ปลุกตลาดรถยนต์ไทยกลับมาคึกคักทีเดียว เมื่อค่ายยักษ์ใหญ่ต่างส่งโฉมใหม่ของรถพีพีวี(PPV) หรือเอสยูวี(SUV) ตามแบบเรียกในตลาดโลก ไม่ว่าจะเป็นฟอร์ด เอเวอเรสต์ หรือโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ และล่าสุดมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต มาท้าชนในเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งไม่เพียงจะฟาดฟันกันเฉพาะแค่ 3 รุ่นใหม่ แต่ยังสะเทือนไปถึงอีก 2 รุ่นที่ทำตลาดในปัจจุบัน เหตุนี้ “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” จึงสำรวจข้อมูลทางเทคนิคและออปชันต่างๆว่า ยี่ห้อไหนรุ่นใดจะมีจุดเด่นเป็นหมัดเด็ดไว้ชิงลูกค้าบ้าง?!...
พีพีวีเป็นรถอเนกประสงค์ที่พัฒนาบนพื้นฐานของปิกอัพ ตามเงื่อนไขส่งเสริมการผลิตและลงทุนของรัฐบาลไทย จึงแยกเรียกประเภทรถนี้ว่า “พีพีวี” (PPV) เพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสรรพสามิตต่ำกว่ารถอเนกประสงค์เอสยูวี แม้รูปลักษณ์หน้าตาหรือลักษณะการใช้งานจะไม่แตกต่างกัน(เอสยูวีส่วนใหญ่จะพัฒนาบนพื้นฐานรถยนต์นั่ง) ซึ่งรถพีพีวีเหล่านี้เมื่อส่งออกไปขายต่างประเทศก็เรียกเอสยูวี หรือในทางการตลาดค่ายรถพยายามเรียกเอสยูวีแทนรถพีพีวีเช่นกัน ปัจจุบันที่ทำตลาดอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์, มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต,ฟอร์ด เอเวอเรสต์,อีซูซุ มิว-เอ็กซ์ และเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์
ยกระดับสู่มาตรฐานของเอสยูวี
โฉมใหม่ของมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต และโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ที่เพิ่งแนะนำสู่ตลาดล่าสุดนับว่าสร้างความฮือฮา จากการพัฒนารูปลักษณ์แทบไม่เหลือเงาร่างของปิกอัพอยู่เลย ไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายในห้องโดยสาร จนสามารถเรียกเอสยูวีได้อย่างเต็มปากเต็มคำขึ้น แม้จะพัฒนาบนพื้นตัวถังปิกอัพก็ตาม แถมรถพีพีวีที่ทำตลาดในปัจจุบันยังเพิ่มความหรูหราเข้ามาอีก อย่างรุ่นบนๆ จะมีไฟหน้าปรับสูง-ต่ำอัตโนมัติแทบทุกค่าย ยกเว้นอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ หรือเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ ที่มีแต่ปรับจากข้างใน ขณะที่ฟอร์ด เอเวอเรสต์ และโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ โดดเด่นกับประตูท้ายเปิด-ปิดระบบไฟฟ้า ยิ่งรุ่นเอเวอเรสต์ได้เพิ่มความหรูหราขึ้นอีกระดับ กับหลังคาแบบมูนรูฟแบบปรับไฟฟ้า(เฉพาะรุ่นท็อป)
แน่นอนในรุ่นที่เปิดตัวทำตลาดมาหลายปี อย่างอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ และเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ การพัฒนารูปลักษณ์ยังอยู่บนพื้นฐานของปิกอัพชัดเจนกว่า รวมถึงอุปกรณ์มาตรฐานบางอย่าง ซึ่งในเจนเนอเรชั่นต่อไปน่าจะจัดเต็มแน่นอน เพียงแต่ ณ เวลานี้คงต้องยกให้โมเดลที่ใหม่สดกว่า ส่วนรูปลักษณ์หน้าตาแบบไหนจะโดนใจ คงตอบยากเพราะเป็นความชอบส่วนบุคคลพิจารณากันเอง...
ขุมพลัง-ระบบขับเคลื่อนทันสมัย
เนื่องจากรถพีพีวีพัฒนาบนพื้นฐานของปิกอัพ ขุมพลังเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลจึงไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะมีให้เลือก 2 ขนาดเครื่องยนต์ มีเพียงมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต ที่มาเดี่ยวกับบล็อกใหม่ 4N15 ขนาด 2.4 ลิตร 181 แรงม้า ซึ่งแม้จะมีความจุกระบอกสูบไม่ใหญ่มาก แต่กำลังไม่ด้อยกว่าคู่แข่งที่วางเครื่องยนต์ใหญ่กว่า โดยเป็นทิศทางของการพัฒนาเครื่องยนต์ทั่วโลก เรียกว่าเป็นการ Downsizing หรือเครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กลง แต่สมรรถนะกำลังดีขึ้น หรือเทียบเท่าเครื่องใหญ่ และประหยัดน้ำมันมากกว่า (ดูตารางเปรียบเทียบข้อมูลเทคนิครถพีพีวีประกอบ)
สำหรับคู่แข่งรายอื่นๆ ก็มาในทิศทางเดียวกัน จะเห็นว่าโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ วางเครื่องยนต์บล็อกใหม่ 1GD-FTV ขนาด 2.8 ลิตร 177 แรงม้า และ 2GD-FTV 2.4 ลิตร 150 แรงม้า หรือค่ายฟอร์ดก็ชัดเจนมาแต่ต้นกับเครื่องยนต์ 2.2 ลิตร 160 แรงม้า โดยมีรุ่นใหญ่ 3.2 ลิตร 200 แรงม้า มาเสริมให้ผู้ชื่นชอบความแรงสุดๆ ส่วนค่ายที่มีคอกไม่ใหญ่แต่กลับเลี้ยงม้าถึง 200 ตัวเช่นกัน คือการพัฒนาเครื่องยนต์ Duramax 2.8 ลิตรล่าสุดของเชฟโรเลต ส่วนอีซูซุแม้จะยังอนุรักษ์นิยมยืนพื้น 2.5 และ 3.0 ลิตร ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ด้อยกว่าคู่แข่งมากนักในเรื่องขุมพลัง และแว่วว่าอีกไม่นานรุ่นปรับโฉมของ มิว-เอ็กซ์จะมีเครื่องยนต์บล็อกใหม่ให้ฮือฮาแน่นอน...
ในส่วนของระบบส่งกำลังปัจจุบัน เกียร์ธรรมดาหรืออัตโนมัติ 6 จังหวะ ของปิกอัพหรือรถที่พัฒนาต่อยอดอย่างพีพีวี ได้กลายเป็นเรื่องปกติของทุกค่ายไปแล้ว จะมีก็เพียงอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ ที่ยังเป็นแบบ 5 จังหวะอยู่ แต่ที่ก้าวกระโดดไปก่อนใครเห็นจะเป็นโฉมใหม่ของ มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต ที่ติดตั้งเกียร์อัตโนมัติ 8 จังหวะ เช่นเดียวกับรถระดับหรูจากยุโรป ที่ส่งผลให้การส่งกำลังนุ่มนวล และแม่นยำในทุกสภาพการขับขี่ยิ่งขึ้น
ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ (4WD) เป็นอีกสิ่งที่ต้องมีในรถอเนกประสงค์พีพีวีหรือเอสยูวีรุ่นท็อป ซึ่งทุกค่ายที่เปิดตัวโฉมใหม่ต่างระบุถึงการพัฒนาให้ดีขึ้นอีกระดับ โดยส่วนใหญ่เลือกใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ Part Time (เลือกว่าจะขับเคลื่อน 2 ล้อ หรือ 4 ล้อได้) มีเพียงฟอร์ด เอเวอเรสต์ที่เป็น Full Time ส่วนที่เคยใช้แบบเดียวกันอย่าง โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ในรุ่นใหม่ ก็เปลี่ยนมาเรียกเป็น SIGMA4 พร้อมปรับให้ดีและเหมาะกับการใช้งานมากขึ้น แต่จะว่าไปพื้นฐานการทำงานก็คือระบบขับสี่ล้อแบบ Part Time นั่นเอง
โดยสรุปรวบยอดขุมกำลังของรถพีพีวี จะดูเพียงขนาดเครื่องยนต์เท่ากัน หรือใกล้เคียงกันมาเปรียบเทียบไม่ได้ เพราะต้องพิจารณาเรื่องของกำลังม้า และแรงบิด แล้วยังมีระบบส่งกำลังทันสมัยมาเสริมอีก นี่แหละคือคำว่า... เล็กพริกขี้หนู?!
