สมาคมรถโบราณแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ขอเชิญนักอนุรักษ์ นักสะสม และผู้สนใจรถโบราณชม “งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 39” หรือ THE GLOSSY HERITAGE AWARDS 2015 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ศตวรรษลีลา จากรถไร้ม้า ถึงยานยนต์ไร้คนขับ” โดยจะมีรถเข้าประกวด 6 ประเภท ได้แก่ รถโบราณ (ก่อนปี 1940), รถหลังสงคราม (ระหว่างปี 1940-1955), รถคลาสสิค (มีอายุอย่างน้อย 25 ปี และเป็นตัวอย่างรถดีเด่นในอุตสาหกรรมยานยนต์), รถจำลอง (รถที่ผลิตเลียนแบบรถโบราณ), รถดัดแปลง (รถที่ดัดแปลงเหมือนรถโบราณที่มีอยู่จริง), รถประดิษฐ์พิเศษ (รถที่ประดิษฐ์ขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์) รวมถึง รถโฟล์คสวาเกน, รถแจกวาร์ และรถอเมริกัน
สำหรับรถเด่นที่น่าสนใจในงานปีนี้ ได้แก่ Black ปี 1904 "เกวียนยนต์" ประดิษฐกรรมยานยนต์ในสมัยแรกสุดของซีกโลกอเมริกา ปัจจุบันเหลือคงสภาพเพียง 13 คันทั่วโลก, MG TB ปี 1939 รถสปอร์ทเปิดประทุนขนาดกระทัดรัด ผลิตเพียง 379 คัน ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และ Jaguar Mark V ปี 1951 ผู้บุกเบิกแนวทางการออกแบบรถยนต์ของอังกฤษยุคหลังสงคราม เป็นรถขนาดใหญ่ รูปทรงสวยขรึม ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 147 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วมากในยุคนั้น
นอกจากนั้นภายในงานยังมีการประกวด ราชินีแห่งความสง่างาม (CONCOURS D'ELEGANCE - กงกูรส์ เดเลอกองศ์) โดยคัดเลือกจากสุภาพสตรีที่มาร่วมงานเลี้ยงในคืนวันพฤหัสที่ 6 สิงหาคม 2558
ตื่นตาตื่นใจกับกองทัพ รถโบราณ และ รถคลาสสิค ที่หาชมได้ยากร่วมร้อยคัน พร้อมสัมผัสมนต์เสน่ห์ของบรรยากาศย้อนยุค และสนุกกับกิจกรรมต่างๆ ใน “งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 39” ณ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ระหว่างวันที่ 6-9 สิงหาคม 2558 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.vintagecarclub.or.th
"BLACK" HIGH WHEELER
รุ่นพิเศษ ฐานล้อ 75 นิ้ว
ปีผลิต : 1904
จำนวนผลิต : 18 คัน
เหลือคงสภาพเพียง 13 คันทั่วโลก
ประดิษฐกรรมยานยนต์ในสมัยแรกสุดของซีกโลกสหรัฐอเมริกา สมบัติชิ้นล้ำค่าของวงการรถยนต์โลก ผลงานของ BLACK MANUFACTURING COMPANY แห่งชิคาโก อิลลินอยส์ จำหน่ายโดย SEAR, ROEBUCK & CO. ระหว่างปี คศ. 1904-1912 ในช่วงเดียวกับที่ เฮนรี ฟอร์ด (HENRY FORD) ประดิษฐ์รถยนต์ ฟอร์ด คันแรก
“เกวียนยนต์” ตัวถังเปิดประทุนคันนี้ พัฒนาขึ้นจากแนวคิดเดียวกับ รถเทียมม้า แบบดั้งเดิม จึงได้ชื่อว่าเป็น "HORSELESS CARRIAGE"
