สนุกสนานชื่นบานดีครับ สำหรับตลาดรถอเนกประสงค์ในเมืองไทยปีนี้ ที่จริงๆกลุ่มหลักก็ต้องยกให้ “เอสยูวี” ที่มีมากมายหลากหลายทางเลือก(ในกลุ่มนี้จะแยกเรียกเป็น ครอสโอเวอร์ หรือ พีพีวีก็สุดแล้วแต่ตำแหน่งสินค้าและการสื่อสารการตลาดของค่ายรถยนต์นั้นๆ)
แต่ในกลุ่มบ้านเล็กอย่าง “เอ็มพีวี” (MPV- Multi Purpose Vehicles) ที่ถึงแม้จะได้รับความนิยมน้อยกว่า ทว่าบรรดาค่ายรถยนต์ก็ไม่ทิ้ง เพราะที่ไปผูกมิตรไมตรีจิตกับโรงงานผลิตที่อินโดนีเซียไว้คงต้องเอาของเขาเข้ามาขายบ้าง
...บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต้องมีการแลกโปรดักต์ นำเข้า-ส่งออกซึ่งกันและกันในแต่ละประเทศไม่ให้น่าเกลียด และเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียนของบริษัทแม่
ดังนั้น “ซูซูกิ เออร์ติก้า” (Suzuki Ertiga) ก็น่าจะเข้าข่ายนี้ หลังจากโยก “สวิฟท์” มาผลิตเมืองไทย ดังนั้นต้องนำเข้าเอ็มพีวีขนาดเล็กรุ่นนี้ จากโรงงานในประเทศอินโดนีเซียมาทำตลาดบ้าง ซึ่งจะว่าไปยอดขายที่ ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย ตั้งไว้ไม่เยอะครับ หรือแค่ 1,000 คันต่อปีเท่านั้นเอง (ที่เหลือเป็น “สวิฟท์” 9,000 คัน “เซียส” 9,000 คัน “แคร์รี” 3,000 คัน “เซเลริโอ” 2,000 คัน รวม 1,000 คันของเออร์ติก้า ก็ศิริรวม 24,000 คัน)
สำหรับ “เออร์ติก้า” เปิดตัวครั้งแรกในเมืองไทยต้นปี 2556 ตอนนั้นทำตลาดในช่วงเวลาใกล้เคียงกับ “เชฟโรเลต สปิน” และนำมาเปรียบมวยได้อย่างสูสี (ผู้จัดการมอเตอริ่ง เคยนำเสนอบทความทดสอบเปรียบเทียบในช่วงนั้น) ซึ่งวันนี้อย่างที่รู้กันว่า เอ็มพีวีแบรนด์อเมริกัน เลิกทำตลาดพร้อมๆกับปิดโรงงานผลิตที่อินโดนีเซียไปแล้ว
ส่วน “เออร์ติก้า” สถานการณ์ยังฉลุย และเมืองไทยก็เด้งรับหลังการเปิดตัวรุ่นไมเนอร์เชนจ์ทันที
...ประมาณ 3 ปีหลังการเปิดตัวครั้งแรก แล้วรุ่นไมเนอร์เชนจ์มีอะไรเปลี่ยนบ้าง
การทำตลาด “เออร์ติก้า ไมเนอร์เชนจ์” แบ่งเป็นสองรุ่นย่อยคือ ตัวเริ่มต้น GL ราคา 6.55 แสนบาท และตัวท็อปชื่อ “เดรซ่า” (Dreza) ราคา 7.15 แสนบาท
ว่ากันที่ตัวท็อป “เดรซ่า” เป็นภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษว่า “เดรสอัพ” หรือแปลเป็นไทยตามภาษาของผู้จัดการมอเตอริ่งคือรุ่น แต่ง(ตัว)หน้าทาปาก
หน้าตาในรุ่น “เดรซ่า” นี้ ออกแนวประหลาด ตั้งแต่เส้นขอบฝากระโปรงหน้า กระจัง และลายกันชนด้านล่าง ขณะที่รุ่น GL ออกแบบให้ต่างจากเดิมก็จริง แต่ด้านหน้าดูแล้วยังเน้นความเรียบง่าย มองสบายตากว่า
ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่เหมือนๆกันทั้งสองรุ่นคือ ล้ออัลลอยลายใหม่ รูปแบบไฟท้ายที่ฝากระโปรงหลัง ที่แปะไฟทับทิมเพิ่มเข้ามาจากรอบเดิม รับกับลายใหม่ของแผงโครเมียมแสดงชื่อรุ่น ERTIGA
เรื่องการตกแต่งที่ว่าต่างอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ในส่วนของโครงสร้างและเทคนิควิศวกรรมยานยนต์ ที่สายตามองไม่เห็นถือว่าเปลี่ยนไปพอสมควร
เริ่มจากน้ำหนักตัวรถโดยรวม หายไป 70 กิโลกรัมเมื่อเทียบกับรุ่นเดิม จากความสามารถในการรีดน้ำหนักโครงสร้าง ที่ซูซูกิเรียกว่า Total Effective Control Technology (TECT) เทคโนโลยีที่ช่วยให้ตัวถังน้ำหนักเบาแต่ยังแข็งแกร่งด้วยเหล็กชนิดพิเศษ (เหมือน “ซูซูกิ เซียส” ที่ตัวถังเบ้อเริ่ม แต่น้ำหนักตัวยังแค่หนึ่งตันนิดๆ)
สรุปว่าน้ำหนักที่ลดไปนี้เป็นเรื่องของโครงสร้างตัวถังล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับขุมพลังหรือระบบขับเคลื่อน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนเครื่องยนต์ K14B 4 สูบ 1.4 ลิตร มีการปรับจูนเล็กน้อยทำให้แรงม้าลดลงมา 3 ตัว หรือให้กำลังสูงสุด 92 แรงม้าที่ 6,000 รอบต่อนาที (เดิม 95 แรงม้า) ขณะเดียวกันซูซูกิยังปรับอัตราทดเกียร์ใหม่ให้สอดคล้องกัน ซึ่งเกียร์เป็นอัตโนมัติ 4 สปีดระบบเฟือง ทอร์คคอนเวอร์เตอร์
ประเด็นนี้มามองกันที่โครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ก่อนนะครับ ถึงแม้ เออร์ติก้า ไมเนอร์เชนจ์ ถูกปรับกำลังเครื่องยนต์ใหม่ แต่สุดท้ายยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 154 กรัมต่อกิโลเมตร (เดิม 157 กรัมต่อกิโลเมตร) ขณะที่เครืองยนต์ก็รองรับแค่แก๊สโซฮอล์ E20 ดังนั้นจึงต้องเสียภาษีในอัตรา 35% เพิ่มจากรุ่นเดิมที่เสียภาษีสรรพสามิต 25%
…เรียกว่าพยายามทำสุดๆแล้ว แต่น่าจะปรับจูนได้แค่นี้ ก็ต้องยอมอยู่ในพิกัดภาษีใหม่ แต่ยังมีข้อดีที่อัตราบริโภคน้ำมัน จากตัวเลขทดสอบภายในของซูซูกิระบุว่า รุ่นไมเนอร์เชนจ์จะกินเฉลี่ย 15.4 กม./ลิตร ประหยัดกว่าเดิมที่ทำได้ 14.9 กม./ลิตร
สุดท้ายราคาขายในรุ่น GL เพิ่มจากเดิม 16,000 บาท ส่วนรุ่นท็อปที่เปลี่ยนจากชื่อ GX เป็นเดรซ่า ปรับขึ้น 26,000 บาท
สำหรับสมรรถนะการขับขี่ ผู้เขียนได้ลองรุ่นเดรซ่า บนเส้นทาง พิษณุโลก-สุโขทัย-อุตรดิตถ์ นั่งกันไป 4 คน ซึ่งบุคลิกคล้ายๆรุ่นเดิมครับ ที่เน้นการขับขี่สบายๆ ควบคุมง่ายๆ