ห้องโดยสาร-อุปกรณ์ความสะดวก
อีกจุดของรถพีพีวีที่ต้องพิจารณาเป็นเรื่องของความอเนกประสงค์ เพราะรถพีพีวีจะเป็นแบบ 3 แถว 7 ที่นั่ง ซึ่งรองรับเรื่องจำนวนผู้โดยสารหรือการบรรทุกสิ่งของ การออกแบบจึงต้องปรับให้ใช้ช้งานได้หลากหลาย ที่โดดเด่นเห็นจะเป็นเบาะแถว 2 และ 3 ของฟอร์ด เอเวอเรสต์, เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ และอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ ปรับพับราบได้เต็มพื้นที่ ส่วนมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต สามารถปรับเบาะแถว 2 ให้ดีดพับขึ้นติดเบาะแถวหน้า พื้นจึงราบเรียบเนียนตากว่า แต่พื้นที่ใช้สอยโดยรวมจะเล็กกว่านิดหน่อย ขณะที่โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ แถว 3 ยังคงเอกลัษณ์คือ ยกพับขึ้นด้านข้าง ทำให้ลดพื้นโดยรวมของการจุสิ่งของพอสมควร
ด้านการออกแบบแผงคอนโซลหน้าและกลาง มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต และโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ได้พยายามออกแบบให้แตกต่างจากปิกอัพชัดเจน แม้จะยังมีบางส่วนที่ใช้ชุดเดียวกันก็ตาม ส่วนพีพีวีแต่ละรุ่นจะสวยงามโดนใจกว่ากัน อันนี้เป็นความชื่นชอบส่วนบุคคลติดสินกันเอาเอง แต่ในส่วนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาครบครันคล้ายๆ กัน อย่างสวิตช์ควบคุมระบบต่างๆ บนพวงมาลัย ระบบแอร์ปรับอัตโนมัติ และส่วนใหญ่จะแยกข้างได้ยกเว้นอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ และโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ที่แยกได้เฉพาะส่วนหน้า-หลัง
ระบบเครื่องเสียงและการเชื่อมต่อกลายเป็นสิ่งจำเป็นในยุคดิจิตอลปัจจุบัน ทุกค่ายจึงติดตั้งเครื่องเล่นแผ่น CD/DVD, MP3 และช่องต่อต่างๆ ระบบเชื่อมต่อบลูทูธ ตลอดจนระบบนำทาง รวมถึงจอภาพแบบสัมผัสขนาด 7 นิ้ว ยกเว้นฟอร์ด เอเวอเรสต์ที่ติดตั้งจอขนาด 8 นิ้ว และยังโดดเด่นกับระบบสั่งการด้วยเสียง SYNC ส่วนฟอร์จูนเนอร์ติดตั้งระบบโทรออกด้วยเสียงมาให้ ถึงอย่างนั้นปาเจโร สปอร์ต และรุ่นมิว-เอ็กซ์ มีจุดเด่นไปอีกแบบกับจอภาพสำหรับผู้โดยสารตอนหลัง (อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะมากับรุ่นบนๆ) จึงนับว่าแต่ละรุ่นมีจุดขายแตกต่างกันไป อยู่ที่ผู้ซื้อจะชื่นชอบอะไรมากกว่า...
