เปิดเป็นสมาคมพ่อบ้านใจกล้าได้เลย สำหรับหนุ่มๆที่ซื้อ “ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์” ที่มองถึงการใช้งานสำหรับครอบครัว หรือรองรับกับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลาย ที่บอกแบบนี้เพราะเมื่อคุณซื้อไป ไหนจะต้องตอบคำถามญาติทางพ่อ น้องทางแม่ กลุ่มเพื่อนสนิท รวมถึงภรรยาสุดรักว่า ทำไมถึงตัดสินใจซื้อรถยนต์รุ่นนี้ ด้วยราคาล้านกว่าบาทกับเอสยูวีที่ไม่ใช่แบรนด์หลักในตลาด ซึ่งความสามารถในการจ่ายเงินระดับนี้ยังมีตัวเลือกอื่นที่คุ้นเคยอีกเพียบ(ที่คนใช้กันเยอะ พูดถึงกันเยอะ)
…ในเมื่อผู้เขียนลองขับมาแล้ว เดี๋ยวเรามาช่วยหาคำตอบพิเศษๆให้กับคำถามธรรมดาๆของชาวบ้านกัน!!!
“ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์” (Subaru Forester) ที่เพิ่งเปิดตัวในงานบางกอกมอเตอร์โชว์ 2016 เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ถือเป็นการไมเนอร์เชนจ์กลายๆ โดยเฉพาะออปชันและการแต้มแต่งรายละเอียดทั้งภายนอกภายในถูกปรับเปลี่ยนไปพอสมควร พร้อมแบ่งการทำตลาดเป็นรุ่น 2.0i และ 2.0i-P (เดิมเรียก 2.0i-L)
แม้โครงสร้างหลักๆไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่ในรุ่น 2.0i-P จะเห็นความต่างจากรุ่นเดิมทั้ง รายละเอียดในโคมไฟหน้า ที่ใช้ไฟใหญ่แบบหลอดLEDควบคุมลำแสงด้วยโปรเจกเตอร์เลนส์(สามารถปรับทิศทางลำแสงตามการเลี้ยวของพวงมาลัย) ล้อมด้วยไฟขับขี่กลางวัน Daytime Running Light แบบ LED ที่อยู่ในกรอบเดียวกัน แถมยังมีหลอดLEDแยกฝังเป็นแนวตั้งเรียงกัน 4 เม็ดที่กันชนหน้าอีกหนึ่งชุดใกล้ๆกับไฟตัดหมอก พร้อมออกแบบลายกระจังหน้าและใช้ล้ออัลลอย 17 นิ้วลายใหม่ ส่วนโคมไฟท้ายทรงเดิมแต่ปรับรายละเอียดด้วยการใช้หลอด LED วางเป็นรูปตัว C
สำหรับออปชันที่เห็นหลังจากเข้าไปนั่งในห้องโดยสาร พบว่าไม่มีหลังคาซันรูฟแล้วนะครับ แต่ถูกเติมด้วยหน้าจอสัมผัส(คอนโซลกลาง) ช่วยควบคุมระบบนำทาง เครื่องเสียง โทรศัพท์ และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ส่วนประตูท้ายเป็นแบบควบคุมการเปิด-ปิดด้วยไฟฟ้า
เหนืออื่นใด “ทีซี ซูบารุ” ยังทำตามสัญญา ด้วยการนำเข้า“ฟอร์เรสเตอร์” มาจากโรงงานประกอบประเทศมาเลเซีย (เรียกเป็นรุ่น CKD) ส่งผลให้ราคาลดลงไปร่วมสามแสนบาทเมื่อเทียบกับโมเดลนำเข้า (CBU) มาจากญี่ปุ่น
เดิมนั้นรุ่น 2.0i-L ที่นำเข้าจากญี่ปุ่นราคา 1.69 ล้านบาท แต่พอเป็นรุ่น CKD มาเลเซียราคาเหลือเพียง 1.398 ล้านบาท คือหายไป 2.92 แสนบาท แต่ได้ออปชันต่างๆที่กล่าวมา ทั้งยังเสริมรุ่นเริ่มต้น 2.0i ที่ลดทอนออปชันลงมาหน่อยและขายเพียง 1.198 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม “ฟอร์เรสเตอร์ ใหม่” ที่ประกอบมาเลเซียจะทำเฉพาะรุ่น 2.0i-P และ 2.0i เครื่องยนต์ 2.0 ลิตรเท่านั้น ส่วนรุ่น 2.0XT ที่ใช้เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร เทอร์โบ ยังนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ราคาขายโดดอยู่ที่ 2.29 ล้านบาท
โดยสิ่งที่“ฟอร์เรสเตอร์” โดดเด่นกว่าเอสยูวีหลายๆรุ่นในระดับราคาใกล้เคียงกัน หนีไม่พ้นประสิทธิภาพของช่วงล่าง การทรงตัว พร้อมระบบขับเคลื่อนสี่ล้อตลอดเวลาแบบสมมาตร ที่ช่วยให้ความมั่นในในการขับขี่สูง แม้การลองขับครั้งนี้ ผู้เขียนไม่ค่อยได้เจออุปสรรคแปลกๆ หรือสภาพการขับขี่แย่ๆ แต่สัมผัสผ่านการเข้าโค้ง-ออกโค้ง ความนิ่งในการควบคุม ถือว่าดีเกินหน้าเกินตา(ความสวยงาม)ของรถ
เหมือนไม่น่าบรรจบกันได้ ด้วยตัวรถยาวระดับ 4.6 เมตร พร้อมหลังคาทรงสูงและดูเป็นทรงกล่องมากกว่าลู่ลมโฉบเฉี่ยว แต่เมื่อลองขับแล้ว “ฟอร์เรสเตอร์” ยังให้ความรู้สึกหนึบแน่น พร้อมเสถียรภาพการทรงตัวอันยอดเยี่ยม ล้ออัลลอย 17 นิ้วประกบยางคอนติเนนตัล 225/60 R17 กับช่วงล่างหน้าแมคเฟอร์สันสตรัทและหลังเป็นปีกนกสองชั้น ไม่ว่าจะขับผ่านถนนห่วย รูดไหล่ทาง เด้งผ่านเนินหลังเต่า(เตี้ยๆ) ช่วงล่างของ“ฟอร์เรสเตอร์” รองรับแรงสะเทือนได้สบาย หรือยังเหลือที่ว่างสำหรับความนุ่มนวลเอาไว้พอสมควร
ขณะที่พวงมาลัยน้ำหนักอาจจะหน่วงมือสักนิด แต่สำหรับผู้เขียนชอบประมาณนี้ครับ คิดว่าลงตัวดีกับเอสยูวีคันโตที่มีระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแบบ AWD ซึ่งประเด็นนี้ไปวัดความนิ่งกันในโค้งได้เลย
ส่วนเครื่องยนต์ FB20 ขนาด 2.0 ลิตร สูบนอน DOHC 4 สูบ 16 วาวล์ ให้กำลังสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 6,200 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 198 นิวตัน-เมตร ที่ 4,200 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติแบบสายพาน CVT ที่ซูบารุเรียกว่า “ลิเนียร์ทรอนิก” การตอบสนองในภาพรวมไม่ถึงกับจัดจ้าน แต่ก็เพียงพอต่อการใช้งาน
ฟอร์เรสเตอร์ 2.0i-P ให้สมดุลดีในการขับขี่ทั่วๆไป ช่วงขยับออกตัวดี ส่วนความเร็วปลายไหลได้ยาวๆ สำคัญที่เกียร์ CVT ชุดนี้ส่งกำลังราบเรียบไร้รอยกระตุก จะมีเพียงจังหวะอัตราเร่งแซงช่วงความเร็วกลางๆอาจจะต้องใช้เวลาปรับตัวกับกันสักระยะ
ในขณะที่ตัวถังใหญ่ ภายในห้องโดยสารโอ่อ่า(ย้ำอีกทีว่าหลังคาสูง) พร้อมเก็บเสียงรบกวนจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ดีระดับเอสยูวียุโรป และอีกหนึ่งลูกเล่นใหม่ที่แปลกใจคนขับคือระบบไฟเลี้ยวที่กระจกมองข้าง นอกจากจะติดตรงขอบหรือกรอบด้านนอกของกระจกเป็นปกติแล้ว ยังฝังไฟรูปแบบลูกศรในกระจกมองข้างให้คนขับได้เห็น(เมื่อเปิดสัญญาณไฟเลี้ยว) พยายามเผื่อแผ่ไปถึงรถที่ขับมาเทียบด้านข้างให้เห็นด้วย (ก็แปลกดีแต่ผู้เขียนว่าไม่ต้องมีก็ได้)
ฟอร์เรสเตอร์ยังมีระบบดับเครื่องยนต์อัตโนมัติเมื่อรถจอดหยุดนิ่ง(ติดไฟแดง) ซึ่งการดับหรือติดของเครื่องยนต์ค่อนข้างนุ่มนวล ส่วนอัตราบริโภคน้ำมันรุ่น2.0i-P ซูบารุเคลมไว้ 7.9 ลิตร ต่อ 100 กม. หรือ 12.6 กม./ลิตร ซึ่งไม่น่าจะเกินความจริงเพราะผู้เขียนก็ได้ตัวเลขใกล้เคียง ระดับ 11-12 กม./ลิตร (จากขับในเมืองรถไม่ติดมาก และใช้ความเร็วเพิ่มขึ้นระดับ 80-120 กม./ชม.เมื่อออกนอกเมือง)
รวบรัดตัดความ...ในยุคที่เอสยูวีเบ่งบาน ทั้งพื้นฐานรถยนต์นั่งและปิกอัพ(พีพีวี) ช่วยส่งเสริมที่ยืนให้ “ฟอร์เรสเตอร์” ได้เป็นอย่างดี ด้วยบุคลิกการขับขี่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ให้สมดุลของการขับขี่ที่ต่างไป คือเป็นรถญี่ปุ่นที่ไม่ติ๋ม และไม่กระด้างระดับพีพีวี บนความอเนกประสงค์ พร้อมรองรับความอบอุ่นในการเดินทางของครอบครัว สนนราคาที่ลดลงจนน่าสนใจมากขึ้น ทั้งหมดน่าจะช่วยตอบคำถามของภรรยาได้ว่าซื้อเอสยูวีรุ่นนี้ทำไม
…ในเมื่อผู้เขียนลองขับมาแล้ว เดี๋ยวเรามาช่วยหาคำตอบพิเศษๆให้กับคำถามธรรมดาๆของชาวบ้านกัน!!!
“ซูบารุ ฟอร์เรสเตอร์” (Subaru Forester) ที่เพิ่งเปิดตัวในงานบางกอกมอเตอร์โชว์ 2016 เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ถือเป็นการไมเนอร์เชนจ์กลายๆ โดยเฉพาะออปชันและการแต้มแต่งรายละเอียดทั้งภายนอกภายในถูกปรับเปลี่ยนไปพอสมควร พร้อมแบ่งการทำตลาดเป็นรุ่น 2.0i และ 2.0i-P (เดิมเรียก 2.0i-L)
แม้โครงสร้างหลักๆไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่ในรุ่น 2.0i-P จะเห็นความต่างจากรุ่นเดิมทั้ง รายละเอียดในโคมไฟหน้า ที่ใช้ไฟใหญ่แบบหลอดLEDควบคุมลำแสงด้วยโปรเจกเตอร์เลนส์(สามารถปรับทิศทางลำแสงตามการเลี้ยวของพวงมาลัย) ล้อมด้วยไฟขับขี่กลางวัน Daytime Running Light แบบ LED ที่อยู่ในกรอบเดียวกัน แถมยังมีหลอดLEDแยกฝังเป็นแนวตั้งเรียงกัน 4 เม็ดที่กันชนหน้าอีกหนึ่งชุดใกล้ๆกับไฟตัดหมอก พร้อมออกแบบลายกระจังหน้าและใช้ล้ออัลลอย 17 นิ้วลายใหม่ ส่วนโคมไฟท้ายทรงเดิมแต่ปรับรายละเอียดด้วยการใช้หลอด LED วางเป็นรูปตัว C
สำหรับออปชันที่เห็นหลังจากเข้าไปนั่งในห้องโดยสาร พบว่าไม่มีหลังคาซันรูฟแล้วนะครับ แต่ถูกเติมด้วยหน้าจอสัมผัส(คอนโซลกลาง) ช่วยควบคุมระบบนำทาง เครื่องเสียง โทรศัพท์ และการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ส่วนประตูท้ายเป็นแบบควบคุมการเปิด-ปิดด้วยไฟฟ้า
เหนืออื่นใด “ทีซี ซูบารุ” ยังทำตามสัญญา ด้วยการนำเข้า“ฟอร์เรสเตอร์” มาจากโรงงานประกอบประเทศมาเลเซีย (เรียกเป็นรุ่น CKD) ส่งผลให้ราคาลดลงไปร่วมสามแสนบาทเมื่อเทียบกับโมเดลนำเข้า (CBU) มาจากญี่ปุ่น
เดิมนั้นรุ่น 2.0i-L ที่นำเข้าจากญี่ปุ่นราคา 1.69 ล้านบาท แต่พอเป็นรุ่น CKD มาเลเซียราคาเหลือเพียง 1.398 ล้านบาท คือหายไป 2.92 แสนบาท แต่ได้ออปชันต่างๆที่กล่าวมา ทั้งยังเสริมรุ่นเริ่มต้น 2.0i ที่ลดทอนออปชันลงมาหน่อยและขายเพียง 1.198 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม “ฟอร์เรสเตอร์ ใหม่” ที่ประกอบมาเลเซียจะทำเฉพาะรุ่น 2.0i-P และ 2.0i เครื่องยนต์ 2.0 ลิตรเท่านั้น ส่วนรุ่น 2.0XT ที่ใช้เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร เทอร์โบ ยังนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ราคาขายโดดอยู่ที่ 2.29 ล้านบาท
โดยสิ่งที่“ฟอร์เรสเตอร์” โดดเด่นกว่าเอสยูวีหลายๆรุ่นในระดับราคาใกล้เคียงกัน หนีไม่พ้นประสิทธิภาพของช่วงล่าง การทรงตัว พร้อมระบบขับเคลื่อนสี่ล้อตลอดเวลาแบบสมมาตร ที่ช่วยให้ความมั่นในในการขับขี่สูง แม้การลองขับครั้งนี้ ผู้เขียนไม่ค่อยได้เจออุปสรรคแปลกๆ หรือสภาพการขับขี่แย่ๆ แต่สัมผัสผ่านการเข้าโค้ง-ออกโค้ง ความนิ่งในการควบคุม ถือว่าดีเกินหน้าเกินตา(ความสวยงาม)ของรถ
เหมือนไม่น่าบรรจบกันได้ ด้วยตัวรถยาวระดับ 4.6 เมตร พร้อมหลังคาทรงสูงและดูเป็นทรงกล่องมากกว่าลู่ลมโฉบเฉี่ยว แต่เมื่อลองขับแล้ว “ฟอร์เรสเตอร์” ยังให้ความรู้สึกหนึบแน่น พร้อมเสถียรภาพการทรงตัวอันยอดเยี่ยม ล้ออัลลอย 17 นิ้วประกบยางคอนติเนนตัล 225/60 R17 กับช่วงล่างหน้าแมคเฟอร์สันสตรัทและหลังเป็นปีกนกสองชั้น ไม่ว่าจะขับผ่านถนนห่วย รูดไหล่ทาง เด้งผ่านเนินหลังเต่า(เตี้ยๆ) ช่วงล่างของ“ฟอร์เรสเตอร์” รองรับแรงสะเทือนได้สบาย หรือยังเหลือที่ว่างสำหรับความนุ่มนวลเอาไว้พอสมควร
ขณะที่พวงมาลัยน้ำหนักอาจจะหน่วงมือสักนิด แต่สำหรับผู้เขียนชอบประมาณนี้ครับ คิดว่าลงตัวดีกับเอสยูวีคันโตที่มีระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแบบ AWD ซึ่งประเด็นนี้ไปวัดความนิ่งกันในโค้งได้เลย
ส่วนเครื่องยนต์ FB20 ขนาด 2.0 ลิตร สูบนอน DOHC 4 สูบ 16 วาวล์ ให้กำลังสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 6,200 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 198 นิวตัน-เมตร ที่ 4,200 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติแบบสายพาน CVT ที่ซูบารุเรียกว่า “ลิเนียร์ทรอนิก” การตอบสนองในภาพรวมไม่ถึงกับจัดจ้าน แต่ก็เพียงพอต่อการใช้งาน
ฟอร์เรสเตอร์ 2.0i-P ให้สมดุลดีในการขับขี่ทั่วๆไป ช่วงขยับออกตัวดี ส่วนความเร็วปลายไหลได้ยาวๆ สำคัญที่เกียร์ CVT ชุดนี้ส่งกำลังราบเรียบไร้รอยกระตุก จะมีเพียงจังหวะอัตราเร่งแซงช่วงความเร็วกลางๆอาจจะต้องใช้เวลาปรับตัวกับกันสักระยะ
ในขณะที่ตัวถังใหญ่ ภายในห้องโดยสารโอ่อ่า(ย้ำอีกทีว่าหลังคาสูง) พร้อมเก็บเสียงรบกวนจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ดีระดับเอสยูวียุโรป และอีกหนึ่งลูกเล่นใหม่ที่แปลกใจคนขับคือระบบไฟเลี้ยวที่กระจกมองข้าง นอกจากจะติดตรงขอบหรือกรอบด้านนอกของกระจกเป็นปกติแล้ว ยังฝังไฟรูปแบบลูกศรในกระจกมองข้างให้คนขับได้เห็น(เมื่อเปิดสัญญาณไฟเลี้ยว) พยายามเผื่อแผ่ไปถึงรถที่ขับมาเทียบด้านข้างให้เห็นด้วย (ก็แปลกดีแต่ผู้เขียนว่าไม่ต้องมีก็ได้)
ฟอร์เรสเตอร์ยังมีระบบดับเครื่องยนต์อัตโนมัติเมื่อรถจอดหยุดนิ่ง(ติดไฟแดง) ซึ่งการดับหรือติดของเครื่องยนต์ค่อนข้างนุ่มนวล ส่วนอัตราบริโภคน้ำมันรุ่น2.0i-P ซูบารุเคลมไว้ 7.9 ลิตร ต่อ 100 กม. หรือ 12.6 กม./ลิตร ซึ่งไม่น่าจะเกินความจริงเพราะผู้เขียนก็ได้ตัวเลขใกล้เคียง ระดับ 11-12 กม./ลิตร (จากขับในเมืองรถไม่ติดมาก และใช้ความเร็วเพิ่มขึ้นระดับ 80-120 กม./ชม.เมื่อออกนอกเมือง)
รวบรัดตัดความ...ในยุคที่เอสยูวีเบ่งบาน ทั้งพื้นฐานรถยนต์นั่งและปิกอัพ(พีพีวี) ช่วยส่งเสริมที่ยืนให้ “ฟอร์เรสเตอร์” ได้เป็นอย่างดี ด้วยบุคลิกการขับขี่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ให้สมดุลของการขับขี่ที่ต่างไป คือเป็นรถญี่ปุ่นที่ไม่ติ๋ม และไม่กระด้างระดับพีพีวี บนความอเนกประสงค์ พร้อมรองรับความอบอุ่นในการเดินทางของครอบครัว สนนราคาที่ลดลงจนน่าสนใจมากขึ้น ทั้งหมดน่าจะช่วยตอบคำถามของภรรยาได้ว่าซื้อเอสยูวีรุ่นนี้ทำไม