รถออกตัวดี ขณะที่อัตราเร่งอยู่ในระดับพอใช้ในช่วงความเร็วกลางๆ ส่วนความเร็วปลายเกิน 100 กม./ชม.ไหลลื่น
ทั้งนี้ช่วงล่างไม่ได้ปรับปรุงอะไร โครงสร้างหน้าเป็นแมคเฟอร์สันสตรัท หลังเป็นคานทอร์ชันบีม พร้อมคอยล์สปริง ประกบล้ออัลลอยขนาด 15 นิ้ว ยางบริดจสโตน อีโคเปีย 185/65 R15 (ในรุ่นเดรซ่า)
ช่วงล่างรองรับการสะเทือนจากพื้นถนนและอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างนุ่มนวล ทว่าการขับบนความเร็วสูงเกิน 100 กม./ชม. ขึ้นไป อาจจะรับรู้ถึงอาการโยน หรือตัวถังโคลงอยู่บ้าง ตามลักษณะถนน
ด้านพวงมาลัยแบบแรคแอนด์พิเนียน ควบคุมคล่องตัวในการขับขี่ในเมือง แต่สำหรับวิ่งทางไกลใช้ความเร็วสูงก็อยากให้เสถียรกว่านี้อีกนิด
จุดเด่นของเออร์ติก้า ที่ทำได้ดีเกินความคาดหวังน่าจะเป็นการเก็บเสียงจากภายนอกที่จะเข้ามารบกวนภายในห้องโดยสาร อยู่ในระดับเงียบนิ่ง เผลอๆเสียงที่ดังที่สุดอาจจะเป็นเสียงพัดลมแอร์ถ้าเปิดระดับแรงสุดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
สอดคล้องกับความอเนกประสงค์ของเบาะนั่งเลื่อนระดับ ปรับพับได้หลากหลาย ซึ่งในรุ่นไมเนอร์เชนจ์ พนักพิงหลังของเบาะแถวสามสามารถแยกพับได้แบบ 50:50 ต่างจากเดิมที่ต้องพับลงไปทั้งแผ่น
ทว่าความอเนกประสงค์ที่ผู้เขียนว่า ต้องเพิ่มเติมสำหรับการเป็นรถครอบครัวสมัยใหม่ น่าจะเป็นช่องต่อ USB ที่สามารถชาร์จไฟเข้ากับอุปกรณ์ IT ได้ทันที ซึ่งในรุ่นนี้มีเพียงหนึ่งช่อง ที่อยู่คู่กับช่องจ่ายไฟ 12V ตรงกลางคอนโซลหน้า และเพิ่มช่องจ่ายไฟ 12Vให้กับผู้โดยสารด้านหลังอีกหนึ่งจุดเท่านั้น
ด้านอัตราบริโภคน้ำมัน นั่งกัน 4 คน ผลัดกันขับแต่ก็เหยียบคันเร่งกันหนักหรือใช้ความเร็วเฉลี่ยในทางตรงยาวๆ 120 กม./ชม. ยังเห็นตัวเลข 13-14 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ...รูปลักษณ์ประหลาดไปในรุ่นท็อป “เดรซ่า” ตามอินโดนีเซียนิยม แต่ก็ไม่ต้องตกใจเพราะซูซูกิหวังขายตัว GL มากว่า เป็นสัดส่วน 70/30 จากเป้ายอดขาย 1,000 คันในปีนี้ เครื่องยนต์ปรับจูนมาใหม่แต่ที่สุดแล้วก็โดนภาษีแพงขึ้น ซึ่งซูซูกิก็ปรับราคาตามสมควร ในส่วนของตัวรถยังถือเป็น “มินิ เอ็มพีวี” 7 ที่นั่ง ที่น่าสนใจ แม้เครื่องยนต์แค่ 1.4 ลิตร ประกบเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด แต่น้ำหนักตัวรถก็เบาลง ตอบสนองการขับขี่ไม่ขี้เหร่ พร้อมอัตราบริโภคน้ำมันที่เป็นมิตร (ขึ้นอยู่กับบรรทุกคนขนของไปขนาดไหน)
….ใครอยากได้เอสยูวีก็ว่ากันไป แต่ถ้ามองตัวเลือก “มินิ เอ็มพีวี” เอาไว้ “เออร์ติก้า ไมเนอร์เชนจ์” ราคาแค่ “หกแสนกลางๆ” ระดับวิ่งในเมืองเยี่ยม และเป็นรถครอบครัวที่ดีพอสำหรับการขับไปต่างจังหวัด พร้อมให้ความคุ้มค่าครับ
แต่ในกลุ่มบ้านเล็กอย่าง “เอ็มพีวี” (MPV- Multi Purpose Vehicles) ที่ถึงแม้จะได้รับความนิยมน้อยกว่า ทว่าบรรดาค่ายรถยนต์ก็ไม่ทิ้ง เพราะที่ไปผูกมิตรไมตรีจิตกับโรงงานผลิตที่อินโดนีเซียไว้คงต้องเอาของเขาเข้ามาขายบ้าง
...บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต้องมีการแลกโปรดักต์ นำเข้า-ส่งออกซึ่งกันและกันในแต่ละประเทศไม่ให้น่าเกลียด และเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียนของบริษัทแม่
ดังนั้น “ซูซูกิ เออร์ติก้า” (Suzuki Ertiga) ก็น่าจะเข้าข่ายนี้ หลังจากโยก “สวิฟท์” มาผลิตเมืองไทย ดังนั้นต้องนำเข้าเอ็มพีวีขนาดเล็กรุ่นนี้ จากโรงงานในประเทศอินโดนีเซียมาทำตลาดบ้าง ซึ่งจะว่าไปยอดขายที่ ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย ตั้งไว้ไม่เยอะครับ หรือแค่ 1,000 คันต่อปีเท่านั้นเอง (ที่เหลือเป็น “สวิฟท์” 9,000 คัน “เซียส” 9,000 คัน “แคร์รี” 3,000 คัน “เซเลริโอ” 2,000 คัน รวม 1,000 คันของเออร์ติก้า ก็ศิริรวม 24,000 คัน)
สำหรับ “เออร์ติก้า” เปิดตัวครั้งแรกในเมืองไทยต้นปี 2556 ตอนนั้นทำตลาดในช่วงเวลาใกล้เคียงกับ “เชฟโรเลต สปิน” และนำมาเปรียบมวยได้อย่างสูสี (ผู้จัดการมอเตอริ่ง เคยนำเสนอบทความทดสอบเปรียบเทียบในช่วงนั้น) ซึ่งวันนี้อย่างที่รู้กันว่า เอ็มพีวีแบรนด์อเมริกัน เลิกทำตลาดพร้อมๆกับปิดโรงงานผลิตที่อินโดนีเซียไปแล้ว
ส่วน “เออร์ติก้า” สถานการณ์ยังฉลุย และเมืองไทยก็เด้งรับหลังการเปิดตัวรุ่นไมเนอร์เชนจ์ทันที
...ประมาณ 3 ปีหลังการเปิดตัวครั้งแรก แล้วรุ่นไมเนอร์เชนจ์มีอะไรเปลี่ยนบ้าง
การทำตลาด “เออร์ติก้า ไมเนอร์เชนจ์” แบ่งเป็นสองรุ่นย่อยคือ ตัวเริ่มต้น GL ราคา 6.55 แสนบาท และตัวท็อปชื่อ “เดรซ่า” (Dreza) ราคา 7.15 แสนบาท
ว่ากันที่ตัวท็อป “เดรซ่า” เป็นภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษว่า “เดรสอัพ” หรือแปลเป็นไทยตามภาษาของผู้จัดการมอเตอริ่งคือรุ่น แต่ง(ตัว)หน้าทาปาก
หน้าตาในรุ่น “เดรซ่า” นี้ ออกแนวประหลาด ตั้งแต่เส้นขอบฝากระโปรงหน้า กระจัง และลายกันชนด้านล่าง ขณะที่รุ่น GL ออกแบบให้ต่างจากเดิมก็จริง แต่ด้านหน้าดูแล้วยังเน้นความเรียบง่าย มองสบายตากว่า
ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่เหมือนๆกันทั้งสองรุ่นคือ ล้ออัลลอยลายใหม่ รูปแบบไฟท้ายที่ฝากระโปรงหลัง ที่แปะไฟทับทิมเพิ่มเข้ามาจากรอบเดิม รับกับลายใหม่ของแผงโครเมียมแสดงชื่อรุ่น ERTIGA
