ข่าวในประเทศ-ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์สุดทน! ทำหนังสือจี้ให้รัฐบาลและกระทรวงการคลัง แก้กฎหมายเขตปลอดอากร หรือฟรีโซน ที่เปิดให้ค่ายรถหัวใสอาศัยช่องโหว่ รวมถึงใช้กลวิธีสวมสิทธิเป็นสินค้าอาฟต้า หลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าและภาษีสรรพสามิต ทำให้ประเทศเสียหายเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทต่อปี ขณะที่ “ไทยรุ่งยูเนียนคาร์” เล็งหาธุรกิจใหม่ๆ ลดความเสี่ยงในอุตสาหกรรมรถยนต์
นายสมพงษ์ เผอิญโชค กรรมการสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด(มหาชน) ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ในไทย เปิดเผยว่า ในฐานะกรรมการสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ได้รับทราบจากสมาชิกถึงผลกระทบจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ซึ่งชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหัวใจสำคัญ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ ฉะนั้นจึงควรได้รับการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรม กับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ผลิตรถที่มีความสุจริตใจในการประกอบธุรกิจในไทยด้วย
“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเกิดกรณีของผู้ผลิตรถบางราย อาศัยช่องว่างทางกฎหมายของอาฟต้า(AFTA) และผลิตสินค้าในเขตปลอดอากร(Free Zone) เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าและสรรพสามิต ส่งผลให้ประเทศเกิดความสูญเสียรายได้เป็นเงินหลายหมื่นล้านบาทต่อปี ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ต้องทำหนังสือถึงรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง และกระทรวงอุตสาหกรรม ให้แก้กฎหมายที่ทำให้เกิดผลกระทบและไม่เป็นธรรมดังกล่าวโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี และยังเป็นการไม่ส่งเสริมให้ผู้ผลิตรถที่มีความสุจริตใจในการทำธุรกิจ ต้องหันมาใช้วิธีการเดียวกันในอนาคต”
ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากปัจจุบันได้มีการหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าและภาษีสรรพสามิต โดยดำเนินการ 2 แนวทาง คือการสวมสิทธิเป็นสินค้าอาฟต้า เพื่อให้ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเป็น 0% ทั้งๆ ที่สินค้าเหล่านั้นมีการผลิตขึ้น โดยใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบที่ผลิตจากประเทศอาเซียนไม่ถึง 40% (Asean content) ของมูลค่าสินค้านั้นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ขณะที่อีกวิธีง่ายและนิยมกันด้วยการใช้ช่องว่างของกฎหมาย ผลิตสินค้าในเขตปลอดอากร(Free Zone) อาศัยประกาศกรมศุลกากรที่ 72/2550 ในการออกสารสิทธิรับรองถิ่นกำเนิด(Rule of origin) ว่าเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย โดยไม่คำนึงว่ามีการใช้วัตถุดิบและส่วนประกอบในไทยถึง 40% หรือไม่ แล้วนำมาขายในประเทศ ไม่ต้องเสียอากรนำเข้า (หรือเป็น 0%) และยังหลีกเลี่ยงภาษีสรรพสามิต ด้วยการแจ้งราคานำเข้าจากเขตปลอดอากร ให้ราคาต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างมาก เพื่อใช้เป็นฐานในการเสียภาษีสรรพสามิตที่ต่ำลง รวมแล้วทำให้ประเทศชาติเสียหายนับหลายหมื่นล้านบาท
นายสมพงษ์เปิดเผยว่า เหตุนี้ทางผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ จึงได้ยื่นหนังสือเพื่อให้ทางภาครัฐเร่งแก้ปัญหานี้โดยเร็วที่สุด ด้วยการเสนอให้ 1.แก้ไข ยกเลิก ประกาศกรมศุลกากรที่ 72/2550 เกี่ยวกับการผลิตในเขต Free Zone โดยสินค้าที่จะได้การรับรองถิ่นกำเนิดในไทย จะต้องมีต้นทุนการผลิตโดยใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบในประเทศที่มูลค่าแท้จริง 40% ขึ้นไป ของมูลค่าราคาสินค้าหน้าโรงงาน (Ex-factory) ไม่ดูเพียงแค่กระบวนการผลิต และ 2. แก้ไขกฎหมายเรื่องฐานราคาในการเสียภาษีสรรพสามิตกับรถยนต์นำเข้าและรถยนต์ที่ผลิตโดยโรงงานในเขตปลอดอากร ให้ใช้ราคาขายปลีกในประเทศหักทอนภาษีมูลค่าเพิ่ม และส่วนลดค่าการตลาดมาเป็นฐานในการเสียภาษีสรรพสามิต เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และมาตรฐานเดียวกันกับผู้ผลิตในประเทศไทย
สุดท้าย 3. เพิ่มมาตรการตรวจสอบและเข้มงวดกับการใช้สิทธิขอเป็นสินค้า AFTA และหาทางแก้ไขระเบียบว่าจะต้องมีการใช้ Asean Content มีมูลค่าแท้จริงไม่ต่ำกว่า 40% ของราคาหน้าโรงงาน (Ex-factory) เพื่อรักษาผลประโยชน์และประเทศในอาเซียนด้วยกัน ไม่ให้ประเทศนอกอาเซียนเอาเปรียบ และกอบโกยเอาผลประโยชน์จากประเทศอาเซียน โดยไม่ได้ทำตามหลักการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน คือการผลิตสินค้าในประเทศอาเซียน และใช้ Asean Content ไม่ต่ำกว่า 40% จริง
นายสมพงษ์เปิดเผยว่า ในส่วนของไทยรุ่งฯ นอกจากผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว ในปีที่ผ่านมายังประสบกับสภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ชะลอตัวอย่างมาก เพื่อลดความเสี่ยงบริษัทจึงพยายามมองหาธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งล่าสุดได้ร่วมลงทุนกับบริษัทญี่ปุ่นเพื่อผลิตชิ้นส่วนรถขุดเจาะ และการเกษตร โดยเบื้องต้นจะผลิตที่โรงงานของไทยรุ่งฯ ก่อน แต่จากนั้นในอีก 2 ปีข้างหน้า จะตั้งโรงงานร่วมทุนขึ้นใหม่มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท ขณะนี้กำลังยื่นขอจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI และอีกธุรกิจในปลายปีนี้จะเริ่มผลิตรถดัมพ์และโม่ปูนสู่ตลาดไทย เมื่อบวกกับสภาวะตลาดปีนี้ที่เริ่มฟื้นตัว น่าจะทำให้ผลประกอบของไทยรุ่งฯ เติบโต 10-12% จากรายได้ในปีที่ผ่านมากว่า 2,500 ล้านบาท ที่ติดลบกว่า 25%
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring
นายสมพงษ์ เผอิญโชค กรรมการสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยรุ่งยูเนี่ยนคาร์ จำกัด(มหาชน) ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ในไทย เปิดเผยว่า ในฐานะกรรมการสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ได้รับทราบจากสมาชิกถึงผลกระทบจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ซึ่งชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหัวใจสำคัญ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ ฉะนั้นจึงควรได้รับการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรม กับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และผู้ผลิตรถที่มีความสุจริตใจในการประกอบธุรกิจในไทยด้วย
“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเกิดกรณีของผู้ผลิตรถบางราย อาศัยช่องว่างทางกฎหมายของอาฟต้า(AFTA) และผลิตสินค้าในเขตปลอดอากร(Free Zone) เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าและสรรพสามิต ส่งผลให้ประเทศเกิดความสูญเสียรายได้เป็นเงินหลายหมื่นล้านบาทต่อปี ทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ต้องทำหนังสือถึงรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการคลัง และกระทรวงอุตสาหกรรม ให้แก้กฎหมายที่ทำให้เกิดผลกระทบและไม่เป็นธรรมดังกล่าวโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี และยังเป็นการไม่ส่งเสริมให้ผู้ผลิตรถที่มีความสุจริตใจในการทำธุรกิจ ต้องหันมาใช้วิธีการเดียวกันในอนาคต”
ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากปัจจุบันได้มีการหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้าและภาษีสรรพสามิต โดยดำเนินการ 2 แนวทาง คือการสวมสิทธิเป็นสินค้าอาฟต้า เพื่อให้ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเป็น 0% ทั้งๆ ที่สินค้าเหล่านั้นมีการผลิตขึ้น โดยใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบที่ผลิตจากประเทศอาเซียนไม่ถึง 40% (Asean content) ของมูลค่าสินค้านั้นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ขณะที่อีกวิธีง่ายและนิยมกันด้วยการใช้ช่องว่างของกฎหมาย ผลิตสินค้าในเขตปลอดอากร(Free Zone) อาศัยประกาศกรมศุลกากรที่ 72/2550 ในการออกสารสิทธิรับรองถิ่นกำเนิด(Rule of origin) ว่าเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย โดยไม่คำนึงว่ามีการใช้วัตถุดิบและส่วนประกอบในไทยถึง 40% หรือไม่ แล้วนำมาขายในประเทศ ไม่ต้องเสียอากรนำเข้า (หรือเป็น 0%) และยังหลีกเลี่ยงภาษีสรรพสามิต ด้วยการแจ้งราคานำเข้าจากเขตปลอดอากร ให้ราคาต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างมาก เพื่อใช้เป็นฐานในการเสียภาษีสรรพสามิตที่ต่ำลง รวมแล้วทำให้ประเทศชาติเสียหายนับหลายหมื่นล้านบาท
นายสมพงษ์เปิดเผยว่า เหตุนี้ทางผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ จึงได้ยื่นหนังสือเพื่อให้ทางภาครัฐเร่งแก้ปัญหานี้โดยเร็วที่สุด ด้วยการเสนอให้ 1.แก้ไข ยกเลิก ประกาศกรมศุลกากรที่ 72/2550 เกี่ยวกับการผลิตในเขต Free Zone โดยสินค้าที่จะได้การรับรองถิ่นกำเนิดในไทย จะต้องมีต้นทุนการผลิตโดยใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบในประเทศที่มูลค่าแท้จริง 40% ขึ้นไป ของมูลค่าราคาสินค้าหน้าโรงงาน (Ex-factory) ไม่ดูเพียงแค่กระบวนการผลิต และ 2. แก้ไขกฎหมายเรื่องฐานราคาในการเสียภาษีสรรพสามิตกับรถยนต์นำเข้าและรถยนต์ที่ผลิตโดยโรงงานในเขตปลอดอากร ให้ใช้ราคาขายปลีกในประเทศหักทอนภาษีมูลค่าเพิ่ม และส่วนลดค่าการตลาดมาเป็นฐานในการเสียภาษีสรรพสามิต เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และมาตรฐานเดียวกันกับผู้ผลิตในประเทศไทย
สุดท้าย 3. เพิ่มมาตรการตรวจสอบและเข้มงวดกับการใช้สิทธิขอเป็นสินค้า AFTA และหาทางแก้ไขระเบียบว่าจะต้องมีการใช้ Asean Content มีมูลค่าแท้จริงไม่ต่ำกว่า 40% ของราคาหน้าโรงงาน (Ex-factory) เพื่อรักษาผลประโยชน์และประเทศในอาเซียนด้วยกัน ไม่ให้ประเทศนอกอาเซียนเอาเปรียบ และกอบโกยเอาผลประโยชน์จากประเทศอาเซียน โดยไม่ได้ทำตามหลักการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน คือการผลิตสินค้าในประเทศอาเซียน และใช้ Asean Content ไม่ต่ำกว่า 40% จริง
นายสมพงษ์เปิดเผยว่า ในส่วนของไทยรุ่งฯ นอกจากผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว ในปีที่ผ่านมายังประสบกับสภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ชะลอตัวอย่างมาก เพื่อลดความเสี่ยงบริษัทจึงพยายามมองหาธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งล่าสุดได้ร่วมลงทุนกับบริษัทญี่ปุ่นเพื่อผลิตชิ้นส่วนรถขุดเจาะ และการเกษตร โดยเบื้องต้นจะผลิตที่โรงงานของไทยรุ่งฯ ก่อน แต่จากนั้นในอีก 2 ปีข้างหน้า จะตั้งโรงงานร่วมทุนขึ้นใหม่มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท ขณะนี้กำลังยื่นขอจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI และอีกธุรกิจในปลายปีนี้จะเริ่มผลิตรถดัมพ์และโม่ปูนสู่ตลาดไทย เมื่อบวกกับสภาวะตลาดปีนี้ที่เริ่มฟื้นตัว น่าจะทำให้ผลประกอบของไทยรุ่งฯ เติบโต 10-12% จากรายได้ในปีที่ผ่านมากว่า 2,500 ล้านบาท ที่ติดลบกว่า 25%
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring