“ยนตรกรรมสปอร์ตครอสโอเวอร์ระดับพรีเมี่ยม” เป็นคำจำกัดความที่ฮอนด้าปั้นแต่งขึ้นมาเพื่อ “เอชอาร์-วี” (HR-V)โดยเฉพาะ ซึ่งหลังการเปิดตัว ผู้เขียนยังสงสัยและท้าทายในวลีเด็ดนี้ ด้วยคิดว่าฮอนด้าจะเอาความดีความเด่นทุกอย่าง มาใส่ไว้ในรถยนต์คันเดียวได้อย่างไร?
ทั้ง “สปอร์ต” (น่าจะหมายถึงรูปลักษณ์และสมรรถนะการขับขี่) และยัง “พรีเมี่ยม” (ดูหรูหราภายนอก-ภายใน และออปชันอำนวยความสะดวก-ปลอดภัย) ในการเป็นรถแบบ “ครอสโอเวอร์” (เอสยูวีที่เน้นการใช้งานแบบออนโรดเป็นหลัก แต่ยังได้ความอเนกประสงค์)
แวบแรกคิดว่าฮอนด้าขี้โม้เกินไป ยิ่งบวกกับการวางเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร และทำราคาขายขึ้นไประดับ 9 แสนบาท – 1 ล้านบาท ฉีกเหนือคู่แข่งอย่าง “ฟอร์ด เอคโคสปอร์ต” ที่วางเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร และ “นิสสัน จู๊ค” 1.6 ลิตร จึงน่าสนใจว่าจะได้การตอบรับจากตลาดดีหรือไม่?
แต่สุดท้าย ทุกความสงสัยก็กระจ่าง หลังจากผู้เขียนได้ลองขับและพูดคุยกับทีมวิศวรผู้ดูแลการพัฒนา“เอชอาร์-วี”เมื่อวานนี้ (16 ธ.ค.)
อย่างที่ทราบกันครับว่า“เอชอาร์-วี” พัฒนาบนพื้นฐานแพลตฟอร์มเดียวกับเก๋งซับคอมแพกต์รุ่น แจ๊ซ,ซิตี้ แต่ในเมืองไทยฮอนด้าตัดสินใจวางเครื่องยนต์ขนาด 1.8 ลิตรบล็อกเดียวกับที่ใช้ในเก๋งคอมแพกต์รุ่น “ซีวิค” ซึ่งต่างจากญี่ปุ่นและหลายๆประเทศที่“เอชอาร์-วี”จะทำตลาดด้วยเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร
ประเด็นนี้ “นาโอฮิซะ โมริชิตะ” หัวหน้าทีมวิศวกรพัฒนาฮอนด้า เอชอาร์-วี บริษัท ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี จำกัด ประเทศญี่ปุ่น บอกว่า เครื่องยนต์ 1.8 ลิตรสมดุลที่สุดกับรถยนต์รุ่นนี้ แต่ที่ญี่ปุ่นวางเครื่องยนต์ 1.5 ลิตรเพราะมีเวอร์ชันไฮบริดขายด้วย ขณะที่หลายๆประเทศก็ใช้เครื่องยนต์ 1.8 เหมือนเมืองไทย ส่วนอินโดนีเซียนั้นมีให้เลือกทั้งสองขนาด
“เราคิดว่าเครื่องยนต์ 1.8 ลิตรเหมาะสมกับการทำตลาดในเมืองไทย เพราะคนไทยชอบรถสมรรถนะดีๆ และชอบการขับขี่ในความเร็วสูง ขณะเดียวกันเราเลือกใช้เกียร์อัตโนมัติ CVT ที่พัฒนาใหม่ภายใต้เทคโนโลยีเอิร์ธดรีม จึงช่วยให้การขับขี่สมบูรณ์แบบ และได้อัตราบริโภคน้ำมันอยู่ในระดับที่น่าพอใจ”
…ถ้าเชื่อในมุมของ “โมริชิตะซัง” ก็สรุปว่า การเลือกวางเครื่องยนต์ 1.8 ลิตรเป็นเรื่องของสมรรถนะและความสมดุลล้วนๆ ไม่ได้เกี่ยวกับ การทำตลาดและการวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ไม่ให้ไปกินยอดขายกันเอง ???