เรื่องการตกแต่งที่ว่าต่างอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ในส่วนของโครงสร้างและเทคนิควิศวกรรมยานยนต์ ที่สายตามองไม่เห็นถือว่าเปลี่ยนไปพอสมควร
เริ่มจากน้ำหนักตัวรถโดยรวม หายไป 70 กิโลกรัมเมื่อเทียบกับรุ่นเดิม จากความสามารถในการรีดน้ำหนักโครงสร้าง ที่ซูซูกิเรียกว่า Total Effective Control Technology (TECT) เทคโนโลยีที่ช่วยให้ตัวถังน้ำหนักเบาแต่ยังแข็งแกร่งด้วยเหล็กชนิดพิเศษ (เหมือน “ซูซูกิ เซียส” ที่ตัวถังเบ้อเริ่ม แต่น้ำหนักตัวยังแค่หนึ่งตันนิดๆ)
สรุปว่าน้ำหนักที่ลดไปนี้เป็นเรื่องของโครงสร้างตัวถังล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับขุมพลังหรือระบบขับเคลื่อน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนเครื่องยนต์ K14B 4 สูบ 1.4 ลิตร มีการปรับจูนเล็กน้อยทำให้แรงม้าลดลงมา 3 ตัว หรือให้กำลังสูงสุด 92 แรงม้าที่ 6,000 รอบต่อนาที (เดิม 95 แรงม้า) ขณะเดียวกันซูซูกิยังปรับอัตราทดเกียร์ใหม่ให้สอดคล้องกัน ซึ่งเกียร์เป็นอัตโนมัติ 4 สปีดระบบเฟือง ทอร์คคอนเวอร์เตอร์
ประเด็นนี้มามองกันที่โครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ก่อนนะครับ ถึงแม้ เออร์ติก้า ไมเนอร์เชนจ์ ถูกปรับกำลังเครื่องยนต์ใหม่ แต่สุดท้ายยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 154 กรัมต่อกิโลเมตร (เดิม 157 กรัมต่อกิโลเมตร) ขณะที่เครืองยนต์ก็รองรับแค่แก๊สโซฮอล์ E20 ดังนั้นจึงต้องเสียภาษีในอัตรา 35% เพิ่มจากรุ่นเดิมที่เสียภาษีสรรพสามิต 25%
…เรียกว่าพยายามทำสุดๆแล้ว แต่น่าจะปรับจูนได้แค่นี้ ก็ต้องยอมอยู่ในพิกัดภาษีใหม่ แต่ยังมีข้อดีที่อัตราบริโภคน้ำมัน จากตัวเลขทดสอบภายในของซูซูกิระบุว่า รุ่นไมเนอร์เชนจ์จะกินเฉลี่ย 15.4 กม./ลิตร ประหยัดกว่าเดิมที่ทำได้ 14.9 กม./ลิตร
สุดท้ายราคาขายในรุ่น GL เพิ่มจากเดิม 16,000 บาท ส่วนรุ่นท็อปที่เปลี่ยนจากชื่อ GX เป็นเดรซ่า ปรับขึ้น 26,000 บาท
สำหรับสมรรถนะการขับขี่ ผู้เขียนได้ลองรุ่นเดรซ่า บนเส้นทาง พิษณุโลก-สุโขทัย-อุตรดิตถ์ นั่งกันไป 4 คน ซึ่งบุคลิกคล้ายๆรุ่นเดิมครับ ที่เน้นการขับขี่สบายๆ ควบคุมง่ายๆ
รถออกตัวดี ขณะที่อัตราเร่งอยู่ในระดับพอใช้ในช่วงความเร็วกลางๆ ส่วนความเร็วปลายเกิน 100 กม./ชม.ไหลลื่น
ทั้งนี้ช่วงล่างไม่ได้ปรับปรุงอะไร โครงสร้างหน้าเป็นแมคเฟอร์สันสตรัท หลังเป็นคานทอร์ชันบีม พร้อมคอยล์สปริง ประกบล้ออัลลอยขนาด 15 นิ้ว ยางบริดจสโตน อีโคเปีย 185/65 R15 (ในรุ่นเดรซ่า)
ช่วงล่างรองรับการสะเทือนจากพื้นถนนและอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างนุ่มนวล ทว่าการขับบนความเร็วสูงเกิน 100 กม./ชม. ขึ้นไป อาจจะรับรู้ถึงอาการโยน หรือตัวถังโคลงอยู่บ้าง ตามลักษณะถนน
ด้านพวงมาลัยแบบแรคแอนด์พิเนียน ควบคุมคล่องตัวในการขับขี่ในเมือง แต่สำหรับวิ่งทางไกลใช้ความเร็วสูงก็อยากให้เสถียรกว่านี้อีกนิด
จุดเด่นของเออร์ติก้า ที่ทำได้ดีเกินความคาดหวังน่าจะเป็นการเก็บเสียงจากภายนอกที่จะเข้ามารบกวนภายในห้องโดยสาร อยู่ในระดับเงียบนิ่ง เผลอๆเสียงที่ดังที่สุดอาจจะเป็นเสียงพัดลมแอร์ถ้าเปิดระดับแรงสุดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
สอดคล้องกับความอเนกประสงค์ของเบาะนั่งเลื่อนระดับ ปรับพับได้หลากหลาย ซึ่งในรุ่นไมเนอร์เชนจ์ พนักพิงหลังของเบาะแถวสามสามารถแยกพับได้แบบ 50:50 ต่างจากเดิมที่ต้องพับลงไปทั้งแผ่น
ทว่าความอเนกประสงค์ที่ผู้เขียนว่า ต้องเพิ่มเติมสำหรับการเป็นรถครอบครัวสมัยใหม่ น่าจะเป็นช่องต่อ USB ที่สามารถชาร์จไฟเข้ากับอุปกรณ์ IT ได้ทันที ซึ่งในรุ่นนี้มีเพียงหนึ่งช่อง ที่อยู่คู่กับช่องจ่ายไฟ 12V ตรงกลางคอนโซลหน้า และเพิ่มช่องจ่ายไฟ 12Vให้กับผู้โดยสารด้านหลังอีกหนึ่งจุดเท่านั้น
ด้านอัตราบริโภคน้ำมัน นั่งกัน 4 คน ผลัดกันขับแต่ก็เหยียบคันเร่งกันหนักหรือใช้ความเร็วเฉลี่ยในทางตรงยาวๆ 120 กม./ชม. ยังเห็นตัวเลข 13-14 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ...รูปลักษณ์ประหลาดไปในรุ่นท็อป “เดรซ่า” ตามอินโดนีเซียนิยม แต่ก็ไม่ต้องตกใจเพราะซูซูกิหวังขายตัว GL มากว่า เป็นสัดส่วน 70/30 จากเป้ายอดขาย 1,000 คันในปีนี้ เครื่องยนต์ปรับจูนมาใหม่แต่ที่สุดแล้วก็โดนภาษีแพงขึ้น ซึ่งซูซูกิก็ปรับราคาตามสมควร ในส่วนของตัวรถยังถือเป็น “มินิ เอ็มพีวี” 7 ที่นั่ง ที่น่าสนใจ แม้เครื่องยนต์แค่ 1.4 ลิตร ประกบเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด แต่น้ำหนักตัวรถก็เบาลง ตอบสนองการขับขี่ไม่ขี้เหร่ พร้อมอัตราบริโภคน้ำมันที่เป็นมิตร (ขึ้นอยู่กับบรรทุกคนขนของไปขนาดไหน)
….ใครอยากได้เอสยูวีก็ว่ากันไป แต่ถ้ามองตัวเลือก “มินิ เอ็มพีวี” เอาไว้ “เออร์ติก้า ไมเนอร์เชนจ์” ราคาแค่ “หกแสนกลางๆ” ระดับวิ่งในเมืองเยี่ยม และเป็นรถครอบครัวที่ดีพอสำหรับการขับไปต่างจังหวัด พร้อมให้ความคุ้มค่าครับ