ในขณะที่หลายค่ายรถยนต์ต่างมุ่งพัฒนาเทคโนโลยี ไฮบริด (Hybrid),อีวี (EV),ฟิวเซลล์ (Fuel cell) อย่างเป็นล่ำเป็นสัน แต่“มาสด้า”กลับมองว่ารถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในยังมีความสำคัญ ด้วยความแพร่หลาย ความคุ้นเคย พร้อมราคาที่เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งอีกกว่า10ปีข้างหน้า ผู้บริโภคส่วนมากยังต้องพึ่งพาขุมพลังแบบนี้อยู่ (...จริงๆรถไฮบริดและรถไฟฟ้าแบบขยายระยะทางวิ่ง Extended rangeก็ต้องใช้เครื่องยนต์เช่นกัน)
ขณะเดียวกันมาสด้ามองว่า ประสิทธิภาพของพลังงานที่ได้รับจากเครื่องยนต์ในปัจจุบันถูกปลดปล่อยออกมาใช้จริงแค่ 30% ดังนั้นความท้าทายที่เป็นโจทย์สำคัญคือ “การเผาไหม้ที่สมบูรณ์แบบในเชิงอุดมคติ” หรือทำอย่างไรที่จะดึงความสูญเสีย 70% กลับคืนมาเป็นพลังงานขับเคลื่อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ทั้งหลายทั้งปวงจึงเป็นที่มาของเทคโนโลยี “สกายแอคทีฟ” (SKYACTIV) โดย“มาสด้า” เพิ่งจัดงาน “The Next Generation Technology Forum 2013” ถ่ายทอดความรู้ในเชิงลึกให้แก่ ดีลเลอร์ทั่วประเทศ ตัวแทนจากหน่วยราชการ และสื่อมวลชนไทยและอาเซียน พร้อมเปิดโอกาสให้ลองขับ “มาสด้า 6” รถยนต์นั่งขนาดกลางที่มาพร้อมเทคโนโลยี“สกายแอคทีฟ”เต็มรูปแบบ
สำหรับเทคโนโลยี“สกายแอคทีฟ” แบ่งการพัฒนาเป็น 4 ส่วน คือ 1.เครื่องยนต์เบนซิน-ดีเซล 2.ระบบส่งกำลัง 3.โครงสร้างตัวถัง และ4.ช่วงล่าง
เริ่มจากเครื่องยนต์เบนซิน SKYACTIV - G ที่มาสด้าภูมิใจว่า เป็นเครื่องยนต์ที่มีอัตราแรงอัดอากาศในการเผาไหม้สูงที่สุดของโลก 14:1ด้วยการผสานระบบฉีดจ่ายน้ำมันโดยตรงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ ใช้หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงหลายรู (Multi-Hole Injector)ออกแบบลูกสูบ และการระบายไอเสียใหม่ ซึ่งเครื่องยนต์จะไม่เกิดอาการน๊อคแน่นอน
นอกจากนี้ยังพัฒนาจังหวะการเปิด-ปิดวาล์วไอดี-ไอเสียแปรผัน (dual S-VT) สามารถลดการสูญเสียเนื่องจากการปั๊ม ตลอดจนการออกแบบโดยใช้วัสดุน้ำหนักเบา ส่งผลให้น้ำหนักรวมลดลง 10% และลดความเสียดทานในเครื่องยนต์ลงได้ 30%
สุดท้ายเครื่องยนต์บล็อกนี้เพิ่มแรงบิดได้ 15% กินน้ำมันน้อยลง 15% และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ 15% เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เบนซิน MZR ขนาด 2.0 ลิตรเดิม
ด้านเครื่องยนต์ดีเซล SKYACTIV-D ขนาด 2.2 ลิตร มาสด้าคุยเช่นกันว่าเป็นเครื่องยนต์ดีเซลที่มีอัตราส่วนการอัดที่ต่ำที่สุดในโลก 14:1 ทั้งยังพัฒนาระยะยกวาล์วแปรผันด้านไอเสีย เพื่อนำไอเสียกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้การเผาไหม้มีสเถียรภาพทันทีหลังสตาร์ทในขณะเครื่องยนต์เย็น