เทคโนโลยีและระบบความปลอดภัย
จุดนี้รถรุ่นเก่าที่ทำตลาดมานานกว่า คงจะเสียเปรียบบรรดารถรุ่นใหม่ที่เพิ่งเผยโฉม เพราะนอกจากอุปกรณ์และระบบมาตรฐานของรถสมัยใหม่ทั่วไป ที่ทุกค่ายใส่มาให้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นถุงลมนิรภัยคู่หน้า ระเบรก ABS EBD และ BA รวมถึงระบบควบคุมการทรงตัว ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและลื่นไถล หรือระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชันมีให้หมด(ยกเว้นรุ่นมิว-เอ็กซ์) ในรถพีพีวี 3 รุ่นใหม่ ยังติดตั้งถุงลมนิรภัยด้านข้าง, หัวเข่า(ฟอร์จูนเนอร์ไม่มี) และม่านนิรภัย ตลอดจนระบบควบคุมการทรงตัวขณะลากจูงในรุ่นปาเจโร สปอร์ต และฟอร์จูนเนอร์ ส่วนฟอร์ด เอเวอเรสต์ มีจุดเด่นเรื่องระบบช่วยจอดรถที่ค่ายอื่นๆ ไม่มี
แต่โดดเด่นสุดๆ เห็นมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต ที่ติดตั้งเทคโนโลยีความปลอดภัยเหนือใคร ไม่ว่าจะเป็นเบรกมือไฟฟ้า ระบบลดกำลังเครื่องยนต์เพื่อช่วยเบรก ระบบเตือนการชนด้านหน้าตรง พร้อมระบบช่วยชะลอความเร็ว ระบบตัดกำลังเครื่องยนต์ชั่วขณะ เมื่อเหยียบคันเร่งรุนแรงและรวดเร็ว กล้องมองภาพรอบคัน พร้อมเส้นแสดงทิศทาง และระบบไฟกระพริบฉุกเฉินอัตโนมัติ(ส่วนใหญ่จะมีเฉพาะในรุ่นรองและท็อป)
สรุปราคาและความเหมาะสม
หากดูขุมกำลังรุ่นใกล้เคียง หรือใหญ่กว่า รวมถึงระบบเกียร์ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีความปลอดภัยที่ติดตั้งมาให้ เปรียบเทียบกับราคาที่เคาะออกมาของแต่ละรุ่น มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต นับว่าโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเริ่มต้น 1.138 ล้านบาท หรือรองท็อป 1.250 ล้านบาท ยกเว้นผู้ที่ตั้งใจจะลงไปเล่นรุ่นราคาไม่ถึง 1.1 ล้านบาท ที่มีให้เลือกเพียงอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ และเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์
ส่วนรุ่นท็อปของแต่ละค่าย อีซูซุ มิว-เอ็กซ์ ราคา 1.419 ล้านบาท เครื่องยนต์ใหญ่กว่าปาเจโร สปอร์ต แต่กำลังกลับน้อยกว่า และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่โดดเด่นเท่า ยิ่งปาเจโร่ สปอร์ต เคาะราคาช่วงแนะนำ 1.399 ล้านบาท(ต.ค.นี้ปรับขึ้นปกติ 1.450 ล้านบาท) จึงน่าสนใจขึ้นไปอีก หรือแม้แต่เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ ราคาชนกัน 1.465 ล้านบาท นอกจากเรื่องขุมกำลัง 200 แรงม้า อย่างอื่นก็ไม่ดึงดูดเท่า ส่วนโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ราคาใกล้เคียงกันจะเป็นรุ่นขับเคลื่อน 2 ล้อ 2.4 ลิตร ในขณะที่ปาเจโร่เปแบบ 4WD หรือตัวท็อปรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อเหมือนกัน (2.8 ลิตร-แรงม้าน้อยกว่า) ฟอร์จูนเนอร์ราคาทะลุไปเป็น 1.599 ล้านบาท เช่นเดียวกับฟอร์ด เอเวอเรสต์รุ่นท็อป เพียงแต่คันหลังนี้มีจุดเด่นที่ขุมกำลัง 200 แรงม้า มาล่อใจคนพันธุ์แรงได้หน่อย
ทั้งหมดเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาพรวม ทั้งจากเรื่องของราคา เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลังและขับเคลื่อน อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีและระบบความปลอดภัยต่างๆ ไม่ได้นำเรื่องบริการหลังการขาย หรือราคาขายต่อมาพิจารณาร่วม และขอย้ำอีกครั้งก่อนซื้อรถต้องไปทดลองขับด้วยตัวเอง เพราะสมรรถนะการขับขี่จริง อาจจะแตกต่างจากข้อมูลเทคนิคของบริษัทรถ รวมถึงความเหมาะสมระหว่างรถกับบุคลิกการขับขี่ของคนนั้นๆ ด้วย...
