ข่าวในประเทศ - "พงษ์ศักดิ์" รมว.พลังงานยันรถติดก๊าซแอลพีจียังจดทะเบียนได้เหมือนเดิม หลังสมาคมธุรกิจก๊าซรถยนต์ไทยยื่นจดหมายเปิดผนึกขอความชัดเจน เพียงเน้นต้องควบคุมมาตรฐานศูนย์ติดตั้ง เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ขณะที่ตัวแทนผู้ประกอบการเห็นสอดคล้อง ปัญหาไฟไหม้ไม่ได้มาจากก๊าซแอลพีจี แต่เกิดจากมาตรฐานระบบและอุปกรณ์ อู่ติดตั้งไม่ชำนาญ และผู้ใช้ขาดความรู้ เผยทั่วโลกนิยมใช้มากกว่า 23 ล้านคัน หากยกเลิกจะกระทบประชาชนผู้ใช้รถติดตั้งก๊าซแอลพีจีเกือบ 1 ล้านคัน และธุรกิจทั้งระบบ
จากการที่มีกระแสข่าวกระทรวงพลังงานมีแนวคิด ไม่รับจดทะเบียนรถใช้ก๊าซแอลพีจี(LPG) เป็นเชื้อเพลิง ทำให้วันนี้ (8 พ.ค.) สมาคมธุรกิจก๊าซรถยนต์ไทย ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เพื่อขอความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และหลังจากยื่นหนังสือเปิดผนึกของสมาคมธุรกิจก๊าซรถยนต์ไทย มีรายงานว่ากระทรวงพลังงานยังไม่มีนโยบายเปลี่ยนแปลงอะไร โดยรถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซแอลพีจียังคงสามารถจดทะเบียนได้ และในเรื่องของดังกล่าวเป็นอำนาจของกระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่ง ซึ่งในส่วนของกระทรวงพลังงานไม่มีแนวคิดที่จะปิดกั้น แต่สิ่งที่เป็นปัญหาและน่าจะต้องควบคุม ต้องเน้นไปที่เรื่องของมาตรฐานการติดตั้งที่ปลอดภัย เพื่่อความปลอดภัยของประชาชน ตรงนี้ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันดูและตรวจสอบ
นายสุรศักดิ์ นิตติวัฒน์ นายกสมาคมธุรกิจก๊าซรถยนต์ไทย เปิดเผยว่า สมาคมธุรกิจก๊าซรถยนต์ไทยได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกต่อนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน , พลตำรวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม , รองปลัดกระทรวงพลังงาน และอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดค้านแนวคิด หรือนโยบายที่จะยกเลิกการรับจดทะเบียนรถยนต์ที่ใช้ระบบก๊าซแอลพีจี และขอความชัดเจนในการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมก๊าซรถยนต์ของประเทศไทย ที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากกรณีที่รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานมีแนวคิดจะยกเลิก ไม่รับจดทะเบียนรถที่ใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิง สาเหตุที่ส่งผลให้รถติดตั้งระบบก๊าซแอลพีจีเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้
ทั้งที่จากการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ รถติดตั้งก๊าซแอลพีจี และเอ็นจีวี(NGV) นั้นส่วนใหญ่มาจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1. การเลือกใช้ระบบ และอุปกรณ์ก๊าซที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยที่ดี 2. สถานที่ติดตั้ง หรืออู่ติดตั้งที่ไม่ชำนาญการ บุคลากรขาดการฝึกอบรมที่ครบถ้วนอย่างแท้จริง และไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ได้รับใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกอย่างถูกต้องตามกฏหมาย และ 3. ผู้ใช้ขาดความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานและการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ถึงแม้ว่าจะไม่แตกต่างจากการใช้ระบบน้ำมันมากนักก็ตาม แต่การบำรุงรักษา ตรวจสภาพการใช้งาน ย่อมเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงเห็นสอดคล้องในการแก้ไขและป้องกันปัญหารถติดก๊าซไฟไหม้ ควรจะส่งเสริมและมุ่งเน้นที่มาตรฐานของอุปกรณ์และผู้ประกอบการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน และได้รับใบอนุญาตฯ เป็นสำคัญ
