พูดถึงการแข่งขันชิงเจ้าความเร็วของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นเกมประเภทไหนก็ตาม นอกจากการพัฒนาทางด้านทักษะการขับขี่ของนักแข่ง, รถแข่ง รวมถึงสมรรถนะของเครื่องยนต์ และระบบช่วงล่างแล้ว สำหรับ “ยาง” ก็ถือว่ามีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนา และส่งเสริมให้นักแข่งที่รักการแข่งขันสามารถแสดงศักยภาพที่แท้จริง
โดยศึกโมโตครอสโลกที่สนามแข่งขันไทยแลนด์เซอร์กิต นครชัยศรี จ.นครปฐม เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่าประเทศไทยได้สิทธิ์จัดการแข่งขันเป็นครั้งที่ 3 ในประวัติศาสตร์นับรวมสนามเก็บคะแนนชิงแชมป์โลกรวม 18 สนามทั่วโลก โดยบรรยากาศการแข่งขันแฝงไว้ด้วยความหฤโหดของบรรดานักบิดระดับโลกที่แห่แหนเข้าร่วมการแข่งขันกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งรวม92ทีม กับแทร็กการแข่งขันที่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามกฏของสมาพันธ์รถจักรยานยนต์นานาชาติหรือเอฟไอเอ็ม ที่ออกแบบให้มีความยากลำบากและความท้าทายได้ดีทีเดียวโดยเฉพาะเนินลูกระนาด, เนินเทเบิลท็อป ในสภาพทางที่เต็มไปด้วยโคลนทรายและดินลูกรัง
ทำให้นักแข่งของทีมทุกคนต่างขับเคี่ยวกันสนุกกับสมรรถนะของเครื่องยนต์และคุณภาพของยาง ที่ทางทีมเป็นผู้เลือกใช้และในที่สุดเมื่อจบการแข่งขันผลของผู้ชนะในรุ่นMX450ซีซี ตกเป็นของ ไรอัน วิลโลโปโต นักแข่งจากอเมริกา หมายเลข2 ส่วน อันโตนิโอ ไคโรลี แชมป์เก่า 8 สมัย และแชมป์ในประเทศไทยไทย2ปีซ้อนได้แค่อันดับ3ส่วนรุ่นMX250ซีซีแชมป์ยังตกเป็นของ เจฟฟรีย์ เฮอริงค์ หมายเลข84รุ่นและปีนี้ได้มีการบรรจุรุ่นนักแข่งหญิง WMX 250 ซีซีโดยแชมป์ตกเป็นของ ไคร่า โฟตาเนซี่ เบอร์8
ขณะความสำคัญเรื่องของยางแข่งนั้น มีส่วนอย่างมากกับการแข่งขันโมโตครอสในระดับโลกที่อย่างน้อยก็มีภาระที่จะต้องรับแรงกระแทกอย่างหนัก ในการรองรับน้ำหนักขณะจัมพ์ลงมาจากที่สูงและพร้อมที่จะตะกรุยต่อไป เพื่อไม่ให้เสียเวลามากนัก และจากจุดนี้เองกับการพูดคุยกับผู้บริหารของยางรถจักรยานยนต์ ไออาร์ซี ที่เข้ามาสนับสนุนการแข่งขันโมโตครอสโลกในครั้งนี้คือ “เค ซาโตะ” ปธ.บห. บมจ. อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) ได้เล่าให้ฟังว่า
“สนามไทยแลนด์เซอร์กิตแห่งนี้ เป็นสนามที่สร้างขึ้นมาใหม่เพื่อการแข่งขันครั้งนี้โดยเฉพาะ โดยย้ายมาจากสนามปิ่นทองที่ศรีราชาจะด้วยเหตุผลอันใดก็ไม่ทราบได้ แต่ถือว่าเป็นสนามที่ออกแบบมาอย่างหฤโหดมาก กล่าวคือด้วยสภาพสนามที่สั้นเพียงรอบละ 1.5 กิโลเมตร ทำให้นักแข่งไม่มีเวลาผ่อนในขณะแข่งขันต้องกระโดด เข้าโค้ง และวิ่งผ่านเนินลูกระนาดต่อเนื่อง คือไม่มีโอกาสได้นั่งติดเบาะเลย เพราะต้องยืนขี่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าสนามแห่งนี้เป็นสนามประเภท HARD TERAIN ที่เรียกว่าค่อนข้างแข็งเพราะเป็นลักษณะดินเหนียวปนทรายโดยดินจะไม่อุ้มน้ำ ตอนที่นักแข่งเข้าโค้งต้องพยายามหาไลน์ที่เหมาะสม เพราะถ้าเข้าผิดไลน์มีโอกาสล้มได้ทันที”