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring
พีพีวีเป็นรถอเนกประสงค์ที่พัฒนาบนพื้นฐานของปิกอัพ ตามเงื่อนไขส่งเสริมการผลิตและลงทุนของรัฐบาลไทย จึงแยกเรียกประเภทรถนี้ว่า “พีพีวี” (PPV) เพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสรรพสามิตต่ำกว่ารถอเนกประสงค์เอสยูวี แม้รูปลักษณ์หน้าตาหรือลักษณะการใช้งานจะไม่แตกต่างกัน(เอสยูวีส่วนใหญ่จะพัฒนาบนพื้นฐานรถยนต์นั่ง) ซึ่งรถพีพีวีเหล่านี้เมื่อส่งออกไปขายต่างประเทศก็เรียกเอสยูวี หรือในทางการตลาดค่ายรถพยายามเรียกเอสยูวีแทนรถพีพีวีเช่นกัน ปัจจุบันที่ทำตลาดอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์, มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต,ฟอร์ด เอเวอเรสต์,อีซูซุ มิว-เอ็กซ์ และเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์
ยกระดับสู่มาตรฐานของเอสยูวี
โฉมใหม่ของมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต และโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ที่เพิ่งแนะนำสู่ตลาดล่าสุดนับว่าสร้างความฮือฮา จากการพัฒนารูปลักษณ์แทบไม่เหลือเงาร่างของปิกอัพอยู่เลย ไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายในห้องโดยสาร จนสามารถเรียกเอสยูวีได้อย่างเต็มปากเต็มคำขึ้น แม้จะพัฒนาบนพื้นตัวถังปิกอัพก็ตาม แถมรถพีพีวีที่ทำตลาดในปัจจุบันยังเพิ่มความหรูหราเข้ามาอีก อย่างรุ่นบนๆ จะมีไฟหน้าปรับสูง-ต่ำอัตโนมัติแทบทุกค่าย ยกเว้นอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ หรือเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ ที่มีแต่ปรับจากข้างใน ขณะที่ฟอร์ด เอเวอเรสต์ และโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ โดดเด่นกับประตูท้ายเปิด-ปิดระบบไฟฟ้า ยิ่งรุ่นเอเวอเรสต์ได้เพิ่มความหรูหราขึ้นอีกระดับ กับหลังคาแบบมูนรูฟแบบปรับไฟฟ้า(เฉพาะรุ่นท็อป)
แน่นอนในรุ่นที่เปิดตัวทำตลาดมาหลายปี อย่างอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ และเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ การพัฒนารูปลักษณ์ยังอยู่บนพื้นฐานของปิกอัพชัดเจนกว่า รวมถึงอุปกรณ์มาตรฐานบางอย่าง ซึ่งในเจนเนอเรชั่นต่อไปน่าจะจัดเต็มแน่นอน เพียงแต่ ณ เวลานี้คงต้องยกให้โมเดลที่ใหม่สดกว่า ส่วนรูปลักษณ์หน้าตาแบบไหนจะโดนใจ คงตอบยากเพราะเป็นความชอบส่วนบุคคลพิจารณากันเอง...
