นายพสุ โลหารชุน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ดำเนินการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ผ่านโครงการเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก 4 ด้าน ได้แก่ 1.การเพิ่มผลิตภาพ โดยการวินิจฉัยปัญหาของสถานประกอบการ ประยุกต์ใช้เครื่องมือทางอุตสาหการ การจัดการผลิต และการวิเคราะห์ทางสถิติ 2. การเตรียมความพร้อมสู่มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ อาทิ ISO 9001: 2015
3.การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติ และ 4.การปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต ซ่อมบำรุงและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยวิสาหกิจที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดการสูญเปล่า ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระดับสากล
นอกจากนี้ ปี 2559 กรมฯ ยังมีโครงการที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ หลายโครงการ อาทิ โครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอะไหล่ทดแทน โครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์) ชิ้นส่วนยานยนต์ โครงการส่งเสริมการใช้โปรแกรม CAD/CAM/CAE ในสถานประกอบการ โครงการเตรียมบุคลากรด้านการทดสอบ การทำวิจัยและการพัฒนาในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อป้อนศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคต เป็นต้น โดยโครงการทั้งหมดจะสามารถส่งเสริมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ได้ไม่ต่ำกว่า 300 แห่ง
ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์อันดับต้นของอาเซียนและมีมาตรฐานการผลิตอยู่ในระดับที่ผู้ผลิตยานยนต์ระดับโลกยอมรับ ซึ่งผู้ผลิตในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 1,657 ราย และโรงงานรวม 2,237 แห่ง มูลค่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์มากกว่า 250,000 ล้านบาท โดยปี 2558 การผลิตยานยนต์ของไทยทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์อยู่ในลำดับที่ 12 ของโลก ผลิต 1.915 ล้านคัน
3.การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติ และ 4.การปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต ซ่อมบำรุงและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยวิสาหกิจที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดการสูญเปล่า ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระดับสากล
นอกจากนี้ ปี 2559 กรมฯ ยังมีโครงการที่มุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ หลายโครงการ อาทิ โครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอะไหล่ทดแทน โครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์) ชิ้นส่วนยานยนต์ โครงการส่งเสริมการใช้โปรแกรม CAD/CAM/CAE ในสถานประกอบการ โครงการเตรียมบุคลากรด้านการทดสอบ การทำวิจัยและการพัฒนาในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อป้อนศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคต เป็นต้น โดยโครงการทั้งหมดจะสามารถส่งเสริมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ได้ไม่ต่ำกว่า 300 แห่ง
ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์อันดับต้นของอาเซียนและมีมาตรฐานการผลิตอยู่ในระดับที่ผู้ผลิตยานยนต์ระดับโลกยอมรับ ซึ่งผู้ผลิตในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 1,657 ราย และโรงงานรวม 2,237 แห่ง มูลค่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์มากกว่า 250,000 ล้านบาท โดยปี 2558 การผลิตยานยนต์ของไทยทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์อยู่ในลำดับที่ 12 ของโลก ผลิต 1.915 ล้านคัน