“อีกทั้งในส่วนของการกระโดดในจังหวะลง ต้องหาจังหวะที่ให้ล้อหลังลงก่อนเพื่อเดินคันเร่งต่อ ไม่เช่นนั้นอาจสไลด์ได้ เป็นการขับขี่ที่ยากมาก ซึ่งท้าทายนักแข่งอย่างยิ่ง และด้วยสภาพอากาศที่ร้อนระอุเกือบ 40 องศา ทำให้ตัวนักแข่งในแต่ละรุ่นต้องฟิตจริงๆ ถึงจะแข่งขันจนจบได้ และสิ่งที่เป็นไฮไลท์ของสนามแห่งนี้คือผู้ชมสามารถชมเกมการแข่งขันที่เร้าใจได้รอบสนามจากมุมที่ตัวเองยืนอยู่ได้เกือบทุกจุด ทำให้เร้าใจในการชม หากเปรียบเทียบกับสนามที่ปิ่นทอง เนื่องจากเป็นสนามที่ค่อนข้างยาวเพราะบางจุดเป็นมุมอับต้องคอยกันนานทีเดียว แต่สำหรับสนามนี้เรียกว่ามองได้ทั่วสนามพร้อมกับการลุ้นตลอด 30 นาทีที่มีการแข่งขัน ส่วนประเด็นที่เป็นอุปสรรคสำคัญต้องยกให้กับอากาศที่ร้อนอบอ้าวขนาดแชมป์แปดสมัยอย่าง ไคโรลี่ ยังบอกว่าเหนื่อยมากโดยนักแข่งบางคนทีมงานต้องเอาน้ำมาราดตัวกันเลยและบางคนกลับมาที่พิตต้องลงแช่น้ำในถังก็มีให้เห็น”
สำหรับเรื่องของการพัฒนายางนั้น ประธานบริหาร อีโนเว รับเบอร์ กล่าวว่า “ทุกสนามมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนายาง ที่ใช้ในการแข่งขันที่ต้องเป็นโครงสร้างและข้อจำกัดของมันเอง และทางไออาร์ซีได้เล็งเห็นว่า เราจะใช้สนามนี้ในการพัฒนายางโมโตครอส รุ่นใหม่ๆ ต่อไป โดยครั้งนี้เราได้จัดทีมวิศวกรจากประเทศญี่ปุ่นแผนกวิจัยและพัฒนาจากไออาร์ซี ลงพื้นที่เพื่อสำรวจอย่างจริงจัง ก่อนทำแผนพัฒนายางรุ่นใหม่ และทดสอบจริงในสนามแห่งนี้ต่อไป ถือเป็นโอกาสที่ดีมากที่เมืองไทย มีสนามแบบนี้อยู่ โดยไม่ต้องลงทุนไปทดสอบถึงต่างประเทศ ประหยัดค่าใช้จ่ายและย่นระยะเวลาในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ไปได้มากทีเดียว”
“ในด้านยางโมโตครอสที่ใช้ในการแข่งขันนั้น ต้องแยกตามสภาพสนามแข่งที่ผู้จัดการทีมแข่งของแต่ละทีมต้องเป็นผู้พิจารณา แต่หลักๆ ก็ประกอบด้วยยาง HARD TERRAIN จะใช้กับสนามแข่งที่มีทางวิ่งค่อนข้างแข็ง โดยยางที่เหมาะสมของยางไออาร์ซี ก็คือรุ่น IX-05H, ยาง MEDIUM-SOFT TERRAIN จะใช้กับสนามแข่งที่มีทางวิ่งแข็งปานกลางถึงนิ่ม โดยยางไออาร์ซีที่เหมาะสมคือ รุ่น IX-07S, ยาง SOFT TERRAIN สนามแข่งที่มีทางวิ่งเกือบนิ่มสามารถใช้ยางไออาร์ซี รุ่น IX-07S ได้ และยาง MUD TERRAIN สนามที่เป็นโคลนยางที่เหมาะสมของไออาร์ซีคือ รุ่น M1A & M5B”
เค ซาโตะ กล่าวเสริมว่า ล่าสุดไออาร์ซีที่ประเทศญี่ปุ่นยังได้พัฒนายาง Ix-09W รุ่น GEKOTA สำหรับการแข่งขันประเภทFlat race แนว Hard Enduro ที่กำลังได้รับความนิยมสูงในญี่ปุ่น จนไออาร์ซีมีแนวโน้มจะทำตลาดตัวนี้ในบ้านเราด้วยซึ่งเกมการแข่งขันแบบนี้ สามารถตามได้ที่ เพจ facebook.com/IRCTireThailand
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring
โดยศึกโมโตครอสโลกที่สนามแข่งขันไทยแลนด์เซอร์กิต นครชัยศรี จ.นครปฐม เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่าประเทศไทยได้สิทธิ์จัดการแข่งขันเป็นครั้งที่ 3 ในประวัติศาสตร์นับรวมสนามเก็บคะแนนชิงแชมป์โลกรวม 18 สนามทั่วโลก โดยบรรยากาศการแข่งขันแฝงไว้ด้วยความหฤโหดของบรรดานักบิดระดับโลกที่แห่แหนเข้าร่วมการแข่งขันกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งรวม92ทีม กับแทร็กการแข่งขันที่มีองค์ประกอบครบถ้วนตามกฏของสมาพันธ์รถจักรยานยนต์นานาชาติหรือเอฟไอเอ็ม ที่ออกแบบให้มีความยากลำบากและความท้าทายได้ดีทีเดียวโดยเฉพาะเนินลูกระนาด, เนินเทเบิลท็อป ในสภาพทางที่เต็มไปด้วยโคลนทรายและดินลูกรัง
ทำให้นักแข่งของทีมทุกคนต่างขับเคี่ยวกันสนุกกับสมรรถนะของเครื่องยนต์และคุณภาพของยาง ที่ทางทีมเป็นผู้เลือกใช้และในที่สุดเมื่อจบการแข่งขันผลของผู้ชนะในรุ่นMX450ซีซี ตกเป็นของ ไรอัน วิลโลโปโต นักแข่งจากอเมริกา หมายเลข2 ส่วน อันโตนิโอ ไคโรลี แชมป์เก่า 8 สมัย และแชมป์ในประเทศไทยไทย2ปีซ้อนได้แค่อันดับ3ส่วนรุ่นMX250ซีซีแชมป์ยังตกเป็นของ เจฟฟรีย์ เฮอริงค์ หมายเลข84รุ่นและปีนี้ได้มีการบรรจุรุ่นนักแข่งหญิง WMX 250 ซีซีโดยแชมป์ตกเป็นของ ไคร่า โฟตาเนซี่ เบอร์8
ขณะความสำคัญเรื่องของยางแข่งนั้น มีส่วนอย่างมากกับการแข่งขันโมโตครอสในระดับโลกที่อย่างน้อยก็มีภาระที่จะต้องรับแรงกระแทกอย่างหนัก ในการรองรับน้ำหนักขณะจัมพ์ลงมาจากที่สูงและพร้อมที่จะตะกรุยต่อไป เพื่อไม่ให้เสียเวลามากนัก และจากจุดนี้เองกับการพูดคุยกับผู้บริหารของยางรถจักรยานยนต์ ไออาร์ซี ที่เข้ามาสนับสนุนการแข่งขันโมโตครอสโลกในครั้งนี้คือ “เค ซาโตะ” ปธ.บห. บมจ. อีโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) ได้เล่าให้ฟังว่า
“สนามไทยแลนด์เซอร์กิตแห่งนี้ เป็นสนามที่สร้างขึ้นมาใหม่เพื่อการแข่งขันครั้งนี้โดยเฉพาะ โดยย้ายมาจากสนามปิ่นทองที่ศรีราชาจะด้วยเหตุผลอันใดก็ไม่ทราบได้ แต่ถือว่าเป็นสนามที่ออกแบบมาอย่างหฤโหดมาก กล่าวคือด้วยสภาพสนามที่สั้นเพียงรอบละ 1.5 กิโลเมตร ทำให้นักแข่งไม่มีเวลาผ่อนในขณะแข่งขันต้องกระโดด เข้าโค้ง และวิ่งผ่านเนินลูกระนาดต่อเนื่อง คือไม่มีโอกาสได้นั่งติดเบาะเลย เพราะต้องยืนขี่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าสนามแห่งนี้เป็นสนามประเภท HARD TERAIN ที่เรียกว่าค่อนข้างแข็งเพราะเป็นลักษณะดินเหนียวปนทรายโดยดินจะไม่อุ้มน้ำ ตอนที่นักแข่งเข้าโค้งต้องพยายามหาไลน์ที่เหมาะสม เพราะถ้าเข้าผิดไลน์มีโอกาสล้มได้ทันที”
“อีกทั้งในส่วนของการกระโดดในจังหวะลง ต้องหาจังหวะที่ให้ล้อหลังลงก่อนเพื่อเดินคันเร่งต่อ ไม่เช่นนั้นอาจสไลด์ได้ เป็นการขับขี่ที่ยากมาก ซึ่งท้าทายนักแข่งอย่างยิ่ง และด้วยสภาพอากาศที่ร้อนระอุเกือบ 40 องศา ทำให้ตัวนักแข่งในแต่ละรุ่นต้องฟิตจริงๆ ถึงจะแข่งขันจนจบได้ และสิ่งที่เป็นไฮไลท์ของสนามแห่งนี้คือผู้ชมสามารถชมเกมการแข่งขันที่เร้าใจได้รอบสนามจากมุมที่ตัวเองยืนอยู่ได้เกือบทุกจุด ทำให้เร้าใจในการชม หากเปรียบเทียบกับสนามที่ปิ่นทอง เนื่องจากเป็นสนามที่ค่อนข้างยาวเพราะบางจุดเป็นมุมอับต้องคอยกันนานทีเดียว แต่สำหรับสนามนี้เรียกว่ามองได้ทั่วสนามพร้อมกับการลุ้นตลอด 30 นาทีที่มีการแข่งขัน ส่วนประเด็นที่เป็นอุปสรรคสำคัญต้องยกให้กับอากาศที่ร้อนอบอ้าวขนาดแชมป์แปดสมัยอย่าง ไคโรลี่ ยังบอกว่าเหนื่อยมากโดยนักแข่งบางคนทีมงานต้องเอาน้ำมาราดตัวกันเลยและบางคนกลับมาที่พิตต้องลงแช่น้ำในถังก็มีให้เห็น”
สำหรับเรื่องของการพัฒนายางนั้น ประธานบริหาร อีโนเว รับเบอร์ กล่าวว่า “ทุกสนามมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนายาง ที่ใช้ในการแข่งขันที่ต้องเป็นโครงสร้างและข้อจำกัดของมันเอง และทางไออาร์ซีได้เล็งเห็นว่า เราจะใช้สนามนี้ในการพัฒนายางโมโตครอส รุ่นใหม่ๆ ต่อไป โดยครั้งนี้เราได้จัดทีมวิศวกรจากประเทศญี่ปุ่นแผนกวิจัยและพัฒนาจากไออาร์ซี ลงพื้นที่เพื่อสำรวจอย่างจริงจัง ก่อนทำแผนพัฒนายางรุ่นใหม่ และทดสอบจริงในสนามแห่งนี้ต่อไป ถือเป็นโอกาสที่ดีมากที่เมืองไทย มีสนามแบบนี้อยู่ โดยไม่ต้องลงทุนไปทดสอบถึงต่างประเทศ ประหยัดค่าใช้จ่ายและย่นระยะเวลาในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ไปได้มากทีเดียว”
“ในด้านยางโมโตครอสที่ใช้ในการแข่งขันนั้น ต้องแยกตามสภาพสนามแข่งที่ผู้จัดการทีมแข่งของแต่ละทีมต้องเป็นผู้พิจารณา แต่หลักๆ ก็ประกอบด้วยยาง HARD TERRAIN จะใช้กับสนามแข่งที่มีทางวิ่งค่อนข้างแข็ง โดยยางที่เหมาะสมของยางไออาร์ซี ก็คือรุ่น IX-05H, ยาง MEDIUM-SOFT TERRAIN จะใช้กับสนามแข่งที่มีทางวิ่งแข็งปานกลางถึงนิ่ม โดยยางไออาร์ซีที่เหมาะสมคือ รุ่น IX-07S, ยาง SOFT TERRAIN สนามแข่งที่มีทางวิ่งเกือบนิ่มสามารถใช้ยางไออาร์ซี รุ่น IX-07S ได้ และยาง MUD TERRAIN สนามที่เป็นโคลนยางที่เหมาะสมของไออาร์ซีคือ รุ่น M1A & M5B”
เค ซาโตะ กล่าวเสริมว่า ล่าสุดไออาร์ซีที่ประเทศญี่ปุ่นยังได้พัฒนายาง Ix-09W รุ่น GEKOTA สำหรับการแข่งขันประเภทFlat race แนว Hard Enduro ที่กำลังได้รับความนิยมสูงในญี่ปุ่น จนไออาร์ซีมีแนวโน้มจะทำตลาดตัวนี้ในบ้านเราด้วยซึ่งเกมการแข่งขันแบบนี้ สามารถตามได้ที่ เพจ facebook.com/IRCTireThailand
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring