้มที่เป็นไปได้ จากการเติบโตของภาพรวมของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการลงทุนขนาดใหญ่ที่ทำให้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ”
ในส่วนของการจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มียอดจำหน่าย 60,635 คัน ลดลง 0.4% จากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้ภาพรวมของยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 429,265 คัน ลดลงเล็กน้อยที่ 0.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้ประเมินว่ายอดการผลิตที่ลดลงในเดือนที่ผ่านมา ยังไม่มีผลกระทบต่อยอดจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็เป็นสิ่งที่ต้องติดตามกันอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่ายอดจำหน่ายทั้งปีที่วางไว้ 7.5 แสนคัน น่าจะทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
นางเพียงใจ แก้วสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2559 น่าจะกลับมาสู่ภาวะปกติที่มียอดการผลิตรถยนต์ที่ระดับ 2 ล้านคัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีหลังจากที่อุตสาหกรรมยานยนต์ได้รับผลกระทบจากโครงการรถยนต์คันแรกในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ทำให้ยอดการผลิตและตลาดรถยนต์มีความผันผวนอย่างมาก
ทั้งนี้ ราคาพืชผลทางการเกษตรยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย โดยในช่วงที่ผ่านมา ราคาพืชผลทางเกษตรยังย่ำแย่อยู่ แต่ก็เริ่มเห็นว่าจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงต่อจากนี้ ประกอบกับตลาดรถยนต์ในช่วงครึ่งปีหลังมักจะมียอดจำหน่ายที่เหนือกว่าอยู่แล้ว ทำให้มองว่ามีปัจจัยบวกเพิ่มขึ้น รวมถึงการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่จากค่ายรถหลายค่าย ซึ่งล้วนแล้วแต่จะช่วยกระตุ้นยอดขายรถยนต์ในประเทศไทยให้กลับมาเติบโตอีกครั้งในช่วงที่เหลือของปี
“ภาครัฐบาลได้มีความพยายามในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจ รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมที่จะผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าและเติบโตในอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญก็คือการปรับลดคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานรถยนต์ ตามความต้องการของโลกที่ต้องการลดมากกว่า 90% ซึ่งจะเปิดทางให้รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ากลายเป็นเป้าหมายสุดท้ายในอนาคต ซึ่งประเทศไทยก็น่าจะอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับอุตสาหกรรมยานยนต์โลกในอนาคต”
นายกฤษฎา อุตตโมทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารกิจการองค์กร บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวขึ้นในช่วงปลายปี 2558 ที่ผ่านมา และเริ่มปรับตัวลดอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ก่อนจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นและเชื่อว่าจะกลับมาอยู่ในเกณฑ์ขาขึ้นในช่วงต่อจากนี้ไป ตามที่มีการคาดการณ์ว่าจีดีพีของประเทศไทยในปีนี้จะอยู่ที่ 2.5%
ในส่วนของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป มียอดจำหน่ายที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและมียอดจำหน่ายรวม 3 แบรนด์มากกว่า 1 หมื่นคันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในปี 2558 ขณะที่ ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ในภาพรวมตั้งแต่ปี 2555 จนถึง 2558 ตลาดติดลบมากถึง 44% เป็นผลมาจากโครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรก แตกต่างจากตลาดรถยนต์หรูหราที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องถึง 68% ในช่วงเวลาเดียวกัน
“ปีนี้เรามีการลงทุนเพิ่มเติมอีก 448 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพการประกอบรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย โดยในปัจจุบัน มีการประกอบรถยนต์มากถึง 19 รุ่น และเตรียมพร้อมที่จะประกอบรถยนต์ปลั๊กอิน ไฮบริดในประเทศไทยในครึ่งปีหลังนี้ ซึ่งบีเอ็มดับเบิลเชื่อว่า รถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกใหม่ อาทิ รถยนต์ไฮบริด จะเริ่มมีทิศทางเติบโตขึ้นในช่วง 4-5 ปีต่อจากนี้ ขณะที่รถยนต์ที่ใช้พลังงานรูปแบบพิเศษ อย่างเช่นกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า น่าจะขยายตัวในช่วง 5-10 ปีนับจากนี้”
นางอัชณา ลิมป์ไพฑูรย์ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เปิดเผยว่า หากอุตสาหกรรมยานยนต์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนรายย่อยในกลุ่มเทียร์ 2 และเทียร์ 3 ที่มีจำนวนมากกว่า 1,700 รายในประเทศไทย จากภาพรวมการส่งออกชิ้นส่วนที่หดตัวลง 4% ในปีที่ผ่านมาและอีกเกือบ 1% ว่านปีนี้ สวนทางกับการนำเข้าชิ้นส่วนที่ขยายตัวราว 6% ในปีนี้ เป็นผลจากการบุกตลาดของผู้ผลิตชิ้นส่วนราคาถูก และการปรับแผนงานของผู้ผลิตรถยนต์บางรายที่เน้นไปนำเข้าชิ้นส่วนเพิ่มมากขึ้น
“เรื่องของผู้ผลิตชิ้นส่วนนั้นมีหลายสิ่งที่ต้องคำนึง ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐว่าจะดำเนินการไปในทิศทางไหน ซึ่งแนวโน้มในการเดินหน้าไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 นั้นเป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ประกอบการ และเป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ยังต้องดิ้นรนในเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องของเทคโนโลยี เรื่องการผลิต ที่จะก่อให้เกิดศักยภาพในการผลิต รวมไปถึงเรื่องของการสร้างคนขึ้นมารองรับกับอุตสาหกรรม ซึ่งหากเราต้องการพัฒนาขึ้นมาเป็นฮับของอาเซียน ที่มีการแข่งขันกันมาก ก็มีความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันมากขึ้น เพื่อพัฒนาขีดความสามารถร่วมกัน”
ทั้งนี้ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยมีการส่งออกรวมกันปีละกว่า 6 แสนล้านบาท ซึ่งสูสีกับตัวเลขการส่งออกของผู้ผลิตรถยนต์ ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนมีการส่งออกปีละกว่า 1.22 ล้านล้านบาท จึงเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญที่ต้องได้รับการพัฒนาและปรับปรุงในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งต้องมีการสร้างยุทธศาสตร์ขึ้นมารองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยต่อไปในอนาคต
นายอนุพล ลิขิตพฤกษ์ไพศาล เลขาธิการสมาคมผู้จำหน่ายค้าปลีกรถยนต์ไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมค้าปลีกรถยนต์ไทยมูลค่ารวมปีละมากกว่า 20 ล้านล้านบาท คิดเป็นจีดีพีประมาณ 15-20% หากคิดในกลุ่มรถยนต์ใหม่ที่คาดว่าจะจำหน่าย 7.5 แสนคัน ก็น่าจะมีมูลค่าใม่น้อนกว่า 7.5 แสนล้านบาท ซึ่งใหญ่ที่สุดในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย ทั้งนี้ หากมองภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์โลกที่มียอดจำหน่ายราว 60 ล้านคัน ประเทศไทยจะมีสัดส่วนอยู่ที่ราว 3% ของอุตสาหกรรมยานยนต์โลก
“เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จากที่ตลาดรถปิกอัพเคยมีส่วนแบ่งมากถึง 70% ในปัจจุบัน ตลาดรถยนต์นั่งและตลาดรถปิกอัพมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันมาก ขณะที่ตลาดรถยนต์หรูหราก็มีการเติบโตมากขึ้น และขยายตัวลงไปในตลาดระดับคอมแพคท์มากขึ้น ซึ่งนับเป็นการขยายเซกเมนต์ของธุรกิจไปตามกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา”
ภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ในปีนี้ก็น่าจะอยู่ที่ระดับ 7.5 แสนคัน โดยมียอดขายเฉลี่ยเดือนละ 6 หมื่นคัน แบ่งเป็นรถปิกอัพและรถยนต์นั่งอย่างละเท่ากัน ซึ่งตลาดนั้นเติบโตด้วยการทำแคมเปญของผู้ประกอบการร่วมกับผู้ประกอบการทางการเงิน ซึ่งเป็นตลาดของผู้บริโภคที่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ภาพรวมของธุรกิจยานยนต์มีความคึกคักและเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต
ดร.พิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ในประเทศไทยผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และเชื่อว่าจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งแตกต่างกันไปตามแต่ละเซกเมนต์ แนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในช่วงครึ่งปีหลังเป็นต้นไป ปัจจัยที่จะเป็นบวกประกอบไปด้วย รายได้เกษตรกรเริ่มดีขึ้น กลุ่มผู้ซื้อรถยนต์คันแรกครบกำหนดการถือครอง อัตราดอกเบี้ยยังทรงตัวต่ำต่อเนื่องไปถึงปีหน้า รวมไปถึงการเปิดตัวโมเดลใหม่ ๆ ของค่ายรถ โดยมองว่าตลาดรถยนต์นั่งจะเติบโตได้ดีกว่า โดยที่เอสยูวีจะมีแนวโน้มการเติบโตสูงสุด
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบที่อาจจะส่งผลกระทบและต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวที่ช้าและเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ โดยเติบโต 2.8% ในปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเติบโต 3% ในปีนี้และ 3.3% ในปี 2560 ซึ่งโครงสร้างของเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่เอื้อต่อการเติบโตอย่างมากในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ายอดจำหน่ายรถยนต์แต่ละเดือนน่าจะอยู่ที่ระดับ 6.5 หมื่นคัน หรือมียอดขาย 7.5-7.6 แสนคัน ลดลงราว 5% จากปีที่ผ่านมา
สำหรับในปี 2560 เราคาดว่าตลาดรถยนต์ไทยน่าจะมีการเติบโตอย่างมาก และเชื่อว่าอาจจะกลับไปมียอดจำหน่ายได้สูงสุดถึง 8.8 แสนคันในกรณีที่ดีที่สุด หากมีการกระตุ้นตลาดที่เหมาะสมและผู้บริโภคมีความต้องการซื้อรถยนต์รุ่นใหม่ และมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้เชื่อว่าการกลับมาของอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคตในระยะยาวอาจจะไม่แข็งแกร่งเหมือนในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจนั้นไม่ได้เติบโตอย่างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ แต่เชื่อว่าในช่วงปลายปีน่าจะมีการออกมาตรการใหม่ ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์มา ซึ่งน่าจะเป็นแรงกระตุ้นให้กับผู้ประกอบการในการผลักดันตลาดรถยนต์ร่วมกันเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องในอนาคต
พบกับกิจกรรมดีๆ สำหรับสมาชิกสมาคม และสามารถติดตามข่าวสารของ สมาคมฯ ได้ที่ www.tajathailand.com ซึ่งคณะกรรมการเปิดขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกของสมาคมฯ และคนรักยานยนต์ทั่วประเทศ
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ MGR Motoring