ขุมพลัง-ระบบขับเคลื่อนทันสมัย
เนื่องจากรถพีพีวีพัฒนาบนพื้นฐานของปิกอัพ ขุมพลังเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลจึงไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะมีให้เลือก 2 ขนาดเครื่องยนต์ มีเพียงมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต ที่มาเดี่ยวกับบล็อกใหม่ 4N15 ขนาด 2.4 ลิตร 181 แรงม้า ซึ่งแม้จะมีความจุกระบอกสูบไม่ใหญ่มาก แต่กำลังไม่ด้อยกว่าคู่แข่งที่วางเครื่องยนต์ใหญ่กว่า โดยเป็นทิศทางของการพัฒนาเครื่องยนต์ทั่วโลก เรียกว่าเป็นการ Downsizing หรือเครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กลง แต่สมรรถนะกำลังดีขึ้น หรือเทียบเท่าเครื่องใหญ่ และประหยัดน้ำมันมากกว่า (ดูตารางเปรียบเทียบข้อมูลเทคนิครถพีพีวีประกอบ)
สำหรับคู่แข่งรายอื่นๆ ก็มาในทิศทางเดียวกัน จะเห็นว่าโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ วางเครื่องยนต์บล็อกใหม่ 1GD-FTV ขนาด 2.8 ลิตร 177 แรงม้า และ 2GD-FTV 2.4 ลิตร 150 แรงม้า หรือค่ายฟอร์ดก็ชัดเจนมาแต่ต้นกับเครื่องยนต์ 2.2 ลิตร 160 แรงม้า โดยมีรุ่นใหญ่ 3.2 ลิตร 200 แรงม้า มาเสริมให้ผู้ชื่นชอบความแรงสุดๆ ส่วนค่ายที่มีคอกไม่ใหญ่แต่กลับเลี้ยงม้าถึง 200 ตัวเช่นกัน คือการพัฒนาเครื่องยนต์ Duramax 2.8 ลิตรล่าสุดของเชฟโรเลต ส่วนอีซูซุแม้จะยังอนุรักษ์นิยมยืนพื้น 2.5 และ 3.0 ลิตร ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ด้อยกว่าคู่แข่งมากนักในเรื่องขุมพลัง และแว่วว่าอีกไม่นานรุ่นปรับโฉมของ มิว-เอ็กซ์จะมีเครื่องยนต์บล็อกใหม่ให้ฮือฮาแน่นอน...
ในส่วนของระบบส่งกำลังปัจจุบัน เกียร์ธรรมดาหรืออัตโนมัติ 6 จังหวะ ของปิกอัพหรือรถที่พัฒนาต่อยอดอย่างพีพีวี ได้กลายเป็นเรื่องปกติของทุกค่ายไปแล้ว จะมีก็เพียงอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ ที่ยังเป็นแบบ 5 จังหวะอยู่ แต่ที่ก้าวกระโดดไปก่อนใครเห็นจะเป็นโฉมใหม่ของ มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต ที่ติดตั้งเกียร์อัตโนมัติ 8 จังหวะ เช่นเดียวกับรถระดับหรูจากยุโรป ที่ส่งผลให้การส่งกำลังนุ่มนวล และแม่นยำในทุกสภาพการขับขี่ยิ่งขึ้น
ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ (4WD) เป็นอีกสิ่งที่ต้องมีในรถอเนกประสงค์พีพีวีหรือเอสยูวีรุ่นท็อป ซึ่งทุกค่ายที่เปิดตัวโฉมใหม่ต่างระบุถึงการพัฒนาให้ดีขึ้นอีกระดับ โดยส่วนใหญ่เลือกใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ Part Time (เลือกว่าจะขับเคลื่อน 2 ล้อ หรือ 4 ล้อได้) มีเพียงฟอร์ด เอเวอเรสต์ที่เป็น Full Time ส่วนที่เคยใช้แบบเดียวกันอย่าง โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ในรุ่นใหม่ ก็เปลี่ยนมาเรียกเป็น SIGMA4 พร้อมปรับให้ดีและเหมาะกับการใช้งานมากขึ้น แต่จะว่าไปพื้นฐานการทำงานก็คือระบบขับสี่ล้อแบบ Part Time นั่นเอง
โดยสรุปรวบยอดขุมกำลังของรถพีพีวี จะดูเพียงขนาดเครื่องยนต์เท่ากัน หรือใกล้เคียงกันมาเปรียบเทียบไม่ได้ เพราะต้องพิจารณาเรื่องของกำลังม้า และแรงบิด แล้วยังมีระบบส่งกำลังทันสมัยมาเสริมอีก นี่แหละคือคำว่า... เล็กพริกขี้หนู?!
ห้องโดยสาร-อุปกรณ์ความสะดวก
อีกจุดของรถพีพีวีที่ต้องพิจารณาเป็นเรื่องของความอเนกประสงค์ เพราะรถพีพีวีจะเป็นแบบ 3 แถว 7 ที่นั่ง ซึ่งรองรับเรื่องจำนวนผู้โดยสารหรือการบรรทุกสิ่งของ การออกแบบจึงต้องปรับให้ใช้ช้งานได้หลากหลาย ที่โดดเด่นเห็นจะเป็นเบาะแถว 2 และ 3 ของฟอร์ด เอเวอเรสต์, เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ และอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ ปรับพับราบได้เต็มพื้นที่ ส่วนมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต สามารถปรับเบาะแถว 2 ให้ดีดพับขึ้นติดเบาะแถวหน้า พื้นจึงราบเรียบเนียนตากว่า แต่พื้นที่ใช้สอยโดยรวมจะเล็กกว่านิดหน่อย ขณะที่โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ แถว 3 ยังคงเอกลัษณ์คือ ยกพับขึ้นด้านข้าง ทำให้ลดพื้นโดยรวมของการจุสิ่งของพอสมควร
ด้านการออกแบบแผงคอนโซลหน้าและกลาง มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต และโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ได้พยายามออกแบบให้แตกต่างจากปิกอัพชัดเจน แม้จะยังมีบางส่วนที่ใช้ชุดเดียวกันก็ตาม ส่วนพีพีวีแต่ละรุ่นจะสวยงามโดนใจกว่ากัน อันนี้เป็นความชื่นชอบส่วนบุคคลติดสินกันเอาเอง แต่ในส่วนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาครบครันคล้ายๆ กัน อย่างสวิตช์ควบคุมระบบต่างๆ บนพวงมาลัย ระบบแอร์ปรับอัตโนมัติ และส่วนใหญ่จะแยกข้างได้ยกเว้นอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ และโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ที่แยกได้เฉพาะส่วนหน้า-หลัง
ระบบเครื่องเสียงและการเชื่อมต่อกลายเป็นสิ่งจำเป็นในยุคดิจิตอลปัจจุบัน ทุกค่ายจึงติดตั้งเครื่องเล่นแผ่น CD/DVD, MP3 และช่องต่อต่างๆ ระบบเชื่อมต่อบลูทูธ ตลอดจนระบบนำทาง รวมถึงจอภาพแบบสัมผัสขนาด 7 นิ้ว ยกเว้นฟอร์ด เอเวอเรสต์ที่ติดตั้งจอขนาด 8 นิ้ว และยังโดดเด่นกับระบบสั่งการด้วยเสียง SYNC ส่วนฟอร์จูนเนอร์ติดตั้งระบบโทรออกด้วยเสียงมาให้ ถึงอย่างนั้นปาเจโร สปอร์ต และรุ่นมิว-เอ็กซ์ มีจุดเด่นไปอีกแบบกับจอภาพสำหรับผู้โดยสารตอนหลัง (อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะมากับรุ่นบนๆ) จึงนับว่าแต่ละรุ่นมีจุดขายแตกต่างกันไป อยู่ที่ผู้ซื้อจะชื่นชอบอะไรมากกว่า...
เทคโนโลยีและระบบความปลอดภัย
จุดนี้รถรุ่นเก่าที่ทำตลาดมานานกว่า คงจะเสียเปรียบบรรดารถรุ่นใหม่ที่เพิ่งเผยโฉม เพราะนอกจากอุปกรณ์และระบบมาตรฐานของรถสมัยใหม่ทั่วไป ที่ทุกค่ายใส่มาให้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นถุงลมนิรภัยคู่หน้า ระเบรก ABS EBD และ BA รวมถึงระบบควบคุมการทรงตัว ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและลื่นไถล หรือระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชันมีให้หมด(ยกเว้นรุ่นมิว-เอ็กซ์) ในรถพีพีวี 3 รุ่นใหม่ ยังติดตั้งถุงลมนิรภัยด้านข้าง, หัวเข่า(ฟอร์จูนเนอร์ไม่มี) และม่านนิรภัย ตลอดจนระบบควบคุมการทรงตัวขณะลากจูงในรุ่นปาเจโร สปอร์ต และฟอร์จูนเนอร์ ส่วนฟอร์ด เอเวอเรสต์ มีจุดเด่นเรื่องระบบช่วยจอดรถที่ค่ายอื่นๆ ไม่มี
แต่โดดเด่นสุดๆ เห็นมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต ที่ติดตั้งเทคโนโลยีความปลอดภัยเหนือใคร ไม่ว่าจะเป็นเบรกมือไฟฟ้า ระบบลดกำลังเครื่องยนต์เพื่อช่วยเบรก ระบบเตือนการชนด้านหน้าตรง พร้อมระบบช่วยชะลอความเร็ว ระบบตัดกำลังเครื่องยนต์ชั่วขณะ เมื่อเหยียบคันเร่งรุนแรงและรวดเร็ว กล้องมองภาพรอบคัน พร้อมเส้นแสดงทิศทาง และระบบไฟกระพริบฉุกเฉินอัตโนมัติ(ส่วนใหญ่จะมีเฉพาะในรุ่นรองและท็อป)
สรุปราคาและความเหมาะสม
หากดูขุมกำลังรุ่นใกล้เคียง หรือใหญ่กว่า รวมถึงระบบเกียร์ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีความปลอดภัยที่ติดตั้งมาให้ เปรียบเทียบกับราคาที่เคาะออกมาของแต่ละรุ่น มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต นับว่าโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเริ่มต้น 1.138 ล้านบาท หรือรองท็อป 1.250 ล้านบาท ยกเว้นผู้ที่ตั้งใจจะลงไปเล่นรุ่นราคาไม่ถึง 1.1 ล้านบาท ที่มีให้เลือกเพียงอีซูซุ มิว-เอ็กซ์ และเชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์
ส่วนรุ่นท็อปของแต่ละค่าย อีซูซุ มิว-เอ็กซ์ ราคา 1.419 ล้านบาท เครื่องยนต์ใหญ่กว่าปาเจโร สปอร์ต แต่กำลังกลับน้อยกว่า และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่โดดเด่นเท่า ยิ่งปาเจโร่ สปอร์ต เคาะราคาช่วงแนะนำ 1.399 ล้านบาท(ต.ค.นี้ปรับขึ้นปกติ 1.450 ล้านบาท) จึงน่าสนใจขึ้นไปอีก หรือแม้แต่เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ ราคาชนกัน 1.465 ล้านบาท นอกจากเรื่องขุมกำลัง 200 แรงม้า อย่างอื่นก็ไม่ดึงดูดเท่า ส่วนโตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ราคาใกล้เคียงกันจะเป็นรุ่นขับเคลื่อน 2 ล้อ 2.4 ลิตร ในขณะที่ปาเจโร่เปแบบ 4WD หรือตัวท็อปรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อเหมือนกัน (2.8 ลิตร-แรงม้าน้อยกว่า) ฟอร์จูนเนอร์ราคาทะลุไปเป็น 1.599 ล้านบาท เช่นเดียวกับฟอร์ด เอเวอเรสต์รุ่นท็อป เพียงแต่คันหลังนี้มีจุดเด่นที่ขุมกำลัง 200 แรงม้า มาล่อใจคนพันธุ์แรงได้หน่อย
ทั้งหมดเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบภาพรวม ทั้งจากเรื่องของราคา เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลังและขับเคลื่อน อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีและระบบความปลอดภัยต่างๆ ไม่ได้นำเรื่องบริการหลังการขาย หรือราคาขายต่อมาพิจารณาร่วม และขอย้ำอีกครั้งก่อนซื้อรถต้องไปทดลองขับด้วยตัวเอง เพราะสมรรถนะการขับขี่จริง อาจจะแตกต่างจากข้อมูลเทคนิคของบริษัทรถ รวมถึงความเหมาะสมระหว่างรถกับบุคลิกการขับขี่ของคนนั้นๆ ด้วย...
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring