xs
xsm
sm
md
lg

‘เซียส’อีโคคาร์ซีดานร่างยักษ์...เปรียบคู่แข่งเด่นพอสู้หรือไม่?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แม้ตลาดเก๋งขนาดเล็กจะซบเซาหนัก แต่ยังมีรถรุ่นใหม่ออกมาปลุกความคึกคักให้กับตลาดบ้าง นั่นคือ “ซูซูกิ เซียส” (Suzuki Ciez) อีโคคาร์โมเดลที่ 3 ของค่ายซูซูกิในไทย เพียงแต่ครั้งนี้มาในรูปแบบตัวถังซีดาน หรือเก๋ง 4 ประตู ที่มาพร้อมกับจุดขายเป็นอีโคคาร์ซีดานขนาดใหญ่ ซึ่งแค่นี้จะทำให้สามารถผงาดขึ้นมาในตลาดได้หรือไม่? หรือยังมีดีมากกว่านั้น “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” จึงรวบรวมข้อมูลเทคนิคสำคัญเบื้องต้น มาเปรียบเทียบกับคู่แข่งให้เห็นชัดๆ ไปเลย…

อีโคคาร์ซีดานร่างยักษ์แท้จริง
ซูซูกิ เซียส พัฒนาบนพื้นตัวถังเดียวกับรุ่นสวิฟท์ และตีตั๋วเก๋งขนาดเล็ก(อีโคคาร์) แต่ตัวไม่เล็ก เห็นได้จากคอนเซปต์ “รถซีดานขนานแท้” ที่ชูจุดเด่นความภูมิฐานและใหญ่ ถึงขนาดประกาศลั่นในสื่อโฆษณาต่างๆ ว่ามีพื้นที่ห้องโดยสารใหญ่ที่สุดในตลาดรถระดับเดียวกัน ซึ่งก็เป็นจริงหากดูจากมิตัวถังของเซียส ที่มีความยาว 4,490 มม. กว้าง 1,730 มม. สูง 1,475 มม. และความยาวระยะฐานล้อ 2,650 มม.

เมื่อเทียบกับอีโคคาร์ซีดานด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น นิสสัน อัลเมร่า, มิตซูบิชิ แอททราจ, มาสด้า2 สกายแอคทีฟ G และฮอนด้า บริโอ้ อเมซ นับว่าเซียสค่อนข้างโดดเด่นในเรื่องความใหญ่ของพื้นที่ห้องโดยสาร แม้แต่นิสสัน อัลเมร่า (4,425x1,695x1,500x2,600) ซึ่งช่วงที่ผ่านมาถือว่ามีขนาดใหญ่สุดในกลุ่ม ยังเล็กกว่าเซียสทั้งในเรื่องของความยาวรวม ตลอดจนความกว้าง และระยะฐานล้อ จะมีด้อยกว่าก็เรื่องของความสูง ซึ่งซูซูกิมองว่าออกแบบเหมาะสมไม่ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสาร (ดูตารางเปรียบเทียบมิติตัวถังฯ)


เครื่องยนต์ไม่ถึงกับเด่นที่สุด
ในเมื่อตัวถังใหญ่ขนาดนี้จะส่งผลต่อสมรรถนะขุมกำลังหรือไม่? ซูซูกิยืนยันไม่มีปัญหากับเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ 16 วาล์ว DOHC ขนาด 1,242 ซีซี 91 แรงม้า และเมื่อบวกกับการออกแบบรถให้มีน้ำหนักเบา จึงทำให้ไม่เป็นภาระต่อเครื่องยนต์มากนัก และหากเทียบกับเจ้าตลาดกลุ่มนี้ นิสสัน อัลเมร่า และมิตซูบิชิ แอททราจ ที่ไล่เบียดกันแบบหายใจรดต้นคอยังด้อยกว่าในเรื่องสเปคสมรรถนะเครื่องยนต์ (ดูตารางเปรียบเทียบมิติตัวถังและเครื่องยนต์ประกอบ)

โดยเก๋งอีโคคาร์ซีดานที่มีความโดดเด่นเรื่องขุมกำลัง คงจะยกให้กับมาสด้า2 สกายแอคทีฟ 1.3G หรือรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน(ไม่รวมรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล Skyactiv D ประกอบกับราคากระโดดกว่ารุ่นอื่นๆ จึงขอตัดออกไป) ที่ไม่เพียงมีขนาดความจุใหญ่ และมีพกพาม้าในคอกมามากสุด 93 ตัว รวมถึงอัตราแรงบิดสูงสุดด้วย และยังทำน้ำหนักได้ค่อนข้างเบาทีเดียว เมื่อผสานกับเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ จึงถือว่าเป็นอีโคคาร์ที่มีความโดดเด่นมากในเรื่องสมรรถนะกำลัง ส่วนช่วงล่างไม่แตกต่างกันมากนัก อยู่ที่ใครจะเซ็ตหรือใช้เทคโนโลยีได้ดีกว่า ตรงนี้ต้องไปลองขับ...

อย่างไรก็ตาม มาสด้า2 สกายแอคทีฟ อยู่ในโครงการอีโคคาร์ระยะที่ 2 ซึ่งเงื่อนไขกำหนดมาตรฐานเข้มงวดกว่า อย่างเช่นอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 23 กม./ลิตร ขณะที่เซียสและรุ่นอื่นๆ ยังอยู่ในอีโคคาร์ระยะแรกต้องไม่ต่ำกว่า 20 กม./ลิตร นอกจากมาสด้า2 เกือบทุกรุ่นจึงอยู่ระดับนี้ ยกเว้นมิตซูบิชิ แอททราจ ที่ระบุ 22 กม./ลิตร


อุปกรณ์ความสะดวกยังเป็นรอง
ในส่วนของติดตั้งอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ บนรถ ไฟหน้าซูซูกิ เซียส เป็นแบบโปรเจคเตอร์ขณะที่รุ่นอื่นๆ เป็นฮาโลเจน แต่มิตซูบิชิ แอททราจสะดุดตากับไฟ DRL แบบ LED บริเวณคิ้วไฟตัดหมอกหน้าจึงทำให้โดดเด่นเป็นพิเศษ และขนาดยางส่วนใหญ่ หรือในรุ่นบนๆ จะเป็น 185/65(55-แอททราจ) R15 มีเพียงฮอนด้า บริโอ้ อเมซ ที่ทุกรุ่นเป็นขนาด 175/65 R14

เซียสมากับพวงมาลัย 3 ก้าน สามารถควบคุมเครื่องเสียงบนพวงมาลัยได้เช่นเดียวกับรถรุ่นอื่นๆ ยกเว้นฮอนด้า บริโอ้ อเมซ ระบบความบันเทิงของรถรุ่นเซียส รองรับเครื่องเล่นวิทยุ CD/MP3 WMA และรองรับบลูทูธในรุ่นท็อป รวมถึงการเชื่อมต่อ AUX และ USB เช่นเดียวกับรถรุ่นอื่นๆ ในกลุ่ม (บริโอ้ อเมซ รองรับเฉพาะการเชื่อมต่อเท่านั้น) แต่ที่โดดเด่นเป็นมาสด้า 2 สกายแอคทีฟ มากับจอสัมผัสขนาด 7 นิ้ว พร้อมปุ่มควบคุม ยังสามารถใส่ SD Card และมีระบบจดจำเสียง ขณะที่นิสสัน อัลเมร่า และมิตซูบิชิ แอททราจ ไม่ด้อยกว่านักกับจอสัมผัส 6.1 และ 6.5 นิ้ว แถมมีระบบนำทางด้วย

ความปลอดภัยแค่มาตรฐาน
อีกปัจจัยสำคัญที่หลายคนอาจจะมองข้าม เป็นเรื่องระบบความปลอดภัย ที่ภาครัฐค่อนข้างจะเน้นทีเดียว ดังจะเห็นได้จากเงื่อนไขของอีโคคาร์ หรือในโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ก็นำเรื่องนี้มาให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย เหตุนี้อีโคคาร์มีราคาต่ำได้เพราะนอกจากสิทธิประโยชน์ของโครงการ ประกอบกับการแข่งขันในตลาด ทำให้อุปกรณ์ความปลอดภัยต่างๆ ถูกติดตั้งมาเป็นมาตรฐานใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นถุงลมนิรภัยคู่หน้าในรุ่นบนๆ ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค ABS และระบบเบรกกระจายแรงเบรก EBD หรือบางรุ่นก็มีระบบเสริมแรงแบรก BA พร้อมกันนี้ยังมีเทคโนโลยีเพิ่มความสะดวก อย่างปุ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ด้วย

ในเรื่องเทคโนโลยีและความปลอดภัย ที่โดดเด่นสุดคงเป็นมาสด้า2 สกายแอคทีฟ ส่วนหนึ่งมาจากการอยู่ในโครงการอีโคคาร์ 2 ที่มีเงื่อนไขเข้มงวดกว่า จึงต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วย อย่างระบบช่วยประหยัดน้ำมัน i-STOP หรือประหยัดพลังงาน i-ELOOP หรือระบบความปลอดภัยที่เพิ่มเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นระบบควบคุมเสถียรภาพและการทรงตัวของรถ DSC ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและลื่นไถล TCS และระบบช่วยออกตัวของรถขณะอยู่บนทางลาดชัน HLA เป็นต้น


ราคากำลังดีเหมาะสมกับรถ
แน่นอนการติดตั้งเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามา ย่อมต้องส่งผลต่อต้นทุนราคาของรถ เหตุนี้มาสด้า2 สกายแอคทีฟ จึงมีราคาเริ่มต้นจนถึงสูงสุดมากกว่าอีโคคาร์รุ่นอื่นๆ แต่หลายรุ่นก็อยู่ในช่วงราคาเดียวกับรถคู่แข่ง (ดูช่วงราคาเปรียบเทียบในตารางมิติตัวถังและเครื่องยนต์) จึงถือว่าโดดเด่นกว่าในเรื่องของสมรรถนะ เทคโนโลยี และระบบความปลอดภัยที่ติดตั้งเข้ามาเป็นมาตรฐานทุกรุ่น

มิตซูบิชิ แอททราจ และนิสสัน อัลเมร่า ราคาและอุปกรณ์ความสะดวกสบายที่ติดตั้งมาน่าดึงดูดใจทีเดียว แม้แอททราจตัวถังจะไม่ใหญ่เหมือนกับอัลเมร่า แต่ออปชั่นที่ให้มาก็ทำให้สามารถแย่งชิงลูกค้ากันอย่างสูสี จนปัจจุบันขึ้นมาชิงผู้นำตลาดแบบทิ้งกันไม่กี่สิบคัน ขณะที่ฮอนด้า บริโอ้ อเมซ ถึงสมรรถนะเครื่องยนต์จะไม่ด้อยเลย แต่เรื่องขนาดตัวถังและอุปกรณ์ทันสมัยยังตามอยู่นิดๆ ราคาที่เคาะออกมาจึงค่อนข้างต่ำตามความเหมาะสม

ส่วนซูซูกิ เซียส ราคาเปิดออกมาค่อนข้างกลางๆ ไปจนถึงเกือบสูงแต่ไม่ที่สุด นับว่าเหมาะสมเมื่อเทียบกับตัวรถและอุปกรณ์มาตรฐานต่างๆ ยิ่งเมื่อผสานกับจุดเด่นของตัวถัง และพื้นที่ห้องโดยสารขนาดใหญ่...


กำลังโหลดความคิดเห็น