นอกจากนี้จากข้อมูลกรมขนส่งทางบก ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 พบว่าในประเทศไทยมีรถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซแอลพีจี ทั้งประเทศเกือบ 1 ล้านคัน เนื่องจากก๊าซแอลพีจีเป็นพลังงานทางเลือกที่ได้รับความนิยม จากประชาชนที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อย ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ สามารถนำมาใช้เพื่อลดรายจ่าย และลดภาระค่าเชื้อ
เพลิงของครอบครัวได้
“แนวคิดที่จะยกเลิกการจดทะเบียนรถติดตั้งระบบแอลพีจี เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในการใช้พลังงานทางเลือกอย่างเสรี และยังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมติดตั้งก๊าซแอลพีจี ในรถยนต์มากว่า 30 ปี หากมีการยกเลิกย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ และแรงงานในอุตสาหกรรมจำนวนมาก ทั้งกลุ่มผู้ประกอบการศูนย์ติดตั้งก๊าซ ที่ได้รับใบอนุญาตแล้วกว่า 330 ราย ผู้จัดจำหน่ายระบบและอุปกรณ์ก๊าซกว่า 50 บริษัท โรงงานผลิตถุงบรรจุก๊าซ 5 โรงงาน รวมถึงสถานีบริการปั้มก๊าซแอลพีจีอีกกว่า 1.16 พันแห่งทั่วประเทศ และแรงงานที่เกี่ยวข้องอีกนับหมื่นคน” นายสุรศักดิ์กล่าวและว่า
ก๊าซแอลพีจีที่ใช้ในรถยนต์ ถือเป็นพลังงานทางเลือกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชีย ส่งผลให้ปัจจุบันมีรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยก๊าซแอลพีจีมากกว่า 23 ล้านคันทั่วโลก โดยมากกว่าร้อยละ 50 เป็นรถยนต์ส่วนบุตคลหรือรถครอบครัวทั่วไป
นายสุรศักดิ์เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจข้อมูลของ World LP Gas Association (WLPGA) พบว่าในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาธุรกิจก๊าซ LPG มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปอีกหลายปี โดยตัวเลขการใช้งานก๊าซแอลพีจีในปี 2554 มีปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจี ในประเทศจีน เกาหลีใต้ ซาอุดิอาราเบีย ญี่ปุ่น และอินเดีย โดยเฉพาะความต้องการใช้และการขยายตัวของกลุ่มยานยนต์ที่ใช้ก๊าซแอลพีจี(Autogas) มีปริมาณการใช้ทั่วโลกสูงถึง 23.7 ล้านตัน สูงขึ้นร้อยละ 3 จากปีก่อน
ทั้งนี้ไม่เพียงรถยนต์ติดตั้งก๊าซแอลพีจี จะเป็นที่นิยมในหลายประเทศ ยังพบอีกว่าในอังกฤษนอกจากประชาชนจะนิยมใช้ก๊าซแอลพีจีแล้ว สมเด็จพระราชินีนาถ อลิซาเบทที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ยังทรงใช้ก๊าซแอลพีจีในรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์มากว่า 10 ปี ด้วยคำกล่าวของพระองค์ที่ว่าแอลพีจีถูกและสะอาดกว่าการใช้น้ำมัน และในอังกฤษนั้นมีสถานีปั้มก๊าซแอลพีจี สำหรับรถยนต์กว่า 1.5 พันสถานี เพื่อรองรับจำนวนรถยนต์ติดก๊าซแอลพีจี ที่สูงถึง 1.65 แสนคัน และรัฐบาลอังกฤษยังสนับสนุนการใช้ก๊าซแอลพีจีในรถยนต์นั่งส่วนบุคคล โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเชื้อเพลิงสำหรับรถที่ใช้ก๊าซแอลพีจี ที่ถูกกว่าภาษีเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน(Petrol) ด้วย
"ปัจจุบันผู้ประกอบการติดตั้งก๊าซแอลพีจีในไทย มีการนำเทคโนโลยีทันสมัยจากต่างประเทศ เข้ามาให้บริการติดตั้งก๊าซแอลพีจีมากขึ้น และศูนย์บริการติดตั้งแก๊สมีมาตรฐานมากขึ้น เทียบเท่าศูนย์บริการรถยนต์ ขณะเดียวกันยังได้รับการยอมรับในมาตรฐานระดับโลก ดังนั้นจึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเลือกใช้ผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐานและมีใบอนุญาตฯ มากกว่าจะใช้วิธียกเลิก ด้วยการไม่รับจดทะเบียนรถที่ใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิง" นายสุรศักดิ์กล่าว
จากการที่มีกระแสข่าวกระทรวงพลังงานมีแนวคิด ไม่รับจดทะเบียนรถใช้ก๊าซแอลพีจี(LPG) เป็นเชื้อเพลิง ทำให้วันนี้ (8 พ.ค.) สมาคมธุรกิจก๊าซรถยนต์ไทย ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เพื่อขอความชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และหลังจากยื่นหนังสือเปิดผนึกของสมาคมธุรกิจก๊าซรถยนต์ไทย มีรายงานว่ากระทรวงพลังงานยังไม่มีนโยบายเปลี่ยนแปลงอะไร โดยรถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซแอลพีจียังคงสามารถจดทะเบียนได้ และในเรื่องของดังกล่าวเป็นอำนาจของกระทรวงคมนาคม และกรมการขนส่ง ซึ่งในส่วนของกระทรวงพลังงานไม่มีแนวคิดที่จะปิดกั้น แต่สิ่งที่เป็นปัญหาและน่าจะต้องควบคุม ต้องเน้นไปที่เรื่องของมาตรฐานการติดตั้งที่ปลอดภัย เพื่่อความปลอดภัยของประชาชน ตรงนี้ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันดูและตรวจสอบ
นายสุรศักดิ์ นิตติวัฒน์ นายกสมาคมธุรกิจก๊าซรถยนต์ไทย เปิดเผยว่า สมาคมธุรกิจก๊าซรถยนต์ไทยได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกต่อนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน , พลตำรวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม , รองปลัดกระทรวงพลังงาน และอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดค้านแนวคิด หรือนโยบายที่จะยกเลิกการรับจดทะเบียนรถยนต์ที่ใช้ระบบก๊าซแอลพีจี และขอความชัดเจนในการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมก๊าซรถยนต์ของประเทศไทย ที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากกรณีที่รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานมีแนวคิดจะยกเลิก ไม่รับจดทะเบียนรถที่ใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิง สาเหตุที่ส่งผลให้รถติดตั้งระบบก๊าซแอลพีจีเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้
ทั้งที่จากการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ รถติดตั้งก๊าซแอลพีจี และเอ็นจีวี(NGV) นั้นส่วนใหญ่มาจาก 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1. การเลือกใช้ระบบ และอุปกรณ์ก๊าซที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยที่ดี 2. สถานที่ติดตั้ง หรืออู่ติดตั้งที่ไม่ชำนาญการ บุคลากรขาดการฝึกอบรมที่ครบถ้วนอย่างแท้จริง และไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ได้รับใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกอย่างถูกต้องตามกฏหมาย และ 3. ผู้ใช้ขาดความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานและการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ถึงแม้ว่าจะไม่แตกต่างจากการใช้ระบบน้ำมันมากนักก็ตาม แต่การบำรุงรักษา ตรวจสภาพการใช้งาน ย่อมเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงเห็นสอดคล้องในการแก้ไขและป้องกันปัญหารถติดก๊าซไฟไหม้ ควรจะส่งเสริมและมุ่งเน้นที่มาตรฐานของอุปกรณ์และผู้ประกอบการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน และได้รับใบอนุญาตฯ เป็นสำคัญ
นอกจากนี้จากข้อมูลกรมขนส่งทางบก ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 พบว่าในประเทศไทยมีรถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซแอลพีจี ทั้งประเทศเกือบ 1 ล้านคัน เนื่องจากก๊าซแอลพีจีเป็นพลังงานทางเลือกที่ได้รับความนิยม จากประชาชนที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อย ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ สามารถนำมาใช้เพื่อลดรายจ่าย และลดภาระค่าเชื้อ
เพลิงของครอบครัวได้
“แนวคิดที่จะยกเลิกการจดทะเบียนรถติดตั้งระบบแอลพีจี เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในการใช้พลังงานทางเลือกอย่างเสรี และยังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมติดตั้งก๊าซแอลพีจี ในรถยนต์มากว่า 30 ปี หากมีการยกเลิกย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ และแรงงานในอุตสาหกรรมจำนวนมาก ทั้งกลุ่มผู้ประกอบการศูนย์ติดตั้งก๊าซ ที่ได้รับใบอนุญาตแล้วกว่า 330 ราย ผู้จัดจำหน่ายระบบและอุปกรณ์ก๊าซกว่า 50 บริษัท โรงงานผลิตถุงบรรจุก๊าซ 5 โรงงาน รวมถึงสถานีบริการปั้มก๊าซแอลพีจีอีกกว่า 1.16 พันแห่งทั่วประเทศ และแรงงานที่เกี่ยวข้องอีกนับหมื่นคน” นายสุรศักดิ์กล่าวและว่า
ก๊าซแอลพีจีที่ใช้ในรถยนต์ ถือเป็นพลังงานทางเลือกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชีย ส่งผลให้ปัจจุบันมีรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยก๊าซแอลพีจีมากกว่า 23 ล้านคันทั่วโลก โดยมากกว่าร้อยละ 50 เป็นรถยนต์ส่วนบุตคลหรือรถครอบครัวทั่วไป
นายสุรศักดิ์เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจข้อมูลของ World LP Gas Association (WLPGA) พบว่าในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาธุรกิจก๊าซ LPG มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปอีกหลายปี โดยตัวเลขการใช้งานก๊าซแอลพีจีในปี 2554 มีปริมาณการใช้ก๊าซแอลพีจี ในประเทศจีน เกาหลีใต้ ซาอุดิอาราเบีย ญี่ปุ่น และอินเดีย โดยเฉพาะความต้องการใช้และการขยายตัวของกลุ่มยานยนต์ที่ใช้ก๊าซแอลพีจี(Autogas) มีปริมาณการใช้ทั่วโลกสูงถึง 23.7 ล้านตัน สูงขึ้นร้อยละ 3 จากปีก่อน
ทั้งนี้ไม่เพียงรถยนต์ติดตั้งก๊าซแอลพีจี จะเป็นที่นิยมในหลายประเทศ ยังพบอีกว่าในอังกฤษนอกจากประชาชนจะนิยมใช้ก๊าซแอลพีจีแล้ว สมเด็จพระราชินีนาถ อลิซาเบทที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษ ยังทรงใช้ก๊าซแอลพีจีในรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์มากว่า 10 ปี ด้วยคำกล่าวของพระองค์ที่ว่าแอลพีจีถูกและสะอาดกว่าการใช้น้ำมัน และในอังกฤษนั้นมีสถานีปั้มก๊าซแอลพีจี สำหรับรถยนต์กว่า 1.5 พันสถานี เพื่อรองรับจำนวนรถยนต์ติดก๊าซแอลพีจี ที่สูงถึง 1.65 แสนคัน และรัฐบาลอังกฤษยังสนับสนุนการใช้ก๊าซแอลพีจีในรถยนต์นั่งส่วนบุคคล โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเชื้อเพลิงสำหรับรถที่ใช้ก๊าซแอลพีจี ที่ถูกกว่าภาษีเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน(Petrol) ด้วย
"ปัจจุบันผู้ประกอบการติดตั้งก๊าซแอลพีจีในไทย มีการนำเทคโนโลยีทันสมัยจากต่างประเทศ เข้ามาให้บริการติดตั้งก๊าซแอลพีจีมากขึ้น และศูนย์บริการติดตั้งแก๊สมีมาตรฐานมากขึ้น เทียบเท่าศูนย์บริการรถยนต์ ขณะเดียวกันยังได้รับการยอมรับในมาตรฐานระดับโลก ดังนั้นจึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเลือกใช้ผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐานและมีใบอนุญาตฯ มากกว่าจะใช้วิธียกเลิก ด้วยการไม่รับจดทะเบียนรถที่ใช้ก๊าซแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิง" นายสุรศักดิ์กล่าว