สำหรับ “เอชอาร์-วี” ถือเป็นโกลบอลโมเดลลำดับที่ 4 ของฮอนด้าต่อจาก ซีวิค แอคคอร์ด และซีอาร์-วี กล่าวคือถ้าฮอนด้าเข้าไปทำตลาดประเทศไหนต้องมีรถยนต์ 4 รุ่นนี้เป็นโมเดลในการขายเป็นหลัก ส่วนเมืองไทยจัดงานเปิดตัววันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นับเป็นประเทศที่สามในโลกต่อจากญี่ปุ่น (ใช้ชื่อทำตลาดว่า วีเซล) และจีน พร้อมขึ้นไลน์ผลิตที่โรงงานฮอนด้า นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดย แบ่งการขายเป็น 3 รุ่นย่อย คือ S ราคา 8.9 แสนบาท E 9.75 แสนบาท และ EL ราคา 1.045 ล้านบาท
ถึงวันนี้(17 ธ.ค.) ผ่านมาหนึ่งเดือนเต็มหลังการเปิดตัว ตรวจสอบยอดจองล่าสุดมีเข้ามาเกือบๆ 7,000 คัน จากที่ประกาศเป้าหมายว่าจะขาย 20,000 คันภายในระยะเวลาหนึ่งปี ดังนั้นใครจองช่วงนี้อาจจะต้องรอรถนาน 2 เดือนเป็นอย่างน้อย(แล้วแต่รุ่นและสี) ซึ่งในจำนวนเกือบๆ 7,000 คัน พบว่ารุ่นท็อปขายดีที่สุดในสัดส่วน 60%
การออกแบบตัวรถ ฮอนด้าหวังให้“เอชอาร์-วี” ตอบสนองอารมณ์ของการเป็นรถสปอร์ตคูเป้ (เห็นได้จากเส้นหลังคาไล่มาจรดเสาร์ซี และทรงกระจกหลังพร้อมซ่อนมือเปิดประตูเอาไว้) และต้องได้ประโยชน์แบบมินิแวน ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน
หลังจากพิจารณามิติตัวรถก็ดูใหญ่กว่า จู๊ค และเอคโคสปอร์ต ด้วยความยาว 4.294 เมตร กว้าง 1.772 เมตร ฐานล้อ 2.610 เมตร ขณะที่ระยะต่ำสุดจากพื้น (Ground Clearance) 185 มิลลิเมตร อยู่ตรงกลางระหว่างคู่แข่ง (จู๊ค 180 มม. เอคโคสปอร์ต 200 มม.)
เมื่อเข้าไปนั่งในห้องโดยสารพบว่า วัสดุ อุปกรณ์ ชิ้นงานดูดีกว่าสองคู่แข่ง ทั้ง แผงหน้าปัด พวงมาลัย เบาะนั่ง การออกแบบคอนโซลกลาง และจอทัชสกรีนขนาด 7 นิ้ว(รุ่น E และ EL) เบรกมือไฟฟ้า ยิ่งตัวท็อปมีพาโนรามิคซันรูฟพาดยาวเกือบเต็มหลังคา ยิ่งส่งให้รถดูหรูหรา เช่นเดียวกับการนั่งเป็นผู้โดยสารด้านหลังมีพื้นที่ว่างช่วงขาและช่วงหัวเหลือเฟือ ชัดเจนว่านั่งสบายขยับขยายได้มากกว่าจู๊ค และเอคโคสปอร์ต
ส่วนพื้นที่เก็บสัมภาระด้านหลังมีความจุ 565 ลิตร (มียางอะไหล่ด้านล่างที่ใช้แบบล้อกระทะและเป็นยางขนาด 135/90 R16 ) และถ้าพับพนักพิงเบาะหลังให้ราบเรียบ จะเพิ่มความอเนกประสงค์มากขึ้น หรือวางตั้งจักรยานเสือหมอบ-เสือภูเขาได้สองคันโดยถอดล้อหน้าออก
การขับขี่ผ่านขุมพลังขนาด 1.8 ลิตร SOHC i-VTEC 4 สูบ 16 วาล์ว ให้กำลังสูงสุด 141 แรงม้า ที่ 6,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 172 นิวตัน-เมตร ที่ 4,300 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่อง CVT ให้การตอบสนองรวดเร็วแบบปัจจุบันทันด่วน
ในทุกครั้งของจังหวะการเติมคันเร่ง เครื่องยนต์และเกียร์รับรู้รับทราบพร้อมทำงานประสานกันอย่างกระฉับกระเฉง อัตราเร่งดีมาก ส่งให้ตัวรถพุ่งทยานทันใจ ขณะที่รอบเครื่องยนต์ไม่ดีดสูงพร่ำเพรื่อ หรือสวิงวูบวาบเหมือนเกียร์ CVT รุ่นเก่า
ทั้งนี้จากการขับโดยแช่เกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง D ผู้เขียนสังเกตรอบก็อยู่แถวๆ 2,000 เท่านั้นครับ แต่ถ้าดึงคันเกียร์ลงมาที่ตำแหน่ง S รอบจะขึ้นไปรอแถว 3,000 พร้อมให้ผู้ขับย้ำสั่งในการกดคันเร่ง หลังจากนั้นก็เตรียมพบกับความแรงระเบิดเทิดเถิงได้เลย
ขณะเดียวกันเมื่อตัดสินใจวางเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร 141 แรงม้าแล้ว ฮอนด้าจึงไม่ทำให้เสียของเมื่อเซ็ทพวงมาลัยและช่วงล่างให้สปอร์ตสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยน้ำหนักพวงมาลัยแบบแรคแอนพิเนียน ผ่อนแรงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าหน่วงมือดีที่เดียว หรือหนักกว่าทั้ง แจ๊ซและซีวิค พร้อมการสั่งงานเฉียบคม ตอบสนองทิศทางดีกว่า จู๊คและเอคโคสปอร์ต
ขณะที่ช่วงล่างยังหนึบแน่น (บางคนที่ทดสอบอาจจะบอกว่ากระด้างไป) แต่ผู้เขียนว่า สมดุลลงตัวกับเรี่ยวแรง โดยด้านหน้าเป็นแบบแมคเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง หลังเป็นคานทอร์ชันบีม ซึ่งวิศวกรฮอนด้ายอมรับว่าเซ็ทช่วงล่างของ “เอชอาร์-วี” ที่ทำตลาดในไทยค่อนข้างแข็ง
โดยเปิดเผยข้อมูลว่า “เอชอาร์-วี” ติดตั้งโช๊คอัพแบบ Amplitude Reactive Dampers ระบบเดียวกับที่ใช้อยู่ใน แอคคอร์ด ไฮบริด และ ฮอนด้า โอดิสซีส์ ซึ่งเป็นการผสมผสานโช๊ค 2 ระบบที่แยกจากกันในแง่ของการดูดซับแรงกระแทก ซึ่งการควบคุมการทำงานเป็นเชิงกลไก ไม่ใช่ระบบไฟฟ้านะครับ
แนวคิดหลัก คือ การใช้ลูกสูบโช๊คอัพแยกกัน 2 ตัว แบ่งเป็นตัวหลักและตัวรอง เมื่อมีแรงกระแทกเล็กน้อยจากถนนในสภาพการขับแบบปกติ ลูกสูบตัวหลักก็จะทำงานในการตอบสนองต่อการดูดซับแรงกระแทก และเมื่อต้องขับขี่บนเส้นทางที่มีแรงกระแทกหรือกระเทือนที่ถูกส่งผ่านจากสภาพถนนที่ขรุขระมากๆ ลูกสูบตัวที่ 2 จะช่วยในการดูดซับแรงกระแทก ซึ่งระบบดูดซับแรงกระแทกแบบที่หนึ่งเหมาะสำหรับการขับขี่ในความเร็วต่ำขณะที่อีกหนึ่งระบบเหมาะสำหรับการขับขี่ด้วยความเร็วสูง
…เอาเป็นว่าตัวรถให้ความรู้สึกมั่นคง มั่นใจ ให้การทรงตัวดีในทุกสภาพการขับขี่ โค้งสั้น โค้งยาว โค้งหักศอก หรือความนิ่งบนทางตรงความเร็วเกิน 120 กม./ชม. ต้องบอกว่าสมดุลและเหนือระดับกว่า เอสยูวีซับคอมแพกต์ขึ้นไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม “เอชอาร์-วี”ยังมีสิ่งที่ติดมาคล้ายๆ DNA ของฮอนด้านั่นคือ ปัญหาเรื่องการเก็บเสียงภายในห้องโดยสาร ซึ่งเอสยูวีรุ่นนี้ก็ชัดเจนกับเสียงบดยางที่สะท้านจากพื้นถนน รวมถึงเสียงเครื่องยนต์เวลาเร่งความเร็ว
แม้ในประเด็นนี้วิศวกรฮอนด้าย้ำว่า ได้เพิ่มวัสดุดูดซับเสียงทั้งบริเวณด้านในของกันชนหน้า-หลัง ฝากระโปรง และฉนวนที่เป็นพรมปูพื้น แผ่นปิดใต้พื้น รวมถึงแนวหลังคา หวังลดเสียงรบกวนจากภายนอกแล้วก็ตาม
ทั้งนี้เสียงรบกวนด้านบนหรือเสียงลมปะทะ ผู้เขียนว่าเข้ามาอยู่ในระดับพอรับได้ แต่เสียงดังจากพื้นจะเข้ามากระทบหูค่อนข้างหนัก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะยางดันลอป SP Sport Max 215/55 R17 ซึ่งเป็นยางตระกูลสปอร์ต (เอชอาร์-วี ทุกรุ่นใช้ล้ออัลลอยขนาด 17 นิ้ว)
ด้านเบรกใช้แบบดิสก์ทั้งสี่ล้อ การตอบสนองแม่นยำ เพียงกดลงไปนิดเดียวก็รับรู้ถึงอาการจับของเบรก ขณะที่ความปลอดภัยแบบระบบไฟฟ้าที่ช่วยเสริมอย่าง ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (ABS) ระบบกระจายแรงเบรก (EBD) ระบบเสริมแรงเบรก (BA) ระบบควบคุมการทรงตัว (VSA) ระบบช่วยการออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน (Hill Start Assist - HSA) รวมถึงถุงลมนิรภัยคู่หน้า ซึ่งเหล่านี้จัดให้เป็นมาตรฐานทุกรุ่นย่อย ส่วนตัวท็อปจะเพิ่มถุงลมนิรภัยด้านข้าง และม่านถุงลม รวมอีก 4 จุดเสริมมาให้
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมันจากการทดสอบประมาณ 100 กิโลเมตร บนถนนธนะรัตน์ เขาใหญ่ มุ่งหน้าวังน้ำเขียว ถนนขึ้นลงเขา โค้งเยอะ บนความเร็วหลากหลาย อาจจะวัดผลลำบากแต่หน้าจอแสดงตัวเลขประมาณ 11-12 กม./ลิตร (ใช้น้ำมันแก็สโซฮอล์ E20) ส่วนตัวเลขจากการทดสอบของฮอนด้าแจ้งไว้ว่าทำได้ 15 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ…เรื่องของการวางตำแหน่งสินค้าและการกำหนดราคา หากพลาดอาจจะไปกินยอดขายพวกเดียวกันเอง (กรณีตั้งราคาต่ำ) หรือเผลอไปก็อาจขายไม่ออก (กรณีตั้งราคาสูง) แต่ฮอนด้าพยายามสร้างพื้นที่ใหม่ขึ้นมาให้ “เอชอาร์-วี” ซึ่งดูจากกระแสตอบรับหลังการเปิดตัวเพียงหนึ่งเดือน น่าจะเป็นการวัดผลได้ระดับหนึ่ง
แม้ราคาขายสูงกว่า “จู๊ค” และ “เอคโคสปอร์ต” แต่ถ้ามองลงไปในรายละเอียดของรถทั้ง ขนาดตัวถัง รูปลักษณ์ ออปชัน ตลอดจนวัสดุ ชิ้นส่วน การตกแต่ง (ยังไม่พูดถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์) ดูดีกว่าสองคู่แข่งมาก เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ อัตราเร่งดี ช่วงล่าง การควบคุม ออกแนวสปอร์ตชัดเจน (คือไม่เน้นนุ่ม) ดังนั้นราคาที่สูงกว่าอาจจะไม่ได้หมายความว่าแพงเมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้รับ ซึ่งผู้เขียนว่าดีเสียอีกที่เป็นอีกหนึ่งทางเลือก…เพียงแต่คุณย่อมจ่ายหรือเปล่า
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring
ทั้ง “สปอร์ต” (น่าจะหมายถึงรูปลักษณ์และสมรรถนะการขับขี่) และยัง “พรีเมี่ยม” (ดูหรูหราภายนอก-ภายใน และออปชันอำนวยความสะดวก-ปลอดภัย) ในการเป็นรถแบบ “ครอสโอเวอร์” (เอสยูวีที่เน้นการใช้งานแบบออนโรดเป็นหลัก แต่ยังได้ความอเนกประสงค์)
แวบแรกคิดว่าฮอนด้าขี้โม้เกินไป ยิ่งบวกกับการวางเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร และทำราคาขายขึ้นไประดับ 9 แสนบาท – 1 ล้านบาท ฉีกเหนือคู่แข่งอย่าง “ฟอร์ด เอคโคสปอร์ต” ที่วางเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร และ “นิสสัน จู๊ค” 1.6 ลิตร จึงน่าสนใจว่าจะได้การตอบรับจากตลาดดีหรือไม่?
แต่สุดท้าย ทุกความสงสัยก็กระจ่าง หลังจากผู้เขียนได้ลองขับและพูดคุยกับทีมวิศวรผู้ดูแลการพัฒนา“เอชอาร์-วี”เมื่อวานนี้ (16 ธ.ค.)
อย่างที่ทราบกันครับว่า“เอชอาร์-วี” พัฒนาบนพื้นฐานแพลตฟอร์มเดียวกับเก๋งซับคอมแพกต์รุ่น แจ๊ซ,ซิตี้ แต่ในเมืองไทยฮอนด้าตัดสินใจวางเครื่องยนต์ขนาด 1.8 ลิตรบล็อกเดียวกับที่ใช้ในเก๋งคอมแพกต์รุ่น “ซีวิค” ซึ่งต่างจากญี่ปุ่นและหลายๆประเทศที่“เอชอาร์-วี”จะทำตลาดด้วยเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร
ประเด็นนี้ “นาโอฮิซะ โมริชิตะ” หัวหน้าทีมวิศวกรพัฒนาฮอนด้า เอชอาร์-วี บริษัท ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี จำกัด ประเทศญี่ปุ่น บอกว่า เครื่องยนต์ 1.8 ลิตรสมดุลที่สุดกับรถยนต์รุ่นนี้ แต่ที่ญี่ปุ่นวางเครื่องยนต์ 1.5 ลิตรเพราะมีเวอร์ชันไฮบริดขายด้วย ขณะที่หลายๆประเทศก็ใช้เครื่องยนต์ 1.8 เหมือนเมืองไทย ส่วนอินโดนีเซียนั้นมีให้เลือกทั้งสองขนาด
“เราคิดว่าเครื่องยนต์ 1.8 ลิตรเหมาะสมกับการทำตลาดในเมืองไทย เพราะคนไทยชอบรถสมรรถนะดีๆ และชอบการขับขี่ในความเร็วสูง ขณะเดียวกันเราเลือกใช้เกียร์อัตโนมัติ CVT ที่พัฒนาใหม่ภายใต้เทคโนโลยีเอิร์ธดรีม จึงช่วยให้การขับขี่สมบูรณ์แบบ และได้อัตราบริโภคน้ำมันอยู่ในระดับที่น่าพอใจ”
…ถ้าเชื่อในมุมของ “โมริชิตะซัง” ก็สรุปว่า การเลือกวางเครื่องยนต์ 1.8 ลิตรเป็นเรื่องของสมรรถนะและความสมดุลล้วนๆ ไม่ได้เกี่ยวกับ การทำตลาดและการวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ไม่ให้ไปกินยอดขายกันเอง ???
สำหรับ “เอชอาร์-วี” ถือเป็นโกลบอลโมเดลลำดับที่ 4 ของฮอนด้าต่อจาก ซีวิค แอคคอร์ด และซีอาร์-วี กล่าวคือถ้าฮอนด้าเข้าไปทำตลาดประเทศไหนต้องมีรถยนต์ 4 รุ่นนี้เป็นโมเดลในการขายเป็นหลัก ส่วนเมืองไทยจัดงานเปิดตัววันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นับเป็นประเทศที่สามในโลกต่อจากญี่ปุ่น (ใช้ชื่อทำตลาดว่า วีเซล) และจีน พร้อมขึ้นไลน์ผลิตที่โรงงานฮอนด้า นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดย แบ่งการขายเป็น 3 รุ่นย่อย คือ S ราคา 8.9 แสนบาท E 9.75 แสนบาท และ EL ราคา 1.045 ล้านบาท
ถึงวันนี้(17 ธ.ค.) ผ่านมาหนึ่งเดือนเต็มหลังการเปิดตัว ตรวจสอบยอดจองล่าสุดมีเข้ามาเกือบๆ 7,000 คัน จากที่ประกาศเป้าหมายว่าจะขาย 20,000 คันภายในระยะเวลาหนึ่งปี ดังนั้นใครจองช่วงนี้อาจจะต้องรอรถนาน 2 เดือนเป็นอย่างน้อย(แล้วแต่รุ่นและสี) ซึ่งในจำนวนเกือบๆ 7,000 คัน พบว่ารุ่นท็อปขายดีที่สุดในสัดส่วน 60%
การออกแบบตัวรถ ฮอนด้าหวังให้“เอชอาร์-วี” ตอบสนองอารมณ์ของการเป็นรถสปอร์ตคูเป้ (เห็นได้จากเส้นหลังคาไล่มาจรดเสาร์ซี และทรงกระจกหลังพร้อมซ่อนมือเปิดประตูเอาไว้) และต้องได้ประโยชน์แบบมินิแวน ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน
หลังจากพิจารณามิติตัวรถก็ดูใหญ่กว่า จู๊ค และเอคโคสปอร์ต ด้วยความยาว 4.294 เมตร กว้าง 1.772 เมตร ฐานล้อ 2.610 เมตร ขณะที่ระยะต่ำสุดจากพื้น (Ground Clearance) 185 มิลลิเมตร อยู่ตรงกลางระหว่างคู่แข่ง (จู๊ค 180 มม. เอคโคสปอร์ต 200 มม.)
เมื่อเข้าไปนั่งในห้องโดยสารพบว่า วัสดุ อุปกรณ์ ชิ้นงานดูดีกว่าสองคู่แข่ง ทั้ง แผงหน้าปัด พวงมาลัย เบาะนั่ง การออกแบบคอนโซลกลาง และจอทัชสกรีนขนาด 7 นิ้ว(รุ่น E และ EL) เบรกมือไฟฟ้า ยิ่งตัวท็อปมีพาโนรามิคซันรูฟพาดยาวเกือบเต็มหลังคา ยิ่งส่งให้รถดูหรูหรา เช่นเดียวกับการนั่งเป็นผู้โดยสารด้านหลังมีพื้นที่ว่างช่วงขาและช่วงหัวเหลือเฟือ ชัดเจนว่านั่งสบายขยับขยายได้มากกว่าจู๊ค และเอคโคสปอร์ต
ส่วนพื้นที่เก็บสัมภาระด้านหลังมีความจุ 565 ลิตร (มียางอะไหล่ด้านล่างที่ใช้แบบล้อกระทะและเป็นยางขนาด 135/90 R16 ) และถ้าพับพนักพิงเบาะหลังให้ราบเรียบ จะเพิ่มความอเนกประสงค์มากขึ้น หรือวางตั้งจักรยานเสือหมอบ-เสือภูเขาได้สองคันโดยถอดล้อหน้าออก
การขับขี่ผ่านขุมพลังขนาด 1.8 ลิตร SOHC i-VTEC 4 สูบ 16 วาล์ว ให้กำลังสูงสุด 141 แรงม้า ที่ 6,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 172 นิวตัน-เมตร ที่ 4,300 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่อง CVT ให้การตอบสนองรวดเร็วแบบปัจจุบันทันด่วน