แน่นอนว่าวิศวกรมาสด้ายังใช้ระบบอัดอากาศแบบ เทอร์โบสองขั้น Two-stage Turbocharge ทำให้ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องตลอดช่วงความเร็วรอบ รวมถึงลดความเสียดทานภายในเครื่องยนต์ลง 20% และยังมีน้ำหนักตัวลดลง 10% เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ดีเซล MZR-CD ขนาด 2.2 ลิตร ของมาสด้าในปัจจุบัน
สุดท้ายเครื่องยนต์เทอร์โบดีเซล ขนาด 2.2 ลิตร ให้แรงบิดสูงถึง 420 นิวตันเมตร ที่รอบต่ำเพียง 2,000 รอบต่อนาที แถมกินน้ำมันน้อยลง 20% ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง 20% พร้อมผ่านมาตรฐานไอเสีย Euro 6 ของยุโรป
ขณะที่ระบบส่งกำลัง SKYACTIV-Drive มีทั้งเกียร์ธรรมดา และเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งในที่นี้จะว่าเฉพาะเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีดก่อน โดยมาสด้าพยายามรวบรวมข้อดีของ เกียร์ซีวีที (CVT) เกียร์คลัตช์คู่ (Dual Clutch) และเกียร์อัตโนมัติแบบดั้งเดิมเข้าไว้ด้วยกัน
เกียร์ชุดนี้ออกแบบให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ปรับปรุงประสิทธิภาพของการส่งถ่ายแรงบิดโดยออกแบบให้การขบกันของเกียร์มีช่วงที่กว้างขึ้น และใช้ทอร์กคอนเวอร์เตอร์ที่มีระบบคลัตช์แบบล็อคอัพ ควบคุมการขับเคลื่อนโดยตรงตลอดช่วงการทำงาน ช่วยให้เปลี่ยนเกียร์ได้รวดเร็ว แม่นยำ และด้วยคุณสมบัติทั้งหมดยังช่วยให้ประหยัดน้ำมันลง 4-7% เมื่อเทียบกับเกียร์อัตโนมัติในปัจจุบัน
ด้านโครงสร้างตัวถัง SKYACTIV-Body พัฒนาให้มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแกร่งมากขึ้น ส่วนช่วงล่าง SKYACTIV-Chassis พัฒนาขึ้นจากระบบสตรัท (หน้า) และมัลติลิงค์ (หลัง) น้ำหนักเบาลง14% เมื่อเทียบกับแชสซีส์ปัจจุบัน พร้อมให้ความนุ่มนวลในการขับขี่ความเร็วปานกลาง และให้เสถียรภาพที่ดีในย่านความเร็วสูง
…จะเห็นว่าเป้าหมายของ“มาสด้า สกายแอคทีฟ” นอกจากต้องการให้รถใช้เชื้อเพลิงอย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดการบริโภคน้ำมัน ปล่อยไอเสียต่ำแล้ว ทั้งหมดยังต้องตอบสนองเรื่องการขับขี่อันยอดเยี่ยม หรือคงความสนุกสไตล์ “ซูม-ซูม” เอาไว้
เหตุนี้ทีมงานมาสด้าจึงนำเข้า “มาสด้า 6” จากประเทศญี่ปุ่นมาให้ลองขับ ที่สนามแก่งกระจานเซอร์กิต จังหวัดเพชรบุรี หวังเปิดประสบการณ์จริงนอกเหนือไปจากในห้องเรียน
สำหรับ “มาสด้า 6” เปิดตัวครั้งแรกในโลกที่งาน “ปารีส มอเตอร์โชว์ 2012” เดือนกันยายนปีที่แล้ว ชูจุดเด่นของการออกแบบใหม่ “โคโดะ ดีไซน์” จิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหว ซึ่งจะเป็นแนวทางการออกแบบของรถยนต์มาสด้าเจเนอเรชันใหม่ ที่เตรียมเปิดตัวนับจากนี้ไป
อย่างไรก็ตามการทดสอบ “มาสด้า 6” ที่เป็นรถพรีโปรดักต์ชัน(ไม่ใช่รุ่นขายจริง)ในครั้งนี้ รถถูกพรางหน้าปิดตาด้วยสติกเกอร์รอบคัน โดยมาสด้าให้เหตุผลว่าไม่อยากเน้นเรื่องตัวโปรดักต์มากนัก เพราะอยากให้ความสำคัญไปที่เทคโนโลยีสกายแอคทีฟมากกว่า (การทำตลาดในไทยยังอยู่ระหว่างศึกษา)
…ผู้เขียนเริ่มต้นด้วยรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร ได้ขับอยู่ 2 รอบสนาม (ประมาณ 3 กิโลเมตรต่อรอบ) ต้องบอกว่าสมรรถนะสมราคาคุย โดยการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลเดินเรียบ ให้อัตราเร่งมาแบบเนียนต่อเนื่อง
การขับทำได้ดุดันเร้าใจ และมีช่วงทดสอบอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ผู้เขียนเหยียบคันเร่งมิด รอบไปตัดแถวๆ 5,000 รอบ ซึ่งจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ค่อนข้างนุ่มนวล ขณะที่จุดเด่นเหนือกว่ารถระดับเดียวกัน(คัมรี่,แอคคอร์ด,เทียน่า) ต้องยกให้เรื่อง Handling หรือการควบคุมพวงมาลัยทำได้กระชับ สั่งงานแม่นยำไม่ว่าจะโค้งสั้น โค้งยาว ไม่ต้องเผื่อเหลือเผื่อขาด
ส่วนรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร การขับขี่ไม่จัดจ้านเท่ารุ่นเครื่องยนต์ดีเซล ยิ่งมาประกบกับเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีดชุดนี้ ส่งให้บุคลิกการขับที่นุ่มนวล เช่นเดียวกับพวงมาลัยที่เบากว่ารุ่นเครื่องยนต์ดีเซล (รุ่นเบนซินใช้ล้ออัลลอยด์ 17 นิ้ว แต่ดีเซลใช้ขนาด 19 นิ้ว)
ภาพรวมของ “มาสด้า 6” ขับสนุกกว่าคู่แข่งที่ขายอยู่ในเมืองไทย (แม้จะเป็นรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตรก็ตาม) โดยเฉพาะการควบคุมต้องยกให้เป็น Best in class ส่วนช่วงล่างนุ่มผิดจากรถมาสด้าหลายๆรุ่นที่เคยขับมา
“มาสด้า 6” สกายแอคทีฟ ยังมาพร้อมระบบ i-stop เครื่องยนต์ดับเมื่อรถจอดหยุดนิ่ง และ Brake Regenerative นำพลังงานจลที่เสียไปจากการเบรก กลับไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
สำหรับอัตราบริโภคน้ำมัน มาสด้าแจ้งว่าถ้าในรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร สามารถทำตัวเลขได้มากกว่า 20 กม./ลิตร ขณะที่รุ่นเบนซิน 2.0 ลิตรทำได้มากกว่า 17 กม./ลิตร
ในส่วนของคุณภาพน้ำมันรุ่น “สกายแอคทีฟ-ดี” เติมดีเซลมาตรฐานของเมืองไทยได้ปกติ ส่วน “สกายแอคทีฟ-จี”รองรับแก๊สโซฮอล์ได้ถึง อี15 (เกินอี10 แต่ไม่ถึง อี20)
...ด้วยแนวคิดการพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายใน ให้เผาไหม้อย่างสมบูรณ์แบบ หรือดึงความสูญเสีย70% กลับคืนมาเป็นพลังงานขับเคลื่อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถึงวันนี้มาสด้าสามารถพูดได้เต็มปากว่า “เทคโนโลยี สกายแอคทีฟ” ประสบความสำเร็จ
โดยในรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน“สกายแอคทีฟ-จี”ดึงพลังงานกลับมาได้ 33-34% จาก70% ที่สูญเสียไป และรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล “สกายแอคทีฟ-ดี” สามารถดึงกลับมาเป็นประโยชน์ได้ถึง 40% เลยทีเดียว
….ใครอยากสัมผัส“เทคโนโลยี สกายแอคทีฟ” รอไม่นานครับ เพราะจะติดมากับ “เอสยูวี CX-5” ที่เตรียมเปิดตัวเดือนตุลาคมนี้
ขณะเดียวกันมาสด้ามองว่า ประสิทธิภาพของพลังงานที่ได้รับจากเครื่องยนต์ในปัจจุบันถูกปลดปล่อยออกมาใช้จริงแค่ 30% ดังนั้นความท้าทายที่เป็นโจทย์สำคัญคือ “การเผาไหม้ที่สมบูรณ์แบบในเชิงอุดมคติ” หรือทำอย่างไรที่จะดึงความสูญเสีย 70% กลับคืนมาเป็นพลังงานขับเคลื่อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ทั้งหลายทั้งปวงจึงเป็นที่มาของเทคโนโลยี “สกายแอคทีฟ” (SKYACTIV) โดย“มาสด้า” เพิ่งจัดงาน “The Next Generation Technology Forum 2013” ถ่ายทอดความรู้ในเชิงลึกให้แก่ ดีลเลอร์ทั่วประเทศ ตัวแทนจากหน่วยราชการ และสื่อมวลชนไทยและอาเซียน พร้อมเปิดโอกาสให้ลองขับ “มาสด้า 6” รถยนต์นั่งขนาดกลางที่มาพร้อมเทคโนโลยี“สกายแอคทีฟ”เต็มรูปแบบ
สำหรับเทคโนโลยี“สกายแอคทีฟ” แบ่งการพัฒนาเป็น 4 ส่วน คือ 1.เครื่องยนต์เบนซิน-ดีเซล 2.ระบบส่งกำลัง 3.โครงสร้างตัวถัง และ4.ช่วงล่าง
เริ่มจากเครื่องยนต์เบนซิน SKYACTIV - G ที่มาสด้าภูมิใจว่า เป็นเครื่องยนต์ที่มีอัตราแรงอัดอากาศในการเผาไหม้สูงที่สุดของโลก 14:1ด้วยการผสานระบบฉีดจ่ายน้ำมันโดยตรงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ ใช้หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงหลายรู (Multi-Hole Injector)ออกแบบลูกสูบ และการระบายไอเสียใหม่ ซึ่งเครื่องยนต์จะไม่เกิดอาการน๊อคแน่นอน
นอกจากนี้ยังพัฒนาจังหวะการเปิด-ปิดวาล์วไอดี-ไอเสียแปรผัน (dual S-VT) สามารถลดการสูญเสียเนื่องจากการปั๊ม ตลอดจนการออกแบบโดยใช้วัสดุน้ำหนักเบา ส่งผลให้น้ำหนักรวมลดลง 10% และลดความเสียดทานในเครื่องยนต์ลงได้ 30%
สุดท้ายเครื่องยนต์บล็อกนี้เพิ่มแรงบิดได้ 15% กินน้ำมันน้อยลง 15% และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ 15% เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เบนซิน MZR ขนาด 2.0 ลิตรเดิม
ด้านเครื่องยนต์ดีเซล SKYACTIV-D ขนาด 2.2 ลิตร มาสด้าคุยเช่นกันว่าเป็นเครื่องยนต์ดีเซลที่มีอัตราส่วนการอัดที่ต่ำที่สุดในโลก 14:1 ทั้งยังพัฒนาระยะยกวาล์วแปรผันด้านไอเสีย เพื่อนำไอเสียกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้การเผาไหม้มีสเถียรภาพทันทีหลังสตาร์ทในขณะเครื่องยนต์เย็น
แน่นอนว่าวิศวกรมาสด้ายังใช้ระบบอัดอากาศแบบ เทอร์โบสองขั้น Two-stage Turbocharge ทำให้ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องตลอดช่วงความเร็วรอบ รวมถึงลดความเสียดทานภายในเครื่องยนต์ลง 20% และยังมีน้ำหนักตัวลดลง 10% เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ดีเซล MZR-CD ขนาด 2.2 ลิตร ของมาสด้าในปัจจุบัน
สุดท้ายเครื่องยนต์เทอร์โบดีเซล ขนาด 2.2 ลิตร ให้แรงบิดสูงถึง 420 นิวตันเมตร ที่รอบต่ำเพียง 2,000 รอบต่อนาที แถมกินน้ำมันน้อยลง 20% ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง 20% พร้อมผ่านมาตรฐานไอเสีย Euro 6 ของยุโรป
ขณะที่ระบบส่งกำลัง SKYACTIV-Drive มีทั้งเกียร์ธรรมดา และเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งในที่นี้จะว่าเฉพาะเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีดก่อน โดยมาสด้าพยายามรวบรวมข้อดีของ เกียร์ซีวีที (CVT) เกียร์คลัตช์คู่ (Dual Clutch) และเกียร์อัตโนมัติแบบดั้งเดิมเข้าไว้ด้วยกัน
เกียร์ชุดนี้ออกแบบให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา ปรับปรุงประสิทธิภาพของการส่งถ่ายแรงบิดโดยออกแบบให้การขบกันของเกียร์มีช่วงที่กว้างขึ้น และใช้ทอร์กคอนเวอร์เตอร์ที่มีระบบคลัตช์แบบล็อคอัพ ควบคุมการขับเคลื่อนโดยตรงตลอดช่วงการทำงาน ช่วยให้เปลี่ยนเกียร์ได้รวดเร็ว แม่นยำ และด้วยคุณสมบัติทั้งหมดยังช่วยให้ประหยัดน้ำมันลง 4-7% เมื่อเทียบกับเกียร์อัตโนมัติในปัจจุบัน
ด้านโครงสร้างตัวถัง SKYACTIV-Body พัฒนาให้มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแกร่งมากขึ้น ส่วนช่วงล่าง SKYACTIV-Chassis พัฒนาขึ้นจากระบบสตรัท (หน้า) และมัลติลิงค์ (หลัง) น้ำหนักเบาลง14% เมื่อเทียบกับแชสซีส์ปัจจุบัน พร้อมให้ความนุ่มนวลในการขับขี่ความเร็วปานกลาง และให้เสถียรภาพที่ดีในย่านความเร็วสูง
…จะเห็นว่าเป้าหมายของ“มาสด้า สกายแอคทีฟ” นอกจากต้องการให้รถใช้เชื้อเพลิงอย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดการบริโภคน้ำมัน ปล่อยไอเสียต่ำแล้ว ทั้งหมดยังต้องตอบสนองเรื่องการขับขี่อันยอดเยี่ยม หรือคงความสนุกสไตล์ “ซูม-ซูม” เอาไว้
เหตุนี้ทีมงานมาสด้าจึงนำเข้า “มาสด้า 6” จากประเทศญี่ปุ่นมาให้ลองขับ ที่สนามแก่งกระจานเซอร์กิต จังหวัดเพชรบุรี หวังเปิดประสบการณ์จริงนอกเหนือไปจากในห้องเรียน
สำหรับ “มาสด้า 6” เปิดตัวครั้งแรกในโลกที่งาน “ปารีส มอเตอร์โชว์ 2012” เดือนกันยายนปีที่แล้ว ชูจุดเด่นของการออกแบบใหม่ “โคโดะ ดีไซน์” จิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหว ซึ่งจะเป็นแนวทางการออกแบบของรถยนต์มาสด้าเจเนอเรชันใหม่ ที่เตรียมเปิดตัวนับจากนี้ไป
อย่างไรก็ตามการทดสอบ “มาสด้า 6” ที่เป็นรถพรีโปรดักต์ชัน(ไม่ใช่รุ่นขายจริง)ในครั้งนี้ รถถูกพรางหน้าปิดตาด้วยสติกเกอร์รอบคัน โดยมาสด้าให้เหตุผลว่าไม่อยากเน้นเรื่องตัวโปรดักต์มากนัก เพราะอยากให้ความสำคัญไปที่เทคโนโลยีสกายแอคทีฟมากกว่า (การทำตลาดในไทยยังอยู่ระหว่างศึกษา)
…ผู้เขียนเริ่มต้นด้วยรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร ได้ขับอยู่ 2 รอบสนาม (ประมาณ 3 กิโลเมตรต่อรอบ) ต้องบอกว่าสมรรถนะสมราคาคุย โดยการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลเดินเรียบ ให้อัตราเร่งมาแบบเนียนต่อเนื่อง
การขับทำได้ดุดันเร้าใจ และมีช่วงทดสอบอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. ผู้เขียนเหยียบคันเร่งมิด รอบไปตัดแถวๆ 5,000 รอบ ซึ่งจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ค่อนข้างนุ่มนวล ขณะที่จุดเด่นเหนือกว่ารถระดับเดียวกัน(คัมรี่,แอคคอร์ด,เทียน่า) ต้องยกให้เรื่อง Handling หรือการควบคุมพวงมาลัยทำได้กระชับ สั่งงานแม่นยำไม่ว่าจะโค้งสั้น โค้งยาว ไม่ต้องเผื่อเหลือเผื่อขาด
ส่วนรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร การขับขี่ไม่จัดจ้านเท่ารุ่นเครื่องยนต์ดีเซล ยิ่งมาประกบกับเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีดชุดนี้ ส่งให้บุคลิกการขับที่นุ่มนวล เช่นเดียวกับพวงมาลัยที่เบากว่ารุ่นเครื่องยนต์ดีเซล (รุ่นเบนซินใช้ล้ออัลลอยด์ 17 นิ้ว แต่ดีเซลใช้ขนาด 19 นิ้ว)
ภาพรวมของ “มาสด้า 6” ขับสนุกกว่าคู่แข่งที่ขายอยู่ในเมืองไทย (แม้จะเป็นรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตรก็ตาม) โดยเฉพาะการควบคุมต้องยกให้เป็น Best in class ส่วนช่วงล่างนุ่มผิดจากรถมาสด้าหลายๆรุ่นที่เคยขับมา
“มาสด้า 6” สกายแอคทีฟ ยังมาพร้อมระบบ i-stop เครื่องยนต์ดับเมื่อรถจอดหยุดนิ่ง และ Brake Regenerative นำพลังงานจลที่เสียไปจากการเบรก กลับไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า
สำหรับอัตราบริโภคน้ำมัน มาสด้าแจ้งว่าถ้าในรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร สามารถทำตัวเลขได้มากกว่า 20 กม./ลิตร ขณะที่รุ่นเบนซิน 2.0 ลิตรทำได้มากกว่า 17 กม./ลิตร
ในส่วนของคุณภาพน้ำมันรุ่น “สกายแอคทีฟ-ดี” เติมดีเซลมาตรฐานของเมืองไทยได้ปกติ ส่วน “สกายแอคทีฟ-จี”รองรับแก๊สโซฮอล์ได้ถึง อี15 (เกินอี10 แต่ไม่ถึง อี20)
...ด้วยแนวคิดการพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายใน ให้เผาไหม้อย่างสมบูรณ์แบบ หรือดึงความสูญเสีย70% กลับคืนมาเป็นพลังงานขับเคลื่อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถึงวันนี้มาสด้าสามารถพูดได้เต็มปากว่า “เทคโนโลยี สกายแอคทีฟ” ประสบความสำเร็จ
โดยในรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน“สกายแอคทีฟ-จี”ดึงพลังงานกลับมาได้ 33-34% จาก70% ที่สูญเสียไป และรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล “สกายแอคทีฟ-ดี” สามารถดึงกลับมาเป็นประโยชน์ได้ถึง 40% เลยทีเดียว
….ใครอยากสัมผัส“เทคโนโลยี สกายแอคทีฟ” รอไม่นานครับ เพราะจะติดมากับ “เอสยูวี CX-5” ที่เตรียมเปิดตัวเดือนตุลาคมนี้