ตัวรถมี 2 แบบ คือ "CHICAGO MOTOR BUGGY" รุ่นเล็ก ฐานล้อ 69.5 นิ้ว เครื่องยนต์ให้กำลัง 14 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 40 กม./ชม. อัตราสิ้นเปลือง 12.7 กม./ลิตร ราคาจำหน่ายคันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ
ส่วน "BLACK" HIGH WHEELER เป็นรุ่นใหญ่ ฐานล้อ 75 นิ้ว เครื่องยนต์วางใต้แคร่กลางลำ แบบ 2 สูบนอน ความจุ 52 ลูกบาศก์นิ้ว (ประมาณ 852 ซีซี) ระบายความร้อนด้วยอากาศ กำลัง 18 แรงม้า
ขับเคลื่อนล้อหลังด้วยโซ่ ใช้ล้อรถม้าขอบบางขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 36 นิ้ว เพื่อการหมุนอย่างนุ่มนวล คาดแถบยางตัน ลดแรงสะเทือนจากผิวถนน ใช้แหนบแผ่นทองเหลืองวางขวางช่วยซับแรงกระแทก ยกฐานแคร่ตัวถังสูงแบบเดียวกับรถม้า ที่การขับขี่จำเป็นต้องมองถนนข้ามหัวม้า ติดตะเกียงข้างรถจุดน้ำมันพาราฟีน สำหรับให้สัญญาณ และส่องสว่าง
JAGUAR MK V 4 ประตู ซาลูน
ปีผลิต : 1945-1951
จำนวนผลิต : 9,499 คัน
แจกวาร์ เป็นผลงานของเซอร์ วิลเลียมส์ ไลออนส์ (SIR WILLIAM LIONS) ที่สืบชื่อต่อมาจากรถ เอสเอส (SS) ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (เปลี่ยนชื่อ เพราะชื่อ SS ไปพ้องกับชื่อหน่วยรบพิเศษของชาติศัตรู) ได้รับการชื่นชมว่าเป็นรถจากประเทศอังกฤษที่มีรูปร่างสวย เซกซี เครื่องยนต์พลังสูง เกาะถนนทรงตัวดีเลิศ
แจกวาร์ มาร์ค ไฟว์ (JAGUAR MK V) เป็น แจกวาร์ รุ่นใหญ่ที่ผลิตเป็นแบบแรกในช่วงปี 1945 หลังโรงงานที่โคเวนทรีพ้นภาระจากสงครามโลกครั้งที่ 2ได้ชื่อรุ่นว่า "ลำดับ 5" เนื่องจากเป็นรถต้นแบบคันที่ 5 ในการพัฒนา มีโครงสร้างตัวถังที่แข็งแกร่ง และใช้ระบบรองรับด้านหน้าแบบอิสระเป็นครั้งแรกของแจกวาร์ ทำให้การบังคับควบคุมแม่นยำ การทรงตัวดีเยี่ยม ส่วนด้านหลังใช้สปริงแผ่นที่นุ่มนวลเป็นพิเศษ พร้อมคานอิสระ ระบบห้ามล้อเป็นแบบดุม ทำงานด้วยไฮดรอลิคของ GIRLING รอบทิศ ล้อขนาด 16 นิ้ว
เครื่องยนต์ STANDARD 6 สูบแถวเรียง วาล์วอยู่เหนือฝาสูบ ทำงานผ่านก้านกระทุ้ง ความจุกระบอกสูบ 2.5 และ 3.5 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 105 และ 125 แรงม้าตามลำดับ ที่ 4,500 รตน ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดา 4 จังหวะล้ำสมัยของ MOSS ความเร็วสูงสุด147 กม./ชม. เป็นรถขนาดใหญ่ที่แล่นเร็วมากในยุคหลังสงคราม
รถยนต์รุ่นนี้เป็นผู้บุกเบิกแนวทางการออกแบบรถยนต์ของอังกฤษในยุคหลังสงคราม โดยตัวถังซึ่งเป็นผลงานของเซอร์ วิลเลียม ไลออนส์ มีความงดงามอ่อนช้อยแบบอังกฤษ ประดับด้วยชิ้นโครเมียมเงางามรอบคันดูสูงค่า แมสคอท "เสือเผ่น" (LEAPER) โดดเด่นเหนือฝาหม้อน้ำออกแบบโดยประติมากรชื่อดัง ฟเรเดอริค โกร์ดอน ครอสบี (FREDERICK GORDON CROSBY) ไฟหน้าติดตั้งฝังชิดกับบังโคลน
ห้องโดยสารประดับแผ่นไม้วอลนัท เบาะและแผงประตูตัดเย็บจากหนังแท้ชั้นดี แผงหน้าปัดมีมาตรวัดรอบ ติดตั้งคู่กับมาตรวัดความเร็วขนาดใหญ่สไตล์รถแข่ง สามารถสั่งติดตั้งเครื่องรับวิทยุเป็นอุปกรณ์พิเศษได้ด้วย
MG TB
ปีผลิต : 1939
จำนวนผลิต : 379 คัน
เอมจี ทีบี (MG TB) เป็นรุ่นที่ 2 ในอนุกรม "T" สปอร์ทเปิดประทุนขนาดกะทัดรัดของ MG (MORRIS GARAGE) จากโรงงาน เมืองอาร์บิงดัน ออกซฟอร์ดเชียร์ ประเทศอังกฤษ ผู้ผลิตที่โด่งดังในทศวรรษ 1930
เอมจี พัฒนาจากรุ่น ทีเอ (TA) (1936-1939) มาถึงรุ่น ทีบี ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่จำหน่ายได้เพียง 4 เดือน ก็ต้องปิดสายการผลิตเพื่อเข้าสู่สงคราม จึงมีรถออกจากโรงงานเพียง 379 คัน ทำให้มันทรงคุณค่า และหาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน
ตัวรถเป็นโลหะ ติดตั้งบนโครงคานแชสซีส์ เครื่องยนต์ XPAG 4 สูบเรียง 1,250 ซีซี 11 แรงม้าภาษี (FISCAL HP) ระบบวาล์วอยู่เหนือฝาสูบเปิดผ่านก้านกระทุ้ง คาร์บูเรเตอร์คู่แบบขวดของ SU เช่นเดียวกับรถแข่ง ให้กำลังจริง 54 แรงม้า ที่ 5,200 รตน. จัดเป็นเครื่องยนต์ที่มีกำลังสูงและทำงานได้เรียบลื่น มีการถ่วงน้ำหนักข้อเหวี่ยงแบบทันสมัย ใช้ชาฟท์ "อก" 2 ตำแหน่ง ส่งกำลังผ่านคลัทช์แบบแห้งแผ่นเดียวของ BORG & BECK แทนระบบคลัทช์ที่ทำด้วยไม้คอร์กแช่น้ำมันแบบเดิม เกียร์มีแหวนเบียดเฟือง (SYNCHROMESH) ช่วยให้เปลี่ยนจังหวะได้อย่างนุ่มนวลรวดเร็ว ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 140 กม./ชม. ซึ่งเร็วมากในยุคนั้น นอกจากนี้ เครื่องยนต์ยังหาอะไหล่ซ่อมแซมง่าย เพราะมีพื้นฐานเดียวกับ มอร์ริส 10 ใช้เบรคดุมควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิค ตอบสนองการขับขี่แบบสปอร์ท
เอมจี ทีบี เป็นรถที่นักเล่นรถเสาะแสวงหา เนื่องจากมีสมรรถนะเยี่ยมยอดเหมือนรถแข่งในคราบรถถนน จำนวนผลิตน้อย และยังเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของ เซซิล คิมเบอร์ (CECIL KIMBER) วิศวกรออกแบบผู้เรืองนาม อีกด้วย
สำหรับรถเด่นที่น่าสนใจในงานปีนี้ ได้แก่ Black ปี 1904 "เกวียนยนต์" ประดิษฐกรรมยานยนต์ในสมัยแรกสุดของซีกโลกอเมริกา ปัจจุบันเหลือคงสภาพเพียง 13 คันทั่วโลก, MG TB ปี 1939 รถสปอร์ทเปิดประทุนขนาดกระทัดรัด ผลิตเพียง 379 คัน ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และ Jaguar Mark V ปี 1951 ผู้บุกเบิกแนวทางการออกแบบรถยนต์ของอังกฤษยุคหลังสงคราม เป็นรถขนาดใหญ่ รูปทรงสวยขรึม ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 147 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วมากในยุคนั้น
นอกจากนั้นภายในงานยังมีการประกวด ราชินีแห่งความสง่างาม (CONCOURS D'ELEGANCE - กงกูรส์ เดเลอกองศ์) โดยคัดเลือกจากสุภาพสตรีที่มาร่วมงานเลี้ยงในคืนวันพฤหัสที่ 6 สิงหาคม 2558
ตื่นตาตื่นใจกับกองทัพ รถโบราณ และ รถคลาสสิค ที่หาชมได้ยากร่วมร้อยคัน พร้อมสัมผัสมนต์เสน่ห์ของบรรยากาศย้อนยุค และสนุกกับกิจกรรมต่างๆ ใน “งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 39” ณ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ระหว่างวันที่ 6-9 สิงหาคม 2558 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.vintagecarclub.or.th
"BLACK" HIGH WHEELER
รุ่นพิเศษ ฐานล้อ 75 นิ้ว
ปีผลิต : 1904
จำนวนผลิต : 18 คัน
เหลือคงสภาพเพียง 13 คันทั่วโลก
ประดิษฐกรรมยานยนต์ในสมัยแรกสุดของซีกโลกสหรัฐอเมริกา สมบัติชิ้นล้ำค่าของวงการรถยนต์โลก ผลงานของ BLACK MANUFACTURING COMPANY แห่งชิคาโก อิลลินอยส์ จำหน่ายโดย SEAR, ROEBUCK & CO. ระหว่างปี คศ. 1904-1912 ในช่วงเดียวกับที่ เฮนรี ฟอร์ด (HENRY FORD) ประดิษฐ์รถยนต์ ฟอร์ด คันแรก
“เกวียนยนต์” ตัวถังเปิดประทุนคันนี้ พัฒนาขึ้นจากแนวคิดเดียวกับ รถเทียมม้า แบบดั้งเดิม จึงได้ชื่อว่าเป็น "HORSELESS CARRIAGE"
ตัวรถมี 2 แบบ คือ "CHICAGO MOTOR BUGGY" รุ่นเล็ก ฐานล้อ 69.5 นิ้ว เครื่องยนต์ให้กำลัง 14 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 40 กม./ชม. อัตราสิ้นเปลือง 12.7 กม./ลิตร ราคาจำหน่ายคันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐ ฯ
ส่วน "BLACK" HIGH WHEELER เป็นรุ่นใหญ่ ฐานล้อ 75 นิ้ว เครื่องยนต์วางใต้แคร่กลางลำ แบบ 2 สูบนอน ความจุ 52 ลูกบาศก์นิ้ว (ประมาณ 852 ซีซี) ระบายความร้อนด้วยอากาศ กำลัง 18 แรงม้า
ขับเคลื่อนล้อหลังด้วยโซ่ ใช้ล้อรถม้าขอบบางขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 36 นิ้ว เพื่อการหมุนอย่างนุ่มนวล คาดแถบยางตัน ลดแรงสะเทือนจากผิวถนน ใช้แหนบแผ่นทองเหลืองวางขวางช่วยซับแรงกระแทก ยกฐานแคร่ตัวถังสูงแบบเดียวกับรถม้า ที่การขับขี่จำเป็นต้องมองถนนข้ามหัวม้า ติดตะเกียงข้างรถจุดน้ำมันพาราฟีน สำหรับให้สัญญาณ และส่องสว่าง
JAGUAR MK V 4 ประตู ซาลูน
ปีผลิต : 1945-1951
จำนวนผลิต : 9,499 คัน
แจกวาร์ เป็นผลงานของเซอร์ วิลเลียมส์ ไลออนส์ (SIR WILLIAM LIONS) ที่สืบชื่อต่อมาจากรถ เอสเอส (SS) ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (เปลี่ยนชื่อ เพราะชื่อ SS ไปพ้องกับชื่อหน่วยรบพิเศษของชาติศัตรู) ได้รับการชื่นชมว่าเป็นรถจากประเทศอังกฤษที่มีรูปร่างสวย เซกซี เครื่องยนต์พลังสูง เกาะถนนทรงตัวดีเลิศ
แจกวาร์ มาร์ค ไฟว์ (JAGUAR MK V) เป็น แจกวาร์ รุ่นใหญ่ที่ผลิตเป็นแบบแรกในช่วงปี 1945 หลังโรงงานที่โคเวนทรีพ้นภาระจากสงครามโลกครั้งที่ 2ได้ชื่อรุ่นว่า "ลำดับ 5" เนื่องจากเป็นรถต้นแบบคันที่ 5 ในการพัฒนา มีโครงสร้างตัวถังที่แข็งแกร่ง และใช้ระบบรองรับด้านหน้าแบบอิสระเป็นครั้งแรกของแจกวาร์ ทำให้การบังคับควบคุมแม่นยำ การทรงตัวดีเยี่ยม ส่วนด้านหลังใช้สปริงแผ่นที่นุ่มนวลเป็นพิเศษ พร้อมคานอิสระ ระบบห้ามล้อเป็นแบบดุม ทำงานด้วยไฮดรอลิคของ GIRLING รอบทิศ ล้อขนาด 16 นิ้ว
เครื่องยนต์ STANDARD 6 สูบแถวเรียง วาล์วอยู่เหนือฝาสูบ ทำงานผ่านก้านกระทุ้ง ความจุกระบอกสูบ 2.5 และ 3.5 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 105 และ 125 แรงม้าตามลำดับ ที่ 4,500 รตน ส่งกำลังผ่านเกียร์ธรรมดา 4 จังหวะล้ำสมัยของ MOSS ความเร็วสูงสุด147 กม./ชม. เป็นรถขนาดใหญ่ที่แล่นเร็วมากในยุคหลังสงคราม
รถยนต์รุ่นนี้เป็นผู้บุกเบิกแนวทางการออกแบบรถยนต์ของอังกฤษในยุคหลังสงคราม โดยตัวถังซึ่งเป็นผลงานของเซอร์ วิลเลียม ไลออนส์ มีความงดงามอ่อนช้อยแบบอังกฤษ ประดับด้วยชิ้นโครเมียมเงางามรอบคันดูสูงค่า แมสคอท "เสือเผ่น" (LEAPER) โดดเด่นเหนือฝาหม้อน้ำออกแบบโดยประติมากรชื่อดัง ฟเรเดอริค โกร์ดอน ครอสบี (FREDERICK GORDON CROSBY) ไฟหน้าติดตั้งฝังชิดกับบังโคลน
ห้องโดยสารประดับแผ่นไม้วอลนัท เบาะและแผงประตูตัดเย็บจากหนังแท้ชั้นดี แผงหน้าปัดมีมาตรวัดรอบ ติดตั้งคู่กับมาตรวัดความเร็วขนาดใหญ่สไตล์รถแข่ง สามารถสั่งติดตั้งเครื่องรับวิทยุเป็นอุปกรณ์พิเศษได้ด้วย
MG TB
ปีผลิต : 1939
จำนวนผลิต : 379 คัน
เอมจี ทีบี (MG TB) เป็นรุ่นที่ 2 ในอนุกรม "T" สปอร์ทเปิดประทุนขนาดกะทัดรัดของ MG (MORRIS GARAGE) จากโรงงาน เมืองอาร์บิงดัน ออกซฟอร์ดเชียร์ ประเทศอังกฤษ ผู้ผลิตที่โด่งดังในทศวรรษ 1930
เอมจี พัฒนาจากรุ่น ทีเอ (TA) (1936-1939) มาถึงรุ่น ทีบี ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่จำหน่ายได้เพียง 4 เดือน ก็ต้องปิดสายการผลิตเพื่อเข้าสู่สงคราม จึงมีรถออกจากโรงงานเพียง 379 คัน ทำให้มันทรงคุณค่า และหาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน
ตัวรถเป็นโลหะ ติดตั้งบนโครงคานแชสซีส์ เครื่องยนต์ XPAG 4 สูบเรียง 1,250 ซีซี 11 แรงม้าภาษี (FISCAL HP) ระบบวาล์วอยู่เหนือฝาสูบเปิดผ่านก้านกระทุ้ง คาร์บูเรเตอร์คู่แบบขวดของ SU เช่นเดียวกับรถแข่ง ให้กำลังจริง 54 แรงม้า ที่ 5,200 รตน. จัดเป็นเครื่องยนต์ที่มีกำลังสูงและทำงานได้เรียบลื่น มีการถ่วงน้ำหนักข้อเหวี่ยงแบบทันสมัย ใช้ชาฟท์ "อก" 2 ตำแหน่ง ส่งกำลังผ่านคลัทช์แบบแห้งแผ่นเดียวของ BORG & BECK แทนระบบคลัทช์ที่ทำด้วยไม้คอร์กแช่น้ำมันแบบเดิม เกียร์มีแหวนเบียดเฟือง (SYNCHROMESH) ช่วยให้เปลี่ยนจังหวะได้อย่างนุ่มนวลรวดเร็ว ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 140 กม./ชม. ซึ่งเร็วมากในยุคนั้น นอกจากนี้ เครื่องยนต์ยังหาอะไหล่ซ่อมแซมง่าย เพราะมีพื้นฐานเดียวกับ มอร์ริส 10 ใช้เบรคดุมควบคุมด้วยระบบไฮดรอลิค ตอบสนองการขับขี่แบบสปอร์ท
เอมจี ทีบี เป็นรถที่นักเล่นรถเสาะแสวงหา เนื่องจากมีสมรรถนะเยี่ยมยอดเหมือนรถแข่งในคราบรถถนน จำนวนผลิตน้อย และยังเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของ เซซิล คิมเบอร์ (CECIL KIMBER) วิศวกรออกแบบผู้เรืองนาม อีกด้วย