ในทุกครั้งของจังหวะการเติมคันเร่ง เครื่องยนต์และเกียร์รับรู้รับทราบพร้อมทำงานประสานกันอย่างกระฉับกระเฉง อัตราเร่งดีมาก ส่งให้ตัวรถพุ่งทยานทันใจ ขณะที่รอบเครื่องยนต์ไม่ดีดสูงพร่ำเพรื่อ หรือสวิงวูบวาบเหมือนเกียร์ CVT รุ่นเก่า
ทั้งนี้จากการขับโดยแช่เกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง D ผู้เขียนสังเกตรอบก็อยู่แถวๆ 2,000 เท่านั้นครับ แต่ถ้าดึงคันเกียร์ลงมาที่ตำแหน่ง S รอบจะขึ้นไปรอแถว 3,000 พร้อมให้ผู้ขับย้ำสั่งในการกดคันเร่ง หลังจากนั้นก็เตรียมพบกับความแรงระเบิดเทิดเถิงได้เลย
ขณะเดียวกันเมื่อตัดสินใจวางเครื่องยนต์ 1.8 ลิตร 141 แรงม้าแล้ว ฮอนด้าจึงไม่ทำให้เสียของเมื่อเซ็ทพวงมาลัยและช่วงล่างให้สปอร์ตสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยน้ำหนักพวงมาลัยแบบแรคแอนพิเนียน ผ่อนแรงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าหน่วงมือดีที่เดียว หรือหนักกว่าทั้ง แจ๊ซและซีวิค พร้อมการสั่งงานเฉียบคม ตอบสนองทิศทางดีกว่า จู๊คและเอคโคสปอร์ต
ขณะที่ช่วงล่างยังหนึบแน่น (บางคนที่ทดสอบอาจจะบอกว่ากระด้างไป) แต่ผู้เขียนว่า สมดุลลงตัวกับเรี่ยวแรง โดยด้านหน้าเป็นแบบแมคเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง หลังเป็นคานทอร์ชันบีม ซึ่งวิศวกรฮอนด้ายอมรับว่าเซ็ทช่วงล่างของ “เอชอาร์-วี” ที่ทำตลาดในไทยค่อนข้างแข็ง
โดยเปิดเผยข้อมูลว่า “เอชอาร์-วี” ติดตั้งโช๊คอัพแบบ Amplitude Reactive Dampers ระบบเดียวกับที่ใช้อยู่ใน แอคคอร์ด ไฮบริด และ ฮอนด้า โอดิสซีส์ ซึ่งเป็นการผสมผสานโช๊ค 2 ระบบที่แยกจากกันในแง่ของการดูดซับแรงกระแทก ซึ่งการควบคุมการทำงานเป็นเชิงกลไก ไม่ใช่ระบบไฟฟ้านะครับ
แนวคิดหลัก คือ การใช้ลูกสูบโช๊คอัพแยกกัน 2 ตัว แบ่งเป็นตัวหลักและตัวรอง เมื่อมีแรงกระแทกเล็กน้อยจากถนนในสภาพการขับแบบปกติ ลูกสูบตัวหลักก็จะทำงานในการตอบสนองต่อการดูดซับแรงกระแทก และเมื่อต้องขับขี่บนเส้นทางที่มีแรงกระแทกหรือกระเทือนที่ถูกส่งผ่านจากสภาพถนนที่ขรุขระมากๆ ลูกสูบตัวที่ 2 จะช่วยในการดูดซับแรงกระแทก ซึ่งระบบดูดซับแรงกระแทกแบบที่หนึ่งเหมาะสำหรับการขับขี่ในความเร็วต่ำขณะที่อีกหนึ่งระบบเหมาะสำหรับการขับขี่ด้วยความเร็วสูง
…เอาเป็นว่าตัวรถให้ความรู้สึกมั่นคง มั่นใจ ให้การทรงตัวดีในทุกสภาพการขับขี่ โค้งสั้น โค้งยาว โค้งหักศอก หรือความนิ่งบนทางตรงความเร็วเกิน 120 กม./ชม. ต้องบอกว่าสมดุลและเหนือระดับกว่า เอสยูวีซับคอมแพกต์ขึ้นไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม “เอชอาร์-วี”ยังมีสิ่งที่ติดมาคล้ายๆ DNA ของฮอนด้านั่นคือ ปัญหาเรื่องการเก็บเสียงภายในห้องโดยสาร ซึ่งเอสยูวีรุ่นนี้ก็ชัดเจนกับเสียงบดยางที่สะท้านจากพื้นถนน รวมถึงเสียงเครื่องยนต์เวลาเร่งความเร็ว
แม้ในประเด็นนี้วิศวกรฮอนด้าย้ำว่า ได้เพิ่มวัสดุดูดซับเสียงทั้งบริเวณด้านในของกันชนหน้า-หลัง ฝากระโปรง และฉนวนที่เป็นพรมปูพื้น แผ่นปิดใต้พื้น รวมถึงแนวหลังคา หวังลดเสียงรบกวนจากภายนอกแล้วก็ตาม
ทั้งนี้เสียงรบกวนด้านบนหรือเสียงลมปะทะ ผู้เขียนว่าเข้ามาอยู่ในระดับพอรับได้ แต่เสียงดังจากพื้นจะเข้ามากระทบหูค่อนข้างหนัก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะยางดันลอป SP Sport Max 215/55 R17 ซึ่งเป็นยางตระกูลสปอร์ต (เอชอาร์-วี ทุกรุ่นใช้ล้ออัลลอยขนาด 17 นิ้ว)
ด้านเบรกใช้แบบดิสก์ทั้งสี่ล้อ การตอบสนองแม่นยำ เพียงกดลงไปนิดเดียวก็รับรู้ถึงอาการจับของเบรก ขณะที่ความปลอดภัยแบบระบบไฟฟ้าที่ช่วยเสริมอย่าง ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก (ABS) ระบบกระจายแรงเบรก (EBD) ระบบเสริมแรงเบรก (BA) ระบบควบคุมการทรงตัว (VSA) ระบบช่วยการออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน (Hill Start Assist - HSA) รวมถึงถุงลมนิรภัยคู่หน้า ซึ่งเหล่านี้จัดให้เป็นมาตรฐานทุกรุ่นย่อย ส่วนตัวท็อปจะเพิ่มถุงลมนิรภัยด้านข้าง และม่านถุงลม รวมอีก 4 จุดเสริมมาให้
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมันจากการทดสอบประมาณ 100 กิโลเมตร บนถนนธนะรัตน์ เขาใหญ่ มุ่งหน้าวังน้ำเขียว ถนนขึ้นลงเขา โค้งเยอะ บนความเร็วหลากหลาย อาจจะวัดผลลำบากแต่หน้าจอแสดงตัวเลขประมาณ 11-12 กม./ลิตร (ใช้น้ำมันแก็สโซฮอล์ E20) ส่วนตัวเลขจากการทดสอบของฮอนด้าแจ้งไว้ว่าทำได้ 15 กม./ลิตร
รวบรัดตัดความ…เรื่องของการวางตำแหน่งสินค้าและการกำหนดราคา หากพลาดอาจจะไปกินยอดขายพวกเดียวกันเอง (กรณีตั้งราคาต่ำ) หรือเผลอไปก็อาจขายไม่ออก (กรณีตั้งราคาสูง) แต่ฮอนด้าพยายามสร้างพื้นที่ใหม่ขึ้นมาให้ “เอชอาร์-วี” ซึ่งดูจากกระแสตอบรับหลังการเปิดตัวเพียงหนึ่งเดือน น่าจะเป็นการวัดผลได้ระดับหนึ่ง
แม้ราคาขายสูงกว่า “จู๊ค” และ “เอคโคสปอร์ต” แต่ถ้ามองลงไปในรายละเอียดของรถทั้ง ขนาดตัวถัง รูปลักษณ์ ออปชัน ตลอดจนวัสดุ ชิ้นส่วน การตกแต่ง (ยังไม่พูดถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์) ดูดีกว่าสองคู่แข่งมาก เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ อัตราเร่งดี ช่วงล่าง การควบคุม ออกแนวสปอร์ตชัดเจน (คือไม่เน้นนุ่ม) ดังนั้นราคาที่สูงกว่าอาจจะไม่ได้หมายความว่าแพงเมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้รับ ซึ่งผู้เขียนว่าดีเสียอีกที่เป็นอีกหนึ่งทางเลือก…เพียงแต่คุณย่อมจ่ายหรือเปล่า
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ ASTVผู้จัดการ Motoring