ท่ามกลางการชะลอตัวของตลาดรถยนต์ไทย ทำให้ทุกค่ายรถต้องปรับวางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดและแข่งขัน อย่าง “นิสสัน” แบรนด์ที่ค่อนข้างแข็งแกร่งในตลาดอีโคคาร์ ซึ่งกำลังประสบปัญหายอดขายลดลง จึงเป็นความท้าทายของนิสสันในการรับมือสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะนี้ ส่วนจะมีแนวทางอย่างไร?... “คะซุทากะ นัมบุ” ประธาน บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จะมาเปิดอกเล่าชัดๆ ให้เห็นภาพกันเลย...
ห่วงหนี้สินภาคครัวเรือน-ส่งออกแนวโน้มดีขึ้น
“ปัจจัยหลักๆ ที่กระทบต่อตลาดรถยนต์ในประเทศไทย มาจากการชะลอตัวขอเศรษฐกิจ และส่งผลต่อรายได้ของประชาชนลดลง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจในภาคครัวเรือน ตอนนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือหนี้สินต่อครัวเรือน ที่ปัจจุบันอยู่ระดับประมาณ 80% แม้จะไม่ได้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ดีขึ้นหรือลดลง และนั่นทำให้สถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อต่างๆ รวมถึงสินเชื่อรถยนต์ด้วย”
ส่วนการออกมากระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการต่างๆ ของภาครัฐ นัมบุมองว่าเป็นระดับเศรษฐกิจมหาภาค น่าจะเริ่มเห็นผลในช่วงหลังไตรมาสแรกของปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งในส่วนของเศรษฐกิจครัวเรือนที่ยังเป็นปัญหาหนี้สินสูงอยู่ ไม่อยากจะให้ช่องว่างมันห่างกันมาก อยากให้ลดลงมาเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจคือภาคการส่งออก โดยในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มมีทิศทางดีขึ้น จากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะปิกอัพของเกือบทุกค่ายรถ ประกอบกับค่าเงินบาทอ่อนตัว ทำให้ธุรกิจส่งออกของไทยดีขึ้น ในส่วนของนิสสันรถยนต์ส่งออกหลักจะเป็นปิกอัพ “เอ็นพี300 นาวารา” ที่จะมีเพิ่มในอาเซียน และออสเตรเลียปีนี้จะส่งออกเต็มตลอดปี ขณะที่อีโคคาร์หลักๆ จะส่งไปยังญี่ปุ่น
ไม่แข่งสงครามราคา-รักษาสมดุลผลกำไร/ยอดขาย
แน่นอนการชะลอตัวของตลาดรถยนต์ในไทย ย่อมทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง เพื่อแต่ละค่ายรถจะรักษายอดขายไว้ให้ได้มากที่สุด...
“นิสสันไม่อยากเข้าไปในสงครามราคา หรือแข่งให้ข้อเสนอตัดกันไปมา คือมีแต่ต้องเหมาะสมกับสถานการณ์และตัวสินค้า เพื่อรักษาระดับภาพของนิสสัน หรือการเห็นรถนิสสันในตลาด ให้อยู่ประมาณเหมือนกับปีที่ผ่านมา โดยปีนี้นิสสันตั้งเป้ามีส่วนแบ่งตลาดในระดับ 7% ดีกว่าปีที่ผ่านมานิดหน่อย ซึ่งนโยบายนิสสันไม่มองที่ตัวเลขการขายเป็นหลัก เรามุ่งเน้นที่ความสมดุลระหว่างยอดขายกับกำไร ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้บริษัทอยู่ได้อย่างมั่นคงแข็งแกร่ง” นัมบุกล่าวและว่า
นิสสันไม่ได้บอกว่าจะสู้ได้ในทุกตลาด หรือเซกเม้นท์รถยนต์ โดยกลุ่มอีโคคาร์นิสสันมีความแข็งแกร่งมาก แม้จะเห็นรายงานมีค่ายอื่นให้ข้อเสนอเท่านั้นเท่านี้ แต่นิสสัน อัลเมร่า ยังคงมียอดขายอยู่ต่อเนื่องเป็นที่น่าพอใจ เพราะตัวโปรดักซ์มีความแข็งแกร่งของมัน ซึ่งไม่ต้องใช้เงินสนับสนุนเยอะเท่ารายอื่น อาจจะมีบ้างแต่ไม่มาก เนื่องจากอัลเมร่าแนะนำสู่ตลาดมานาน จึงไม่สามารถแข่งขันเรื่องความสดใหม่ได้
สำหรับในตลาดเอสยูวีหากมองภาพรวม นิสสันคงไม่ใช่เบอร์หนึ่ง เพราะปัจจุบันมีรถเข้ามาตลาดในเยอะ นิสสันจึงมีการแยกตามลักษณะการใช้งาน และความต้องการของลูกค้า ซึ่ง “นิสสัน เอ็กซ์-เทรล” นับว่าประสบความสำเร็จในกลุ่มรถคอมแพ็กต์เอสยูวีที่ค่อนข้างใหญ่ และเป็นแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ขณะที่ปิกอัพ “เอ็นพี300 นาวารา” ตรงนี้นิสสันมีความแข็งแกร่งในตลาดภาคเหนือและอีสาน จะเห็นว่าให้ข้อเสนอเพียงเท่านี้ไม่ได้มากมาย แต่ปิกอัพนิสสันก็ยังขายได้ นิสสันจึงพยายามเน้นไปตลาดตรงนั้น
“ภาพรวมนิสสันอาจจะไม่ใช่ท็อปทรี แต่จะเห็นว่านิสสันมีความแข็งแกร่งในตลาดหลักๆ อย่างปิกอัพที่เป็นตลาดใหญ่สุดก็มียอดขายในอับดับ 4-5 ขณะที่ตลาดอีโคคาร์ที่ใหญ่รองลงมา นิสสันยังมีความแข็งแกร่งเป็นอันดับ 2 หรือในตลาดเอสยูวีที่กำลังเติบโต นิสสันก็ประสบความสำเร็จในกลุ่มคอมแพ็กต์เอสยูวี”
‘นิสโม’ ดันภาพลักษณ์-พร้อมเสนอนวัตกรรมใหม่
นัมบุยังระบุว่า... นอกจากนี้นิสสันยังสร้างภาพลักษณ์และเพิ่มทางเลือกใหม่ๆ ในตลาดรถยนต์ไทย ด้วยการเปิดตัว “นิสโม” (Nismo) หรือ Nissan Motorsports ซึ่งเป็นแบรนด์รถแต่งของนิสสันที่มีประวัติมายาวนานกว่า 30 ปี โดยเบื้องต้นได้แนะนำ “นิสสัน อัลเมร่า นิสโม” สู่ตลาดไทย โดยมีให้เลือก 2 แพคเกจชุดแต่ง เป็น “อัลเมร่า นิสโม เพอร์ฟอร์แมซ์แพคเกจ” และ “อัลเมร่า นิสโม แอโร แพคเกจ”
“หลังการเปิดตัวในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ 2016 ลูกค้าให้การตอบรับอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องการรับรู้แบรนด์ เห็นได้จากในโลกโซเชียลมีเดียและสื่อต่างๆ ซึ่งเดิมคนไทย 90% จะไม่รู้จักนิสโมดีพอ และหวังว่าตัวเลขตรงนี้จะลดลงเรื่อยๆ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการยกระดับภาพลักษณ์แบรนด์ ทั้งตัวนิสโมและนิสสันเองให้แข็งแกร่งขึ้น และยังส่งผลต่อยอดขายของรุ่นอัลเมร่าด้วย ส่วนเป้าหมายการขายแบรนด์นิสโมอยู่ที่ประมาณ 10% ของยอดขายรุ่นอัลเมร่า ซึ่งปัจจุบันทำได้ประมาณ 1,200 คันต่อเดือน” นัมบุกล่าวและว่
ในส่วนของการนำผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ นิสสันมีความพร้อมอยู่แล้ว รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่รัฐบาลไทยกำลังให้ความสนใจ ตรงนี้นิสสันถือว่าเป็นผู้นำในรถพลังงานทดแทนกลุ่มนี้ และมีจำหน่ายอยู่ในทั่วโลก ซึ่งหากโอกาสมาถึงก็จะนำเข้าในประเทศไทย
โดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาทำตลาดในไทย อันดับแรกเรื่องการสนับสนุนจากรัฐบาลเกี่ยวกับภาษีรถอีวี เพื่อจูงใจให้ประชาชนสนใจและเป็นเจ้าของได้ง่าย และปัจจัยที่สองโครงสร้างพื้นฐานอย่างสถานีชาร์จไฟรองรับความสะดวกสบายในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยเบื้องต้นอาจจะนำรถเข้าสู่ตลาด ด้วยการที่ภาครัฐเป็นผู้นำในการใช้รถไฟฟ้าให้ประชาชนเห็นก่อนเป็นต้น...
นี่คือมุมมองและกลยุทธ์ของนิสสัน ในการที่จะฝ่าตลาดรถยนต์ในสภาวะชะลอตัวเช่นนี้ แม้แนวทางจะเน้นไปที่ความรัดกุมในการดำเนินธุรกิจ แต่จะยืนหยัดได้หรือไม่? ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดเช่นนี้! และนั่นคงต้องติดตามดูกันยาวๆ...
ห่วงหนี้สินภาคครัวเรือน-ส่งออกแนวโน้มดีขึ้น
“ปัจจัยหลักๆ ที่กระทบต่อตลาดรถยนต์ในประเทศไทย มาจากการชะลอตัวขอเศรษฐกิจ และส่งผลต่อรายได้ของประชาชนลดลง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจในภาคครัวเรือน ตอนนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือหนี้สินต่อครัวเรือน ที่ปัจจุบันอยู่ระดับประมาณ 80% แม้จะไม่ได้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ดีขึ้นหรือลดลง และนั่นทำให้สถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อต่างๆ รวมถึงสินเชื่อรถยนต์ด้วย”
ส่วนการออกมากระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการต่างๆ ของภาครัฐ นัมบุมองว่าเป็นระดับเศรษฐกิจมหาภาค น่าจะเริ่มเห็นผลในช่วงหลังไตรมาสแรกของปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งในส่วนของเศรษฐกิจครัวเรือนที่ยังเป็นปัญหาหนี้สินสูงอยู่ ไม่อยากจะให้ช่องว่างมันห่างกันมาก อยากให้ลดลงมาเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจคือภาคการส่งออก โดยในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มมีทิศทางดีขึ้น จากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะปิกอัพของเกือบทุกค่ายรถ ประกอบกับค่าเงินบาทอ่อนตัว ทำให้ธุรกิจส่งออกของไทยดีขึ้น ในส่วนของนิสสันรถยนต์ส่งออกหลักจะเป็นปิกอัพ “เอ็นพี300 นาวารา” ที่จะมีเพิ่มในอาเซียน และออสเตรเลียปีนี้จะส่งออกเต็มตลอดปี ขณะที่อีโคคาร์หลักๆ จะส่งไปยังญี่ปุ่น
ไม่แข่งสงครามราคา-รักษาสมดุลผลกำไร/ยอดขาย
แน่นอนการชะลอตัวของตลาดรถยนต์ในไทย ย่อมทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง เพื่อแต่ละค่ายรถจะรักษายอดขายไว้ให้ได้มากที่สุด...
“นิสสันไม่อยากเข้าไปในสงครามราคา หรือแข่งให้ข้อเสนอตัดกันไปมา คือมีแต่ต้องเหมาะสมกับสถานการณ์และตัวสินค้า เพื่อรักษาระดับภาพของนิสสัน หรือการเห็นรถนิสสันในตลาด ให้อยู่ประมาณเหมือนกับปีที่ผ่านมา โดยปีนี้นิสสันตั้งเป้ามีส่วนแบ่งตลาดในระดับ 7% ดีกว่าปีที่ผ่านมานิดหน่อย ซึ่งนโยบายนิสสันไม่มองที่ตัวเลขการขายเป็นหลัก เรามุ่งเน้นที่ความสมดุลระหว่างยอดขายกับกำไร ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้บริษัทอยู่ได้อย่างมั่นคงแข็งแกร่ง” นัมบุกล่าวและว่า
นิสสันไม่ได้บอกว่าจะสู้ได้ในทุกตลาด หรือเซกเม้นท์รถยนต์ โดยกลุ่มอีโคคาร์นิสสันมีความแข็งแกร่งมาก แม้จะเห็นรายงานมีค่ายอื่นให้ข้อเสนอเท่านั้นเท่านี้ แต่นิสสัน อัลเมร่า ยังคงมียอดขายอยู่ต่อเนื่องเป็นที่น่าพอใจ เพราะตัวโปรดักซ์มีความแข็งแกร่งของมัน ซึ่งไม่ต้องใช้เงินสนับสนุนเยอะเท่ารายอื่น อาจจะมีบ้างแต่ไม่มาก เนื่องจากอัลเมร่าแนะนำสู่ตลาดมานาน จึงไม่สามารถแข่งขันเรื่องความสดใหม่ได้
สำหรับในตลาดเอสยูวีหากมองภาพรวม นิสสันคงไม่ใช่เบอร์หนึ่ง เพราะปัจจุบันมีรถเข้ามาตลาดในเยอะ นิสสันจึงมีการแยกตามลักษณะการใช้งาน และความต้องการของลูกค้า ซึ่ง “นิสสัน เอ็กซ์-เทรล” นับว่าประสบความสำเร็จในกลุ่มรถคอมแพ็กต์เอสยูวีที่ค่อนข้างใหญ่ และเป็นแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ขณะที่ปิกอัพ “เอ็นพี300 นาวารา” ตรงนี้นิสสันมีความแข็งแกร่งในตลาดภาคเหนือและอีสาน จะเห็นว่าให้ข้อเสนอเพียงเท่านี้ไม่ได้มากมาย แต่ปิกอัพนิสสันก็ยังขายได้ นิสสันจึงพยายามเน้นไปตลาดตรงนั้น
“ภาพรวมนิสสันอาจจะไม่ใช่ท็อปทรี แต่จะเห็นว่านิสสันมีความแข็งแกร่งในตลาดหลักๆ อย่างปิกอัพที่เป็นตลาดใหญ่สุดก็มียอดขายในอับดับ 4-5 ขณะที่ตลาดอีโคคาร์ที่ใหญ่รองลงมา นิสสันยังมีความแข็งแกร่งเป็นอันดับ 2 หรือในตลาดเอสยูวีที่กำลังเติบโต นิสสันก็ประสบความสำเร็จในกลุ่มคอมแพ็กต์เอสยูวี”
‘นิสโม’ ดันภาพลักษณ์-พร้อมเสนอนวัตกรรมใหม่
นัมบุยังระบุว่า... นอกจากนี้นิสสันยังสร้างภาพลักษณ์และเพิ่มทางเลือกใหม่ๆ ในตลาดรถยนต์ไทย ด้วยการเปิดตัว “นิสโม” (Nismo) หรือ Nissan Motorsports ซึ่งเป็นแบรนด์รถแต่งของนิสสันที่มีประวัติมายาวนานกว่า 30 ปี โดยเบื้องต้นได้แนะนำ “นิสสัน อัลเมร่า นิสโม” สู่ตลาดไทย โดยมีให้เลือก 2 แพคเกจชุดแต่ง เป็น “อัลเมร่า นิสโม เพอร์ฟอร์แมซ์แพคเกจ” และ “อัลเมร่า นิสโม แอโร แพคเกจ”
“หลังการเปิดตัวในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ 2016 ลูกค้าให้การตอบรับอย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องการรับรู้แบรนด์ เห็นได้จากในโลกโซเชียลมีเดียและสื่อต่างๆ ซึ่งเดิมคนไทย 90% จะไม่รู้จักนิสโมดีพอ และหวังว่าตัวเลขตรงนี้จะลดลงเรื่อยๆ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการยกระดับภาพลักษณ์แบรนด์ ทั้งตัวนิสโมและนิสสันเองให้แข็งแกร่งขึ้น และยังส่งผลต่อยอดขายของรุ่นอัลเมร่าด้วย ส่วนเป้าหมายการขายแบรนด์นิสโมอยู่ที่ประมาณ 10% ของยอดขายรุ่นอัลเมร่า ซึ่งปัจจุบันทำได้ประมาณ 1,200 คันต่อเดือน” นัมบุกล่าวและว่
ในส่วนของการนำผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ นิสสันมีความพร้อมอยู่แล้ว รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่รัฐบาลไทยกำลังให้ความสนใจ ตรงนี้นิสสันถือว่าเป็นผู้นำในรถพลังงานทดแทนกลุ่มนี้ และมีจำหน่ายอยู่ในทั่วโลก ซึ่งหากโอกาสมาถึงก็จะนำเข้าในประเทศไทย
โดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดการนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาทำตลาดในไทย อันดับแรกเรื่องการสนับสนุนจากรัฐบาลเกี่ยวกับภาษีรถอีวี เพื่อจูงใจให้ประชาชนสนใจและเป็นเจ้าของได้ง่าย และปัจจัยที่สองโครงสร้างพื้นฐานอย่างสถานีชาร์จไฟรองรับความสะดวกสบายในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยเบื้องต้นอาจจะนำรถเข้าสู่ตลาด ด้วยการที่ภาครัฐเป็นผู้นำในการใช้รถไฟฟ้าให้ประชาชนเห็นก่อนเป็นต้น...
นี่คือมุมมองและกลยุทธ์ของนิสสัน ในการที่จะฝ่าตลาดรถยนต์ในสภาวะชะลอตัวเช่นนี้ แม้แนวทางจะเน้นไปที่ความรัดกุมในการดำเนินธุรกิจ แต่จะยืนหยัดได้หรือไม่? ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดเช่นนี้! และนั่นคงต้องติดตามดูกันยาวๆ...